Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
16 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
การต่อวงจรหลอดไฟบ้าน

การต่อวงจรแสงสว่างภายในบ้าน เราจะต่ออุปกรณ์ดังรูป โดยสาย L จะต่อเข้ากับสวิทซ์ซึ่งต่ออนุกรมกับบัลลาสต์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนสตาร์ตเตอร์จะต่อขนานอยู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ สาย N จะต่อเข้าขาอีกด้านของหลอด


บัลลาสต์ เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าคล้ายแท่งเหล็กสี่เหลี่ยม ดังรูป 



ภายในจะมีลักษณะเป็นขดลวดพันรอบแกนแม่เหล็ก บัลลาสต์มีความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับสูง มีหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ระหว่างขั้วทั้งสองของหลอดฟลูออเรสเซนต์ขณะเปิดสวิทซ์ เพื่อให้อิเล็กตรอนไหลจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เมื่อหลอดทำงานแล้วจะทำหน้าที่หน่วงกระแสไฟฟ้าให้น้อยลง โดยเหนี่ยวนำความต่างศักย์ระหว่างขั้วหลอดทั้งสองให้คงที่
การตรวจเช็คบัลลาส
เนื่องจากมีลักษณะเป็นขดลวด ดังนั้นถ้าเราวัดความต้านทานระหว่างขาทั้ง 2 จะต้องมีค่าความต้านทานค่าหนึ่ง ถ้าวัดได้ 0 โอห์ม แสดงว่าบัลลาสช็อต ถ้าวัดแล้วเข็มไม่กระดิก(ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอลจะขึ้น OL)แสดงว่าบัลลาสต์ขาด

สตาร์ตเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกดังรูป



สตาร์ตเตอร์มีขา 2 ขา ภายในประกอบด้ายแผ่นโลหะ 2 ชนิด (bi-metal) วางห่างกันเล็กน้อย โลหะ 2 ตัวนี้จะขายตัวได้ต่างกันเมื่อได้รับความร้อน เมื่อกดสวิตซ์ให้ปิดวงจร กระแสไฟฟ้าจะไหลจากแผ่นโลหะคู่ที่ต่ออยู่กับขั้วไฟฟ้าขั้วหนึ่งผ่านก๊าซอาร์กอนที่อยู่ภายในหลอดแก้วไปยังโลหะตัวนำที่ต่อเข้ากับปลายขั้วไฟฟ้าอีกข้างหนึ่ง ขณะที่กระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซอาร์กอนจะเกิดการเรืองแสงหรือมีประกายไฟทำให้แผ่นโลหะคู่ร้อน ทำให้โค้งงอลงมาแตะกันทำให้ครบวงจรกระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขั้วไฟฟ้าทั้งสองได้โดยไม่ต้องผ่านก๊าซการ์กอน ความร้อนจึงไม่เกิดขึ้นทำให้แผ่นโลหะคู่เย็นลงและแยกออกจากกัน วงจรจะถูกตัดขาด ซึ่งเป็นช่วงที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ทำงาน ดังนั้นการทำงานสตาร์ตเตอร์จึงเสมือนการทำงานของสวิตซ์อัตโนมัติ

การตรวจเช็คสตาร์ตเตอร์

เนื่องจากโลหะภายในสตาร์ตเตอร์ไม่เชื่อมต่อกันดังนั้นถ้าวัดความต้านทานระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง จะต้องไม่มีความต้านทานเกิดขึ้น ถ้าวัดได้ 0 โอห์ม แสดงว่าเกิดการช็อต แต่ถ้าวัดแล้วเข็มไม่กระดิกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เสีย เนื่องจากยังบอกอะไรไม่ได้มาก

การทำงานปกติสตาร์ตเตอร์จะสว่างแล้วดับขณะเดียวกันนั้นหลอดไฟก็จะสว่าง ถ้าสตาร์ตเตอร์ไม่สว่างเลยแสดงว่าสตาร์ตเตอร์ขาด ถ้าหลอดฟลูออเรสเซต์กระพริบแสดงว่าสตาร์ตเตอร์ช็อตเนื่องจากคุณสมบัติของวงจรขนาน เมื่อมีอุปกรณ์ตัวใดช็อตกระแสไฟจะไม่ไหลไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นทำให้ขั้วทั้งสองไม่มีแรงดันไฟพอที่จะทำให้หลอดสว่าง

ถ้าหลอดไฟขาดจะต้องตรวจเช็คบัลลาสต์ด้วยว่ามีการช็อตหรือเปล่า เพราะมีการต่ออนุกรมกันอยู่ ถ้าบัลลาสต์ช็อตจะทำให้หลอดไฟได้รับแรงดันไฟไปตัวเดียวเต็มๆ ตามคุณสมบัติของวงจรอนุกรม จึงทำให้หลอดขาดได้ ถ้าเปลี่ยนแค่หลอดไฟก็จะทำให้หลอดไฟขาดอีก

สำหรับสวิทซ์ที่ต่ออนุกรมอยู่กับบัลลาสต์เป็นเพียงสะพานไฟ ไม่นำมาคำนวณตามคุณสมบัติของวงจรอนุกรม (เมื่อปิดวงจรจะมีความต้านทาน 0 โอห์ม)




Create Date : 16 สิงหาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 13:29:49 น. 0 comments
Counter : 5749 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.