Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
watt hour meter


วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องวัดที่ทํางานด้วยการเหนี่ยวนําไฟฟ้า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัดปริมาณกําลังไฟฟ้ากระแสสลับทั้งในบ้านเรือน และในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) สามารถจําแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้ 

วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส (single phase watt-hour meter) มีหลักการทํางานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทํางานด้วยการเหนี่ยวนําไฟฟ้า และมีส่วนประกอบที่เหมือนกันคือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil)ส่วนที่แตกต่างกันก็คือในวัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกลส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้แม่เหล็กเหนี่ยวนําให้เกิดกระแสไหลวนทําให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์ 

1) โครงสร้าง ดังรูปประกอบด้วยขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันต่อขนานกับโหลด ขดลวดทั้งสองชุดจะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะและมีจานอะลูมิเนียมบาง ๆ ยึดติดกับแกนหมุน วางอยู่ในช่องว่างระหว่างขดลวดทั้งสอง 



รูป โครงสร้างของวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส แบบเหนี่ยวนําไฟฟ้า 
2) หลักการทํางาน ขดลวดกระแสและขดลวดแรงดันทําหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสอง ทําให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนํา และมีกระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทําให้เกิดแรงผลักขึ้น จานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับชุดตัวเลขที่หน้าปัทม์ของเครื่องวัด แรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันและกระแสไหลวนในจานอะลูมิเนียม และขึ้นอยู่กับจํานวนรอบของขดลวดด้วย ส่วนจํานวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด 





3) การนําไปใช้งาน การต่อวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หรือกิโลวัตต์ฮาวร์มิเตอร์เพื่อใช้วัด ปริมาณพลังงานไฟฟ้า ดังรูปโดยด้านที่ต่อกับแหล่งจ่ายจะมีตัวเลขกํากับไว้ คือ 1S และ 2S ส่วนด้านที่ต่อไปยังโหลดจะมีตัวเลขกํากับไว้คือ 1L และ 2L ตัวอักษร S ย่อมาจากคําว่า“Supply” หมายถึงด้านที่จ่ายไฟเข้า ส่วนอักษร L ย่อมาจากคําว่า “Load” หมายถึงด้านที่ต่อกับโหลดไฟฟ้า ส่วนตัวเลข 1 หมายถึงต่อกับสายไฟ (Line) และเลข 2 หมายถึง สายนิวทรอล (Neutral) 

วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 3 จานหมุนและ 2 จานหมุน 
1)ส่วนประกอบ เครื่องวัดแบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิด 3 เฟส หรือ อาจจะเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หนึ่งเฟส 3 ตัวมาประกอบร่วมกันเป็น วัตต์ฮาวร์มิเตอร์สามเฟส 
2) หลักการทํางาน อาศัยการทํางานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนําไฟฟ้า 
3) การนําไปใช้งาน การต่อใช้งานวัตต์ฮาวร์มิเตอร์สามเฟสแบบ 3 จานหมุนดังรูปหรืออาจจะนําวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หนึ่งเฟส 2 ตัวมาประกอบร่วมกันเป็นกิโลวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 2 จานหมุน



Create Date : 22 กรกฎาคม 2556
Last Update : 23 กันยายน 2556 20:26:53 น. 0 comments
Counter : 3688 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.