ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
9 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 18

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน

(นายยักษ์เขียว)



โมลิเนท

(molinate)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate : azipine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางรากได้อย่างรวดเร็ว

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 720 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,536 มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้ ข้าว

สูตรผสม 10% จี


เอ็มเอสเอ็มเอ

(MSMA)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมเข้าไปในต้นพืช

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 700 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองเล็กน้อย

วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขน หญ้ามาเลย์เซีย หญ้าปล้อง หญ้าตีนติด หญ้ารังนก หญ้าดอกขาว หญ้าใบใหญ่ สาบเสือ สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง ไมยราบ สะอึก วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ

พืชที่ใช้ ยางพารา ปาล์ม สวนผลไม้ยืนต้น

สูตรผสม 66% แอล

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 600-800 ซีซี ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ได้พื้นที่ 1 ไร่

อาการเกิดพิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะแสบร้อนลำคอ ลมหายใจจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสียและมึนงง

การ แก้พิษ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้รีบล้างท้องด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ แล้วให้กินถ่านยาพวกซาลีนคาธาลิค เช่น โซเดียม ซัลเฟท ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ


นาโปรพาไมด์

(napropamide)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช anilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม ยับยั้งการงอกของราก

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. (10% จี)

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและวัชพืชใบแคบพวกกก

พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น แปลงกล้ายาสูบ พริกไทย มะเขือเทศ มะเขือ แอสพารากัสและส้ม

สูตรผสม 10% จี และ 50% ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา


แนพทาแลม

(naptalam)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phthalic-acid ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก โดยยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืช

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,770 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง องุ่น แคนตาลูป แตงกวาและแตงโม

สูตรผสม 23% อีซี , 50% ดับบลิวพี และ 10% จี

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามอัตราและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้ - ไม่กำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว

- มะเขือเทศและผักกาดหอม อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้มาก

- ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่งอกแล้ว

- มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน 3-8 สัปดาห์ และจะสลายตัวหมดภายใน 6-8 สัปดาห์

- อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้


ไนตราลิน

(nitralin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitro compound ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้าง

พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแขก ถั่วลิสง และยาสูบ

สูตรผสม 50% ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้ ปัจจุบัน ไม่มีจำหน่ายในประเทศ


ไนโตรเฟน

(nitrofen)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช

ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) ประมาณ 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้ ธัญพืช ข้าว ผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม 8% จี และ 25% อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้ - พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้ คือ ผักกาดหอม มะเขือเทศ ผักโขม มะเขือ และพริกไทย

- เป็นพิษต่อปลา

- ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย




 

Create Date : 09 มีนาคม 2554
0 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2554 15:59:56 น.
Counter : 2813 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.