ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

คู่มือการทำมะม่วงนอกฤดู


การปลูก


1. การเตรียมดิน


1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง
เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่างๆ ต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่นเพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้
ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย
6 เมตร
ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร
สวนความยาวของรองนั้นแลวแตขนาดของพื้นที่หลังรองยิ่งยกไดสูงมากยิ่งดี
รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้ว
ให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดยการขุดตากดินใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก
หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด
ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน และทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะมวงไมชอบดินที่จับตัวกันแนนการปรับปรุงดินใหรวนชุยจึงเปนสิ่งสําคัญอยางยิ่งของการปลูกแบบยกรองเพราะดินตามที่ราบลุมมักจะเป็นดินเหนียวจัด
การขุดยกร่องใหม่ในปีแรก อินอาจยังไม่ร่วนซุยดีพอให้ปลูกพืชผักอย่างอื่นสัก 1
-2 ปี
จนเห็นว่าดินร่วนซุยดีพอแลว จึงลงมือปลูกมะม่วง ซึ่งจะได้ผลดีและไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน
ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินรวนซุยอยูแลว
อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเล็กน้อยก็ลงมือปลูกได้เลย


1.2 ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า
หรือที่ที่เคยเป็นไร่เก่า ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเตรียมที่ปลูก
ถ้ามีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ ให้โค่นถางออกให้หมด เหลือไว้ตามริมๆ
ไร่เพื่อใช้เป็นไม้กันลม
แต่ถ้าบริเวณนั้นมีลมแรงอยู่เป็นประจำก็ไม่ควรโค่นไม่ใหญ่ออกจนหมด
ให้เหลือไว้เป็นระยะๆ จะใช้กันลมได้ดี เมื่อปร
ับที่เรียบร้อยแล้วให้ปรับปรุงดิน
โดยไถพรวนพลิกดินสัก 1
-2
ครั้ง หรือจะกำจัดวัชพืช
แล้วลงมือขุดหลุมปลูกเลยก็ไดถาดินที่ปลูกนั้นอุดมสมบูรณดวยอินทรียวัตถุอยูแลว
ก็ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงดินอีก ส่วนที่เป็นทรายจัดมีอินทรีย์วัตถุน้อย
ให้ปรับปรุงดินให้ดีเสียก่อนลงมือปลูก โดยการหาปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพิ่มเติมลงในดิน
วัสดุที่พอหาได้ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ต่าง ๆ กระดูกป่น กากถั่ว เปลือกถั่ว
เศษใบไม้ ใบหญ้า ที่ผุพัง ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืชที่ปลูกทั้งสิ้น
ควรหามาเพิ่มลงในดินให้มาก ๆ


นอกจากนี้ การปลูกจำนวนเล็กน้อยตามบ้านเรือน
ที่อยู่อาศัย มีข้อที่ควรคำนึงอยู่ สองประการคือ


(1) ความลึกของระดับน้ำในดิน
และความแน่นทึบของดิน ที่บางแห่งระดับน้ำในดินตื้น เมื่อขุดลงไปเพียงเล็กน้อย
น้ำก็จะซึมเข้ามา เวลาจะปลูกมะม่วงควรยกระดับดินให้สูงขึ้น
เพราะระดับน้ำจะเป็นตัวคอยบังคับการเจริญเติบโตของราก
เมื่อรากเจริญไปถึงระดับน้ำแล้ว จะไม่สามารถเติบโตลึกลงไปได้อีก
แต่จะแผ่ขยายออกด้านข้าง ทำให้รากของมะม่วงอยู่ตื้น ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
เป็นผลให้ต้นมะม่วงโตช้าแคระแกร็นและโค่นล้มง่าย


(2) ความแน่นทึบของดินนั้น ตามปกติ
เวลาถมที่เพื่อปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน ก็มักจะถมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อไม่ให้ดินทรุดในภายหลัง ดินที่แน่นทึบนี้ไม่เหมาะต่อการปลูกมะม่วง
หรือไม้ยืนต้นต่าง ๆ เลย เพราะรากไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศของดินไม่ดี ทำให้ต้นมะม่วงโตช้าและแคระแกร็น การแกไขทำได้โดย
ขุดหลุมปลูกให้กว้าง ๆ และลึก ตากดินที่ขุดขึ้นมาจนแห้งสนิท ย่อยให้เป็นก้อนเล็กๆ แล้วผสมกับปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ลงไปในก้นหลุมด้วย
เสร็จแล้วจึงกลบดินลงหลุม รดน้ำให้ยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก


2. การขุดหลุมปลูก


2.1 การขุดหลุมปลูกทั้งแบบปลูกบนร่องและปลูกในที่ดอน
ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการปฏิบัติงาน
ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างยาว และลึก
50 เซนติเมตร - 1 เมตร ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย
มีอินทรีย์วัตถุมากก็ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่
เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้น
ให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง
ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 1
5 - 20 วัน
แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ย
อินทรีย์แท้ เกรด A ตรายักษ์เขียว
สูตร
1 (แถบทอง) อัตรา 1-2 กำมือต่อหลุม รองพื้นด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม
โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมและดินชั้นล่างกลบทับลงไปที่หลัง
ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดีเสียก่อน
หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อน จึงลงมือปลูก
ระยะปลูก


2.2 ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน
แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่


(1) ระยะปลูกแบบถี่
หรือการปลูกระยะชิด เช่น
2.5 X 2.5 เมตร, 4 X 4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม
ซึ่งจะได้มะม่วงประมาณ
256
ต้นต่อไร่ การปลูกระยะชิดนี้ จำเป็นจะต้องดูแลตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอด้วย


(2) ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8 X 8 เมตร,
10 X 10 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม แนะนำให้ปลูกระยะ 8 X 8 เมตร หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 6 X 6 เมตร สำหรับมะม่วงที่ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง


3. วิธีปลูก


การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน
กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก
เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนานๆ
ดินจะจับตัวกันแข็ง และรากก็พันกันไปมา
เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได
เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว


3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา
ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย
แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว
เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ
ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป


3.2 ารปลูกด้วยกิ่งตอน
ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว
เพราะจะทำให้เน่าได้ง่ายเมื่อปลูกเสร็จให้ปกไมเป็นหลักผูกต้นกันลมโยก
แล้วรดน้ำให้ชุม
ต้นที่นำมาปลูกถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดีคือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด
ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง
ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้นในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่นี้
ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุดเพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก
และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรก ๆ
อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก
ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก่อนจะหมดฝนและสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย
ส่วนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก


3.3 การปลูกพืชแชม ต้นมะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งตอน
กิ่งติดตา หรือต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้เวลาประมาณ
3-4 ปี จึงจะให้ผล ส่วนการปลูกด้วยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะใช้เวลาประมาณ 5–6
ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ต้นยังไม่ไห้ผลนี้ ถ้าปลูกแบบระยะต้นห่างๆ
กันจะมีที่ว่างเหลืออยู่มาก ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ
หรือพืชที่ค่อนข้างถาวรแซมเป็นการหารายได้ไปพลาง ๆ ก่อน
ไม่ควรปล่อยให้ดินว่างเปล่า นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วยพืชที่ควรปลูกแซมระหว่างที่ต้นมะม่วงยังเล็กอยู่ คือ พวกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ
ซึ่งเป็นพืชช่วยบำรุงดิน เมื่อเก็บถั่วแล้ว ขุดสับลงดิน
เพื่อเป็นประโยชน์แก่ดินและพืชต่อไป ส่วนพืชที่ไม่ควรปลูกแซมคือข้าวโพด ข้าวฟ่าง
มันสำปะหลัง เป็นต้น
เพราะเป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว การปลูกพืชแซมอีกวิธีหนึ่ง
ซึ่งนิยมกันในการปลูกไม้ผลทั่วไปคือ ปลูกกล้วยลงไปก่อน
เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกมะม่วงตามลงไป ต้นกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาไม่ให้ต้นมะม่วงโดนแดดจัดเกินไป
และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยให้ต้นมะม่วงโตเร็ว และประหยัดการให้น้ำด้วย
จนเมื่อเห็นว่า ต้นมะม่วงโตมากแล้ว และโดนต้นกล้วยบังร่มเงา ก็ทยอยขุดต้นกล้วยออก
โดยขุดต้นกล้วยที่อยู่ใกล้
ต้นมะม่วงออกก่อน จนกว่าต้นกล้วยจะหมดไป และต้นมะม่วงโตขึ้นมาแทนที่
ต้นกล้วยที่ตัดหรือขุดรื้อทิ้งนั้น ให้ผ่าเป็นสองซีก ใช้เป็นวัตถุคลุมดินได้ดี
ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น และช่วยรักษาความชื้นของดิน การปลูกต้นกล้วยแซมนี้
มีข้อเสียตรงที่ต้องเสียแรงงานมากในการขุดรื้อต้นกล้วยออก


4. ฤดูปลูก


มะม่วงควรปลูกตอนต้นฤดูฝน
หรือในประมาณเดือนพฤษภาคม
- กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น
เนื่องจากในฤดูฝนอากาศมีความชุ่มชื้นดี ทำให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็ว
และเป็นการสะดวกไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก


เขียวเสวย นอกฤดู


การดูแลรักษา


1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต


1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี


1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก


1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์


2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ


2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที
พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น


2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2
รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่


3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก


ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก
ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย
2 เดือน
และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน
ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร
0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ
2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป


การให้น้ำ


ความถี่ของการให้น้ำ,การตัดแต่งกิ่ง,วิธีการตัดแต่งกิ่ง,รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง,การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น, การให้ปุ๋ย, การเก็บเกี่ยว,ฯลฯ (เนื่องจากตัวอักษรมันเยอะพื้นที่ไม่พอครับ)


อ่านต่อได้ที่นี่ครับ  คลิก


การทำมะม่วงนอกฤดู







 

Create Date : 16 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 16 ธันวาคม 2553 11:47:16 น.
Counter : 2957 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.