ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

แก้อย่างไร? การระบาดของแมลงศัตรูพืช

การระบาดของศัตรูพืช และ วิธีกำราบ



     ในทุก ๆ ปี มักจะได้ยินคำเตือนการระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่ต่าง ๆ  จากทางกรมวิชาการเกษตร จากทางสื่อต่างๆ ที่พบบ่อย ๆไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ หรือ โทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งเกษตรกรหลาย ๆ ท่านเมื่อรู้อาจมีวิธีแก้ แต่ก็มีเพื่อนเกษตรกรอีกจำนวนมาก ที่รู้แต่ก็ไม่รู้จะแก้อย่างไร เพราะจับต้นชนปลายไม่ถูก รู้แต่ว่าต้องซื้อยามาฉีดเอาให้น๊อก เอาให้อยู่ ไม่งั้นเจ๊งแน่ คนที่มีทุนซื้อหาสารเคมีก็อาจจะแค่เจ็บตัว ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูง แต่คนที่ทุนน้อย เรียกได้ว่าต้องทำใจเป็นหนี้ รอกู้ใหม่ ทำใหม่ รอทำผลผลิตรอบใหม่เลยทีเดียว  ฉบับนี้นายยักษ์เขียวจะมาจำแนกวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตามแบบฉบับเกษตรแผนใหม่ให้เพื่อนเกษตรกรได้วิเคราะห์กัน
 เรื่องของพืชนั้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าว พืชไร่ ผัก หรือไม้ผล ไม้ยืนต้นที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ ที่เรานำมาเพาะปลูก แมลงที่เข้ามากัดกินดูดน้ำเลี้ยงหรือทำความเสียหาย ล้วนเป็นแมลงศัตรูพืชอย่างที่เรารู้ ๆ กัน แต่วิธีการป้องกันและกำจัดรวมถึงต้นทุนในการกำจัด มีแตกต่างกันสามารถจำแนกได้หลายแบบ ดังที่นายยักษ์เขียวจะกล่าว โดยจะเรียงลำดับจากวิธีที่ต้นทุนต่ำที่สุดไปหาวิธีที่ต้นทุนสูงที่สุด ดังนี้
 
  1.ใช้วิธีกลหรือสารยับยั้งป้องกันแมลงตั้งแต่ก่อนเข้าแปลง  ***วิธีนี้ต้นทุนต่ำที่สุด*** เช่น สมุนไพร,หรือปุ๋ยทางใบที่สามารถไล่แมลงได้
หลักการ : โดยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้แมลงไม่ชอบ ซึ่งต้องเข้าใจพื้นฐานของศัตรูพืชทั้งแมลงและสิ่งมีชีวิต  สิ่งที่ดึงดูดแมลง คือ กลิ่นดอกไม้หรือผลผลิตที่เป็นอาหารแมลง และ สี เพราะสิ่งเหล่านี้ แมลง ต่างรู้ดีว่านั่นหมายถึง แหล่งอาหารของมัน
วิธีปฏิบัติ :
    -โดยการปลูกพืชเพื่อขับไล่ เช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ ฯลฯ  แต่วิธีนี้ทางปฏิบัติทำได้ยากและสิ้นเปลืองแรงงานในการจัดการ
    -การใช้ไฟล่อแมลงเพื่อทำลาย เช่น การใช้ไฟสีม่วงดึงดูดแมลงในตอนกลางคืนเพื่อทำลาย สามารถช่วยลดปริมาณได้ระดับหนึ่งแต่อาจไม่เพียงพอหากในชุมชนไม่ได้ร่วมมือทำพร้อมๆ กัน
    -ใช้สารป้องกันขับไล่ เช่น การหาสารอินทรีย์ ที่ปลอดภัยมาใช้ฉีดพ่นเพื่อขับไล่ ป้องกันแมลงตัวแม่เข้าแปลง มาวางไข่ หรือป้องกันแมลงเข้ามากินและทำลาย
ผลลัพธ์ที่ได้ : (ข้อดีของวิธีนี้ คือ การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ ทำให้ไม่ดึงดูดแมลงศัตรู ซึ่งมีประสาทรับรู้เรื่องกลิ่นไวมาก)
    -การใช้สมุนไพร ยังมีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากสารจำพวกนี้สลายตัวเร็วเมื่อเจอแสงแดด ทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
    -ใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ที่มีความสามารถช่วยขับไล่แมลง (ถ้าใครเคยรู้จักนายยักษ์เขียวจากบทความในนิตยสารก็จะทราบดีว่าต้องใช้ตัวใด) แต่ก็มีข้อจำกัดก็คือ ถ้าในพื้นที่ ที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง ก็แนะนำให้ใช้ผสมผสานกับการตัดวงจรด้วยวิธีอื่น แต่สิ่งที่ดีก็คือมันจะประหยัดขึ้นแน่นอน


2. ใช้สารเสริมสร้างความแข็งแรงให้ต้นพืช ***วิธีนี้ได้ผลดีในช่วงแรก ทำให้ต้นทุนสูงกว่าวิธีแรก***
หลักการ : เพิ่มความแข็งแรงให้เซลล์พืช เช่นใบ ทำให้หนอนหรือแมลง ไม่อยากเข้ามากิน โดย
วิธีปฏิบัติ : ใช้สารกลุ่มไคโตซาน, ไคติน, แคลเซียมหรือกรดซิลิคอน ฯลฯ  ฉีดพ่นทางใบ หรือใส่ทางดิน
ผลลัพธ์ที่ได้ :  (ข้อดีของวิธีนี้ก็เหมือนกับการทำให้(พืช)อาหารของแมลงกินยากขึ้น)
ได้ผลดีในช่วงแรก แต่เมื่อใช้ไปซักระยะ การระบาดของแมลงจะกลับมา ส่วนต่างๆ ของพืชจะถูกทำลายเหมือนเดิม ถ้าเปรียบให้เห็นภาพ แมลงก็เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเรื่องอาหารได้ง่าย สังเกตได้จากเราจะพบเห็นแมลงที่ข้ามมาระบาดและทำลายพืชที่เราปลูกมากกว่าเดิม ทั้งที่แต่ก่อนมันเคยแต่ทำลายพืชชนิดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับแปลงเรา ถ้าเปรียบก็เหมือนกับคนที่หิวโหย อดอยาก หากมีข้าวที่หุงแข็งขึ้น หรือเศษอาหารที่เริ่มบูดเสีย เราคิดว่าคนๆ นั้นเค้าจะกินหรือไม่?  ซึ่งต่างกับวิธีแรกที่ใช้กลิ่นเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่แมลงสัมผัส


3. ใช้สารกำจัดแมลงเคมีหรืออินทรีย์  ***วิธีนี้ต้นทุนสูงที่สุด เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ***
หลักการ : กำจัด กวาดล้าง แมลงตัวบินหรือหนอนในแปลง
วิธีปฏิบัติ : ใช้สารอินทรีย์หรือเคมีในการฉีดพ่นประเภทสัมผัสและกินตาย เพื่อทำลายแมลงศัตรู
ผลลัพธ์ที่ได้ :  (ข้อดีของวิธีนี้ คือการฆ่าทำลายแมลงในแปลงอย่างรวดเร็ว)
ใช้ได้ผลดีกับแมลงบางชนิด เช่น หนอน,ไข่แมลงหรือแมลงที่เคลื่อนไหวช้า  แต่สำหรับแมลงที่บินได้นั้น รับรองได้ว่าเกษตรกรฉีดพ่นไม่โดนพลเมืองส่วนมากของมันแน่  เพราะแมลงจะมีประสาทรับกลิ่นที่ไวกว่าคน  แค่มันได้กลิ่นมันก็บินหนีไปแปลงข้างเคียงหรือทิ้งตัวลงพงหญ้าแล้ว  พอกลิ่นหายมันก็กลับมาทำลายใหม่ อีกทั้ง แมลงมีความสามารถในการปรับตัวเรื่องต้านทานสารเคมีสูง ทำให้เราต้องเพิ่มความแรงของสารเคมีที่ใช้ หรือต้องสลับประเภทการใช้   แต่ในที่สุด เราจะพบว่า แม้ยาแรง ยาแพง ก็น๊อกแมลงไม่ได้  กลับกลายเป็นเกษตรกรเองที่น๊อก
  สรุปแล้ว การเลือกใช้ที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การผสมผสานข้อดีและข้อด้อยของกันและกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดนั่นเองครับ


ใช้อย่างระมัดระวัง วางแผนก่อนการใช้ จะทำให้เราประหยัดทั้งเงิน และประหยัดทั้งค่าหยูกค่ายา ค่ารักษาตัวจากผลกระทบของสารเคมีครับ






Free TextEditor




 

Create Date : 23 มีนาคม 2553
0 comments
Last Update : 23 มีนาคม 2553 16:54:27 น.
Counter : 1267 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.