Golfer & Eat Out Zone.ออกรอบ ตามไปชิม
ปล.แวะมาเยี่ยมแล้วช่วยลง Comment ให้ด้วยครับ
ด้วยความเคารพ

+++++++++++++++++++++++++++

คติธรรมจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธฺมโม วัดอัมพวัน :
เชื่อยาก สอนง่าย ไปไหนปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่ารื้อฟื้น เรื่องคนอื่นอย่าเอามาคิด อย่าจับให้มั่นคั้นให้ตาย จะผิดหวังเสียใจตลอดชีวิต :



http://yaipearn.multiply.com


Since Jan 18, 2005


Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
5 เมษายน 2548
 
All Blogs
 
เริ่มเล่นกอล์ฟ ใช้เหล็กอะไร

เริ่มเล่นกอล์ฟ ใช้เหล็กอะไร
โดย : เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

การหาชุดเหล็กที่เหมาะกับนักกอล์ฟแต่ละท่านนั้น จำเป็นที่จะต้องประมาณระดับฝีมือของตัวเองให้ถูกต้อง และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของชุดเหล็ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเหล็กคู่ใจ

ชุดเหล็กเป็นอุปกรณ์กอล์ฟชิ้นแรกๆ สำหรับนักกอล์ฟที่เพิ่งหัดเล่น บางคนเริ่มต้นหัดเล่นโดยการซื้อเหล็ก 7 ซึ่งเป็นเหล็กเบอร์กลางๆ ที่ตีไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป เหมาะสำหรับการทดลองตีดูว่าชอบกีฬานี้หรือไม่ บางคนก็หยิบยืมเพื่อนฝูงมาลองตี บ้างก็ใช้ชุดเหล็กที่ได้มาจากมรดกตกทอด ซึ่งเหล็กชุดแรกๆ ที่นำมาหัดเล่นมักไม่เหมาะกับเรา เพราะว่าตัวนักกอล์ฟที่เพิ่งหัดเล่นนั้น ยังไม่รู้ศักยภาพของตัวเองว่ามีดีขนาดไหน จนกระทั่งนักกอล์ฟฝึกซ้อมจนมีฝีมือแกร่งกล้าระดับนึง จึงเริ่มรู้ว่าเราก็มีดีไม่เบานะ นักกอล์ฟจึงเริ่มมองหาชุดเหล็กคู่ใจ ซึ่งบางคนโชคดีก็หาชุดเหล็กที่ถูกใจ เข้ามือ ได้เลยในชุดแรกๆ บางคนผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ถูกเพื่อนร่วมก๊วนกินแล้วกินอีกก็ยังควานหาไม่เจอ ซึ่งการหาชุดเหล็กที่เหมาะกับนักกอล์ฟแต่ละท่านนั้น จำเป็นที่จะต้องประมาณระดับฝีมือของตัวเอง และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของชุดเหล็ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเหล็กคู่ใจ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ลักษณะของใบเหล็ก
เหล็กที่วางขายในท้องตลาดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Traditional Iron หรือรู้จักกันในชื่อ Blade
2. Peripheral-Weight (เหล็กที่มีการกระจายน้ำหนัก)

Tradition Iron หรือ Blade (เหล็กเบลด)
คุณสมบัติเด่นของเหล็กเบลด มีดังนี้
- มีความกว้าง Sole แคบกว่าเหล็กรูปทรงอื่นๆ ซึ่งทำให้การตีมีความเฉียบคมในการตีผ่านหญ้า และตีกัดดินให้เกิด Divot ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เด่นของเหล็กรูปทรงนี้ แต่นักกอล์ฟที่ยังมีวงสวิงที่ไม่นิ่งพอ มีจังหวะปะทะลูกยังไม่แม่น ขาดๆ เกินๆ อาจไม่เหมาะกับเหล็กเบลด เนื่องจาก Sole ที่แคบของเหล็กเบลดนั้นจะทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการตีกัดลงในดินง่าย ซึ่งบางครั้งหากนักกอล์ฟลงเหล็กหลังลูกไปเพียงนิดเดียว เหล็กเบลดจะจิกลงไปในดินทันที ทำให้เกิดอาการตีหลังลูก และทำให้ตีไม่ได้ระยะ โดยเฉพาะการตีในสภาพที่แฟร์เวย์นุ่ม หรือแฉะ แต่การตีในสภาพแฟร์เวย์แข็งจะไม่เห็นชัดเจน เนื่องจากผิวพื้นที่แข็งจะทำให้ใบเหล็กกัดลงไปในดินได้ยากอยู่แล้ว จึงพบนักกอล์ฟที่มีวงสวิงยังไม่นิ่งพอ สามารถตีเหล็กเบลดบนพรมในสนามซ้อมได้ แต่พอออกสนามจริงขุดดินเป็นประจำ

- รูปทรงของเหล็กเบลดทำให้จุดศูนย์กลางของน้ำหนัก (C.G) อยู่สูง และอยู่ใกล้ผิวหน้าของเหล็ก ซึ่งณ.ความสูงของ C.G. ที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ลูกปะทะกับหน้าเหล็กส่งผลให้ลูกที่ถูกตีออกไปพุ่งต่ำและมีพลัง ซึ่งการตีในสภาวะที่ลมแรง ลมมีผลต่อทิศทางและระยะของลูกวิถีต่ำน้อยกว่าลูกวิถีโด่ง เหล็กเบลดจึงมีข้อดีในการตีในสภาวะที่ลมแรง ส่วนตำแหน่งของ C.G ที่อยู่ใกล้ผิวหน้าของเหล็กนั้น จะมีข้อดีสำหรับนักกอล์ฟที่ตีค่อนข้างแม่นลูก และมีเทคนิคการตีลูกให้ Draw และ Fade ได้อย่างแม่นยำ กล่าวคือนักกอล์ฟเหล่านี้สามารถควบคุมวิถีลูกได้ซึ่งต้องเป็นนักกอล์ฟฝีมือดี ผ่านกับฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ การที่ C.G อยู่ใกล้ผิวหน้าเหล็กนั้นจะทำให้ณ.ตำแหน่งที่ใบเหล็กปะทะกับลูก มุมที่ C.Gของใบเหล็กกระทำกับลูกนั้น จะใกล้เคียงกับมุมที่นักกอล์ฟตั้งใจจะปั่นลูกออกไป คนส่วนใหญ่จึงมักนิยามเหล็กเบลด ว่าเป็นเหล็กที่ควบคุมทิศทางได้ดี ซึ่งตามคำอธิบายนี้ การควบคุมทิศทางนั้นจึงเป็นเรื่องของคนควบคุม มิใช่ใบเหล็กมีคุณสมบัติเช่นนั้น หากนักกอล์ฟเป็นผู้ที่ตีไม่ถูกกลาง Sweet Spot อย่างแม่นยำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เหล็กเบลด เนื่องจากการตีที่ไม่เข้ากลาง Sweet Spot เพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดผลเสียมากทั้งในเรื่องระยะและทิศทาง

Peripheral-Weight
เหล็กที่เป็น Peripheral-Weight เป็นเหล็กที่นำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาช่วยในการออกแบบ เพื่อออกแบบให้เหล็กตีง่ายขึ้น และผิดพลาดน้อยลง
-การออกแบบโดยการกระจายน้ำหนักออกไปรอบๆ ใบเหล็ก เพื่อให้น้ำหนักที่ถูกกระจายออกไปช่วยต้านทานการสบัดของใบเหล็ก กรณีที่เกิดการปะทะลูกไม่โดนตรงกลาง Sweet Spot ซึ่งเหล็กเบลดจะมีอาการสบัดมากกว่า เหล็กแบบ Peripheral Weight การสบัดของใบเหล็กที่มากเกินไป บางครั้งทำให้ตีเสียระยะและทิศทาง และอาจเกิดอาการเจ็บมือในการฝึกซ้อม ซึ่งนักกอล์ฟที่มีปัญญหาเหล่านั้นอาจเปลี่ยนมาใช้เหล็กแบบ Peripheral เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว หรือหากต้องการใช้เหล็กเบลดดังเดิม ก็ควรฝึกตีให้แม่นกลาง Sweet Spot

- การออกแบบโดยให้จุดศูนย์กลางของน้ำหนัก (C.G.) ต่ำลง ซึ่งโดยรูปทรงของเหล็กแบบที่มีการกระจายน้ำหนักนั้น เนื้อเหล็กจะไปอยู่ด้านล่างมากกว่าเหล็กเบลด ทำให้ C.G. ต่ำลง หรือเหล็กบางรุ่นอาจใช้น้ำหนักวัสดุที่มีความหนาแน่นสูงกว่ามาถ่วงให้ C.G.ต่ำลง โดยทั่วไปความหนาแน่นของวัสดุที่นำมาทำใบเหล็กอยู่ประมาณ 7.8-7.85 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และวัสดุที่นิยมนำมาถ่วงคือทังสเทน ซึ่งมีความหนาแน่น 14 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

เหล็ก Peripheral -Weight
ที่นิยมในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
- เหล็ก Cavity-Backed เป็นเหล็กที่มีการกระจายน้ำหนักออกไปรอบๆ มี Sole ของใบกว้าง เพื่อป้องกันการตีกัดลงไปในดินมากเกินไป มี C.G.ต่ำเพื่อให้ตีให้เหินง่าย

- เหล็ก Muscle Backed Cavity เป็นเหล็กที่มีนำเอาข้อดีของการกระจายน้ำหนักออกไปรอบ ๆ เพื่อให้ตีง่าย และนำข้อดีของเหล็กเบลดซึ่งมี Sole ที่แคบตีกัดดินได้อย่างเฉียบคม โดยการนำข้อดีทั้งสองมาผสมผสานกัน ซึ่งลักษณะของเหล็กชนิดนี้จะมีการกระจายน้ำหนักที่ไม่มากนัก (ต่างจากเหล็ก Cavity-Backed ที่จะมีขอบรอบ ๆ ใบเหล็กหนาและลึก) และเป็นใบเหล็กที่มี Sole กว้างกว่าเบลดเล็กน้อย แต่แคบกว่า เหล็ก Cavity-Backed ซึ่งบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Half Blade หรือ Blade Muscle Backed Cavity ซึ่งเหล็กชนิดนี้ตีแล้วได้วิถีลูกปานกลาง ซึ่งอยู่ระหว่างเหล็กเบลดและเหล็ก Cavity Backed

- เหล็ก Pocket Cavity Backed เป็นเหล็กที่มีการกระจายน้ำหนักไปรอบ ๆ และย้าย C.G. ให้ค่อนไปทางด้านหลัง ซึ่งการย้ายน้ำหนักไปอยู่ข้างหลังให้มากที่สุด ก็เพื่อปรับปรุงให้วิถีลูกของเหล็ก Peripheral-Weight ดีขึ้น มีพลังขึ้น และตีได้ไกลขึ้น วิธีการอธิบายเรื่องนี้ขอให้นึกถึงค้อน ตะปูคือลูก ถ้าเราเอาด้านข้างของค้อนไปตอกตะปู จะต้องใช้แรงมากกว่า ในขณะที่ถ้าใช้ด้านที่ตอกตามปŦ5;ติจะใช้แรงน้อยกว่าและตะปูก็จะถูกตอกลงง่ายกว่า เปรียบตะปูเป็นลูกกอล์ฟก็คือลูกที่ถูกตีจะถูกส่งออกไปด้วยพลังที่ดีกว่า

มีเหล็กบางประเภทที่ดูเหมือนเหล็กเบลด แต่ไม่ใช่เบลด ซึ่งชื่อเรียกของเหล็กชนิดนี้คือ Air Muscle การออกแบบเหล็กลักษณะนี้ใช้หลักการเดียวกับเหล็ก Cavity-Backed คือการกระจายน้ำหนักออกไปรอบๆ ใบเหล็กเหมือนกัน แต่การกระจายน้ำหนักนั้นจะซ่อนอยู่ข้างใน เพื่อให้ตีง่าย ชดเชยความผิดพลาดได้ ตามหลักการของเหล็ก Peripheral ทุกประการ

การเลือกใช้เหล็กนอกเหนือจากการเลือกตามคุณสมบัติเด่นๆ ของเหล็กแต่ละแบบ ก็ต้องพิจารณาฝีมือการเล่นของเราประกอบการเลือก เพื่อให้ได้ชุดเหล็กที่เป็นเหล็กคู่มือคู่ใจจริงๆ โปรกอล์ฟ หรือนักกอล์ฟฝีมือดี นักกอล์ฟที่สามารถตีให้ลูกไปตกในตำแหน่งที่ไม่ห่างจากตำแหน่งที่เล็งได้อย่างสม่ำเสมอ นั้นสามารถใช้เหล็กรูปแบบไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิถีลูก และการชดเชยความผิดพลาดซึ่งโปรหรือนักกอล์ฟเหล่านั้นต้องการ อาจจะใช้เหล็กเบลดซึ่งให้วิถีลูกที่ต่ำเพื่อสามารถตีสู้กับลมได้ดี และสามารถเล่นลูก Shape Shot หรืออาจใช้เหล็กที่มีการกระจายน้ำหนักแบบ Peripheral Weight เพื่อให้การชดเชยความผิดพลาดที่ดีขึ้นในกรณีที่ตีไม่เข้ากลาง Sweet Spot หรืออาจใช้เหล็ก Peripheral Weight เพื่อให้ลูกที่ตีออกไปได้วิถีที่โด่งขึ้น

เหล็ก Forged VS Cast
บางครั้งในการเลือกซื้อเหล็กท่านนักกอล์ฟมักจะเห็นเหล็กบางชนิดพิมพ์ตัวอักษรว่า Forged ซึ่งคำว่า Forged นั้นเป็นชื่อเรียกกระบวนการผลิตใบเหล็ก โดยการ Forged นั้น จะทำโดยการนำเหล็กซึ่งมีความอ่อนนุ่มจำพวก Carbon Steel มาทุบขึ้นรูปโดยใช้ความร้อน ส่วนเหล็ก Cast นั้นจะขึ้นรูปโดยวิธีการเทหล่อโลหะในแบบ

ข้อแตกต่างระหว่างเหล็ก 2 ชนิดนี้
ข้อที่ 1 คือเรื่องราคา เหล็กที่ขึ้นรูปโดยวิธีการ Forged มักจะแพงกว่า
ข้อที่ 2 คือวัสดุที่สามารถนำมา Forged ได้ จะต้องเป็นเหล็กที่เหนียว เหล็กชนิดนี้จึงสามารถนำมาดัด Lie angle และ Loft angle ได้ ส่วนเหล็ก Cast นั้นส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กเปราะจึงมักดัดไม่ได้ แต่อาจจะมีเหล็กบางรุ่นดัดได้เล็กน้อย ซึ่งเหล็ก Cast ชนิดนั้นจะต้องผ่านขบวนการอบด้วยความร้อน (Preheat) มาก่อน

นักกอล์ฟที่ไม่สามารถตีให้ลูกไปตกในตำแหน่งที่เล็งไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ และมักตีผิดพลาดเป้าหมายอยู่เป็นประจำ นักกอล์ฟที่ตีพลาดเป้าหมายมากกว่าตีเข้าเป้า ตลอดจนนักกอล์ฟมือใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเบลด เพราะโดยธรรมชาตินักกอล์ฟเหล่านี้จะยังมีวงสวิงที่ไม่สม่ำเสมอ อยู่ในช่วงปรับตัว และเหล็กเบลดเองก็มีการชดเชยความผิดพลาดต่ำ ซึ่งเมื่อ 2 สิ่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกันขณะตีจริง จะทำให้ลูกลอยไปตกในตำแหน่งที่นักกอล์ฟไม่ได้เล็งไว้ และเป็นตำแหน่งที่นักกอล์ฟไม่อยากให้มันไปเลย พับผ่าเถอะ !!! ซึ่งเหล็กที่เหมาะกับนักกอล์ฟในกลุ่มนี้คือบรรดาเหล็ก Peripheral-Weight ทั้งหลาย โดยนักกอล์ฟต้องลองทดสอบตีเหล็กหลาย ๆ รุ่นดู เนื่องจากว่าเหล็กในกลุ่มนี้จะให้ความรู้สึก วิถีลูกที่แตกต่างกัน และนักกอล์ฟในกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาฝีมือ ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา หากช่วงไหนฝีมือดีก็อาจจะเหมาะกับเหล็ก Peripheral-Weight ใบบางๆ พวก Blade Muscle Backed Cavity หรือช่วงไหนอ่อนซ้อม ตีเบี้ยวเป็นอาจิน ก็ควรหาเหล็ก Peripeheral-Weight พวก Cavity Backed หรือ Pocket Cavity Backed จึงเห็นนักกอล์ฟหลายๆ ท่านเปลี่ยนเหล็กไปตามฝีมือการตีในเวลานั้นๆ หรือบางท่านที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน เข้าใจสัจธรรมกอล์ฟ ก็อาจมีเหล็กหลายๆ ชุด เพื่อเลือกใช้ในโอกาสและเวลาที่เหมาะสม
Copyright //www.golferonline.co.th


Create Date : 05 เมษายน 2548
Last Update : 5 เมษายน 2548 16:19:57 น. 1 comments
Counter : 3054 Pageviews.

 
สุดยอดครับ
แต่ว่าผมมีข้อคำถามคือผมมีแฮนดีแคบประมาณ12-16จะใช้เหล็กได้หรือยัง(ปัจจุบันใช้เหล็กของวิลสันรุ่น 1200)


โดย: ภิรมย์ IP: 210.246.144.163 วันที่: 11 ธันวาคม 2552 เวลา:14:47:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaipearn
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" กอล์ฟไม่ใช่วิทยายุทธที่จะต้องซ้อมจนปางตายแล้วจึงจะเข้าถึงวิชา "
จากคุณ : ชอบแช้งค์

สวัสดี ครับ
บ้านอยุ่กรุงเทพ บางเขน
แม่คนจังหวัดน่าน พ่อคนอุทัยธานี
ผสมออกมาเป้นผม
สถานะปัจจุบัน โสด

ใหญ่
GSM mobile 089-8154670 (july 1,2006)

MSN: yaip@hotmail.com



Since: Sep 3, 2006
Friends' blogs
[Add yaipearn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.