"แอมมี่ & อ้ายช้าง"
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

EM คืออะไร เอาไว้ทำไม เพื่ออะไร

EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ


--------------------------------------------------------------------------------

EM กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์นี้ได้รับการคัดและเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน

EM มีลักษณะอย่างไร? EM มีประโยชน์อย่างไร? EM สามารถประยุกต์ใช้ได้หรือไม่?

อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาแห่งการเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อปี พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสตราจารย์วาคุกามิได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนาหรือคิวเซ (คิวเซ แปลว่าช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10%
กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10%
กลุ่มกลาง มีประมาณ 80% จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่น ๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต้านทานโรค (Diseases resistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่าง ๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch หรือ Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสนหรือทำให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืชช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM
EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้นเวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต และมีลักษณะดังนี้

ต้องการที่อยู่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปอยู่ในอุณหภูมิปกติ
ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้
เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

การดูแลรักษา

หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน
การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกตพิเศษ

หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
กรณีเก็บไว้นาน ๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ของ EM สด

1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)

ผสมน้ำในอัตรา 1:1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ: น้ำ 10 ลิตร) ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชต่าง ๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายปุ๋ยแห้ง

3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น
หากสัตรว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

ใส่ห้องน้ำห้องส้วมและในโถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือ สัปดาห์ละ 1/2 แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
กำจัดกลิ่นด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาลในอัตราส่วน 1 : 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
บำบัดน้ำเสีย 1: 1000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร
ใช้กำจัดเศษอาหาร หรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน/ครั้ง
ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
ใช้ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือความเหม็น โดย ผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน

ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

ใช้กับพืชเหมือน EM สด
ใช้กับสัตว์
ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
ผสมน้ำ 1: 1000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
ผสมน้ำในอัตรา 1: 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์
ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด
ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด
ประโยชน์ของปุ๋ยแห้ง

ใช้กับพืช
รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรีย์วัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
คลุมดิน คือ โรยผิวดินบนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
ใช้ในนา ไร่ ร่วมกับ EM ขยาย ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดพืชผัก
ใช้กับการประมง
เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
ผสมอาหารสัตว์
ใช้กับปศุสัตว์
ผสมอาหารให้สัตว์กิน
ใช้กับสิ่งแวดล้อม
เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับ EM ขยาย
เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำปุ๋ยน้ำ
ใช้ในขยะเปียกอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ Califarnia Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%

สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่า จุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้

ใช้กับพืชทุกชนิด
ใช้กับการปศุสัตว์
ใช้กับการประมง
ใช้กับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ

ลดต้นทุนการผลิต
ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
ผลผลิตสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ รักษาสิ่งแวดล้อม
สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจของผู้ผลิตและผู้บริโภค
พัฒนาคุณภาพชีวิต
เป็นวิธีง่าย ๆ ใครก็ทำได้


ที่มา: LAB.TODAY เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2545 หน้า 65-68.




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2549
1 comments
Last Update : 17 สิงหาคม 2549 21:42:23 น.
Counter : 6506 Pageviews.

 

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูล

2 อาทิตย์ก่อนน้องหมาที่บ้านเสียชีวิตค่ะ สามสี่วันให้หลัง กลิ่นน้องหมาที่ฝังไว้ในบ้านแรงมาก..พ่อแก้ปัญหาด้วยการราด Em ลงไป แล้วก็ไม่มีกลิ่นอีกเลย..

กำลังอยากรู้พอดีเลยค่ะว่าเพราะเหตุใด
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: FaRaWaYGiRL 17 สิงหาคม 2549 21:55:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


xammy
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เจ้าของสุดสวยกะหมาโรคจิต


ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH

โย่วรักพี่แอมคร้าบ
Free cursors for MySpace at www.totallyfreecursors.com!
Free Counters
Color Codes ป้ามด
Friends' blogs
[Add xammy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.