มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 1)
มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 1)

ก่อนจะเข้าเรื่องมันมีที่มา เมื่อ 2-3 วันก่อนผู้อ่านท่านหนึ่งส่งอีเมลมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทยที่ ส.ป.ล.ท. และหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดทำอยู่ขณะนี้ก็ตอบกันไปตอบกันมาหลายเมลอยู่ เราก็อปปี้อีเมลมาให้อ่านเลยแล้วกันนะ

********

อีเมลจากผู้อ่าน

เห็นคุณเขียนลงในบล็อกแล้วมีประโยชน์มาก ดิฉันก็เปิดบริษัทรับแปลเอกสารและเดินวีซ่าและทำสำนักพิมพ์ด้วย ... ทุกวันนี้ไม่คิดว่าการรับรองมาตรฐานนักแปลนี้จะมีผลอะไรเพราะมั่นใจว่าคนที่ผ่านการประเมินนี้โดยส่วนตัว ไม่ได้แปลว่าจะแปลงานได้ดีกันทุกคนและสามารถแปลงานได้ทุกสาขา... เมืองไทย ล่ามในศาล ศาลรับรองอยู่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศเองก็มีนักแปลและล่ามของเขาอยู่แล้วฯลฯ ...และจะมาใช้เพื่อต่อรองสำหรับนักแปลงานวรรณกรรม รับรองได้เลยว่าสำนักพิมพ์ไม่แคร์... [ประโยคสุดท้ายนี้ขอเซนเซอร์]

ตอบ

“แน้ทรู้ว่าจะมีการจัดทำมาตรฐานนักแปลแต่ไม่คิดว่าจัดทำเพื่อการแปลวรรณกรรม  คือแน้ทมาสายธุรกิจน่ะ งานวรรณกรรมไม่ใช่ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของไทยไม่คิดว่าจะได้ประโยชน์มากนัก

อีกอย่างคือ อย่างที่เขียนไปแล้ว มาตรฐานนักแปลของสมาคมฯจะเป็นเพียงทางเลือกเนื่องจากในไทยมีศาลยุติธรรมที่ยังคงเป็นหน่วยงานหลักที่ราชการไทยกำหนดให้เป็นหน่วยงานรับรองคำแปล ต่างกันกับออสเตรเลียที่ทุกหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลียจะรับแต่งานแปลที่รับรองNAATI เพียงหน่วยเดียวไม่มีหน่วยงานอื่นทำหน้าที่เกียวกับการแปลให้ซ้ำซ้อนอีกยกเว้นเพียงสมาคมซึ่งไม่มีบทบาททางด้านตัวเงินค่าแปล

********

อีเมลจากผู้อ่าน

"เราเคยคุยกับน้องนักแปลคนนึงเขาให้ความเห็นว่าน่าจะมีการกำหนดราคากลางสำหรับงานแปลเหมือนงานก่อสร้างที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคากลาง จริงๆ เราว่าทุกวันนี้ไม่ใช่มันไม่มีราคากลาง มันมีแต่อยู่ในรูปของวาจาและความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ให้คนทั่วไปรู้"--- ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย

ในฐานะคนทำธุรกิจด้านนี้ก็ขอบอกเลยว่างานพวกนี้เป็นงานบริการ แปลว่าราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและตกลงของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการจะมากำหนดราคากลาง คงไม่ใช่ล่ะ ผิดหลักเศรษฐศาสตร์ออกทะเลไปโน่น ... ถ้าทำได้จริงป่านนี้ไม่มีไกด์ผี มาแย่งงานไกด์มีบัตรให้เกลื่อน แล้วก็ทำอะไรกันไม่ได้

ตอบ

“คิดว่าน้องเขาน่าจะหมายถึงราคากลางตามคุณวุฒิของนักแปลหรือเปล่าจริงๆ มันมีอยู่แล้วในประเทศไทยสำหรับงานแปลและล่ามบางกลุ่ม เช่น งานแปลเอกสารศาลค่าบริการขั้นต่ำคำละ 3 บาท (หน้าละประมาณ 1,500 บาท)  อันนี้ไม่มีใครกำหนด แต่นักแปลในวงการเขาถามๆ กัน เลยรู้ว่าถ้ามีลูกค้าติดต่อมา ราคาไม่ควรจะต่ำกว่านี้  

ที่คุณบอกว่า"ราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและตกลงของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการเพราะคุณมองเรื่องธุรกิจเป็นหลักมองตามหลักเศรษฐศาสตร์  แต่ทุกวันนี้ในวงการแปลในประเทศไทย สมาคมฯพยายามยกระดับมาตรฐาน  หากจะมองเรื่องตัวเงินเป็นหลัก มาตรฐานก็จะไม่ไปไหนเพราะใครก็ได้มารับงานแปล คิดราคาไหนก็ได้เท่าที่ลูกค้าพอใจจะจ่าย

เคยมีนักแปลที่ไม่จบตรงการแปลจบแค่ภาษาอังกฤษ  มีประสบการณ์แปลน้อยมาก แต่คิดค่าแปลบรรทัดละ 250 บาท ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าต้องบอกว่า โก่งราคา เพราะเวลาลูกค้าดูเรื่องราคา เขาต้องถามว่า"เพราะอะไรราคาของคุณจึงแพงกว่าคนอื่น"  นักแปลจะไปตอบว่า"พอใจจะคิดราคานี้" ก็ไม่ได้ ถูกมั้ย   คำตอบที่เหมาะสมคือ"ราคานี้รวมค่าบริการติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมค่าประทับตราค่าเดินทาง etc."  หรือ"ราคานี้เป็นค่าบริการโดยนักแปลที่มีคุณวุฒิ xxx" 

ในประเทศออสเตรเลียที่ค่าบริการแปลค่อนข้างคงที่ (มีแต่จะแพงขึ้น) เพราะ NAATI กำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดและเข้มข้นขึ้นทุกปี  ถ้าไม่ได้รับการรับรองคุณวุฒิก็แทบจะรับงานราชการไม่ได้เลย ซึ่งก็เข้าหลักเศรษฐศาสตร์เรื่อง demand และ supply และเป็นการกำหนดกลไกราคาไปด้วย

*********

อีเมลจากผู้อ่าน

เมื่อก่อนนักแปลเมืองไทยเคยมีเลขนักแปลค่ะนักแปลที่หลงเหลือเหล่านี้ก็ยังมีปรากฏใช้ตัวเลขของตัวเองรับรองเอกสารให้เห็นเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ดิฉันไปแปลเอกสารกับบริษัทแห่งหนึ่งแถวเพลินจิตเพื่อเอาหลักฐานไปเรียนต่อที่ยุโรปรับรองโดยนักแปลที่รับรองคุณวุฒิอย่างดี ไปถึงกงสุลที่แจ้งวัฒนะ เจ้าหน้าที่ทักว่าแปลผิดนะ ไปแปลใหม่ด้านหน้ากงสุล จะมีคนรออยู่แค่ชุดละ 300 บาทเองเรารับประทับตราให้เลย (เรารู้ว่านี่มันไม่ชอบมาพากล แต่อยากให้อะไรมันเสร็จๆไม่อยากมีปัญหา) ... ปัจจุบันนี้ก็ยังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อยู่ ...หลายคนเลยคิดว่าไปแปลแถว ๆ กงสุลจะดีกว่า เพราะยังไงก็ไม่ต้องเสียเงิน 2 ต่อ... โดยส่วนตัวเชื่อว่า ที่นี่เมืองไทย ต่อให้มีการรับรองคุณวุฒิก็จะมีช่องโหว่ให้คนทำธุรกิจได้เรื่อยๆ อยู่ดี

ยิ่งจะมีการรับรองคุณวุฒิกันอีก โดยส่วนตัวบอกเลยว่า ยิ่งดีกับคนที่ไม่มีการรับรองวุฒิเพราะเราสามารถกำหนดราคาให้ต่ำว่าคนที่มีวุฒได้(วงการฟรีแลนซ์ทั้งหลายไม่ต้องการอะไรมาก ราคาถูกเข้าไว้ แต่งานเข้ามาประจำ)แล้วจ้างทนายความเซ็นต์ เราทำงานกับลูกค้ามาหลากหลาย เรารู้ความต้องการของลูกค้าดีซึ่งบริษัทดิฉันเองก็รับมือมาแล้วทุกเคส ปิดการขายได้ตลอด ลูกค้าก็ไม่ไปไหนก็ยังกลับมาปรึกษาเราให้เราทำให้เรื่อย ๆ ไม่ยากเลย ถ้าจะเปลี่ยนระบบสถานที่ทุกที่ต้องให้ความร่วมมือ แต่โดยส่วนตัวคิดว่า ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน

ก็ขอบคุณที่แชร์ความรู้เรื่องที่ออสเตรเลียนะคะได้ความรู้ดี ช่วยเปิดโลกกว้างให้เราไปด้วยวงการบริษัทเอกชนเองก็คงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบธุรกิจของพวกเราเองในอนาคต

ตอบ

เรื่องเลขนักแปลเคยได้ยิน  คงจะรุ่นก่อนโน้นนานมากแล้ว เรื่องกรมการกงสุลมีอะไรไม่ชอบมาพากลกับบริษัทแปลหน้ากระทรวงฯก็ได้ยินบ่อยอยู่   ทนายแปลไปส่งประทับตรา ก็ยังบอกว่าแปลผิดเลย  

มหิดลจัดสัมนาเรื่องการแปลเอกสารส่งประทับกระทรวงต่างประเทศเมื่อตอนกลางปีแน้ทไปฟังมา กระทรวงฯ นำตัวอย่างงานแปลที่ถุกต้องมาแจกเป็นเล่มหนาๆ ก็มีผิดนะคะ หลายจุดด้วย ซึ่ง ผอ. กองนิติกรณ์ บอกว่าจะนำไปปรับปรุง เช่น เอกสารทะเบียนที่ดิน  แน้ทเสนอไปว่า ทำไมไม่คุยกับกรมที่ดินเขาเป็นเจ้าของงานด้านที่ดิน  เขามีศัพท์บัญญัติของเขาอยู่แล้ว  กองนิติกรณ์ไม่ต้องคิดเอง ขอรายการศัพท์ของกรมที่ดินมาได้เลย  ในเว็บไซต์ก็มีพิมพ์อยู่

คุณที่ไม่มีคุณวุฒิแต่ถ้ามีประสบการณ์หลายปี ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยตัดราคาตัวเอง เพราะรู้ฝีมือว่ามีชั่วโมงบินเยอะแล้ว ดังนั้นจะเรียกว่ากดราคาตัวเองให้ต่ำ ก็คงไม่ใช่ เพราะมีปัจจัยอื่นประกอบ  ส่วนนักแปลที่มีคุณวุฒิ เขาไม่เดือดร้อน  ใครอยากตัดราคา ก็ตัดไป เพราะยังไงเขาก็อยู่ได้เนื่องจากมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มเช่นกันที่หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่เอานักแปลที่ไม่มีคุณวุฒิและยินดีจ่ายค่าบริการในราคาที่สูงขึ้น

ทนายบางทีก็เลือกที่จะจ้างนักแปลราคาถูกแต่ตอนหลังก็ต้องเอามาแปลใหม่อยู่ดีเพราะงานใช้ไม่ได้เลย คุณวุฒิที่น่าเชื่อถือ คือเครื่องช่วยคัดกรองนักแปลได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องดูว่าใครเป็นคนกำหนดคุณวุฒิด้วยนะคะ

แน้ททำ freelance โดยไม่ได้โฆษณา ไม่มีหน้าร้าน ไม่มีออฟฟิส  ลูกค้าไปบอกต่อกันเอง ทนายความทั้งนั้นได้งานมาตลอด  ส่วนใหญ่จะทำคนเดียว subcontract งานน้อยมากเพราะลักษณะของงานแล้วส่งคนอื่นทำไม่ได้(ความลับ)

เรื่องจ้างทนายความเซ็น แน้ทไม่เคยเจอทนายที่ไหนรับเซ็นแทนคนอื่นยกเว้นจะรู้จักนักแปลเป็นอย่างดีว่าแปลได้ถูกต้องแน่นอนเพราะทนายที่รู้จักก็ระวังเรื่องความรับผิดทางกฎหมายด้วย

"ถ้าจะเปลี่ยนระบบทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือ"  อันนี้ใช่เลย  อย่างกองนิติกรณ์ของกระทรวงต่างประเทศ  นักแปลกระทรวงยุติธรรมประทับตราไป ยังบอกว่าไม่รับก็มี ซึ่งจริงๆหน่วยงานราชการควรจะรับเพราะผู้รับรองคำเป็นเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิตามประกาศของหน่วยงานราชการด้วยกัน

ในออสเตรเลียNAATI เป็นหน่วยงานเอกชนนะคะ[แก้ไข – หน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลียที่ดำเนินงานเหมือนเอกชน]จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของรัฐบาลเพื่อให้เป็นหน่วยงานผูกขาดด้านการแปลและล่าม ในไทยนี่ คิดว่าไม่น่าจะทำได้  ถ้าอยากจะทำจริงๆก็ยกให้กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งรับหน้าที่ไปเลย  ไม่ต้องมีรับรองหลายอย่างหลายแห่ง

*******

อีเมลจากผู้อ่าน

ประเด็นใครกำหนดคุณวุฒิ นี่ก็เรื่องใหญ่ ดิฉันก็คนนึงอยู่ในวงการนักแปลทั้งแปลหนังสือและงานเอกสารราชการขึ้นศาล ฯลฯ เจอคนในวงการเดียวกันเยอะ บอกเลยว่า คนที่มากำหนดคุณวุฒิสำคัญมากหากไปเอาใครก็ไม่รู้มา แล้วคุณสมบัติไม่ครบถ้วนไปนิดๆ หน่อยๆ หลายคนที่ชั่วโมงบินสูงกว่าหรือเรียนมาโดยตรง คงไม่ยอมแน่ ... ที่แน่ๆ เราก็ไม่ยอมแล้วเคยคุยกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่รู้จักและท่านสอนการแปลระดับปริญญาโทพวกท่านก็บอกว่า คงไม่สนใจแน่นอน และโดยส่วนตัวดิฉันก็คงไม่เข้าไปร่วมให้เสียเงินและเสียเวลา

ส่วนเรื่องจ้างทนายเซ็นต์ อันนี้ต้องยอมรับจริง ๆ ว่า ดิฉันมีทนายส่วนตัวทำงานกันมา 3-4 ปีได้แปลเอกสาร ขึ้นศาลด้วยกันมาตลอด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะรับงานมาจากทุกคนงานของใครก็ต้องดูด้วยว่าเราของจะเอาไปทำอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ เคสบายเคส ...ทุกวันนี้งาน Freelance (ปัจจุบันมีงานประจำด้วย) ที่ทำรายได้ให้เราเป็นกอบเป็นกำก็มาจากต่างประเทศล้วนๆคือพวกแปลเว็บไซต์ แปลงานวิจัยตลาด ฯลฯ ส่วนงานล่ามศาลก็เดือนละครั้งสองครั้งค่าตัวก็วันละ 6,000 ยังไม่ได้ 15,000 อย่างหลายๆคนแน่นอน เพราะลูกค้าเราก็นิคมอุตสาหกรรมเราก็ไม่อยากเอาต่ำมากหรือสูงมาจนลูกค้าไม่กล้าใช้บริการ ถ้าล่ามธุรกิจ ล่าม Liaisonลูกค้ามาจากต่างประเทศ พาไปซื้อต้นไม้ เจรจาซื้อขายก็วันละ 4,500กันไป ซึ่งต้องดูว่า ไปที่ไหนบ้าง

ส่วนเรื่องลดค่าแปล โดยส่วนตัวเคยทำ แต่ลดไม่มากจริง ๆ อย่างบริษัทใหญ่ๆ เล็กน้อย คุยกันได้ และโดยความที่เราขายตั๋วเครื่องบินด้วยแนะนำเรียนต่อต่างประเทศด้วย เดินวีซ่าด้วย ฯลฯหลายอย่างก็กลายเป็นแพ็คเก็จตามงบลูกค้า ซึ่งลูกค้าก็แฮปปี้กันไป

ส่วนเรื่อง NAATI เป็นเอกชน [แก้ไขเป็นหน่วยงานรัฐที่ดำเนินงานเหมือนเอกชน] ... อืม ...น่าสนใจนะคะ ถ้าเอกชนทำเองได้จะคล่องตัวมากจะเอาศึกษาไว้เผื่อจะเอามาทำแบบที่มาเลเซีย รู้สึกที่มาเลเซียมีกันถึง 3 องค์กรรับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะเราก็ต้องไปประชุมที่นั่นบ่อย ๆทั้งนี้เพื่อช่วยกลุ่มธุรกิจของพวกเรากันเองบ้าง ... แต่โดยส่วนตัวเห็นด้วยว่ากระทรวงใดกระทรวงหนึ่งควรรับไปรับผิดชอบและถ้ายิ่งมาประสานงานกับกลุ่มธุรกิจเอกชนยิ่งแจ๋วไปเลย ... ซึ่งไม่เกี่ยวกับสมาคมฯนะคะ

**อีเมลสุดท้าย เราไม่ได้ตอบ เนื่องจากติดงาน

บล็อกของเราเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งบางครั้งผู้อ่านท่านอื่นอาจจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เราเขียนหรือสิ่งที่ผู้อ่านส่งมา โปรดอย่านำไปเป็นอารมณ์ ขอให้เปิดใจให้กว้างเพื่อจะได้มุมมองที่แตกต่าง

โปรดติดตามตอนต่อไป




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2557 23:30:59 น.
Counter : 3059 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะสำหรับบทความดี ๆ พอดีกำลังทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับนักแปลในประเทศไทยอยู่สำหรับจะเอาไปเขียนบทแนะแนวการศึกษาให้เด็ก ๆ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
โดย: loylalonglenlom (ลอยละล่องเล่นลม ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2558 เวลา:8:48:11 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog