บทบาทด้านการแปลและการล่ามของกระทรวงการต่างประเทศ
บทบาทด้านการแปลและการล่ามของกระทรวงการต่างประเทศ

เมื่อวาน 9 ก.ค.เรากับน้องไปฟังสัมนาที่ ม. มหิดล ศาลายา หัวข้อ บทบาทด้านการแปลและการล่ามของกระทรวงการต่างประเทศ วิทยากรคือ คุณธาตรี เชาชตา ผ.อ.กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล

คุณธาตรี อธิบายว่า หน้าที่หลักๆของกรมการกงสุลไม่ใช่หน้าที่ด้านการแปลและรับรองคำแปลแต่ที่มีแขนงนี้ก็เพื่อให้บริการประชาชนที่ต้องนำเอกสารไปใช้ในต่างประเทศ

การรับรองนิติกรณ์ในไทยมีแต่กระทรรวงการต่างประเทศเท่านั้นที่มีอำนาจ Notary Public ในไทย ยังไม่มีกฎหมายรองรับ (แต่ก็เห็นเขาทำๆ กันนะ เพราะต่างประเทศยอมรับ)

กองสัญชาติมีสำนักนิติกรณ์อีก3 แห่งคือ เชียงใหม่ สงขลา และอุบลราชธานี ถ้าต้องการทำนิติรกรณ์ ไป 3 ที่นี้ได้ไม่ต้องมากรุงเทพ

ตัดมาที่คำถามยอดฮิตชอบมีคนเหน็บว่า ทำไม กระทรวงการต่างประเทศถึงไม่ประทับตราว่า รับรองคำแปลถูกต้องนั่นก็เพราะมีการกำหนดเรื่อง ตราประทับไว้ในระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ. 2539 ซึ่งระบุว่า

“ข้อ 15. การรับรองคำแปลเอกสารเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้ตรวจสอบถ้อยคำและเนื้อความในคำแปลแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงกันให้รับรองโดยใช้คำรับรองว่า “certifiedcorrect translation” หรือ “ขอรับรองว่าเป็นคำแปลถูกต้อง” การรับรองคำแปลเช่นว่านี้ให้ใช้กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แปล

การรับรองคำแปลกรณีที่หน่วยงานราชการอื่นหรือเอกชนเป็นผู้แปลและผู้แปลลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้องให้ใช้คำรับรองว่า “seen at theMinistry of Foreign Affairs” หรือ “กระทรวงการต่างประเทศได้ทราบแล้ว”หรือ “Seen at the Royal ThaiEmbassy” หรือ “สถานเอกอัครราชทูตได้ทราบแล้ว” หรือ “Seen at the Royal Thai Consulate-General” หรือ “สถานกงสุลใหญ่ได้ทราบแล้ว” แล้วแต่กรณี”

กระทรวงการต่างประเทศประชุมเมื่อเดือนตุลาคม2553 เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือกและขึ้นทะเบียนผู้แปลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เมื่อผู้แปลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนส่งงานแปลมาที่กระทรวงฯกระทรวงฯ จะรับรองลายมือชื่อของผู้แปล แทนที่จะต้องตรวจคำแปลด้วยซึ่งจะทำให้บริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้น แต่โครงการนี้ ก็พับไปแล้ว เมื่อหัวหน้าโครงการพ้นวาระ

(ความเห็นส่วนตัวของเราคือโครงการนี้ซ้ำซ้อนกับการขึ้นทะเบียนนักแปลของศาลยุติธรรมหรือเปล่า อาจจะไม่ เพราะคงจะแยกกันไปว่า ถ้าจะใช้เอกสารในต่างประเทศให้ใช้ผู้แปลขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการต่างประเทศ แต่ถ้าจะใช้เอกสารในชั้นศาล ก็ให้ใช้ผู้แปลขึ้นทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรม แล้วไหนจะมีมหาวิทยาลัยกำลังคิดจะจัดให้มีมาตรฐานด้านการแปลและล่ามอีก ไปๆ มาๆมันจะกลายเป็นประเทศไทยมีหลายมาตรฐานมั้ย)

เดิม กระทรวงฯ รับเอกสารวันละ100 ชุด ปัจจุบันเพิ่มเป็นวันละ 1,000ชุด ในขณะที่เจ้าหน้าที่มีจำกัด

ในการสัมนาครั้งนี้คุณธาตรี ยกตัวอย่างงานแปลเอกสารราชการมาให้ดู บางอย่างก็มีการทักท้วงจากอาจารย์ที่มาร่วมสัมนา เช่น certificate of birth ในต่างประเทศ ใช้คำว่า birthcertificate หรือ คำว่า letter of certification ที่แปลมาจากคำว่าหนังสือรับรอง ภาษาอังกฤษนั่นฟุ่มเฟือยหรือไม่ ใช้คำว่า certificate ไปเลยได้มั้ย

เอกสารบางอย่างที่มีคำศัพท์กฎหมายอาจารย์แนะนำให้กระทรวงฯ ขอดูแบบฟอร์มจากสำนักกฎหมายต่างชาติในประเทศไทย(เขาจะให้เหรอ กระทรวงฯ น่าจะประสานงานตรงไปยังกระทรวงยุติธรรมมากกว่า)

โฉนดที่ดินที่นำมาเป็นตัวอย่างในห้องสัมนา อันที่จริงก็สามารถหาแบบฟอร์มได้จากกรมที่ดิน ซึ่งมีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษไว้แล้วมีทั้งสารบัญจดทะเบียนด้านหลัง มีหนังสือสัญญาซื้อขายของกรมที่ดินด้วย ผู้ร่วมสัมนาก็เลยแนะนำให้กระทรวงฯประสานกับกรมที่ดิน ตรงนี้คุณธาตรีแจ้งว่า ปัจจุบันมีการประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้มีการจัดทำหนังสือรับรองบริษัทและวัตถุประสงค์เป็นภาษาอังกฤษอยู่ (คำว่าหนังสือรับรอง (บริษัท)กระทรวงฯ ใช้คำว่า certificate แต่ที่ทำงานเก่าของเราที่เป็นบริษัททนายต่างชาติ ใช้คำว่า affidavit)

คู่มือคำแปลของกระทรวงฯที่แจกในงานสัมนา เป็นคู่มือที่ดีเล่มนึงเลย มีตัวอย่างเอกสารเยอะมากพร้อมคำแปล คุณธาตรีบอกว่าจะนำความเห็นที่ได้จากผู้เข้าร่วมไปปรับปรุงคู่มือ ในส่วนของคำศัพท์ เราเปิดดูบางคำ ก็ไม่ตรงกับศัพท์บัญญัติสาขากฎหมายของราชบัณฑิต เราว่ากระทรวงการต่างประเทศก็ควรจะหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆเกี่ยวกับคำแปล ไม่งั้นกลายเป็นว่าคนอื่นที่แปลโดยอ้างอิงคำศัพท์ของหน่วยงานราชการหน่วยอื่นนั้นพอมาส่งเอกสารให้กรมการกงสุลรับรอง กลายเป็นว่าแปลผิดหมด




Create Date : 10 กรกฎาคม 2557
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 23:56:34 น.
Counter : 3596 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2557

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog