แนวทางการเป็นนักแปลอิสระแบบไส้ไม่แห้ง


ถึงคุณแนท

ก่อนอื่นดิฉันขอแนะนำตัว ดิฉันชื่อปอเป็นนักแปลอิสระอยู่แล้ว แต่เป็นนักศึกษาอยู่ทำแบบได้ค่าขนมกรุ่มกริ่มไปวันๆ น่ะค่ะทีนี้ดิฉันวางแผนว่าหากเรียนจบป.ตรี จะต่อโทด้านการแปลที่จุฬาฯ

เพราะดิฉันเล็งเห็นพ้องถึงที่คุณแนทบอกว่าควรมีคุณวุฒิซึ่งดิฉันรักในงานแปลมาก แต่งานที่ดิฉันหามาได้ส่วนใหญ่เป็นงานจากนักศึกษาด้วยกันก็จะได้แค่ค่าขนมนิดหน่อย

ดิฉันอยากเรียนถามว่าหากดิฉันยึดอาชีพนักแปลอิสระเป็นอาชีพหลักเลย เพราะดิฉันมีใจรักจริงๆค่ะ เพราะเคยลองถามตัวเองหลายต่อหลายครั้งแล้ว ดิฉันควรประมูลงานจากไหนคะหรือควรหางานระดับใหญ่ๆ ได้จากไหนคะ เพราะดิฉันก็ไม่มีหนีสินเหมือนคุณแนทเพราะคุณแม่และคุณพ่อได้ผ่อนไว้หมดแล้ว รถก็มีแล้ว หมดงวดทุกอย่าง

ดิฉันวางแผนไว้หลังเรียนจบอีก 1ปีค่ะ ที่จะทำงานอิสระนี้ ขอแนวทางไว้เป็นวิทยาทานด้วยค่ะ

ด้วยใจรักงานแปล

ขอขอบคุณอย่างสูงนะคะ

ด้วยความนับถือ

ปอ

*************************

ตอบ

ใครที่อ่านบอร์ดพันทิปเป็นประจำจะเห็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการหรือทำงานอิสระมากกว่าจะเป็นพนักงานบริษัท ถ้าไล่อ่านความเห็นของสมาชิกก็จะได้ข้อคิดมากมาย

การทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ ประเด็นมันไม่ใช่แค่เรื่องเงินสิ่งแรกต้องนึกก่อนคือ จะเอาอะไรไปขาย ถ้าจะบอกว่า ขายฝีมือ ต้องนึกเสมอว่าฝีมือนั้นมักจะมาพร้อมประสบการณ์ คนที่เพิ่งเรียนจบจะเริ่มกิจการเลย แน่นอนว่า ขาดประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

หลายๆ คนที่แม้ว่าบ้านจะรวยร้อยล้าน ก็ยังเลือกที่จะเป็นเริ่มต้นการทำงานด้วยการเป็นพนักงานบริษัทเพื่อเรียนรู้ระบบการทำงาน(marketing, sales, finance, accounting, procurement, operation, personnel management etc.) ทักษะต่างๆ ที่จำเป็น (time management, organization management, communication skill, presentation skill,coaching skill, problem-solving skill etc.)

ผู้อ่านท่านนี้โชคดีที่ครอบครัวมีทุกอย่างให้พร้อมแล้วไม่ต้องดิ้นรนเหมือนคนทำงานหลายๆ คน ที่ต้องทำงานที่ไม่ได้ชอบจนตั้งตัวได้ จึงค่อยเลือกทำงานที่ใจรัก

ดังนั้น ผู้อ่านท่านนี้อาจเลือกทำงานบริษัทที่ต้องใช้ภาษาในการสื่อสารเช่น United Nations, European Union, Unicef, องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ หรือแม้แต่เอเจนซี่แปลใหญ่ๆ ในประเทศไทยเพื่อฝึกประสบการณ์การทำงานพร้อมกับฝึกทักษะภาษาไปด้วย การที่ได้ทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศมาก่อนเป็นเวลา3-5 ปี ทำให้ CV ดูดีมากในสายตาผู้ว่าจ้างและทำให้ผู้ว่าจ้างมั่นใจในฝีมือของผู้สมัคร หรือหากคิดว่าจะแปลงานสายการเงิน ก็อาจจะลองสมัครเป็นนักแปลกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน หลายแห่งมีการจ้างแบบ in-house หากตำแหน่งไม่ว่างก็อาจจะขอเข้าไปฝึกงานสัก 6 เดือนแบบรับค่าจ้างน้อยๆ เพื่อฝึกงานด้านการแปลอย่างจริงจังก็ได้

ข้อดีที่สำคัญยิ่งของการฝึกงานจริง คือ มีคนกำกับเราคอยให้คำติชมเพื่อนำไปปรับปรุง นักแปลที่ทำงานแปลคนเดียว ไม่เคยมีใครตรวจงานส่งคืนมาให้ดูจะพัฒนาทักษะการแปลได้ช้ากว่าคนที่มี editor แม้ว่านักแปลจะมีความรู้ความสามารถมากแต่ peer review ก็จะกระตุ้นให้มีการคิดในบางจุดที่นักแปลอาจจะลืมไป คือเอกสารชิ้นเดียวกันแต่อาจจะตีความไม่เหมือนกัน ทำให้บทแปลออกมา ไม่เหมือนกัน ซึ่ง discrepancies ตรงนี้แก้ไขได้ด้วยการค้นคว้าหาแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อตัดสินว่า คำแปล versionไหนเหมาะสมที่สุด

พอเริ่มมีฝีมือ มีทักษะต่างๆ พอออกจากองค์กรมาแล้ว หลายๆ ครั้งconnection จากที่ทำงานเดิมนั่นแหละจะเป็นคนส่งงานมาให้ทำเรื่อยๆ ยิ่งงานชิ้นใหญ่ มักจะได้ผ่าน connection เพราะคนใกล้ตัวจะรู้ว่าฝีมือเราอยู่ในระดับไหนไว้ใจให้ทำงานได้ไหม ส่งงานตรงเวลาไหม ทำตามเงื่อนไขลูกค้าได้ไหม

เรื่องประมูลงาน ตามเว็บมีช่องทางให้สมัครเป็นนักแปลมากมายหลายบริษัท นักแปลเข้าไปทำแบบทดสอบทิ้งไว้แล้วรอติดต่อกลับว่าผ่านหรือไม่ผ่านการทดสอบ จากนั้นก็รอรับงาน การหางานลักษณะนี้มีการแข่งขันสูงเพราะบริษัทแปลไม่กำหนดตัวนักแปลแต่ละโครงการตายตัวเช่น งานแปลของลูกค้า ABC เฟส 1 อาจจะให้คุณ ก แปล พอถึงเฟส 2 อาจจะส่งให้ คุณ ข เพราะคุณ ข คิดค่าแรงต่ำกว่า คุณ ก

แนวทางหนึ่งที่ใช้ได้เสมอคือทำตัวเองให้แตกต่างจากตลาด ลองสำรวจดูว่าตลาดงานแปลและล่ามในประเทศไทย ขาดนักแปลและล่ามในสาขาไหน เช่น นักแปลสิทธิบัตรกำลังเป็นที่ต้องการ ล่ามภาษาพม่ากำลังได้รับความนิยมเนื่องจากการเปิดAEC นักแปลงานวิจัยโปรโตคอลยาในตลาดมีไม่มีกี่คน ก็ให้เลือกเรียนและฝึกงานให้ตรงสาย

เนื่องจากผู้อ่านบอกว่าจะทำงานด้านการแปลอย่างเดียวการเรียนปริญญาโทด้านการแปล เหมาะที่สุดแล้ว และนอกจากนี้ ควรสอบเพื่อรับการรับรองคุณวุฒิด้านการแปลจากหน่วยงานด้านการแปลเช่น ATA U.S. เอเจนซี่แปลต่างประเทศจะมีช่องให้กรอก accreditation ด้วย ถ้านักแปลมี ก็จะได้เปรียบคนที่ไม่มี

นอกจากความรู้ในด้านการแปลแล้ว ความรู้ในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องก็สำคัญมาก ถ้านักแปลเลือกว่าจะแปลหนังสือก็ควรเรียนสาขาวรรณกรรม ถ้าคิดว่าจะเลือกแปลเอกสารวิทยาศาสตร์นักแปลก็ควรเรียนสายวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สมมติว่าจะเน้นแปล package insert ของยา ก็ควรไปเรียนคอร์สผู้ช่วยเภสัชกร เห็นมีเปิดสอน 1-3 เดือนจะทำให้เข้าใจเรื่องยา ผลของยา สารที่อยู่ในยา การใช้ยา ทำให้เข้าใจเนื้อหา package insert ได้ถ่องแท้

ในบางกรณี ก็กลับกันคือ คนที่เรียนสายงานอื่น ต่อมาตัดสินใจมาทำงานแปลก็มี เช่นทนายความเปลี่ยนอาชีพมาเป็นนักแปลก็จะได้เปรียบเวลารับงานแปลเอกสารกฎหมายเพราะมีพื้นความรู้อยู่แล้ว (ใครสนใจโปรดอ่านบล็อกเก่า เรื่องทนายเป็นนักแปล) หมอเปลี่ยนอาชีพมาเป็นนักแปล ก็จะได้เปรียบเวลาแปลงานวิจัยยาหรือแปลรายงานชันสูตรศพ

เราจบปริญญาโท 2 ใบ คืออักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์ ต่อด้วย บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (เรียนสองใบนี้ หมดไปเกือบล้านบาท) คุณวุฒิอันหลังนี่ช่วยเราได้มากเวลาแปล financial statements และ annual reports เราเข้าใจตัวเลขรู้ที่มาที่ไป อ่านเนื้อหาของรายงานแล้วแปลได้ชัดเจนถูกต้อง ประสบการณ์ทำงานในบริษัท security ก็ช่วยเราเวลาแปล safety manual แปลคู่มือพนักงาน และเอกสารบริษัท สรุปสั้นๆ จบด้านการแปลอย่างเดียวไม่พอต้องมี world knowledge ด้วย

เราสงสัยอย่างหนึ่ง ผู้อ่านไม่เดือดร้อนเรื่องเงินก็จริง แต่ช่วงแรกๆ ที่รับงานแปลงานมันไม่เยอะหรอก ยกเว้น dump ราคากระจุยแบบเอาคู่แข่งตายไปข้างนึง (แล้วระยะยาวคนที่ dump ราคา ก็จะตายด้วย เพราะมันเป็น red ocean) ถ้าเงินที่ได้จากงานแปลไม่พอใช้ ผู้อ่านจะยังขอพ่อแม่อยู่อีกหรือ และไหนจะค่าเรียนปริญญาโทด้านการแปล จำได้ว่าขณะนี้ค่าเล่าเรียนคิดกันเป็นแสนบาท ส่วนนี้จะเอาจากไหน อันนี้พูดจากมุมของรุ่นพี่ คนที่จบตรีต่อโท อายุน่าจะ 22-25 ปี ก็ไม่ใช่เด็กแล้ว เป็น young adult เป็นช่วงที่ควรจะเริ่มหาประสบการณ์ทำงาน ลองผิดลองถูก เริ่มเก็บเงินวางแผนอนาคต หากยังขอเงินพ่อแม่อยู่ ก็จะไม่เข้าใจถึงความลำบากในชีวิต เรานึกถึงคนที่เป็นพ่อแม่ เขาก็รักลูกอยากให้ลูกสบาย เลยหาให้ทุกอย่าง แต่ลูกนึกถึงพ่อแม่บ้างไหม เขาเหนื่อยมาทั้งชีวิต จะไม่ให้เขาพักเลยหรือ อันนี้เราถามตัวเอง อาจจะไม่เข้ากรณีของผู้อ่านท่านนี้





Create Date : 06 กันยายน 2559
Last Update : 28 กันยายน 2559 5:52:53 น.
Counter : 2851 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กันยายน 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog