มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 2)
มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 2)

ต่อจากตอนที่ 1

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 พ.ย. 57 ไปประชุมประชาพิเคราะห์ผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่จัดโดย ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การประชุมนี้ ใครเข้าก็ได้ เราไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนเพราะเพิ่งรู้แค่ 2-3 วันก่อนประชุม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย เลยไปฟังซะหน่อยว่าทิศทางจะเป็นยังไง

เราฟังช่วงแรกซึ่งตัวแทนจากกลุ่มอาชีพมาอธิบายถึงผลการจัดทำมาตรฐานสำหรับอาชีพบรรณาธิการนักแปล และนักพิสูจน์อักษร แต่เราจะเล่าถึงส่วนของนักแปลเท่านั้นนะ

อย่างแรกที่ตัวแทนในการจัดทำมาตรฐานอาชีพนักแปลแจ้งในที่ประชุมคือมาตรฐานฯ กำหนดสำหรับการแปลหนังสือเท่านั้น โดยแยกเป็น non-fiction และ fiction ไม่เกี่ยวกับเอกสารธุรกิจ

หลักการของมาตรฐานคือการแบ่งออกเป็นหน่วยสมรรถนะเพื่อให้นักแปลใช้เทียบความสามารถได้สำหรับคนที่ต้องการสอบวัดคุณวุฒิวิชาชีพ โดยแยกเป็น 3 ส่วนคือ ก่อนผลิต ระหว่างผลิต และหลังผลิต

ก่อนผลิต

20101.1 อ่านต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

20101.2 ระบุองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณารับแปลงาน

20102.1 เจรจาเงื่อนไขการจ้างแปล

20102.2 ร่วมจัดทำข้อตกลงและสัญญาจ้างแปล

20201.1 อ่านข้อตกลงหรือสัญญาการแปล

20201.2 จัดทำแผนงานการแปลให้สอดคล้องกับกรอบการทำงาน

20202.1 เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอแผนงานการแปล

20202.2 นำเสนอแผนงานการแปล

20203.1 พิจารณาข้อเสนอแนะของผู้ว่าจ้าง

20203.2 แก้ไขแผนงานการแปลตามข้อเสนอแนะของผู้ว่าจ้าง (ถ้ามี

ระหว่างผลิต

20301.1 อ่านต้นฉบับเชิงวิเคราะห์

20301.2 ค้นคว้าข้อมูลประกอบการแปล

20301.3 ทำคลังคำสำหรับการแปล

20302.1 เลือกใช้คำและสำนวนแปลได้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ

20302.2 เลือกใช้คำและสำนวนแปลให้ได้อรรถรสตามต้นฉบับ

20303.1 อ่านต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษเทียบกับงานแปลเป็นช่วงๆ

20303.2 แก้ไขข้อผิดพลาด (ถ้ามี)

หลังผลิต

20401.1 อ่านทบทวนงานแปลเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดด้านเนื้อหา

20401.2 อ่านทบทวนงานแปลเพื่อตรวจหาข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษาไทย

20401.3 อ่านทบทวนงานแปลเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดของงานพิมพ์

20402.1 แก้ไขข้อผิดพลาดของเนื้อหาที่แปล

20402.2 แก้ไขข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทย

20402.3 แก้ไขข้อผิดพลาดของงานพิมพ์

20403.1 จัดเตรียมฉบับแปลลในรูปแบบที่ระบุไว้ในข้อตกลงหรือสัญญาจ้างแปล

20403.2 ส่งมอบงานแปล

ดูจากเนื้อหาของหน่วยสมรรถนะแล้วคนที่เรียนการแปลที่จุฬาฯ น่าจะเทียบได้เลยนะเพราะครบในหลักสูตรสอนครบทุกหน่วยสมรรถนะ

มาดูรายละเอียดของบางหน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ 20301 การแปลงานต้นฉบับหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

หน่วยย่อย 20301.3 จัดทำคลังคำสำหรับการแปล

เกณฑ์การปฏิบัติงาน

1. ระบุคำที่ต้องการทำคลังคำให้ครบถ้วน

2. แบ่งหมวดหมู่ของคลังคำให้สอดคล้องกับการใช้งาน

3. จัดทำคลังคำให้เหมาะสมและสอดคล้องในการใช้งาน

4. เก็บสะสมคลังคำตามประเภทให้เหมาะสมเพื่อใช้กับการแปลในอนาคต

ขอบเขต

การทำคลังคำเพื่อประกอบงานแปลพิจารณาจากองค์ประกอบดังนี้

1. คำศัพท์ที่ปรากฏบ่อยในต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

2. คำศัพท์ยากในต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

3. คำศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะและคำบุรุษสรรพนาม

หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ

1. ต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

2. เอกสารหรือไฟล์รวบรวมคลังคำ

3. ความสามารถในการใช้เครื่องมือในการจัดทำคลังคำ

4. ความสามารถในการจัดทำคลังคำ

หลักฐานความรู้ที่ต้องการ

1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำคลังคำ

แนวทางประเมิน

1. การประเมินผลความรู้จากแบบทดสอบความรู้และแฟ้มสะสมผลงาน (ใบผ่านงาน วุฒิบัตร และเอกสารต่างๆ)

2. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ใบบันทึกความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง แฟ้มสะสมผลงาน

แค่นี้ก็มึนแล้วอ่ะ เราถือคุณวุฒิของออสเตรเลียกับอังกฤษยังไม่เคยเจออะไรยิบย่อยขนาดนี้เลย หรือเราอ่านไม่เจอเอง

โปรดติดตามตอนต่อไป




Create Date : 01 ธันวาคม 2557
Last Update : 1 ธันวาคม 2557 17:07:20 น.
Counter : 2268 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ธันวาคม 2557

 
2
3
4
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog