พบบรรณาธิการ


พบบรรณาธิการ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2548 สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักพิมพ์นานมีจัดเสวนาที่อาคารนานมีสุขุมวิท 31 โดยงานนี้เป็นการพบปะกันระหว่างนักแปลและสำนักพิมพ์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการแปล  เราไปในฐานะสมาชิกสมาคมฯ มีคนร่วมเสวนาราว 30 คน สาระที่ได้จากการร่วมงานครั้งนี้สรุปไว้สั้นๆ ด้านล่าง

คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนากรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด และที่ปรึกษาสมาคมฯ เป็นผู้เปิดงานเสวนา  คุณสุวดีเล่าว่า นานมีเริ่มกิจการสำนักพิมพ์ด้วยหนังสือวิชาการสำหรับเด็กเพราะเห็นว่าหนังสือวิชาการในเมืองไทยยังมีไม่พอ  ทั้งนี้กิจการพิมพ์หนังสือเริ่มเมื่อ 13 ปีที่แล้วและภายหลังขยายออกมาตีพิมพ์วรรณกรรม นานมีผลิตหนังสือแปลตามคอนเซ็ปต์ที่ว่า“สังคมไทยควรมีหนังสือในปริบทอะไร”

เมื่อคุณสุวดีหันมาจับด้านงานพิมพ์แล้วปรากฏว่าเจอกับปัญหาเรื่องนักแปลขาดตลาดซึ่งสำนักพิมพ์ต้องการนักแปลที่จะทำงานอย่างมืออาชีพมีความรู้ทั้งภาษาที่แปลและภาษาไทยดี ตั้งใจหาข้อมูลประกอบการแปล และถ้าจะให้ดีคือสามารถตรวจงานแปลตัวเองได้ด้วย  นักแปลของนานมีจะทำงานเป็นทีมเดียวกับสำนักพิมพ์โดยมีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  คุณสุวดีมีความคิดหลายอย่างเกี่ยวกับงานแปล ประจวบเหมาะว่าได้พบกับอาจารย์ถนอมวงศ์ล้ำยอดมรรคผลซึ่งเห็นพ้องกันว่าควรจัดให้มีการพูดคุยกันระหว่างนักแปลและนำมาสู่การเสวนาครั้งนี้

คุณพรกวินทร์ แสงสินชัย  บรรณาธิการวรรณกรรม สำนักพิมพ์นานมี มาพูดเรื่องคุณภาพนักแปลที่สำนักพิมพ์ต้องการ สรุปสั้นๆได้ว่า นักแปลควรใช้สำนวนของผู้เขียน แปลได้อารมณ์ตามต้นฉบับ ไม่ใช้ภาษาเกินระดับของผู้เขียน  คำที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร ไม่แปลแบบตีความหรือเรียบเรียง

คุณพรกวินทร์เรื่องเทคนิคการถ่ายทอดสำนวนของผู้เขียนว่าบางครั้งนักแปลต้องอ่านงานเขียนเล่มอื่นของผู้เขียนคนนั้นเพื่อให้รู้ลักษณะการใช้ภาษาแม้แต่หนังสือสำหรับเด็ก ผู้แปลไม่จำเป็นต้องอธิบายทุกอย่างเพราะเด็กเข้าใจได้เอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้เจอกับ“การค้นพบอันยิ่งใหญ่” เหมือนที่ผู้แปลได้พบจากงานเขียน

คุณพรกวินทร์ยกตัวอย่าง การแก้ไขคำแปล เช่น คำว่า scrutinize ผู้แปลใช้คำว่า มองดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน คำที่กระชับกว่าคือพินิจพิเคราะห์  คำว่า period ผู้แปลใช้คำว่า ระดู โดยที่ตัวละครคือเด็กอายุ 17 คำว่าระดู นี้ให้ภาพของคนอายุ 30 ขึ้นไป คำที่เหมาะกว่าคือ เมนส์ แต่ในงานเขียนใช้คำว่า ประจำเดือน จะเหมาะกว่าเพราะ เมนส์ คือภาษาพูด  คำว่า friends ผู้แปลใช้คำว่า เหล่าเพื่อน ซึ่งให้ภาพของเพื่อนจำนวนหลายคน แต่เมื่อตรวจต้นฉบับแล้วปรากฏว่าเพื่อนในที่นี้มีเพียง 2 คน นอกจากนี้ผู้แปลใช้คำกริยาว่า เบียดเสียดที่ให้ภาพคนหมู่มากนั่งกระจุกกัน คุณพรกวินทร์ตัด เสียด ออกเหลือแค่ เบียด คำว่า ระคน ปรากฏอยู่ในหนังสือเด็กซึ่งไม่เหมาะคุณพรกวินทร์แก้เป็น ปน

ปัญหาในการแปลที่บรรณาธิการพบ ยกตัวอย่าง การแปลผิด เช่น ผู้ชายหนัก 70 กิโลกรัม แปลเป็น 170 กิโลกรัมทำให้ภาพตัวละครเปลี่ยนไป หรือในวรรณกรรมเรื่องหนึ่งบทบรรยายกล่าวไว้ว่ามีการเอาเงินเข้าบัญชี every quarter-day และมีการสั่งหงส์มาฉลอง  บทแปลใช้ว่า ทุก 6 ชั่วโมง หากใช้ความรู้สึกตัดสินแล้วจะรู้ว่าเป็นไปได้ยากที่บริษัทจะทำกำไรได้มากขนาดที่ฝากเงินเข้าบัญชีทุก 6 ชั่วโมง ที่ถูกต้องคือ ทุกวันแรกของไตรมาส  
บางครั้งนักแปลแปลโดยไม่ค้นคว้าเพิ่มเติม บางครั้งนักแปลใช้คำเยิ่นเย้อเช่น คำว่า would-be murder ผู้แปลแปลว่า คนที่หวังจะเป็นฆาตรกร ในความเป็นจริงคงไม่มีใครใฝ่ฝันที่จะเป็นฆาตกร คำแปลที่เหมาะสมกว่าคือ ว่าที่ฆาตกร  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการแปลแบบอธิบายศัพท์แปลแบบตีความ ใช้สำนวนตัวเอง แปลแบบเรียบเรียง บทแปลไม่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ

ในส่วนของหนังสือวิชาการเด็กคุณทัศนาภรณ์ คทวณิช บรรณาธิการอำนวยการ กรุณามาพูดโดยระบุว่า การแปลหนังสือวิชาการสำหรับเด็กนั้นผู้แปลต้องทำหมายเหตุประกอบการแปลเพื่อให้บรรณาธิการพิจารณาว่าจะใช้วิธีไหนให้เด็กเข้าใจเวลาอ่านคุณทัศนาภรณ์กล่าวว่า “การแปลงานผิดๆ คือการป้อนยาผิดให้เยาวชน”

ผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งมีคำถามเรื่องการแปลศัพท์เฉพาะด้านอาจารย์จินตนา ใบกาซูยี ผู้เขียนคอลัมณ์ Translate It ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ให้หลักการว่า (1) ใช้ศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน(2) ถ้าไม่มีให้ใช้ศัพท์ของสมาคมวิชาชีพนั้นๆ (3) ให้วงเล็บภาษาอังกฤษไว้ตามหลังศัพท์บัญญัติในการใช้ครั้งแรกเพียงครั้งเดียว(4) ถ้าไม่ปรากฏศัพท์บัญญัติ ให้ผู้แปลใช้คำแปลที่แปลเองได้โดยให้ใช้สม่ำเสมอ

อีกคำถามที่น่าสนใจคือการแก้ปัญหากรณีที่ผู้เขียนเขียนมาไม่ตรงกับสิ่งที่นักแปลรู้ เช่น ในหนังสือเล่มหนึ่งผู้เขียนเขียนว่ารุ้งกินน้ำมี 6 สี สีที่หายไปคือ indigoหรือสีคราม โดยผู้เขียนเขียนไว้อย่างนี้ทั้ง 3 แห่ง อาจารย์จินตนาแนะให้ทำเชิงอรรถไว้ว่า จริงๆ แล้วมี 7 สี แต่คุณพรกวินทร์ให้เหตุผลว่าผู้เขียนคงมีเหตุผลของเขาซึ่งนักแปลต้องไปค้นว่าประเทศของผู้เขียนนั้นเห็นรุ้งมีแค่ 6 สีจริงหรือเปล่า (เราเองคิดเหมือนคุณพรกวินทร์ เพราะสีครามกับสีฟ้ามันเพี้ยนจากกันนิดเดียวเอง เราเคยเจอปัญหาในการแปลทำนองนี้มาแล้วตอนที่เราแปลบทความศิลปะ เราเจอเรื่องการแยกแสงด้วยปริซึม คนไทยเรียนกันมาว่าแสงสีขาวที่เราเห็นนั้นแยกออกเป็น7 สี แต่สำหรับฝรั่งแล้วแสงของเขาไม่ใช่สีขาวแต่เป็นสีเทา)

สำหรับชื่อเฉพาะอย่างชื่อหนังสือหรือชื่อเพลง อาจารย์จินตนาอธิบายว่า ให้ใช้วิธีทับศัพท์แล้ววงเล็บภาษาต้นฉบับไว้ข้างหลัง เช่น Gone With the Wind แปลว่า กอน วิท เดอะ วิน (วิมานลอย) ทั้งนี้การทับศัพท์ให้ใช้วิธีถ่ายออกมาตามหลัก linguistic ไม่ใช่หลัก phonetic เช่น London คือ ลอนดอน ไม่ใช่ ลันดั้น แต่ผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งให้ความเห็นอีกอย่างว่า การทับศัพท์นั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายผู้อ่านด้วยถ้างานแปลนั้นแปลให้ผู้อ่านในแวดวงอ่าน ผู้แปลอาจใช้วิธีเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษลงไปเลยโดยไม่ต้องแปลหรือทับศัพท์
อาจารย์จินตนาอ้างประกาศของยูเนสโกที่บอกว่างานแปลคือวรรณศิลป์ชนิดหนึ่งและผู้แปลมีลิขสิทธ์ในบทแปล ทั้งนี้งานแปลที่แปลหยาบเหมือนต้นฉบับคือข้อยกเว้นเพราะข้อจำกัดเรื่องภาษาเขียน  นอกจากนี้ผู้แปลไม่ควรใช้สแลงแม้ว่าต้นฉบับจะใช้สแลงก็ตามเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปสแลงเหล่านั้นจะหมดยุคหมดสมัย

คำคมของอาจารย์จินตนาคือ “นักแปลคือผู้ทลายกำแพงภาษา”

อาจารย์ถนอมวงศ์ เปรียบเทียบการพัฒนานักแปลไว้ได้เฉียบคมว่า “สำนักพิมพ์บางแห่งเด็ดยอดไปใช้ไม่พัฒนารากเหง้า”

นั่งฟังมาก็ร่วม3 ชั่วโมงแล้ว ได้เวลาสมควร คุณราตรีแห่งสำนักพิมพ์นานมีมาพูดเรื่องกระบวนการแปลและจัดพิมพ์ของสำนักพิมพ์นานมีก่อนจะปิดงานเวลา5 โมงเย็น

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563
 




Create Date : 28 กันยายน 2554
Last Update : 27 พฤษภาคม 2563 15:45:25 น.
Counter : 2790 Pageviews.

3 comments
  
เข้ามาเก็บความรู้คะ ชอบการแปลแต่ไม่เป็นและ ขอ Add Link ของคุณด้วยนะคะ ขอบคุณคะ
โดย: เขมิศราสุดสวย วันที่: 1 ตุลาคม 2554 เวลา:20:15:54 น.
  
ขอบคุณสำหรับบทความเกี่ยวกับการ แปลเอกสาร ดีๆค่ะ
โดย: Aussie angel วันที่: 26 ธันวาคม 2554 เวลา:17:44:28 น.
  
canada goose
//www.darinkamontano.com/
//www.awfmmellowtouch.net/
//www.rajasthantour-travels.com/
[url=//www.awfmmellowtouch.net/]canada goose trillium parka[/url]
โดย: canada goose trillium parka IP: 31.41.217.112 วันที่: 20 ธันวาคม 2556 เวลา:1:39:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog