การแปลฉลากเครื่องสำอาง

การแปลฉลากเครื่องสำอาง

สัปดาห์นี้มางานเข้ามาหลากหลายประเภททั้งงานวิจัยยา งานสัญญามรดก และงานแปลฉลากเครื่องสำอาง วันนี้จะพูดถึงชิ้นหลัง

ตอนจะประมูลงานเห็นตัวอย่างที่เป็นท่อน วิธีใช้ มันก็ไม่ยากนะ บีบ ลูบ ทา พอก ขัด นวด ล้าง

พอรับงานมาแล้ว เพิ่งจะเห็นว่ามันห้อยส่วนประกอบมาด้วย ศัพท์วิทยาศาสตร์ล้วนๆ แล้วลูกค้าเขียนคำสั่งกำกับไว้ว่าให้แปลส่วนประกอบด้วย

เราไม่เคยแปลฉลากเครื่องสำอาง ไม่แน่ใจว่าต้องแปลยังไง เลยสำรวจเครื่องสำอางของตัวเอง

1. ครีมเช็ดเครื่องสำอางพร้อมโทนเนอร์ในตัว นำเข้าจากฝรั่งเศส มีฉลากภาษาไทยแต่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก ส่วนประกอบมันพิมพ์อยู่บนขวดแล้ว เป็นภาษาอังกฤษ วิธีใช้ มี 3 ภาษาเลยนะ

ภาษาฝรั่งเศส“Appliquezmatin et soir avec un coton sur votre visage et vos yeux. Inutile de rincer. Teste sous controle dermatologique.

ภาษาอังกฤษ “Apply morning andevening to your face and eyes with a cotton pad. No need to rinse. All skin types. Tested under dermatologicalsupervision.”

ภาษาไทย “เทผลิตภัณฑ์ลงบนสำลีและเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ใช้ได้กับทุกสภาพผิวแม้ผิวบริเวณดวงตาโดยไม่จำเป็นต้องล้างออกด้วยน้ำ ใช้เป็นประจำทุกเช้าเย็น”

คำแปลภาษาอังกฤษมันแปลกๆเนอะ ทาอย่างเดียวเหรอ ทำไมไม่บอกให้เช็ดออกด้วย ถ้าเราอ่านแต่ภาษาอังกฤษก็จะนึกว่าทาแล้วทาเลยเหมือนพวก lotion (ที่เป็นน้ำใสๆ) ของญี่ปุ่น ใช้สำลีชุบแล้วแปะๆให้ทั่วหน้าเพื่อให้วิตามินซึมเข้าผิว

ส่วนคำแปลภาษาไทยนี่ ท่อนที่อธิบายเรื่องการทดสอบการแพ้มันหายไปไหนอ่ะ

หมายเหตุน้องชายเราเรียนเคมี ที่แล็บ อาจารย์สอนเรื่องส่วนประกอบในเครื่องสำอาง น้องชายบอกว่าโทนเนอร์ผู้ชายมีแอลกอฮอลผสมอยู่ 80% กว่าๆ ทดสอบโดยลองจุดไฟว่าติดไฟได้นานแค่ไหน ปรากฏว่านานมาก เราจำได้ว่าหมอผิวหนังก็บอกว่าอย่าใช้โทนเนอร์เพราะหน้าจะแห้งเกินเนื่องจากส่วนประกอบหลักคือแอลกอฮอล (ใช้มากๆ หน้าแหกนะเออ) ถ้าจะใช้สารฆ่าเชื้ออย่างนี้มาเช็ดหน้า ใช้แอลกอฮอลแล้วผสมน้ำ 1:1 เลย ประหยัดกว่า

2. เจลล้างหน้า ยี่ห้อเดียวกันจากฝรั่งเศส ส่วนประกอบมันพิมพ์อยู่บนขวดแล้ว เป็นภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส“S’utilisematin et soir avec de l’eau, en évitant le contour des yeux. Rincerabondammont.”

ภาษาไทย “ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดเทผลิตภัณฑ์ลงบนฝ่ามือ ลูบไล้ให้ทั่วใบหน้า และล้างออกด้วยน้ำสะอาดควรหลีกเลี่ยงบริเวณผิวรอบดวงตา ใช้เป็นประจำทุกเช้าและเย็น”

ภาษาอังกฤษ“Usemorning and evening with water. Avoiding the eye contour. Rinse thoroughly.”

ภาษาไทยจะแปลแบบขยาย มีอะไรที่ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสไม่มี “ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดเทผลิตภัณฑ์ลงบนฝ่ามือ ลูบไล้ให้ทั่วใบหน้า” ในขณะที่ภาษาอังกฤษแปลตรงกับฝรั่งเศสเดี๊ยะๆ

ภาษาไทยเพี้ยนนะเราว่า ต้นฉบับไม่มีคำว่าควร แต่ภาษาไทยแปลว่า “ควรหลีกเลี่ยง” เราอ่านแล้วเข้าใจว่า ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าไม่เลี่ยงก็ไม่เป็นไร เราทาเปลือกตาเช็ดด้วยครีมเช็ดเครื่องสำอางแล้วแต่เปลือกตายังมีคราบมันอยู่ เราอ่านฉลากเจลตัวนี้แล้ว ก็ลูบเจลทั่วหน้ารวมเปลือกตาเลยเพราะคิดว่าไม่เลี่ยงก็คงไม่เป็นไรแต่ทำไปแล้วก็พบว่าเจ็บเปลือกตา เพราะไอ้เจลตัวนี้มันมีเม็ดขัดผิวเล็กๆ ด้วย

3. ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกลายแบบลูกกลิ้ง ผลิตในประเทศไทยฉะนั้นฉลากเป็นภาษาไทยแน่นอน พลิกมาดูส่วนประกอบก็เป็นภาษาอังกฤษอยู่ดี เขียนว่า “Aqua, Aluminum Chlorohydrate,Dimethicone, Pasiflora Edulis Fruit Extract, Ascorbic Acid, Glycine SojaProtein, Citrus Limon Fruit Extract….”

4. แป้งเด็ก ผลิตในประเทศไทย ฉลากเป็นภาษาไทยแต่ส่วนประกอบก็เป็นภาษาอังกฤษ เขียนว่า “Talc,Fragrance”

5. ครีมบำรุงริมฝีปาก ผลิตในประเทศเยอรมนี ยี่ห้ออังกฤษ ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนประกอบมี “Butyrospermumparkii (Shea Butter), Olea europaea fruit (Oilve) oil, Cera alba (Beeswax),Lanolin”

สังเกตดูจะเห็นว่า ส่วนประกอบเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ก็จริง แต่มีวงเล็บชื่อสามัญไว้ด้วย ก็สะดวกสำหรับผู้บริโภคไม่ต้องเดาว่าที่จะซื้อไปใช้มันใส่อะไรบ้าง

---------------------------------

ทีนี้มาดูฉลากที่เราเจอ เราอยากจะบอกลูกค้าว่า หลังจากค้นดูตัวอย่างจริงแล้วส่วนประกอบจะไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย ไม่แม้กระทั่งถ่ายเสียง เราไม่รู้ว่ากฎหมายเครื่องสำอางกำหนดให้คงชื่อส่วนประกอบเป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า แต่ลูกค้าสั่งว่าให้แปล ก็ต้องแปล เลยต้องค้นอีกว่าแต่ละคำมีหน่วยงานไหนแปลว่ายังไง

Aqua (Purified Water), Kaolin, StearicAcid, Bentonite, Butyrospernum Parkii Butter, Macadamia IntegrifoliaSeed Oil, PEG-20 Stearate, AloeBarbadensis Leaf Juice, Caprylhydroxamic Acid, Caprylyl Glycol,Hamamelis Virginiana Water, Fragrance

น้ำ (น้ำกลั่น) ดินเคโอลิน กรดสเตียริค ดินเบนโทไนท์เชียร์บัตเตอร์ น้ำมันแมคคาเดเมีย พีอีจี-20 สเตียเรต สารสกัดจากว่านหางจระเข้ กรดคาพริลไฮดรอกซามิก คาพริลิลไกลคอล สารสกัดวิชฮาเซล น้ำหอม

ฉบับแปลเลยมีทั้งที่แปลและที่ถ่ายเสียงผสมกัน ตอนส่งงานเราก็ลืมบอกลูกค้าว่าจริงๆ ส่วนประกอบนี่ไม่ต้องแปลก็ได้ (ยกเว้นลูกค้าไปค้นกฎหมายแล้ว ปรากฏว่าต้องแปล)

(ใส่คำว่าดิน เข้าไป คนใช้จะนึกว่า สกปรก มั้ยน้อ แล้วระบุไปว่า กรด คนใช้จะกลัวหรือเปล่าน้า)

ทำงานนี้แล้วนอกจากจะรู้แนวทางแปลฉลากเครื่องสำอาง ยังได้รู้ว่าส่วนประกอบตัวไหนที่ควรจะเลี่ยง ตอนแปลนี่ แปลไป ค้นไป สยองไปด้วย โอ๊ยแต่ละตัว น่ากลัวทั้งนั้น ตกบ่าย เราไปห้างแถวบ้าน พยายามจะเดินหาของใช้ที่ทำจากสมุนไพร ว่าจะอุดหนุนแบรนด์อภัยภูเบศรซะหน่อยแต่มันไม่มีขาย ตอนนี้เราเริ่มผมร่วงตรงกลางหัวแล้วอ่ะ กรรมพันธุ์ฝ่ายพ่อ ผู้หญิงจะล้านตรงกลาง แล้วตอนที่เราเรียนเป็นผู้จัดการสปาที่มหิดล(เราสอบผ่านแล้ว) ก็ได้เรียนเรื่องสารเคมี มีอาจารย์มาสอนเรื่องผมด้วย คนที่ชอบทำสีผม เคมีมันดูดซึมผ่านหนังศีรษะอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ รากผมไม่แข็งแรงที่แน่ๆ คือผมจะเสีย ส่วนยาสระผมที่ใช้กันนี่แหละตัวทำหัวล้านเลย สารเคมีทั้งนั้น จะให้ดีต้องกลับสู่สามัญ ใช้สารสกัดจากธรรมชาติอย่างมะกรูดเหมือนที่คนสมัยโบราณใช้

ตอนเราเรียนทำโลชั่นบำรุงผิวเมื่อหลายปีมาแล้วผู้สอนทำกิจการ SME สารสกัดขิง สกัดไงรู้ป่าว ทอดในน้ำมันนี่แหละ แล้วเอาน้ำมันมาใช้ ผสมส่วนประกอบครบแล้ว เวลาใส่วิตามิน ถังกวนส่วนผสมเบ้อเริ่มแต่วิตามินฝาเดียวเองนะ มันจะบำรุงอะไรได้แค่ไหนเชียว เราเคยคิดว่าทำไมฉลากเครื่องสำอางไม่ระบุปริมาณส่วนประกอบจะได้รู้ว่าสารสกัดทั้งหลายที่ใส่มันเยอะแค่ไหน เดาว่าคงจะไม่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่มีแต่เคมี

เพื่อนอีกคนเคยทำงานในห้องแล็บเครื่องสำอางยี่ห้อนึง เขาใช้อะไรทำโลชั่นเช็ดเครื่องสำอางรู้มั้ย น้ำมันพืชที่ใช้ทำกับข้าวนี่แหละ ฟังแล้วสยอง ใช้แล้วรูขุมขนอุดตัน หน้าก็เป็นสิวสิจ๊ะ อีกอย่างที่ทำให้หน้าเป็นสิวคือเบบี้ออยล์เพราะมันคือ mineral oil เป็นเคมี มีโมเลกุลใหญ่ ซึมเข้าผิวไม่ได้ สังเกตสิเวลาทาผิวแล้วผิวจะมันเพราะมันเคลือบอย่างเดียวแต่ไม่ซึม น้ำมันที่ซึมเข้าผิวง่ายคือน้ำมันไทยๆเรานี่แหละ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา ทาแล้วหายไปเลย แถมเป็นสารกันแดดตามธรรมชาติอีกด้วย อ้อตามร้านนวดหรือสปาทั่วไป ถ้าร้านธรรมดาส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันสังเคราะห์แล้วแต่งกลิ่นทั้งนั้น ไม่ได้ช่วยบำรุงผิวหรอก ลูกค้าหลงเข้าใจผิดเยอะ ถ้าอยากได้คุณค่าเต็มๆแนะให้พกขวดน้ำมันที่ตัวเองชอบไปด้วย

ตอนเรียนทำครีมขัดผิวจากกากกาแฟ ส่วนประกอบแปลกๆ ก็มี เนย ใส่เพื่อให้ลื่นระหว่างขัดสารกันเสียก็ใช้วิธี กดสบู่เหลวที่ขายในห้างใส่ผสมเข้าไป ไม่ต้องเยอะ แค่นี้ครีมก็อยู่ได้นานแล้ว ส่วนเกลือสปา แค่เอาหัวน้ำหอมผสมในเกลือเม็ดก็ได้แล้ว ต้นทุนหลักร้อย ขายกันหลักพันกำไรกี่เท่า คิดดู

วกกลับมาเรื่องการแปลต่อเดี๋ยวนี้บางเว็บมีโฆษณาแปลฉลากเครื่องสำอางด้วยนะก็ตอนนี้ประเทศไทยจะเข้าเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ผลิตภัณฑ์ไทยก็จะขายในประเทศเพื่อนบ้านได้ ตลาดแปลน่าจะมีความต้องการแปลภาษาในกลุ่ม AEC ทั้งภาษาอินโด ภาษามาเลย์ ภาษาตากาล็อกภาษาลาว ภาษากัมพูชา ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม ใครที่เป็นนักแปลภาษาเหล่านี้ น่าจะอนาคตสดใส

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอรชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 11 กรกฎาคม 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 10:14:38 น.
Counter : 10224 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2556

 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
All Blog