ค่าแปลคิดยังไง

ค่าแปลคิดยังไง

จากที่ทำงานแปลเอกสารมาหลายปีสังเกตเห็นว่าในประเทศไทยจะคิดค่าแปลกันเป็นหน้า สมัยเราเริ่มทำงานแปลก็คิดเป็นหน้าเหมือนกันตอนนั้นปี 2546 คิดอยู่หน้าละ 300 บาทเอง รับงานผ่านเอเจนซี่  ไม่ได้ดูว่าหน้านึงมีกี่คำ มีรูปภาพหรือเปล่า มีตารางมั้ย มีผังอะไรที่ต้องทำให้เหมือนต้นฉบับมั้ย งานช่วงนั้นที่รับทำในราคานี้มีคู่มือพนักงานบริษัทผลิตนม และคู่มือผลิตส่วนประกอบอาหาร  บทความเกี่ยวกับการจัดดอกไม้ ชีวประวัติของจิตรกรต่างประเทศ และคู่มือการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูประถม ที่คิดราคาแค่นี้เพราะตอนนั้นยังเรียนแปลไม่จบเลย รู้ทฤษฎี รู้หลักภาษา แต่ขาดประสบการณ์ก็ต้องมารับงานแปลเพื่อลองวิชาและเพิ่มพูนความรู้จากการทำงานจริง

พอทำไปได้ช่วงหนึ่งก็เริ่มมีงานที่ยากขึ้นมาให้แปล ทั้งสัญญาจ้างผู้รับเหมาสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัย คู่มือความปลอดภัยสำหรับร้านค้าในปั๊มน้ำมัน ราคาค่าแปลก็เพิ่มขึ้นตามประสบการณ์ที่มี  ระหว่างแปลเอกสารก็มีงานแปลหนังสือเข้ามาบ้าง บางสำนักพิมพ์ให้เป็น % ของราคาขาย x จำนวนพิมพ์  เช่น ได้ 6% x ราคาหนังสือ 200 บาท x 3,000 เล่มนักแปลก็จะได้ 36,000 บาท ถ้าพิมพ์ซ้ำก็จะได้อีกตามสูตรนี้ บางสำนักพิมพ์ให้เป็นหน้า แต่แปลหนังสือไปได้ไม่กี่เล่มก็หมดความสนใจ เพราะได้เงินช้า ได้เงินน้อย และต้องประดิดประดอยคำต้องอ่านหนังสือให้เยอะเพื่อให้มีคลังคำสำหรับนำมาใช้ในงานแปล เลยตัดสินใจมาเน้นแปลเอกสารดีกว่า

พอมารับงานอกสารอย่างเดียวก็พบว่าต้องอ่านหนังสือเยอะอยู่ดีเพื่อให้มีคลังคำเหมือนกัน คลังคำในทีนี้คือคำแปลสำหรับคำศัพท์เพื่อใช้ในบริบทที่ต่างกัน รู้สึกเหมือนต้องอ่านหนังสือมากกว่าเดิมหลากประเภทกว่าเดิมด้วยเพราะแปลเอกสารมันค่อนข้างกว้าง ถ้าแปลงานธุรกิจต้องอ่านทั้งการตลาด การขาย การเงิน การบัญชี การส่งออก การจัดการ ฯ สารพัดการ ในขณะที่แปลหนังสือนักแปลมักจะเลือกอ่านหนังสือในแนวที่ตัวเองแปลเป็นหลัก  งานเอกสารที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นงานกฎหมายเพราะเคยทำงานอยู่บริษัทกฎหมาย  ตอนนั้นยังคิดราคาเป็นหน้า แต่ราคาขึ้นๆ ลงๆ เพราะเอกสารมาจำนวนคำไม่เท่ากัน อย่างคำฟ้อง คำพิพากษา หน้านึงจะมีไม่กี่คำเพราะต้นฉบับพิมพ์แบบบรรทัดเว้นบรรทัดจะคิดราคาปกติก็ไม่สมควร ตอนนั้นไม่เคยรู้ว่าต่างประเทศเขาคิดค่าแปลกันเป็นคำ
จนปี 2552 เอเจนซี่แปลในออสเตรเลียติดต่อให้แปลงาน ให้เสนอค่าแปลเป็นคำ เราถึงได้เริ่มค้นว่าราคาตลาดอยู่ที่เท่าไหร่เพื่อจะได้เสนอราคาได้เหมาะสม นั่นเลยทำให้คิดได้ว่าการคิดค่าแปลเป็นคำนั้นก็เหมาะสมดี  

ปัจจุบันถึงจะคิดค่าแปลเป็นคำ แต่งานแปลที่ว่าจ้างโดยบริษัทในประเทศไทย หลายๆ บริษัทยังคงขอราคาเป็นหน้าอยู่ อย่างต้นปี 2555 เพิ่งออกจากงานประจำ มีลูกค้าให้แปลสัญญาจัดจำหน่าย เอกสารตัวหนังสือเยอะเหมือนกัน มาเป็น PDF จะนับคำยังไงเพราะมันแสกนมาแบบเข้าเครื่อง ไม่ใช่แปลงมาจาก Word ก็เดาว่าหน้านึง 400 คำได้ เสนอราคาไป พร้อมเซ็นรับรองผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมด้วย ทำงานเสร็จ รับตังค์แล้วถึงคิดได้ ลองสอบถามสิว่าราคาตลาดอยู่ที่เท่าไหร่ ได้คำตอบแล้วต้องรีบดูเงินที่รับมา ถึงได้รู้ว่าเสนอราคาไปต่ำกว่าที่ควร 50% (ทำไปได้ ให้ตายเถอะ โรบิ้น  ตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองโง่แทนที่จะนั่งพิมพ์สัก 2-3 บรรทัดเพื่อให้ Word นับคำให้แล้ว x จำนวนบรรทัดต่อหน้าเพื่อเสนอราคาค่าแปล ดันกะเอาแล้วเสนอไปเลย)  พอวันหลังลูกค้ารายนี้ติดต่อมาอีกก็ต้องอธิบายว่าราคาปกติเท่านี้ คราวที่แล้วคิดราคาผิด เลยให้ราคาเดิมไม่ได้

ที่เคยถามมาคือค่าแปลงานทั่วไป คิดคำละ 2 บาท แต่ถ้าเซ็นรับรองผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมด้วยจะคิดคำละ 3 บาท (อัตรา ณ เวลาที่เขียนบล็อกนี้ ไม่ใช่ราคาปัจจุบัน) ราคานี้ก็ยุติธรรมดีแล้วเพราะใบผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมนี่มันต้องไปสอบต้องทำแฟ้มผลงานไปเสนอคณะกรรมการศาลยุติธรรมพิจารณา (เห็นว่าบางคนใส่กระเป๋าเดินทางแบบล้อลากเอาไปส่งที่ศาลเลยนะ) แล้วก็ต้องมีการต่ออายุทุก 3 ปี ใบนี้ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ

วันนี้มีลูกค้าอีกรายให้เสนอราคาแปลข้อกำหนดและเงื่อนไขแค่ 2 หน้าเอง แต่เปิด Word แล้วตะลึง 2 หน้านี้มีทั้งหมด 4,000 คำ ถ้าเสนอราคาโดยไม่ได้ดูเอกสาร สมมติหน้าละ 600 คำ x คำละ 2 บาท = 1,200 บาท ในขณะที่ค่าแปลที่ควรจะได้อย่างน้อยๆ คือ 4,000 x 2 = 8,000 บาท คิดดูว่านักแปลจะขาดทุนป่นปี้ขนาดไหน

อนึ่ง ลูกค้ามักจะไม่จ้างนักแปลหน้าใหม่ๆ ให้แปลเอกสารกฎหมายเพราะเสี่ยงสูง อาจจะแปลผิดหรืออาจจะส่งงานช้ากว่ากำหนด ถ้าเป็นลูกค้าเก่าก็คงไม่พ้นจ้างเราและถ้าราคาเราเกินงบประมาณ ก็จะต่อรองกันแต่จะไม่ไปใช้นักแปลรายอื่น มีลูกค้าอีกรายบอกว่าไม่ต้องการจ้างแปลด้วยวิธีประมูลเพราะเอกสารที่แปลเป็นเอกสารด่วนมัวแต่รอประมูล จะทำให้ออกเอกสารไม่ทันการทำธุรกรรมให้ลูกค้าต่างประเทศ

ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาลูกค้าอีกรายให้เสนอราคางานแปล 15 หน้า สมมติว่าไม่ดูเอกสารแล้วเสนอราคาไปหน้าละ 600 บาทเพราะคิดว่าหน้าเอ 4 มาตรฐานน่าจะมี 400 คำ ค่าแปลก็จะ = 12,000 บาท ก็จะไม่ยุติธรรมกับลูกค้าเพราะเปิดไฟล์ดูแล้ว มีแค่ 2,000 คำ ค่าแปลที่ถูกต้องควรจะเป็น 4,000 บาท (กรณีที่คิดคำละ 2 บาท)

มีบางงานจำนวนคำที่ต้องแปลมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีภาษาอังกฤษมาอยู่แล้ว แต่ราคาแปลไม่ได้ลดเลยเพราะต้องคิดค่าแปลชดเชยเวลาที่เสียไปกับการทำผังภาพและตาราง เช่น กรณีแปลใบรับรองผลการเรียน ตารางรายวิชานี่สุดยอดเลย จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเหมือนกัน แต่สถาบันนึงก็ออกใบรับรองมาในฟอร์มนี้ อีกสถาบันเอาส่วนนี้สลับไปทางขวาอีกที่เอามาห้อยไว้ด้านล่าง ไหนจะรหัสวิชาอีกดูตัวเลขเรียงกันเป็น 6-7 หลัก

สำหรับลูกค้าต่างประเทศงานแปลจะคิดเป็นคำ แต่งานตรวจแก้มักจะให้ค่าแรงเป็นชั่วโมง เฉลี่ยแล้วนักแปลน่าจะตรวจแก้งาน (ของเพื่อนนักแปลรายอื่น) ได้ 1,000 คำต่อชั่วโมง (ลูกค้าใช้คำว่า throughput) ก็ให้นักแปลเสนอค่าแรงมาตามมาตรฐานนี้ (คุ้นๆเห็นนักแปลในต่างประเทศคิดค่าแรงชั่วโมงละ USD35 ขึ้นไปนะ) แต่เราก็เลือกจะรับเป็นคำอยู่ดี ส่วนใหญ่จะได้ค่าแรงเยอะกว่าและประหยัดเวลาเราด้วยเพราะเราทำงานเร็ว 1,000 คำนี่คิดจริงๆ แค่ 2 หน้ากว่าๆ เอง ถ้านักแปลแปลมาดี ตรวจแก้สักพักก็เสร็จ แต่ถ้าแปลมาไม่ดี จากค่าตรวจแก้จะคิดเป็นค่าแปลแทน

มีลูกค้าของลูกค้าเราอีกทีเอาต้นฉบับไปใส่ google translate ออกมาแล้ว ส่งมาให้นักแปลตรวจแก้ ดูแล้วรู้เลยว่าใช้โปรแกรมแปล อย่างนี้ไม่เรียกว่าแปลนะ ถ้าส่งมาให้ตรวจแก้ จะคิดเป็นค่าแปลใหม่เพราะโปรแกรมช่วยแปลพวกนี้มันไฮเทคไม่พอจะจับหลักไวยากรณ์ต้นฉบับและคำแปลได้ทั้งหมด

สรุป เวลาเสนอราคา ให้ลองคำนวณจำนวนคำต่อหน้าก่อนเสนอ จะได้ไม่ขาดทุน

***************
สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com
ณัชชาอรชูเชิดศักดิ์

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
 




Create Date : 12 มิถุนายน 2556
Last Update : 29 พฤษภาคม 2563 7:18:02 น.
Counter : 31955 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
12 มิถุนายน 2556
All Blog