ความรับผิดของนักแปล ตอนที่ 1

ความรับผิดของนักแปล ตอนที่ 1



สืบเนื่องจากกระทู้หนึ่งที่น่าสนใจจากเว็บบอร์ดพันทิพยอดฮิตของคนไทย ที่ จขกท. สอบถามถึงความเป็นไปได้ในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกรณีโดนระบบในเกมมือถือด่า “ไปตายดีกว่ามั้ง” ขอยกมาให้อ่านทั้งกระทู้ดังนี้ค่ะ



โดนระบบในเกมมือถือด่า "ไปตายดีกว่ามั้ง" สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ครับ (//pantip.com/topic/30097511/comment16)


ถามผู้รู้กฏหมายครับ ปกติผมเล่นเกมมานาน ยังไม่เคยเจอในรูปแบบนี้มาก่อน และต้องการยกเป็นกรณีตัวอย่าง เรื่องของเรื่องคือ มีเกมหนึ่งอยู่ใน App Store เล่นบน iOS (iPhone) สามารถโหลดมาเล่นได้ฟรี แต่ถ้าต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกก็ต้องเสียเงินซื้อ (เป็นปกติของเกมสมัยนี้) เกมนี้เป็นเกมภาษาไทย เข้าใจว่าแปลมา รูปแบบเป็นเกมยิงวัตถุเคลื่อนไหว กรณีผู้เล่น ยิงพลาดติดต่อกันเป็นจำนวน 15 ครั้ง จะมีคำจากระบบขึ้นมาบอกว่า "ห่วย" ถ้าผู้เล่นยิงพลาด 16 ครั้ง จะมีคำจากระบบขึ้นมาบอกว่า "ไปตายดีกว่ามั้ง" ซึ่งเป็นการด่าผู้เล่น หรือผู้บริโภคสินค้าซึ่งหน้า และถ้าคุณดันเกิดเล่นเกมนี้กับเพื่อนๆ เป็นกลุ่ม คุณที่ถูกระบบของเกมนี้ด่า "ไปตายดีกว่ามั้ง" รับรองว่าคุณจะโดนเพื่อนล้อยันลูกบวชแน่ๆ



กรณีแบบนี้ เป็นความผิดพลาดของผู้แปลภาษาต่างประเทศของเกมโดยตรง หรือมาจากผู้พัฒนาเกมนั้น ซึ่งลูกค้า หรือผู้ที่ดาวน์โหลดเกมนี้มาเล่นจะต้องมีโดนด่าคำเดียวกันนี้อยู่เรื่อยๆ บอกตรงๆ ว่าเสียความรู้สึกมากๆ และมองว่าเกม กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงประสงค์สำหรับเด็ก หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็ตาม เพราะคำแบบนี้มันไม่น่าออกมาสู่สาธารณชนด้วยซ้ำ ทีมผู้พัฒนาไม่ได้ตรวจสคริปต์ก่อนเผยแพร่ หรือปล่อยผ่านไปเพราะมันไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ผมว่าถ้าเด็กบ้านไหนเล่นเกมนี้อยู่ แล้วไปบอกคุณพ่อคุณแม่ ว่าโดนเกมด่าว่า "ไปตายดีกว่ามั้ง" คงไม่สนุกเท่าไหร่



จึงอยากถามผู้รู้ด้านกฏหมายครับว่า ผมสามารถดำเนินคดีฟ้องร้องเอาผิด และเรียกร้องค่าเสียหาย จากกรณีนี้ได้หรือไม่ครับ และมีขั้นตอนอย่างไร

------------------------------------

เข้าใจว่า จขกท. คงอารมณ์เสีย เลยอยากระบาย แต่มาสะดุดตรงส่วนที่สงสัยว่าเป็นความผิดพลาดของผู้แปลภาษาต่างประเทศของเกมหรือเปล่า อ้าว นักแปลหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสิ


นี่คือสาเหตุหนึ่งที่บางบริษัทคะยั้นคะยอให้นักแปลซื้อประกัน professional indemnity จากที่ค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเรื่องการฟ้องร้องนักแปล ส่วนใหญ่จะไม่เห็นประโยชน์ของการมีประกันตัวนี้ไว้ แต่มีนักแปลอยู่รายหนึ่งยกตัวอย่างกรณีฟ้องร้องนักแปลโดยให้เหตุผลว่า การฟ้องร้องนักแปลเรื่องการแปลที่ผิดพลาด ไม่ใช่ไม่มี มีแต่ไม่เปิดเผยมากกว่า เช่น กรณีมีงานแปลคำฟ้องซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมันโดยต้นฉบับมีการแก้ไขแต่คำแปลไม่ได้อัพเดท นักแปลโดนโยนความผิดและถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย


หรืออีกกรณีหนึ่ง สมัยก่อนยังส่งแฟกซ์คำแปลให้ผู้ว่าจ้าง งานนี้นักแปลเห็นต้นฉบับเขียนว่า 6 แต่แท้จริงต้นฉบับคือเลข 8 แฟกซ์เจ้ากรรมทำพิษนี่เอง ผลคือลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างต้องสั่งทำโบรชัวร์ใหม่หมดและมาเรียกค่าเสียหายจากนักแปล โชคดีที่มีประกัน และทนายของบริษัทประกันโต้แย้งการเรียกร้อง ทำให้นักแปลไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย


ทั้งสองกรณีนี้ อ่านรายละเอียดได้ที่ //www.proz.com/forum/business_issues/153569-translators_professional_indemnity_insurance.html) (ฝรั่งโหดเนอะ)


ของไทยเราก็มีมาแล้ว กรณีที่ทนายฝั่งตรงข้ามอ้างว่านักแปลแปลผิด นักแปลก็ต้องหาหลักฐานมายืนยันเป็นพัลวันว่าแปลถูก (หรือแปลผิดจริงแต่จะหาหลักฐานไปแถว่าแปลถูก จะได้ไม่ต้องรับผิด) และอีกกรณีคือผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมรายหนึ่งแปลเอกสารผิด บิดเบือนจากต้นฉบับไปมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง มีการตามหาตัวนักแปลว่าเป็นใคร แต่ไม่ทราบว่านักแปลได้รับโทษอะไรบ้าง เท่าที่รู้ โดยทั่วไปน่าจะเป็นการยึดใบทะเบียนหรือใบรับรองคุณวุฒิการแปล ถ้าซวยหนักหน่อย ก็โดยฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วย


หมายเหตุ จำไว้ว่าให้จำกัดความรับผิดทุกกรณีไว้เพียงมูลค่าตามใบแจ้งหนี้ของงานนั้นๆ

-----------------------------------------------

กลับมาว่ากันต่อเรื่องกระทู้ข้างบน เราตอบไปในส่วนของการแปลตามที่เห็นด้านล่างนี้


ความเห็นที่ 16


ตอบในฐานะนักแปล ถ้าต้นฉบับเขียนมาว่า ไปตายดีกว่ามั้ง (ในภาษาอังกฤษหรือภาษาอะไรก็แล้วแต่) นักแปลก็ต้องแปลให้ได้น้ำเสียงเดียวกัน หยาบเหมือนกัน พูดแล้วคนฟังรู้สึกเหมือนกัน (เหมือนที่ฝรั่งฟังภาษาอังกฤษคำนี้ ถ้าฝรั่งสะดุ้ง คนไทยฟังภาษาไทยที่แปลมาจากคำนี้แล้วต้องสะดุ้งเหมือนกัน) ฉะนั้นถ้านักแปลแปลได้ถูกต้องรวมถึงน้ำเสียงของคำ ความหยาบ เหมือนต้นฉบับ ถือว่านักแปลแปลไม่ผิดค่ะ



(หมายเหตุ ถ้าต้นฉบับหยาบมา แล้วนักแปลแปลไม่หยาบเท่า ถือว่านักแปลทำผิดหลักจรรยาบรรณข้อ accuracy หรือความถูกต้องค่ะ ถ้าโดนร้องเรียนแล้วพิสูจน์ว่าแปลผิดจริง นักแปลอาจโดนยึดใบรับรองคุณวุฒิได้)



ทีนี้มีวิธีพิสูจน์ว่าแปลผิดหรือเปล่า คือให้นักแปลที่มีคุณวุฒิเท่ากัน เช่น จบการแปลระดับปริญญาโทเหมือนกัน หรือมีใบรับรองการแปลจากประเทศเดียวกัน สัก 3 คนมาอ่านแล้วให้ความเห็นว่าแปลผิดหรือเปล่า ถ้าความเห็นเป็นไปในทางเดียวกันว่าผิด ก็น่าจะเชื่อว่านักแปลคนนั้นแปลผิดจริง



ที่เกริ่นเรื่องการแปลนำมาก่อนเพราะจะเข้าเรื่องความรับผิดของนักแปล ถ้านักแปลแปลถูกต้องครบถ้วน พิสูจน์ได้ว่าถูกจริง (เหมือนเวลาศาลเรียกนักแปลไปให้การในศาลว่าทำไมถึงคิดว่าแปลถูก แล้วนักแปลต้องอ้างบรรดาอาจารย์ สถาบัน พจนานุกรมต่างๆ ที่ใช้อ้างอิงเพื่อยืนยันความถูกต้องในคำแปลที่ตัวเองแปล) ความเสียหาย (ต่อจิตใจในกรณีนี้) ก็จะไม่ได้เกิดจากนักแปล (แปลไม่ดี ทำร้ายจิตใจคนอ่าน)



รู้อย่างนี้แล้ว ถ้า จขกท. จะฟ้องเรียกค่าเสียหาย ต้องไปหาคู่กรณีให้เจอว่าฟ้องใครถึงจะถูก



ถ้าให้เราเดาแบบคนมีความรู้เท่าหางอึ่ง บริษัทเกมส์ควรจะมีคำเตือนผู้เล่นก่อนว่าเกมส์นี้มีการใช้ภาษาที่รุนแรง เสียดสี ด่าทอ etc (เหมือนที่เตือนก่อนหนังจะเริ่ม ว่ามีฉากโป๊ คำหยาบ อะไรเงี้ย) หรือควรจะระบุอายุของผู้เล่น (เหมือนเซนเซอร์หนัง) ว่าเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีห้ามเล่น แล้วถ้าบริษัทไม่ได้มีมาตรการป้องกันอะไรทำนองนี้ ผู้เล่นจะฟ้องร้องได้หรือเปล่า ลองค้นคดีในต่างประเทศเพื่อเทียบเคียงดูนะ เราไม่แน่ใจ



เห็นกระทู้นี้แล้วชวนให้ขบคิด เดี๋ยวมีเวลาจะโทรหาพี่ทนาย ขอความเห็นหน่อย


----------------------------------------

โทรหาพี่ทนายเพื่อขอความเห็นทางกฎหมายเพิ่มเติมแล้ว (9 ก.พ. 56) แต่พี่เขาไม่ได้รับสาย สงสัยจะติดเที่ยวตรุษจีน ไว้ได้คำตอบแล้วจะมาอัพเดทค่ะ


สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 18:08:39 น.
Counter : 3568 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
12
13
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog