เตรียมตัวสอบผู้ช่วยฯ
การเตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

ตำราที่ควรอ่านเพื่อใช้สำหรับเตรียมสอบ
1.พยาน อ่าน อ.ธานี
2.แพ่ง อาญา วิแพ่ง อ่าน จูริส เพิ่มเติม อ.จรัญ วิแพ่ง ภาคบังคับคดี
3.วิอาญา อ่าน อ.ธานิศ 2 เล่ม
4.ก.ม.พิเศษ แล้วแต่จะอ่าน
เน้นว่าตำราต้องอัพเดท อ่านแล้วทำย่อ แบบสั้น ๆ เขียนในตัวบทให้เยอะ

บอกตรง ๆ ว่าเอาแค่นี้จริง ๆ ไม่ต้องไปหาอะไรมาอ่านมาก แต่ก่อนเคยคิดว่าสอบศาลต้องอ่านมากมาย แต่สุดท้ายเอาแค่นี้จริง ๆ เคยคิดว่าหลักทฤษฎี เจตนารมณ์ต้องมาก่อนแต่พอเอาเข้าจริงอ่านไม่ทันหรอกครับ อ.ธานี อ.ธานิศ และ จูริส จะเขียนแนวเหมือนกันนั่นคือ เอาสาระสำคัญของฎีกามาย่อเป็นหัวข้อซึ่งตรงนี้สำคัญมากในการจัดประมวลข้อมูล แต่ในส่วนของจูริส มีข้อแนะนำว่าในบางเรื่องที่มีคำพิพากษาฎีกาอยู่ 2 แนวตรงนี้ควรสืบค้นเพิ่มเติมว่าเป็นการกลับแนวเดิมหรือไม่ หรือ แนวใหม่ยังถือเป็นยุติไม่ได้ (จะเจอเยอะในวิแพ่ง)

ข้อเด่นของ จูริส ดีตรงที่การนำคำพิพากษาฎีกาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายนั้น ๆ มารวมกันหมด ทำให้ง่ายต่อการประมวลข้อมูล และ ขอบเขต ของเรื่องนั้น
แต่ก็มีข้อเตือนว่า ในการประมวลข้อมูลจะต้องระวัง (โดยเฉพาะวิแพ่ง) เพราะ บางเรื่องฎีกามี 2 แนว จูริส อาจอธิบายไม่ชัดเจนมากเพราะจะเน้นแต่ฎีกาว่ามีอันนี้เคยตัดสินมาก่อน และมี ฎีกาอีกแนวตัดสินอย่างนี้ (ด้วยเหตุนี้ จูริสจึงไม่เหมาะกับการสอบเน สิ่งที่เหมาะสำหรับการสอบเนที่สุดคือ คำบรรยายเน กับหนังสือ ที่อาจารย์เเขียน)
กับข้อด้อยของจูริส อีกจุด คือ การอธิบายเจตนารมณ์ของเรื่องนั้น ๆ แทบจะไม่มีเลย จึงเป็นหน้าที่ของผู้สอบ ที่จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมตำราครูเล่มอื่น ๆ เพื่อหาแนวที่ถือเป็นยุติในประเด็นนั้นซึ่งมีไม่มากหรอกครับ
การสอบผู้ช่วยในปัจจุบัน ยิ่งยากมากกว่าแต่ก่อนเยอะ การเตรียมข้อมูลในการสอบสนามนี้สำคัญมาก การตอบก็ต้องตอบตามแนวฎีกา
(แต่ขอหมายเหตุไว้ว่าการเขียนข้อสอบทุกข้อจะต้องมีถ้อยคำในกฎหมายประกอบการวินิจฉัยด้วยเสมอ ซึ่งคำพิพากษาฎีกาส่วนใหญ่ก็จะวินิจฉัยโดยมีถ้อยคำในกฎหมายอยู่แล้วครับ การตอบตามแนวฎีกาจึงหมายถึง การตอบหลักกฎหมายที่สอดคล้องไปตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา คะแนนจะดีมากครับ ประเด็นนี้ผมเคยตั้งไปในคราวที่แล้วว่า "การตอบตามฎีกาได้คะแนนดีกว่าตอบตามหลัก" อาจมีผู้เข้าใจผิดว่าการตอบตามฎีกาไม่ใช่เป็นการตอบหลักไม่ใช่เลยครับ การสอบทุกสนามหลักต้องมีเสมอ แต่ข้อเท็จจิงตามฎีกานี่แหละครับที่จะทำให้เราตอบผิดได้ถ้าเราไม่เคยอ่านข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นมาก่อนจากฎีกาในเรื่องนั้น หรือ ถ้าฎีกาในเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่อธิบายหลักกฎหมาย(จะเยอะมากในวิแพ่ง วิอาญา) ฎีกาพวกนี้ยิ่งต้องจำให้ขึ้นใจ เปรียบเสมือนเป็นหลักกฎหมายเรื่องหนึ่งเลยล่ะครับ

ดังนั้น ตำราข้างต้นที่ผมแนะนำมาจึงน่าจะเหมาะที่สุดในการจัดประมวลข้อมูล ตามความเห็นของผมครับ


และที่สำคัญ ไม่น้อยกว่ากันก็คือ การจดจำคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ โดยเฉพาะที่โยงหลักกฎหมายเรื่องอื่นด้วยตรงนี้เราควรนำมาตั้งคำถาม ถามเพื่อนที่เตรียมสอบด้วยกัน เพราะ การถามตอบแล้วเฉลยนั้นทำให้เรากับเพื่อนจะจำฎีกานี้ได้อย่างขึ้นใจ

ส่วนการเขียนสอบเป็นเทคนิค ของแต่ละคน จำว่า ผู้ช่วยให้ตอบตามฎีกาดีที่สุดโดยเฉพาะคำสำคัญของฎีกา และ ธงคำตอบสำคัญมาก แต่ อัยการให้เน้นตัวหลักกฎหมายดีที่สุด(โดยเฉพาะถ้าวางหลักกฎหมายที่สำคัญก่อนจะดีมาก) ธงไม่สำคัญมากแต่ต้องมีเหตุผลให้เห็นว่าทำไมถึงตอบอย่างนั้น
แต่ที่สำคัญไม่ว่าสนามไหนให้ตอบทุกประเด็น(สำคัญที่สุด) เพราะ ส่วนใหญ่แทบร้อยละร้อยไม่มีใครตอบข้อสอบได้ทุกประเด็นที่ถามหรอกครับ ปัญหานี้เป็นกันมากในการสอบผู้ช่วย(โดยเฉพาะข้อสอบที่ถามในลักษณะเปิดกว้างไม่ชี้ชัดว่าถามเรื่องอะไรกันแน่ อันนี้จะยากมากเพราะต้องเดาทางเลยล่ะครับ) และ จะตกหรือจะได้ก็วัดกันตรงนี้ด้วยแหละครับ เพราะ ข้อสอบที่ประเด็นมากแต่เราตอบไม่ครบไม่ว่าเราจะตอบในส่วนที่ถูกเขียนดีเข้าใจแค่ไหนคะแนนก็ลดลงมาครับ การตอบข้อสอบให้ครบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการเขียนดีสละสลวยเสียอีก ส่วนวิธีฝึกฝนตรงนี้ก็คือ การทำข้อสอบเก่านั่นแหละครับ เพื่อ เราจะได้รู้ว่าถ้าถามในลักษณะนี้จะต้องตอบเรื่องอะไร ยังไง เช่น คำถามถามเรื่องข้อห้ามอุทธรณ์ เราก็ต้องไล่ขั้นเลยว่าประเด็นแรกที่มีการอุทธรณ์ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง หรือ ข้อกฎหมายก่อน ไล่สายต่อไปว่า เมื่อเป็นปัญหาข้อเท็จจริงแล้วมีหลักกฎหมายอะไรที่ต้องเอามาตอบ(ดูจากคำถามว่าจากข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์เรื่องอะไร) ไล่ไปเรื่อย ๆ โดยปรับข้อเท็จจริงให้เข้ากับหลักกฎหมายออกมาเป็นคำตอบ ไม่ควรลอกข้อเท็จจริงมาทั้งดุ้นแล้วตอบแบบกำปั้นทุบดินว่าใช่หรือไม่ใช่(อันนี้ไว้ทำตอนเวลาจะหมดจริง ๆครับ)


วันสุดท้ายก่อนสอบควรอ่านตัวบทเบา ๆ อันไหนเป็นเรื่องยากก็ไปเปิดดูเฉพาะเรื่องนั้นทบทวนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความแม่นยำในเรื่องนั้น อย่าอ่านแบบคร่ำเคร่งเด็ดขาด โดยเพาะวันที่ตื่นนอนมาแล้วจะสอบวันนั้น
ส่วนวันสอบ ก่อนไปสอบควรโทรศัพท์หาครอบครัวขอคำอวยพรจากพ่อแม่ หรือ ตายาย คนที่เลี้ยงเรามาตั้งแต่เล็ก จะเกิดกำลังใจขึ้นอย่างประหลาด และเป็นมงคลที่ดีก่อนไปสอบ (เชื่อว่าหลายคนคงจะทำอย่างนั้น)
เวลาใกล้สอบไม่ควรตื่นเต้นมากไป มีสติดี ๆ อย่าลนรีบร้อนอ่านจนเกินไป 4 ชั่วโมงถือว่านานพอสมควร ถ้าอ่านเข้าใจคำถามแล้วมันเขียนตอบเร็วเองของมัน เพราะอ่านโจทย์ผิดไม่คุ้มเลยกับการที่เตรียมตัวมานาน เวลาเขียนเสร็จควรตรวจอีกรอบแต่อย่าไปแก้ใหม่(ต้องแน่ใจจริง ๆ ว่าผิดถึงแก้ ถ้าไม่แน่ใจห้ามแก้)

ข้อดี ของการตรวจทานสามารถทำให้เราเพิ่มเติมข้อความบางอย่างให้สมบูรณ์ หรือ ประเด็นที่ลืมนึกไปบางประเด็นได้ หรือ แม้กระทั่งตัวบทที่เคยวางหลักมันผิดในคำบางคำ เพราะ การทำข้อสอบรอบแรกไม่ค่อยมีใครทำได้สมบูรณ์มากหรอกครับ (แต่ความจริงส่วนใหญ่จะทำกันไม่ทัน)
ข้อเสีย ส่วนใหญ่มักจะไปแก้ให้ผิดทั้งที่ถูกอยู่แล้ว อาจเป็นเพราะไม่แม่นหลัก หรือ อ่านคำถามตอนหลังผิดทั้งที่เดิมตอนแรกอ่านถูกทำถูกอยู่แล้ว

ส่วนวิธีการทำข้อสอบว่าควรทำทีละข้อ หรือ อ่านให้จบทุกข้อทำไว้ในใจเขียนย่อ ๆ ในกระดาษคำถาม แล้วค่อยมาทำทีเดียว อันนี้ ต้องขึ้นอยู่กับความถนัดและความยากของข้อสอบ แต่ถ้าให้แนะนำผมแนะนำว่า
ถ้าข้อสอบประเด็นไม่มาก อย่างข้อสอบเน ควรทำทุกข้อเขียนสั้น ๆ ในกระดาษคำถามเตรียมหลักกฎหมายที่จะใส่มีอะไร ตั้งธงคำตอบไว้ย่อ ๆ อย่างน้อยหลังจากที่เราทำข้อสอบข้อแรกเสร็จ เราก็รู้หลักกฎหมายที่จะใส่ในข้อต่อไป รู้ว่าเรื่องอะไรที่จะต้องคิดตอบ แต่ถ้าทำทีละข้อความเหนื่อยล้าจากการเขียนข้อสอบข้อแรก ๆ เสร็จ อาจทำให้เราทำข้อหลัง ๆ ที่พึ่งคิดพึ่งอ่านคลาดเคลื่อนไปได้ง่าย ๆ(ทั้ง ๆ ที่ข้อหลัง ๆ นั้นอาจจะไม่ยากก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นกันเยอะประเภทที่ออกจากห้องสอบมาแล้ว อ๋อไม่น่าเลย น่าจะตอบอย่างนั้นอย่างนี้) ยิ่งถ้าข้อแรก ๆ ยากอันนี้ยิ่งอันตรายมาก เพราะข้อที่ควรจะทำได้หลัง ๆ มันจะยากตามข้อแรก ๆ ไปด้วย คือ มันเป็นหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่พอเราข้อสอบที่ยากโดยเฉพาะข้อแรก ๆ มันจะทำให้คิดว่าข้อหลัง ๆ ยากไปด้วย (เพราะข้อที่ยากกว่าจะทำเสร็จมันมึนไปหมดแล้ว)
ดังนั้น เราควรเลือกทำข้อสอบข้อที่ง่าย หรือ มั่นใจก่อน ห้ามทำข้อยากก่อนเด็ดขาดให้เก็บทำไว้ตอนท้าย(แต่ก็ควรอ่านให้หมดทุกข้อก่อนเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าถามเรื่องอะไร เพื่อจะได้คิดคำตอบแต่เนิ่น ๆ ผมเคยทำอย่างนี้ตอนสอบเนวิแพ่ง คือ เก็บข้อที่ยากไว้ทำข้อสุดท้าย เลือกหลักกฎหมายที่คิดว่าใกล้เคียงที่สุดตอบอย่างมีเหตุผลที่สุด ยังได้ตั้ง 8 คะแนนเลย ทั้งที่ตอนแรกที่อ่านทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นข้อที่ทำไม่ได้อย่าถอดใจเด็ดขาดการสอบทุกครั้งให้พยายามทำทุกข้อให้ดีที่สุด พยายามอ่านข้อสอบดี ๆ วิเคราะห์ว่าน่าจะถามเรื่องอะไร พยายามหาหลักกฎหมายมาตอบ อย่างน้อยการตอบหลักกฎหมายไม่มีผิด อย่าปล่อย 0 บางที่คำถามที่ว่ายากเราอาจจะค้นพบคำตอบที่ถูกในขณะที่เวลาจะหมดก็ได้ แค่คำไม่กี่คำมันเขียนทันอยู่แล้ว บางทีจาก1 คะแนนอาจกลับเป็น 6 เป็น 7 ก็ได้ครับ

แต่ถ้าข้อสอบประเด็นมาก โดยเฉพาะข้อสอบผู้ช่วย หรือ อัยการ(อัยการประเด็นอาจจะไม่เยอะเท่าผู้ช่วย แต่ข้อสอบอาจหักมุม ยากกว่าโดยเฉพาะอาญา วิอาญา) อันนี้แล้วแต่ความถนัดจริง ๆ แต่ก็อยู่ในหลักเดิมคือ ควรเลือกทำข้อที่ทำได้ก่อน(หมายเหตุ ข้อที่ประเด็นเยอะอาจจะทำได้ดีกว่าข้อสอบที่ประเด็นน้อยก็ได้ เพราะ ข้อสอบประเด็นน้อยจะน่ากลัวมากสำหรับสนามสอบสองสนามนี้)


สอบวันแรก วันที่สองเสร็จ ไม่ว่าสนามไหน ห้ามหาธง หรือ คุยเรื่องธงเด็ดขาด


ที่เหลือ แล้วแต่ฟ้าจะลิขิต


ข้อแนะนำทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่ผ่านมา อยากเล่าสู่กันฟังโดยเฉพาะรุ่นน้อง กฎหมายเรียนไม่ยากหรอกแต่สอบยาก ปฏิบัติยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง

กระทู้นี้ผมเคยเอามาตั้งมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เอามาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ เพราะพิมพ์ช้าจิ้มที่ละตัว อยากบอกว่าการที่เขียนมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่อยากถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์จริง โดยที่ผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เขียนตำรา หรือ จะจัดติวเก็บเงินแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่อยากแนะนำเพื่อเป็นทางเลือก ขอย้ำว่าเป็นแค่ทางเลือกทางหนึ่งว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่เท่านั้น เพราะ บางคนไม่สามารถค้นพบข้อบกพร่องของตัวเองได้ บางคนไม่รู้ข้อมูลในการเตรียมสอบแต่ละสนาม ที่ถูกต้อง ไม่ว่า เน ผู้ช่วย ผู้ช่วยสนามเล็ก อัยการ ที่เขียนมาได้ทั้งหมดก็เกิดจากการลองผิดลองถูก ทั้งประสบความสำเร็จและผิดหวังมาแล้วทั้งนั้นครับ





Free TextEditor



Create Date : 15 มีนาคม 2553
Last Update : 15 มีนาคม 2553 17:39:15 น.
Counter : 7801 Pageviews.

10 comments
  
ขอบคุณมากเลยค่ะ เป็นประโยชน์มากเลย
โดย: เจ IP: 117.47.116.95 วันที่: 18 มีนาคม 2553 เวลา:10:59:07 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: อรรถพล IP: 125.27.32.61 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:56:17 น.
  
THANX
โดย: konraksat IP: 202.12.74.250 วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:23:10:17 น.
  
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ อ่านไว้เป็นแนวทาง
โดย: JUBJIB IP: 27.131.172.2 วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:11:24:38 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: a IP: 222.123.190.136 วันที่: 2 ธันวาคม 2553 เวลา:13:38:08 น.
  
ขอบคุณมากครับ
โดย: niteguy IP: 180.183.212.178 วันที่: 10 เมษายน 2554 เวลา:23:24:45 น.
  
ขอบคุณอย่างสุดซี้งค่ะ
โดย: แอริน IP: 124.121.7.71 วันที่: 7 กรกฎาคม 2554 เวลา:3:11:36 น.
  
สวยจังเลยคะ
โดย: แอนดริด IP: 125.24.252.155 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2554 เวลา:13:57:19 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ เวลาฝ่านไปแต่สิ่งที่คุณแนะนำยังเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆอยู่มากเลยค่ะ
โดย: น้อง IP: 125.25.101.11 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:35:55 น.
  
ผ่านเน มาก็นาน สอบศาลมาก็หลายครั้ง จนไม่มีใครเอาละ 55
แต่ไม่ผ่านสักที
โดย: al IP: 180.183.136.217 วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:0:18:29 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wonopy
Location :
สมุทรสงคราม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ขอบคุณที่รักกัน
free counters
มีนาคม 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31