======== ทางที่มัจจุราชจะมองไม่เห็นตัว =====
 
กรกฏาคม 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 กรกฏาคม 2550
 
 
ความทุกข์ใจที่เกิดจากความไม่พอใจ และที่เกิดจากความไม่คงทนของอารมณ์ของจิต แก้ไขด้วยด้วยการเห็น

ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด
ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ


การเห็นความจริง คือการเห็นว่าร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นของไม่แน่นอน
ไม่หลงผิดตามอารมณ์ว่าอารมณ์และจิตเป็นเรา เป็นของเรา

ชีวิตเป็นเพียงกายและจิตชุดหนึ่งๆ เท่านั้น
ย่อมทำให้เห็นว่าชีวิต ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นเพียงกายและจิตชุดหนึ่งๆเท่านั้น

เมื่อไม่หลงผิด จิตก็จะสงบ ร่มเย็น ไร้ความรุนแรงต่างๆของจิต
ทำทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อย่างไร้กังวล

-------------------------------------------------------------------

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผุ้เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พระองค์นั้น


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

วชิราสูตรที่ ๑๐


[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ


[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัวความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า

สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิด
ในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ


[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถาจะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ

ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ

ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึง
หวนกลับมาว่าสัตว์
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่า
รถย่อมมีฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี
ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และ
เสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจาก
ทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ


ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

จบภิกษุณีสังยุต

-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๓๖๗ - ๔๔๐๔. หน้าที่ ๑๘๙ - ๑๙๐.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4367&Z=4404&pagebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=552

สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
//84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๕
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=15&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD



Create Date : 24 กรกฎาคม 2550
Last Update : 15 สิงหาคม 2550 11:59:51 น. 47 comments
Counter : 7879 Pageviews.

 
ทำเรื่องแบบนี้น่าจะไปบวชนะเนี่ย จะได้รู้แจ้งเห็นจริง บรรลุธรรมไปเลย


โดย: มันแกวใต้ดิน วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:15:54:38 น.  

 
แวะมาเยี่ยมอ่ะจ้ะ หายไปนานไม่ว่ากันนะ


โดย: มันแกวใต้ดิน วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:15:55:18 น.  

 
ทำเรื่องแบบนี้น่าจะไปบวชนะเนี่ย จะได้รู้แจ้งเห็นจริง บรรลุธรรมไปเลย

-------- ไม่รู้เหรอ บวชอยู่แล้ว........... บวชใจนะครับ บางเวลาด้วย :)


แวะมาเยี่ยมอ่ะจ้ะ หายไปนานไม่ว่ากันนะ
----- แค่แวะมาก็ขอบพระคุณแล้ว ครับ จะไปเยี่ยมที่บลอกนะครับ




โดย: วงกลม วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:17:29:23 น.  

 
ไม่หลงผิดตามอารมณ์ว่าอารมณ์และจิตเป็นเรา เป็นของเรา

...........................................
อ่านประโยคนี้หลายรอบมาก ๆ
อ่านแล้วรู้สึกได้คิด


โดย: goodpeople วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:21:43:58 น.  

 
ขอบพระคุณท่าน วงกลมที่ช่วยอารธนา พระสูตร มายังกระทู้พันทิพย์ โต๊ะ ศาสนากท y5772672 เพื่อความเข้าใจแก่บริษัทโดยครบถ้วน

อนุโมทนา


โดย: piok IP: 124.120.105.146 วันที่: 4 กันยายน 2550 เวลา:1:48:24 น.  

 
Your blog is very interrestting.Thanks for made me have kamlangjai.I feel so lonely here. In fact i hae many drama books.
Thanks again.


โดย: am_find IP: 61.7.174.29 วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:17:40:23 น.  

 
*
*
*
*

สาธุ คุณวงกลมด้วยคับ


โดย: dream2zero วันที่: 13 กันยายน 2550 เวลา:1:20:22 น.  

 
อ่านประโยคนี้หลายรอบมาก ๆ
อ่านแล้วรู้สึกได้คิด

โดย: goodpeople
--------------------------

อนุโมทนา ในการพิจารณา ของคุณ goodpeople ด้วยครับ


โดย: วงกลม วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:20:06:42 น.  

 
ขอบพระคุณท่าน วงกลมที่ช่วยอารธนา พระสูตร มายังกระทู้พันทิพย์ โต๊ะ ศาสนากท y5772672 เพื่อความเข้าใจแก่บริษัทโดยครบถ้วน
อนุโมทนา

โดย: piok

--------- ยินดีครับ และขอบคุณคุณ piok ที่ให้ธรรมทาน ด้วยเมตตาจิตอย่างจริงใจเสมอครับ


โดย: วงกลม วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:20:09:05 น.  

 

โดย: am_find

-------- ดีใจที่คุณ am_find มีกำลังใจครับ มีอะไรให้รับใช้บอกได้นะครับ


โดย: วงกลม วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:20:17:41 น.  

 


ขอบคุณ คุณ dream2zero ครับ


โดย: วงกลม วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:20:19:37 น.  

 
ขอบคุณครับ เรียนคุณวงกลม darksingha ไม่ใช่คุรแทนไท นะครับ แต่ไม่เป็นไร ยินดีที่ได้รู้จักครับ


โดย: Darksingha วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:16:36:55 น.  

 

-- เหรอครับ ต้องขออภัยด้วยครับที่เข้าใจผิด คุณดารกสิงหเป็นคนรักษาศึกษาหาความรู้มากเลยนะครับ เห็นจากในเวบมีความรู้หลายหลากสาขามาก ยินดีที่ได้สนทนาด้วยครับ


โดย: วงกลม วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:16:49:59 น.  

 
หายไปนานเลยนะเนี่ย
แวะมาส่งความสุขจ้า



โดย: หนึ่งเดียวในใจ วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:6:18:42 น.  

 

ขอบคุณ และสวัสดีปีใหม่ คุณหนึ่งเดียวฯ ครับ



โดย: วงกลม วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:13:48:04 น.  

 
---- ได้เห็นพระสูตร ที่แสดงว่า กายและจิตเป็นเพียงองค์ประกอบของชีวิต ไม่มีตัวตน พระอรหันต์ท่าน ใช้คำว่า เรา ของเรา ไม่ใช่ว่า ขันธ์ทั้งหลาย สิ่งของของขันธ์ทั้งหลาย เพื่อให้เข้าใจกันตามภาษาโลก เท่านั้น


************************************
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=15&A=411&w=อรหันตสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

อรหันตสูตรที่ ๕
[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ฯ

[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้
บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ
ที่พูดกัน ฯ

[๖๖] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะ
สิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด
มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเรา ดังนี้บ้าง ฯ

[๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะ
เสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตาม
สมมติที่พูดกัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๑๑ - ๔๓๐. หน้าที่ ๑๙ - ๒๐.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=411&Z=430&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=64

***********************************
-------------------------------------------------------
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=64
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
อรหันตสูตรที่ ๕

อรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในอรหันตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า กตาวี แปลว่า มีกิจทำเสร็จแล้ว คือมีกิจอันมรรค ๔ ทำแล้ว.

บทว่า อหํ วทามิ ความว่า เทวดาผู้อยู่ในไพรสณฑ์นี้นั้น ฟังโวหารของพวกภิกษุอยู่ป่าพูดกันว่า เราฉันอาหาร เรานั่ง บาตรของเรา จีวรของเราเป็นต้น จึงคิดว่า เราสำคัญว่าภิกษุเหล่านี้เป็นพระขีณาสพ ก็แต่ถ้อยคำอิงอาศัยความเห็นว่าเป็นคนเป็นสัตว์ชื่อเห็นปานนี้ของพระขีณาสพทั้งหลาย มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เพื่อจะทราบความเป็นไปนั้น จึงได้กราบทูลถามแล้วอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน.
บทว่า สมญฺญํ แปลว่า คำพูดถือเป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก.

บทว่า กุสโล แปลว่า ฉลาด คือฉลาดในธรรมมีขันธ์เป็นต้น.

บทว่า โวหารมตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่เมื่อละเว้นถ้อยคำอันอิงอาศัยความเห็นเป็นคนเป็นสัตว์แล้ว ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึงสมควรที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้.

จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวรของขันธ์ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใครๆ ก็ทราบไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระขีณาสพจึงไม่พูดเช่นนั้น ย่อมพูดไปตามโวหารของชาวโลกนั่นแหละ.

ลำดับนั้น เทวดาจึงคิดว่า ถ้าภิกษุนี้ไม่พูดด้วยทิฐิ ก็ต้องพูดด้วยอำนาจแห่งมานะแน่ จึงทูลถามอีกว่า โย โหติ เป็นต้น แปลว่า ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติดมานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง คนอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยังติดมานะหรือหนอ ได้แก่ ภิกษุนั้นยังติดมานะ พึงกล่าวด้วยสามารถแห่งมานะ หรือหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เทวดานี้ย่อมทำพระขีณาสพเหมือนบุคคลมีมานะ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มานะแม้ทั้ง ๙ อย่าง พระขีณาสพละได้หมดแล้ว จึงตรัสพระคาถาตอบว่า

กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละ
มานะเสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวงอันภิกษุ
นั้นกำจัดเสียแล้ว ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสีย
แล้วซึ่งความสำคัญตน ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เรา
พูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้
บ้าง ภิกษุนั้นฉลาดทราบคำพูดในโลก พึงกล่าว
ตามสมมติที่พูดกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธูปิตา แปลว่า กำจัดเสียแล้ว.
บทว่า มานคนฺถสฺส แปลว่า มานะและคันถะ...อันภิกษุนั้น.
คำว่า สมญฺญํ หมายถึง คำพูดที่สำคัญตน.
อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นเป็นผู้ครอบงำได้แล้ว คือก้าวล่วงแล้วซึ่งความสำคัญตนในตัณหาทิฐิและมานะ.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕
-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓ อรหันตสูตรที่ ๕ จบ.

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=411&Z=430

----------------------------------------------------------


โดย: วงกลม วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:14:07:22 น.  

 
วันนี้เหงาๆ และทุกข์ใจจังเลยคะ


โดย: ผ่านมาคะ IP: 118.172.34.82 วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:15:41:53 น.  

 
วันนี้เหงาๆ และทุกข์ใจจังเลยคะ

โดย: ผ่านมาคะ IP: 118.172.34.82 14 มกราคม 2551 15:41:53 น.

------ วันนี้นึกอยากแวะเข้ามาดูบลอกพอดีครบ

------ รับทราบ ครับ แต่ก่อนผมก็เหงาๆและทุกข์ใจบ่อยๆเหมือนกันครับ บางทีเป็นตั้งแต่เช้าตอนตื่นขึ้นมาเลย

------ ตอนหลังพอดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น เห็นว่ามีอารมณ์เกิดขึ้น แล้วปล่อยออกไป ไม่ถือว่าอารมณ์นั้นเป็นเรา เป็นของเรา ปล่อยจิตใจให้เข้าสู่สภาวะปกติ(คือไม่รู้สึกกังวลต่อว่ารู้สึกไม่ดี) รู้สึกว่าจิตใจสงบ ร่มเย็น สม่ำเสมอ
เหมือนกราฟที่ขึ้นลงแล้วกลับสู่แนวราบปกติ ตลอดเวลา ทำให้มีความสุข สงบดีครับ

ขอให้คุณผ่านมาคะ พ้นจากความเหงาและความทุกข์ใจโดยพลัน นะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ



โดย: วงกลม วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:17:05:31 น.  

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ ^^


โดย: ม่านทอง วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:12:01:15 น.  

 
ขอบคุณคุณม่านทอง ที่แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: วงกลม วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:13:15 น.  

 
hello


โดย: บุษกรจันทร์ วันที่: 26 มีนาคม 2551 เวลา:20:56:21 น.  

 


สวัสดีครับ คุณบุษฯ คนอ่านดาว


โดย: วงกลม วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:39:02 น.  

 
มาเยี่ยมอีกค่ะ ^^

สงสัยช่วงนี้คุณวงกลมจะยุ่ง ไม่เห็นอัพบล็อกเลยค่ะ


โดย: ม่านทอง วันที่: 18 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:02:38 น.  

 
สวัสดีครับ คุณม่านทอง



โดย: วงกลม วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:21:43:11 น.  

 
ตอนนนี้ มี ปัญหา ทางอารมณ์มากเลย



ถึงขึ้น ฟุ้งซ่านไม่อยากไปเรียน แต่ หาสาเหดไม่ได้

เดียว ดีเดยว ร้าย


ต่อยุคคลรอบข้าง

และ อยากรุ้ว่า


เราจะเริ่มอย่างไร

ศึล หรือ สมาธืหรือ ว่า สวดมนต์



โดย: versus_zz@hotmail.com IP: 168.120.91.131 วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:22:22:48 น.  

 
ลืมบอกไปว่า

เป็น---------***********
คนที่มีกำลังใจน้อย จะมีลักษณะอ่อนแอ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ตนหรือคนอื่นได้น้อย บางคนมีอาการซึมเซา เวลาหมดไปวัน ๆ เป็นโรคทางใจ





ทำอย่างไ รดี


โดย: versus_zz@hotmail.com IP: 168.120.91.131 วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:22:29:22 น.  

 
ขออภัยที่มาตอบช้าครับ

ขอตอบดังนี้ครับ

--------------------------------

ตอนนนี้ มี ปัญหา ทางอารมณ์มากเลย
*** รับทราบครับ เคยเป็นเหมือนกันครับ


ถึงขึ้น ฟุ้งซ่านไม่อยากไปเรียน แต่ หาสาเหดไม่ได้
------ รับทราบครับ

เดียว ดีเดยว ร้าย
ต่อยุคคลรอบข้าง
--- รับทราบครับ

และ อยากรุ้ว่า
เราจะเริ่มอย่างไร

ศึล หรือ สมาธืหรือ ว่า สวดมนต์
------ ควรเริ่ม ที่

1.-- ทาน(ถ้าทำได้ หยอดตู้บริจาคในร้านไหนก็ได้ หรือไปที่วัดได้ก็ดีครับ) จะทำให้จิตใจอ่อนโยนลง เพราะคิดเห็นแก่คนอื่นครับ

2.-- ตั้งใจรักษาศีล5 ด้วยตนเอง โดยพูดหรือคิดว่า
" เจตนาคือเครื่องละเว้นจากการฆ่า " ไปจนครบ 5 ข้อ
จะทำให้เราไม่คิด ไปในทางที่ผิดศีล

3.-- แผ่เมตตาให้ตัวเอง ขอให้ข้าพเจ้าเป็นสุข อยากได้อะไรดีๆ ให้คิดและพูดเอาเองได้เลย เช่น ขอให้ผมเป็นคนใจดี ขอให้ผมเป็นคนใจเย็น ฯลฯ

-- แผ่เมตตาให้คนอื่น ขอให้คุณพระคุ้มครองคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้า ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ ของเรามีความสุข ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข

4.
4.1 ถ้าอยากสวดมนต์ให้สวดมนต์ สวดมนต์ทำให้ใจจดจ่อสิ่งเดียวก็ทำให้ใจสงบได้

4.2 ถ้าอยาก ดูความคิดของตนว่าฟุ้งซ่านไปถึงไหน ให้ดูความคิด
--- วิธีดูความคิด ทำอย่างนี้ คือ ดูสิ่งที่เรานึกขึ้นมา (อย่าไปคิดต่อ อย่าไปคิดตาม นึกขึ้นมาเราบังคับไม่ได้ แต่ไม่หลงดีใจเสียใจไปตามบังคับได้) ดูให้เห็นมันคิดขึ้นมาเฉยๆ
ดูไป ดูไป ว่ามันคิดอะไร มันคิดขึ้นมาแล้วจะหายไป คิดขึ้นใหม่ คิดเรื่องอื่นขึ้นมาใหม่ เปลียนแปลงไปเรื่อย

**** ดูจนเห็นว่า ความคิดและอารมณ์ทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ยึดถือไว้ให้แน่นอนไม่ได้ คิดให้รุ้ว่า ความคิดและอารมณ์ทั้งหลายเป็นเพียงความคิดและอารมณ์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นและไหลไปเหมือนกระแสน้ำ ดำรงอยู่ชั่วขณะ ไม่มีตัวตนที่คงที่แน่นอน ถ้ายึดถือว่าเป็นเราก็ทำให้ทุกข์ใจเพราะเปลี่ยนแปลงไปจากที่พอใจหรือไม่พอใจตลอดเวลา

รับรู้แล้วปล่อยวางไปจิต(ใจ)จะสงบสันติ

ทำวันแรก จะยากนิดนึง(มันคิดไปตาม โกรธไปตาม พอได้สติให้ปล่อยไป) พอทำได้ 7 วันจะคล่อง ปล่อยวางคล่องใจสงบสันติ อยากจะให้มีอารมณ์เกิดขึ้นเพื่อจ้องดูและปล่อยไป เหมือนเด็กอยากได้ของเล่นมาเล่น เลยครับ


*********** ต่อไป เมื่อมีสติรู้ตัวเวลามีอารมณ์ไม่พอใจอีก ก็ดูให้เห็นอารมณ์นั้น แล้วใจจะสงบกลับสู่ปกติ เหมือนกราฟที่พุ่งขึ้นแล้วกลับสู่แกน 0 ตลอด เพราะรู้แล้วไม่ไปคิดตาม ไม่ไปไม่พอใจตาม รู้ความคิดและสัมผัสที่ได้รับแล้วปล่อยไป


โดย: versus_zz@hotmail.com IP: 168.120.91.131 วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:22:22:48 น.

------------------------------------------------
ลืมบอกไปว่า

เป็น---------***********
คนที่มีกำลังใจน้อย จะมีลักษณะอ่อนแอ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ตนหรือคนอื่นได้น้อย บางคนมีอาการซึมเซา เวลาหมดไปวัน ๆ เป็นโรคทางใจ
-------------- **** ให้ตั้งสติ ตั้งสติ ตั้งสติ สติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้พ้นทุกข์ใจ ตั้งสติแล้วเห็นอารมร์ ใจน้อย อ่อนแอ ที่เกิดขึ้น รู้แล้วปล่อยไปไม่ไปถือว่าใจเราเป็นเช่นนั้น ใจจะสงบสู่ระดับปกติเอง


ทำอย่างไ รดี

************** ทำตามสภาวะจิตขณะนั้น อยากสวดมนต์ให้สวดมนต์ อยากทำสมาธิแบบรู้สึกถึงลมหายใจก็ทำสมาธิ อยากดูความคิดแล้วปล่อยไปก็ดูจิต

ขอให้คุณ versus_zz@hotmail.com ได้พบความสงบสันติด ได้เห็นความจริงของจิตว่าไม่แน่นอนและปล่อยวางไป สงบสันติ โดยพลันและตลอดไปเทอญ


โดย: วงกลม วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:27:50 น.  

 

กระทู้นี้ดี อาจจะตรงใจ คุณ เวอร์ซัสฯ ครับ

เวลาเราไม่สบายใจ ควรปฏิบัติอย่างไร?
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y6755216/Y6755216.html


โดย: วงกลม วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:35:02 น.  

 
หายไปนานเลย
แอบมาส่องๆๆ แล้วก็ไป


โดย: หนึ่งเดียวในใจ วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:3:21:43 น.  

 

--------- ขอบคุณที่มาส่องๆ ครับ คุณ หนึ่งเดียวในใ


โดย: วงกลม วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:11:15:18 น.  

 
สวัสดีค่ะ แว๊ะมาทักทาย


โดย: d O l P h I N (Pattamas ) วันที่: 11 เมษายน 2552 เวลา:20:56:53 น.  

 
สวัสดี..ครับแว๊ะมาทักทายครับ..


โดย: sususu0@hotmail.com IP: 124.157.145.153 วันที่: 19 ตุลาคม 2552 เวลา:12:29:50 น.  

 

สว้สดีครับ คุณ d O l P h I N (Pattamas )

สวัสดีครับ คุณsususu0@hotmail.com

ขอสวัสดีข้ามปี ทั้ง 2 ท่านเลยนะครับ

ขอให้ท่านสุขกาย สบายใจ ได้สิ่งที่หวังอันดี ทุกประการครับ


โดย: วงกลม วันที่: 25 มกราคม 2554 เวลา:17:57:01 น.  

 
ขออนุโมทนาสาธุครับ ขออนุญาติ ad blong นะครับ


โดย: shadee829 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:22:13:09 น.  

 
ขอบคุณคุณ shadee829 ครับ


โดย: วงกลม วันที่: 19 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:30:25 น.  

 
สวัสดีวันศุกร์ครับ ขออนุโมทนาสาธุท่านนะครับ


โดย: shadee829 วันที่: 1 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:13:02 น.  

 
สวัสดีวันอังคารครับ ขออนุโมทนาสาธุครับ


โดย: shadee829 วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:23:16 น.  

 
อยากฝากข้อความนี้ให้ชาวพันทิพย์ไว้พิจารณา

ตารางเปรียบเทียบสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบคำถามของพระอุบาลี วัดทั่วไป บางวัด
ปาราชิก 4 4 4
สังฆาทิเสส 13 13 13
อนิยต 2 2 -
นิสสัคคีย์ 30 30 30
ขุททกะ 92 92 92
ปาฏิเทสนียะ 4 4 4
เสขิยะ 75 75 -
อธิกรณสมถะ** - 7 7
220 227 150

** พระอุบาลีถามเรื่องสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบเฉพาะสิกขาบทเท่านั้น
ส่วน อธิกรณสมถะ เป็น อธิกรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่นำมาตรัส ( ทั้ง 2 วัดสวดเหมือนกัน ไม่น่าจะมีปัญหาในข้อนี้)
*** ทุกวันอุโบสถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสหมายถึงทุก 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ จะมีอ้างอิงตามข้อความด้านล่างที่แนบมาด้วย

ข้อมูลทั้งหมด Copy มาจาก โปรแกรมตรวจค้นพระไตรปิฏก (E-Tipitaka 2.1) ของวัดนาป่าพง

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๘
วินยปิฏเก เล่มที่ ๘ ปริวาโร
หน้าที่ ๓๖๕/๕๕๓
[๑๐๒๓] กติ เฉทนกานิ กติ เภทนกานิ กติ อุทฺทาลนกานิ
กติ อนฺปาจิตฺติยานิ กติ ภิกฺขุสมฺมติโย กติ สามีจิโย
กติ ปรมานิ กติ ชานนฺติ ปฺตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา ฯ
ฉ เฉทนกานิ เอก เภทนก เอก อุทฺทาลนก จตฺตาริ
อนฺปาจิตฺติยานิ จตสฺโส ภิกฺขุสมฺมติโย สตฺต สามีจิโย
จุทฺทส ปรมานิ
โสฬส ชานนฺติ ปฺตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา ฯ

[๑๐๒๔] วีส เทฺว สตานิ ภิกฺขูน สิกฺขาปทานิ อุทฺเทส
อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ ตีณิ สตานิ จตฺตาริ ภิกฺขุนีน สิกฺขาปทานิ
อุทฺเทส อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ ฯ
ฉจตฺตาฬีส ภิกฺขูน ภิกฺขุนีหิ อสาธารณา
สต ตึสา จ ภิกฺขุนีน ภิกฺขูหิ อสาธารณา
สต สตฺตติ ฉ เจว อุภินฺน อสาธารณา
สต สตฺตติ จตฺตาริ อุภินฺน สมสิกฺขาตา ฯ

[๑๐๒๕] วีส เทฺว สตานิ ภิกฺขูน สิกฺขาปทานิ
อุทฺเทส อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ เต สุโณหิ ยถากถ ฯ
ปาราชิกานิ จตฺตาริ สงฺฆาทิเสสานิ ภวนฺติ เตรส
อนิยตานิ เทฺว โหนฺติ นิสฺสคฺคิยานิ ตึเสว เทฺวนวุติ จ ขุทฺทกา
จตฺตาโร ปาฏิเทสนียา ปฺจสตฺตติ เสขิยา วีส เทฺว สตานิ จิเม โหนฺติ ภิกฺขูน สิกฺขาปทานิ อุทฺเทส อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๘
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
หน้าที่ ๕๑๑/๗๒๑
{๑๐๒๓} พระอุบาลีกราบทูลว่า “สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร สิกขาบท ว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมีเท่าไร สิกขาบทว่า ด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำที่สมควรมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่า ด้วยอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มีเท่าไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่สมควรมี ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่าง ยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มี ๑๖ สิกขาบท”
{๑๐๒๔} พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ(ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ) *** รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ รวม ๓๐๔ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท
ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
{๑๐๒๕} สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔
สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒
นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๙๒
ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร
หน้าที่ ๖๐๑/๑๐๒๒

[๑,๐๒๓] อุ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการ
ทำลายมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทว่าเป็นปาจิตตีย์มิใช่อื่น
มีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบ
มีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่ารู้อยู่ มีเท่าไร
พ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบท ว่าด้วยการทำลายมี ๑
สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทที่ว่าเป็นปาจิตตีย์ มิใช่อื่นมี ๔ สิกขาบท
ว่าด้วยการสมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบมี ๗ สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ทรงบัญญัติไว้ว่า รู้อยู่มี ๑๖.
[๑,๐๒๔] สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐
สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๓๐๔ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไปรวม ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ สิกขาบท.

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
[๑,๐๒๕] สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ปาราชิก ๔
สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒
นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน
ขุททกะ ๙๒
ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยะ ๗๕
สิกขาบท ของภิกษุ รวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.





พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๘
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
หน้าที่ ๓๔๐/๕๑๗
[๑๐๒๓] อุ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร? สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร? สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร? สิกขาบทว่าเป็นปาจิตตีย์มิใช่อื่นมีเท่าไร? สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร? สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบ มีเท่าไร? สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร?สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่ารู้อยู่ มีเท่าไร?
พ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทที่ว่าเป็นปาจิตตีย์มิใช่อื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบมี ๗ สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์บัญญัติไว้ว่ารู้อยู่มี ๑๖.
[๑๐๒๔] สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐ สิกขาบท
ของภิกษุณีมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๓๐๔ สิกขาบท.
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท.
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไปรวม ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ สิกขาบท.
ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
[๑๐๒๕] สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้นดังจะกล่าวต่อไป.
ปาราชิก ๔
สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒
นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน
ขุททกะ ๙๒
ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยะ ๗๕
สิกขาบท ของภิกษุรวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.


โดย: ไม่ได้เป็นสมาชิกพันทิพย์ IP: 115.87.135.54 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:10:39:28 น.  

 
ว่าด้วยวันอุโบสถ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๔
วินยปิฏเก เล่มที่ ๔ มหาวคฺโค ภาค ๑
หน้าที่ ๒๐๗/๓๖๑
[๑๕๑] เตน โข ปน สมเยน ภิกฺขู ภควตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส
อนุฺาโตติ เทวสิก ปาติโมกฺข อุทฺทิสนฺติ ฯ ภควโต เอตมตฺถ
อาโรเจสุ ฯ น ภิกฺขเว เทวสิก ปาติโมกฺข อุทฺทิสิตพฺพ โย
อุทฺทิเสยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ฯ อนุชานามิ ภิกฺขเว อุโปสเถ
ปาติโมกฺข อุทฺทิสิตุนฺติ ฯ เตน โข ปน สมเยน ภิกฺขู ภควตา
อุโปสเถ ปาติโมกฺขุทฺเทโส อนุฺาโตติ ปกฺขสฺส ติกฺขตฺตุ
ปาติโมกฺข อุทฺทิสนฺติ จาตุทฺทเส ปณฺณรเส อฏฺมิยา จ
ปกฺขสฺส ฯ ภควโต เอตมตฺถ อาโรเจสุ ฯ น ภิกฺขเว ปกฺขสฺส
ติกฺขตฺตุ ปาติโมกฺข อุทฺทิสิตพฺพ โย อุทฺทิเสยฺย อาปตฺติ
ทุกฺกฏสฺส ฯ อนุชานามิ ภิกฺขเว สกึ ปกฺขสฺส จาตุทฺทเส วา
ปณฺณรเส วา ปาติโมกฺข อุทฺทิสิตุนฺติ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๖
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาคที่ ๑
หน้าที่ ๓๘๓/๖๔๖
สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา
กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ใน
วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๕ และวันที่ ๘ํ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือในวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๑๕.

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
หน้าที่ ๒๑๒/๓๙๓
เรื่องภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
{๑๕๑} [๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวันรูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในวันอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในวันอุโบสถแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละครั้ง
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ วัน ๑๕ ค่ำ”

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
หน้าที่ ๑๗๐/๓๐๔
สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวันรูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ วัน ๑๕ ค่ำ


โดย: ไม่ได้เป็นสมาชิกพันทิพย์ IP: 115.87.135.54 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:10:40:48 น.  

 
มีไฟล์เป็น pdf และ word อยู่แต่ไม่รู้จะส่งได้ที่ไหน รบกวนขออีเมล์คุณวงกลมด้วย จะได้ส่งไปให้


โดย: ไม่ได้เป็นสมาชิกพันทิพย์ IP: 115.87.135.54 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:10:43:14 น.  

 
สามารถ download pdf และ word ได้ที่นี่
//www.redtech.co.th/150-227.zip


โดย: ไม่ได้เป็นสมาชิกพันทิพย์ IP: 115.87.135.54 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:11:00:43 น.  

 
ได้ความรู้ดีครับ


โดย: ใบไม้เบาหวิว วันที่: 3 ธันวาคม 2554 เวลา:19:31:44 น.  

 
อนุโมทนาสาธุ ท่านวงกลมครับ


โดย: shadee829 วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:12:41:22 น.  

 

เพิ่งเข้ามา สวัสดีและขอบคุณทุกท่านครับ


ท่านที่ไม่ได้บอกนาม ผมจะลองโหลดมาดูนะครับ
ขอบพระคุณครับ


โดย: วงกลม วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:17:55:54 น.  

 
ขอบคุณและ อนุโมทนา ท่านวงกลมครับ


โดย: shadee829 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:54:31 น.  

 
ยินดียิ่งที่มีกัลยาณมิตรเช่นท่านวงกลมครับ


โดย: shadee829 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:31:29 น.  

 
ไม่ทราบว่าคุณวงกลม ปฎิบัติสมาธิจนถึงขั้นไหนแล้ว รบกวนแนะแนวทางไปสู่การนิพพานด้วยครับ


โดย: ธรรมะเป็นสรนะ IP: 1.46.36.203 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:0:48:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

วงกลม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add วงกลม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com