<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
19 มีนาคม 2559
 
 

ประเพณีไทยภาคเหนือ

ประเพณีไทยภาคเหนือ

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย



ประเพณีสรงน้ำ พระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

    “พระบรมธาตุหริภุญชัย หนึ่งในแปดแห่งจอมเจดีย์ ปูชนียสถานสำคัญ เมื่อครบรอบปีเวียนมาถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ วันวิสาขบูชา ชาวเหนือเรียกขานตรงกันว่า วันแปดเป็ง พุทธศาสนิกชนใกล้ ไกล หลั่งไหลร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย สักการบูชาพระบรมธาตุฯ สืบไป”
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์องค์เก่าแก่องค์หนึ่งในล้านนา ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอาทิตยราช กษัตรย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ นับจนถึงปัจจุบันก็มีอายุกว่า ๑๐๐๐ ปี ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัย มาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ซึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาบิณฑบาตได้แวะรับฉันลูกสมอที่ชาวลั๊วะนำมาถวายและทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้จะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” โดนหริภุญชัยนั้นแปลว่า เมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ
งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุมักจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ เป็นต้นไป ซึ่งพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจะหลั่งไหลมาร่วมงารสรงน้ำพระธาตุ มีการเตรียมข้าวของ เรียกว่า “ตาครัว” ถือเป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาพบปะเยี่ยมเยียน โดยในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ จะมีพิธีฝังเสาสำหรับผูกเชือกดึงหม้อน้ำสรง ชาวบ้านเรียกว่า เสาก๊างน้ำ ในวันนี้ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า หลังจากฝังเสาก๊างน้ำแล้ว เทวดาจะต้องสรงน้ำพระธาตุก่อนใคร เมื่อเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว เสาก๊างน้ำจะถอดเก็บรักษาไว้
ตอนบ่ายของวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ประชาชนจากทั่วสารทิศร่วมขบวนแห่นำน้ำสรงพระราชทาน พร้อมเครื่องสักการบูชาและน้ำทิพย์ดอยขะม้อไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร แล้วทำพิธีถวายสักการะโดยคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน จะทำพิธีสรงน้ำพระธาตุโดยสรงน้ำพระราชทานก่อน ต่อจากนั้นประชาชนจึงเข้าสรงน้ำ เมื่อน้ำสรงเต็มหม้อประชาชนจะช่วยกันดึงเชือกให้หม้อน้ำสรงเลื่อนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ซึ่งบนองค์พระธาตุ มีชายแต่งตัวชุดขาวคล้ายพราหมณ์คอยรับน้ำสรงเพื่อนำไปสรงรอบๆ องค์พระธาตุ เรื่อยไปจนคล้อยค่ำ
    – วันเวลาการจัดงาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือของทุกปี หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า วันแปดเป็ง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของภาคกลาง หรือ วันวิสาขบูชา
    – สถานที่จัดงาน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ประเพณีปอยลูกแก้ว



    ประเพณีปอยลูกแก้วหรือปอยน้อย คือ ประเพณีบวชเณรของเด็กในภาคเหนือ ซึ่งจะกระทำในช่วงเดือน ๕-๘ เหนือ คือประมาณเดือน
กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

“เมื่อกำหนดวันบวชที่แน่นอนแล้ว พ่อแม่ก็จะจัดหาเครื่องอัฐบริขาร ส่วนผู่ที่จะบวชก็จะไปเป็นลูกศิษย์วัด หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า
“ขะโยมวัด” และระหว่างที่เป็นขะโยมวัดนั้นจะต้องฝึกท่องคำขอบวชเป็นภาษาพื้นเมืองให้ได้”

ก่อนถึงวันงานจะมีการ “แอ่วผ้าอุ้ม” คือ การนำเครื่องใช้ของสงฆ์ใส่พานและมีคนอุ้ม แล้วแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อเป็นการประกาศ
ให้ชาวบ้านได้รับรู้ว่าจะมีงานบุญเกิดขึ้น

“พอถึงวันงานทุกคนจะไปพร้อมกันที่วัดผู้ที่จะบวชจะแต่งตัวเหมือนเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกบวช ใส่เครื่องทรงที่สวยงาม เรียกว่า
“ลูกแก้ว” จากนั้นลูกแก้วจะขี่คอชายหนุ่มที่แข็งแรง เพื่อแห่ลูกแก้วไปรอบๆ หมู่บ้าน แต่อาจใช้ม้าหรือช้างเป็นยานพาหนะก็ได้ เมื่อลูกแก้ว
ไปถึงบ้านผู้อาวุธโสบ้านใด ก็จะเข้าไปขอพร เมื่อขบวนแห่ลูกแก้วถึงวัด ลูกแก้วก็จะเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นนุ่งขาวห่มขาว เพื่อเข้าพิธีบวช”



ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว

ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี

ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า
ชนิดของโคมลอยยังสามารถแยกได้เป็น ๒ แบบตามการใช้งานอีกด้วย

๑ โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัน จะเป็นโคมที่อาศัยควันไฟเข้าไปรวมตัวอยู่ในโคมจนเต็ม ช่วยพยุงให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า

๒. โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางคืน โคมชนิดนี้อาศัยความร้อนจากไฟที่ลุกไหม้ไส้โคมที่อยู่ที่ฐานโคม เป็นตัวเร่งให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ปัจจุบันเป็นโคมที่นิยมปล่อยกันมากที่สุด เนื่องจากโคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าในตอนกลางคืน แสงไฟจากโคมยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่เดิมประเพณีลอยโคมนี้คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากพิธีทางพราหมณ์ที่จะทำการลอยโคมเพื่บูชาเทพเจ้า เมื่อชาวไทยรับเอาอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามา จึงนำพิธีลอยโคมมาใช้สำหรับบูชาพระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระพุทธบาท ณ ริมหาดแม่น้ำนัมฆทานที ในประเทศอินเดียในคืนวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ซึ่งในคืนยี่เป็งของจังหวัดทางภาคเหนือ ท้องฟ้าจงสว่างไสวไปด้วยแสงจากโคมลอยที่ชาวล้านนาจุดขึ้นและปล่อยลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจสำหรับผู้ที่พบเห็นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยและช่างต่างชาติ
ประเพณีปอยโคม

ประเพณีสลากย้อม


ประเพณีตานข้าวสลากหรือสลากภัต
ความหมาย ตานข้าวสลากหรือตานก๋วยสลาก เป็นภาษาถิ่น หมายถึงการที่ทายกทายิกา(ผู้ให้ทาน)นำข้าวปลาอาหารพร้อมทั้งสิ่งของใส่ในก๋วยหรือชะลอมที่สาน ด้วยไม้ไผ่ที่สมควร
แก่พระสงฆ์ต้องใช้ชาวนาน้อย เรียกว่า กิ๋นสลาก บางท้องที่เรียกว่า ตานก๋วยสลาก บางแห่งเรียกว่า การถวายสลากภัต นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่ที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนา และเป็นประเพณีทางศาสนาที่สำคัญที่ชาวนาน้อยปฏิบัติสืบต่อกันมา

ประวัติความเป็นมาของการถวายสลากภัต
ในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร ได้มีนางกุมาริกาได้อุ้มลูกชายวิ่งหนีนางยักษ์ผู้มีเวรต่อกันหลายชาติแล้วติดตามมาจะทำร้ายลูกของนาง นางเห็นจวนตัวจึงพาลูกวิ่งหนีเข้าไปวัดเชตวันนำลูกน้อยวางแทบพระบาทพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสคำสอนต่อนางมาริกาและนางยักษ์ด้วยคำสอนที่ว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร แล้วให้นางทั้งสองเห็นผิดชอบชั่วดีนางยักษ์รับศีลห้าแล้วร้องไห้สะอึกสะอื้นกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า เมื่อรับศีลแล้วไม่รู้จะทำมาหากินอย่างไรนางกุมาริกาเห็นดังนั้น จึงรับอาสาพานางยักษ์ไปอยู่ด้วย นางยักษ์ได้รับการอุปการะจากนางกุมาริกาหลายประการจึงอยากตอบแทนบุญคุณนาง จึงเป็นผู้พยากรณ์เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศให้กับนางมาริกาทำให้นางมาริการ่ำรวยขึ้นจากการประกอบอาชีพตามคำพยากรณ์ของนางยักษ์จนเพื่อนบ้านมีความสงสัยพากันขอความช่วยเหลือจากนางยักษ์ จนมีฐานะร่ำรวยขึ้น ด้วยความสำนึกในบุญคุณนางยักษ์จึงพากันซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคอาหารการกินเครื่องใช้มาสังเวยให้กับนางยักษ์เป็นจำนวนมาก จนข้าวของนางยักษ์มีเหลือกินเหลือใช้ นางยักษ์จึงนำมาเป็นสลากภัต โดยให้พระสงฆ์ได้ทำการจับเบอร์ด้วยหลักอุปโลกกรรม คือ ของที่ถวายมีทั้งของราคามากราคาน้อยพระสงฆ์รูปใดได้ของที่ราคาน้อยก็อย่าเสียใจให้ถือว่าเป็นโชคของตน
การถวายแบบจับสลากของนางยักขินี นับเป็นครั้งแรกของการทำบุญสลากภัตในพระพุทธศาสนาและชาวอำเภอนาน้อยได้ถือปฏิบัติมาจนปัจจุบันนี้การทำบุญสลากภัตนับเป็นประเพณีที่สำคัญที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ การทำบุญเกี่ยวกับประเพณีดังกล่าวประกอบด้วยเหตุผล ๗ ประการ
( ๑) ประชาชนว่างเว้นจากภารกิจการทำนา
( ๒) ผลไม้ เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง กำลังสุก
( ๓) ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางเพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน
( ๔) พระสงฆ์จำพรรษาอย่างพรักพร้อม
( ๕) ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน
( ๖) ถือว่ามีอานิสงส์มาก คนทำบุญสลากมักจะมีโชคลอยมา
( ๗) มีโอกาสหาเงินและวัตถุบำรุงวัด
ระยะเวลาทำบุญทานสลากภัตหรือกิ๋นสลาก ทำกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือเป็งเรื่อยมาจนถึงเดือนยี่เหนือ คือ ช่วงเดือน ๑๑ - ๑๒ ของภาคกลาง ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายใส่ไว้ในก๋วยสลาก สลากภัตของชาวนาน้อย ประกอบด้วย
( ๑) สลากก๋วยเล็กหรือสลากหน้อย คือ สลากกระชุเล็ก ๆ
( ๒) สลากก๋วยใหญ่คือสลากโชค
สลากก๋วยเล็ก ใช้ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตายหรือ ทำบุญเพื่อเป็นกุศลในภายหน้า ส่วนสลากก๋วยใหญ่ใช้ถวายเป็นมหากุศล ทำถวายเพื่อเป็นปัจจัยภายหน้าให้มีบุญกุศลมากขึ้น มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง


ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่



ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่

“ย้อนอดีตเก่าแก่ เมืองแพร่เมืองงาม เล่าขานตำนานช่อแพร่ช่อแฮแหล่งประดิษฐานพระเกศาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อถึงวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ถวายแด่องค์พระธาตุสืบมา”

ตำนานเก่าแก่แห่งเมืองมนต์ขลังเล่าว่า อดีตกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพตและได้มอบพระเกศาธาตุให้ขุนลั๊วอ้ายก้อมไปบรรจุในผอบแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ ซึ่งผ้าแพรที่ขุนลั๊วอ้ายก้อมนำมารองรับพระเกศาธาตุนั้นเรียกว่า “ผ้าแฮ” นิยมนำผ้าแฮ หรือผ้าแพรมาประดิษฐ์เป็นช่อ หรือธง แล้วทำการถวายสักการะเป็นพุทธบูชา ต่อมาภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ช่อแฮ่” หรือ “ช่อแพร่” โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่า ต่อไปเมืองนี้จะชื่อเมืองแพร่ และหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว ให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้ายมาประดิษฐ์ที่นี่ด้วย และหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์จำนวนมากได้ร่วมกันอธิษฐานอันเชิญพระบรมสารีกริกธาตุที่ได้บรรจุในผอบแก้วที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงหมายไว้แต่เดิม แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ พระวัสสา

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า ในสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ครั้งทรงดำรงตำแหน่งมหาอุปราชเมืองศรีสัชชนาลัย ได้เสด็จยกทัพแปรพระราชฐานมาทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮเสร็จแล้ว ทรงให้มีงานฉลองสมโภช ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันขึ้น ๙-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ เดือน ๔ ใต้ และนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกพระองค์ก็ได้ยึดถือประเพณีไหว้พระธาตุประจำปีสืบมา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ในสมัยของเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ ได้ลดการจัดงานเหลือ ๕ วัน ๕ คืน คือวันขึ้น ๑๑-๑๕ ค่ำ เดือน๖ เหนือ เดือน ๔ ใต้ ของทุกปี ภายในงานประกอบด้วยขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ประกอบไปด้วย ริ้วขบวนของทุกอำเภอ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาล ขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าแพรคลุมองค์พระธาตุ ๑๒ สี ซึ่งประกอบด้วยขบวน ๑๒ ราศี ขบวนเทพีโปรยข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ด้นดอก ขบวนตุง ขบวนฟ้อนรำ มีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน

ปัจจุบันประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวงนอกจากจะมีขบวนแห่ที่อลังการตามแบบอย่างในอดีตแล้วภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นอีกมากมาย เช่น กิจกรรมการสาธิตการทำตุง โคม เครื่องสักการะล้านนา การประกวดหนูน้อยช่อแฮ รวมทั้งการออกร้านและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจและน่ามาสัมผัสความอลังการด้วยตนเองทั้งสิ้น

– วันเวลาการจัดงาน : วันขึ้น ๙-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ เดือน ๔ ใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี
– สถานที่จัดงาน : วัดพระธาตุช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ ๙ กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๒)




 

Create Date : 19 มีนาคม 2559
1 comments
Last Update : 19 มีนาคม 2559 17:40:03 น.
Counter : 1012 Pageviews.

 

แวะมาอ่านค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 19 มีนาคม 2559 20:48:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

สมาชิกหมายเลข 2974511
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2974511's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com