Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
นกกระจิบคอดำ.....เพศผู้


กลับมาพักผ่อนที่บ้านศรีราชา อาทิตย์นึง นั่งเล่นที่ชิงช้าหน้าบ้านเจ้าตัวนี้ก็มาบินมาทักทาย บริเวณต้นไม้รอบๆบ้าน เลยกดเอามาฝากกัน มีรายละเอียดประกอบเพื่อเพิ่มความรู้ ด้วย นกกระจิบนี่ตัวเล็ก และไวมาก กว่าจะได้แอ็คชั่น สวยๆก็รอกันเมื่อยคอเหมื่อนกัน



นกกระจิบคอดำ ( Dark - necked Tailorbird ) ชื่ออื่น Black - necked Tailorbird มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthotomus atrogularis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ ภาษาละตินคือ atr หรือ ater แปลว่าสีดำ และ gularis ( gul ) แปลว่าใต้คอ ความหมายคือ " นกที่มีใต้คอสีดำ " พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรก ที่ประเทศ มาเลเซีย ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ O . a . atrogularis และ O . a . nitidus

รูปร่างลักษณะ เป็นนกขนาดเล็ก ความยาวจากปลายปากจดหาง 10.5 - 12 ซม. แตกต่างจากนกกระจิบธรรมดา ( Common Tailorbird ) โดยขนคลุม โคนขนหางด้านล่างสีเหลือง บางครั้งลำตัวด้านบน สีเขียวแกมเหลืองเข้มกว่า เมื่อดูในระยะใกล้จะเห็นขอบปีกเป็นสีเหลือง ชนิดย่อยที่เป็นชนิด อ้างอิง หลักคือ O . a . nitidus มีรูปร่างลักษณะดังนี้

นกตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์ คล้ายนกกระจิบธรรมดา แต่ กระหม่อมมีสีส้มอมแดงสดใสกว่า ลำตัวด้านบนมีสีเหลืองอมเขียวสดใสกว่า , ใต้คอตอนล่าง และด้านข้างของคอ มีลายขีดออกดำ , หัวตาและกระหม่อมสีน้ำตาลแดง , ท้ายทอยสีน้ำตาลหรือสีเขียวแกมเหลือง , ขนคลุมใต้โคนหางสีเหลือง ชนิดที่พบในภาคตะวันออกของตังเกี๋ย และ ภาคเหนือของอันนัม กระหม่อมมีสีส้มอมแดง คล้ำกว่า , ลำตัวด้านบนออกสีเขียวมากกว่า

นกตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ คอตอนล่าง และ อกตอนบน มีสีดำปนเทาเข้มมากขึ้น หางจะกลับสั้นลงกว่านกกระจิบธรรมดา

นกตัวเมีย คล้ายกับบนกกระจิบธรรมดา ( Common Tailorbird ) และคล้ายนกตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ลายขีดที่ใต้คอมีสีจางกว่า

นกที่ยังไม่เต็มวัย คล้ายนกตัวเมีย แต่ลำตัวด้านบนมีสีเขียวคล้ำกว่า , ยังไม่มีสีส้มอมแดงที่กระหม่อนหรือมีเพียงเล็กน้อย หรือเพียงจางๆ

ชนิดย่อยอื่นที่พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ O . a . atrogularis พบทางภาคใต้ตอนใต้สุดของไทย , annambensis พบที่เกาะ Palau Tioman นอกชายฝั่งทางด้านตะวันออกตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู




นิสัยประจำชนิด มักพบอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ มักเกาะตามพุ่มไม้หรือพืชต่างๆ ทำให้ไม่ค่อยเห็นตัว นอกจากได้ยินเสียงร้องซึ่งแตกต่างจาก นกกระจิบธรรมดาชัดเจน ขณะหากินมักกระดกหาง ขึ้นลงเป็นบางครั้ง เป็นนกที่เปรียวคน มักหลบซ่อนตัวในพุ่มไม้

แหล่งอาศัยหากิน พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าชายเลน ป่าละเมาะที่ค่อนข้างแห้งแล้งซึ่งไม่พบนกกระจิบธรรมดา , พบน้อยในเมืองและตามสวนหลังบ้าน ( ในเมืองส่วนใหญ่จะพบแต่นกกระจิบธรรมดา นอกจากตามชานเมืองออกไปจึงจะพบนกกระจิบคอดำบ้าง ) พบในที่ราบต่ำขึ้นไปจนกระทั่งระดับความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อาหาร ได้แก่แมลง ตัวหนอน ผลสุกของไม้เถาบางชนิด เช่นลูกตำลึงสุก ตะขบ นอกจากนี้ยังกินน้ำหวานของดอกไม้บางชนิดด้วย




ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ อยู่ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ลักษณะของรังไม่แตกต่างจากรังนกกระจิบธรรมดา แต่มักใช้ใบไม้หรือใบพืชเพียงใบเดียว โอบเข้าหากัน แล้วใช้ใยแมงมุมเย็บ หรือเชื่อมขอบใบให้ติดกันเป็นรูปกระเปาะ มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านบน สีของรังคือสีของใบพืช จึงมองเห็นได้ยาก จากนั้นรองพื้นรังด้วยดอกหญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ง วางไข่ครอกละ 3 - 4 ฟอง แต่พบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ขนาดของไข่ 11.4 X 15.4 มม. เปลือกไข่สีขาว หรือสีครีม ชมพูอ่อน น้ำเงินอ่อนจนถึงสีเขียวแกมน้ำเงิน มีลายจุดสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาล สีดำแกมแดง กระจายทั่วฟอง แต่จะหนาแน่นทางด้านป้าน หรืออาจไม่มีประจุดเลยก็ได้ นกทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟัก 11 -13 วัน ลูกนกที่ออกจาก ไข่ใหม่ๆ รูปร่างเทอะทะ ตาโต ท้องป่อง ยังไม่ลืมตา และไม่มีขนปกคลุมลำตัว พ่อแม่ต้องช่วยกันกก โดยให้ซุกใต้ปีก หรือ ใต้ท้อง และ ช่วยกันหาอาหารมาป้อน ซึ่งส่วนใหญ่คือ ตัวหนอน อายุ 3 - 4 สัปดาห์ ลูกนกจะมีขนาดโตเท่ากับพ่อแม่ มีขนคลุมเต็มตัว แต่สียังไม่เหมือน พ่อแม่ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากที่ยังไม่ออกเป็นสีแดง สามารถบินได้แข็งแรง และ ไม่นานก็ทิ้งรัง

นกกระจิบคอดำ เช่นเดียวกับนกกระจิบธรรมดา ที่มักถูกนกอีวาบตั๊กแตนแอบเข้ามาวางไข่ในรังให้ฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อนแทน โดยไข่และลูกนก กระจิบคอดำจะถูกทำลายโดยแม่นกอีวาบตั๊กแตน หรือลูกนกอีวาบตั๊กแตนที่ฟักออกมาจากไข่ก่อนลูกนกเจ้าของรัง

แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ เป็นนกประจำถิ่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย , ภาคตะวันออกของบังคลาเทศ , ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน , เกาะสุมาตรา , เกาะบอร์เนียว , ฟิลิปปินส์ สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อยของทุกประเทศในเขตนี้ ยกเว้น ไม่พบทางภาค ตะวันตก ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของเมียนม่าห์




สำหรับประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่น ที่พบได้บ่อย ปริมาณค่อนข้างมาก พบ 2 ชนิดย่อย คือ

ชนิดย่อย O . a. atrogularis ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด ชนิดย่อยนี้พบเฉพาะทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไป

ชนิดย่อย O . a. nitidus ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nitid แปลว่าส่องแสงหรือสวยงาม ความหมายคือ " นกที่มีสีสดใสสวยงาม " พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของเมียนม่าห์ ในประเทศไทย ชนิดย่อยนี้พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

แหล่งข้อมูล : " นกในเมืองไทย " โดย รศ. โอภาส ขอบเขตต์

" a field guide to the birds of Thailand and South east Asia " by Craig Robson





Create Date : 20 พฤษภาคม 2551
Last Update : 20 พฤษภาคม 2551 9:03:31 น. 23 comments
Counter : 11044 Pageviews.

 
ชื่นชมด้วยความจริงใจในความอดทนและการหาข้อมูล เจ้าตัวนี้ไวจริง ๆ ที่บ้านก็เห็นอยู่บ่อย ๆ หล่อนมากินน้ำหวานของดอกชมนาด ตัวเล็กแต่เสียงดังชอบอาบน้ำบนใบไม้ที่มีน้ำขัง


โดย: เย็นใจ IP: 61.19.145.238 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:27:09 น.  

 
ดูน่ารักดีครับ เช็คหลังไมค์ด้วยครับ


โดย: B/W วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:46:31 น.  

 


หลังบ้านมีอยู่คู่นึงค่ะ

ตอนนี้ลูกเขาแตกออกมาแล้ว

ม๊าต้องเหนื่อยเพิ่มอีก เป็นเท่าตัวเลย

กะต้องคอยวิ่งปกป้องนก ไม่งั้น

ทะโมนทั้งหลายของม๊าต้องตะครุบแหงๆ

แล้วตัวเล็กๆ เขากำลังหัดบินนะคะ

แงงงงงงงงทำไงดี

แล้วเจ้านกนี้ก็แปลกนะค่ะ บ้านอื่นไม่มีแมว

ก็ไม่ไปทำรัง แต่ดันมาทำที่บ้านของม๊า

หน้าบ้านจะมีนกกระจิบเป็นฝูงเลยค่ะ

ก่อนนั้นบนหลังคอ นกนางแอ่นบินว่อนไปหมด

ชาวบ้านเหล่ม๊ากันเป็นแถว

สงสัยคิดว่าม๊าเป็นแม่มด เรียกนกได้แหง

แต่จริงๆ ไม่เคยถวิลหาเลยนะค่ะเพราะว่า

เขาอาจเกิดอันตรายได้ ถ้าหากมาอยู่ใกล้ๆ

กับม๊านะค่ะ แมวเยอะมาก ทำไงดีค่ะ

จรจัดก็มาขอข้าวกินทุกวัน นกจะแย่เอานะค่ะ


โดย: นางมารร้ายจีจี้ วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:19:59 น.  

 
คุณ wildbirds ต้องใจเย็นมากเลยนะคะ
.
.

มองนานๆ หน้าตาน่าเอ็นดูเหมือนกันนะนี่


โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:37:43 น.  

 
นกกระจิบเหมือนกันเลย 55 ของเรามีแต่รูป ที่นี่มีข้อมูลด้วย ดีจริงๆเลย


โดย: noitpituk IP: 125.26.27.157 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:22:19:03 น.  

 
ยังไม่เคยเห็นเลยค่ะ

ขอบคุณนะคะ ทีเอามาให้ชม เป็นความรู้


โดย: นกแห้ว วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:53:14 น.  

 
นกกระจิบสีนี้ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยคะ ดูสวยแปลกตาดีจังเลย


โดย: eeh (คิตตี้น้อยสีชมพู ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:49:01 น.  

 

ชอบครับ คุณ ปช ชมรูป อ่านเรื่องสนุกมาก

เก่งพิเศษเลยครับ กับการจับภาพนกเล็กๆที่ไม่เคยหยุดนิ่งได้ชัดมาก ภาพสวยครับ


โดย: yyswim วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:07:22 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ภาพนกใส สวยจังเลยค่ะ
ปล.นำภาพนครวัดมาลงแล้วค่ะ ว่างๆๆขอเชิญไปเที่ยวนะคะ


โดย: Tuk IP: 202.149.25.225 วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:31:15 น.  

 
ขอบคุณมากครับสำหรับรูปนกสวยๆ และความรู้ที่แนบมาด้วยดีจริงๆครับ...


โดย: กันติศร (กันติศร ) วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:24:13 น.  

 
รูปสวย นกน่ารักมากค่ะ


โดย: Hana* วันที่: 24 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:46:41 น.  

 
ถ่ายได้สวยมาก
เคยได้ยินเสียงร้องจิ๊บๆๆ เหมือนกัน
แต่ชาวบ้ายเขาเรียก "นกเสียบใส้"
เลย งง ??? นกกระจิบกับนกเสียบใส้เหมือนกันหรือเปล่า????


โดย: เหมือนไหมกัน? IP: 118.173.14.148 วันที่: 24 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:11:49 น.  

 
นกตัวน้อยน่ารักเชียวค่ะ
ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย


โดย: sao-aor วันที่: 28 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:16:29 น.  

 
สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณ wildbirds
อ้อแว่ะเข้ามาทักทาย และ ขอบคุณอีกครั้งค่ะที่แว่ะเข้าไปชมกิจกรรมของเด็ก ๆ ที่บล็อกสาวอ้อค่ะ



ไก่ฟ้าตัวผู้ในสวนผักสาวอ้อมาฝากค่ะ


โดย: sao-aor วันที่: 28 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:46:05 น.  

 
ก๊อก ๆ .....สวัสดีค่ะ
เจ้าบ้านอยู่หรือเปล่าน๊อ ?
ไม่อยู่แบบนี้เห็นทีสาวอ้อย่องเข้าบ้านไปขโมยกล้องตัวเก่งของเจ้าของบล็อกดีกว่าเนาะ

ขอให้มีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนน่ะค่ะ


โดย: sao-aor วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:3:52:58 น.  

 

 
ทรงหางเค้าแปลกดี มีไสตล์


โดย: c (chaiwatmsu ) วันที่: 4 มิถุนายน 2551 เวลา:1:32:02 น.  

 
นกในรูปทั้งหมดเป็นนกกระจิบธรรมดาจ้ะ ดูที่คออย่างเดียวไม่ได้เพราะนกกระจิบธรรมดาบางครั้งก็เห็นคอสีดำ ๆ เหมือนกัน ต้องดูสีหัว สีก้น และที่ง่ายคือฟังเสียง นกสองชนิดนี้ร้องแตกต่างกันมาก


โดย: กิมจิ IP: 58.64.110.192 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:10:23:01 น.  

 
เหมือนๆกันกับนกกระจิบ


โดย: นกเสียบไส้ IP: 110.49.105.93 วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:57:10 น.  

 
สัปดาห์ก่อน พบตกมาทั้งรังค่ะ อ้าปากกว้างมาก คงหิว เลยต้องอุปการะไว้ ตอนนี้ตัวอ้วนตุ้บเลยค่ะ เธอรักสะอาดมาก อึเมื่อไหร่ จี๊ดจ๊าด โวยวาย ต้องเก็บทำความสะอาดให้ แต่ถ้าอิ่ม อบอุ่น ไม่ปวดอึ ก็หลับเงียบบบเลยค่ะ 5555


โดย: apple666555 IP: 192.168.11.235, 203.185.130.105 วันที่: 10 สิงหาคม 2553 เวลา:17:26:46 น.  

 
รูปชัดสวยงามน่ารักมาก ๆ


โดย: kes. IP: 125.26.0.34 วันที่: 24 ตุลาคม 2554 เวลา:14:18:18 น.  

 
น่ารัก น่าชม เคยยิงทอดกรอบมาหลายตัวแล้วว์ว์ว์
อาาาาาา อะหย่อยดีอ่ะ!!


โดย: นูยาง IP: 180.180.193.172 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:28:14 น.  

 
แต่นั่นมันสมัยตอนเป็นเด็กคัวเล็กๆนะครับ พอผ่านไปหลายปี
กลับมาเห็นรูปนกเหล่านี้ ก็คิดสงสาร อยากให้ทุกคนอนุรักษ์
เอาไว้!!!


โดย: นูยาง IP: 180.180.193.172 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:39:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wildbirds
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




ชอบความเป็นธรรมชาติและมีชีวิตง่ายๆ..ไม่ชอบความวุ่นวายในสังคม


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดนำรูปภาพและข้อความของที่นี่ไปใช้ในทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน แก้ไขดัดแปลงข้อความ รูปภาพ หากผู้ใดละเมิดโดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
Friends' blogs
[Add wildbirds's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.