ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
27 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 
นิพพานที่ไหน

. . .
. . . . . . . . ใ น คั ม ภี ร์ มิ ลิ น ท ปั ญ ห า ...พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่)พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

คัดมาจาก นิพพาน จากวิกิพีเดีย

*




< < นิ พ พ า น ที่ ไ ห น > >
อวกาศสีขาว


บ ท ส ว ด ม น ต์ ปรมัตถสภาวธัมมปาฐะ ที่ ส ว น โ ม ก ข์ ..จะสวดเริ่มด้วยหมวดธาตุ บุคคลประกอบด้วยธาตุหก ไปถึงภาวะความเกิดตั้งอยู่ดับไป ความเกิดอันเป็นทุกข์ ความตั้งอยู่แห่งธรรมชาติอันเป็นเครื่องเสียดแทง และความปรากฏออกคือชรามรณะ ไปจนถึงเรื่องนรกอันไม่น่าปรารถนา สวรรค์อันน่าปรารถนาน่าใคร่น่ายินดี ชวนให้บุคคลอยากทำกรรมดี แต่แล้วภพนี้ก็หาได้มีความคงทน ยังต้องตกอยู่ในการเวียนว่ายไม่สิ้นสุด หากแต่ยังมีนิพพาน บรมสุขกว่าด้วยการหลุดจากราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชาทั้งปวง ไม่ตกอยู่ในการเวียนว่ายในสังสาร

...

นิพพานไม่ได้อยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่จิตนี่แหละ จิตที่หลุดจากอวิชชา หมดเหตุปัจจัยในการเกิด ก็ไม่ต้องเที่ยวท่องไปตามภพภูมิด้วยกรรมวิบากอีก ไม่ต้องอยู่ในเรือนอันผุพังเป็นทุกข์คือรูปขันธ์นามขันธ์ ไม่ต้องเวียนว่ายไปในสังสารวัฎอันไม่รู้จบสิ้น

นิพพานชั่วคราวคือดับกิเลสชั่วคราว หากเจริญอริยมรรคดับกิเลสอาสวะได้โดยสมุทเฉท ก็จิตนี้นี่เองคือนิพพาน จะไปนิพพานที่ไหนกันถ้าไม่ใช่ที่จิตนี้ จิตนี้หรืออสังขตธาตุนี้นี่แหละคือนิพพาน และจิตอสังขตธาตุที่หลุดจากการถูกบังคับด้วยภพภูมิ ย่อมชี้ไม่ได้ว่า จิตนี้อยู่ที่ไหน แห่งหนใด

นิพพานนั้นเป็นโลกุตตระสภาวะ ยุติเหตุปัจจัยการเกิด ยุติภพภูมิ การไม่มีภพภูมิเลย ไม่มีการแสดงตัวตน ย่อมทำให้บุคคลบางกลุ่มสงสัย เพราะการแสดงสมมุติของพระอรหันต์เพื่อติดต่อกับสรรพสัตว์ในโลกสมมุติย่อมต้องแสดงด้วยสมมุติเสมอกัน การแสดงสมมุติก็ต้องมีรูปมีตัวตน ถึงจะสื่อสารเข้าใจกันได้ แต่รูปนั้นเป็นเพียงธรรมกาย หาใช่ขันธ์ห้าอย่างที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยใดอีกอย่างภพภูมิอื่น แต่ก็ทำให้บางคนเชื่อว่านิพพานเป็นดินแดน มีสภาพเป็นอัตตา เป็นของจริงขึ้นมา

บุคคลบางกลุ่ม ชื่นชมการได้ไปเที่ยวนรกสวรรค์ จะด้วยกำลังฌานตัวเองหรือจากบารมีของครูอาจารย์ก็ตาม เมื่อได้ไปแล้วก็ใช่จะเข้าใจวัฏฏะและความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ หาแก่นสารอันใดไม่ได้ ไม่ใช่ของจริงเพียงแต่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ซาบซึ้งความน่าหดหู่ใจของสังสารที่ขึ้นลงตามกฎไตรลักษณ์ กลับมีทิฎฐิเพลิดเพลิน และคิดว่าตนมีความวิเศษ มีความสำคัญตนในตัวเพิ่มขึ้น ยิ่งได้ไปพบเห็นแดนนิพพานพุทธนิมิตร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพลังแห่งธรรม แม้จะสดับคำสอนเรื่องไตรลักษณ์และสุญญตาของสิ่งทั้งปวงว่าสักแต่เป็นของว่าง-เป็นทุกข์-หาความเที่ยงไม่มี ก็รังแต่จะสูญประโยชน์ เพราะแทนจะเข้าใจนิพพานจริงเป็นเพียงจิตอันดับกิเลสหมดความยึดมั่นถือมั่น กลับไปยึดถือสมมุติที่เห็นเข้าอีก เกิดการยึดแดนนิพพานนั้นเที่ยงกว่านรกสวรรค์พรหมอรูปพรหม คิดว่าตายแล้วจะไปอยู่ที่นั่นได้ ถือเอาแดนนิพพานเป็นจริงเป็นจังเป็นของมีของเป็นของเที่ยงเข้าอีก

แม้นแต่ในแดนนิพพานอันเป็นเพียงสภาวธรรมแห่งพุทธนิมิต พระอรหันต์หากจะไม่ปรากฏตัวที่นั่นเราก็ไปตามหาตัวท่านที่นั่นไม่ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องไปตามหาตัวท่านได้ที่แดนนิพพานนั่น ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องไปที่แดนนิพพานเลย เพราะธรรมกายสภาวธรรมของพระอรหันต์จะแสดงแก่เราได้ทุกที่หากท่านต้องการแสดง แต่ใช่ให้ยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นจริง เป็นเพียงสภาวธรรมที่ติดต่อกับสมมุติกับจิตที่ข้องอยู่กับสมมุติ

คนที่จับเอาพระพุทธเจ้าให้มีตัวตน จับเอานิพพานให้มีตัวตน จะประหารตัณหาอุปาทานได้อย่างไร ในเมื่อพระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวาง ปล่อยอุปาทานทุกชนิด คนประเภทนี้มีมาก จนสายเซนต้องบอกให้ฆ่าพระพุทธเจ้าทิ้ง พระพุทธเจ้าอัตตาแบบนั้น ยึดไว้ไม่เจอพระพุทธเจ้าจริงเป็นแน่

ส่วนผู้ไม่ได้ไปเที่ยวชมนรกสวรรค์แต่อย่างใด แต่มากไปด้วยปัญญา เจริญสติปัฏฐานสี่ดับกิเลสเข้าสู่กระแสนิพพาน ก็เข้าใจเรื่องโลกียภูมิและโลกุตตระภูมิขึ้นมา เข้าใจอริยสัจจ์สี่ เหตุแห่งทุกข์และการดับทุกข์เพราะได้เจริญมรรคญาณผลญาณสำเร็จแล้ว เห็นแต่ไตรลักษณ์ชัดเจน ได้สัมผัสนิพพานจริงแท้ด้วยตัวเองแล้วว่าเป็นอย่างไร นิพพานเช่นนี้เอง ที่เป็นกิจที่ต้องทำต้องเจริญ เพื่อเข้าสู่ธรรมชาติแห่งความจริงแท้ แบบนี้จึงพบพระพุทธเจ้าจริง คือเห็นจิตแท้ว่ามีสภาพจริงอย่างไร เราทุกคนไม่ต่างกัน

แค่การจะบอกกล่าวว่าสรรพสิ่งล้วนแต่เป็นอนัตตา เป็นเพียงสุญญตา หาความเป็นตัวตนไม่ได้ เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยตามกฎธรรมชาติแห่งอิทัปปัจจยตา เมื่อไม่มีเหตุย่อมไม่สร้างผลตามมา นี่ก็นับว่ายากอยู่แล้ว กว่าจะเข้าใจตรงนี้ได้ไปจนถึงสามารถแจ้งนิพพานอันดับเหตุปัจจัยทั้งมวลลง พอกลับมาพูดเรื่องธรรมกายหรือแดนนิพพานพุทธนิมิตอีก จึงถือว่าเป็นเรื่องซับซ้อนขึ้นมาอีก

แต่ที่เห็นเหล่าพระอริยะสายฤทธิ์พูดถึงเรื่องนี้กันนัก เข้าใจว่าเพราะนักปฏิบัติฝ่ายฤทธิ์เวลาเห็นนิมิตแล้วเกิดความสงสัย ว่าทำไมไปเห็นแดนนิพพานเห็นพระพุทธเจ้า พอไปถามคนไม่รู้ ยิ่งพวกเก่งปริยัติเก่งอภิธรรมแต่ไม่มีฤทธิ์ เข้าใจแต่เรื่องนิพพานโลกุตตระจิต ก็หาว่าเพี้ยน ดีไม่ดีชวนทะเลาะวิวาทกันไปถึงไหนต่อไหน แทนที่จะเข้าใจกัน

ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่านิพพานไม่สูญเพราะเห็นมาแล้ว แถมไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์มาแล้วที่จุฬามณีชั้นดาวดึงส์ กลายเป็นอัตตาขึ้นมา แต่อีกฝ่ายก็ว่านิพพานมีตัวตนแบบนั้น แล้วจะนิพพานกันไปทำไม ยังมีตัวตนแบบนั้น มันก็ไม่ต่างกับ 31 ภพภูมิหรอก นิพพานนี่ต้องอนัตตาหรือสุญญตาซิถึงจะถูก จึงไม่มีวันที่ใครจะข้าใจกันไปได้ เพราะฝ่ายหนึ่งพูดเรื่องนิพพานประดุจแดนสวรรค์ ทั้งยังจะเที่ยงกว่าสวรรค์ที่ยังเป็นเพียงโลกียภูมิอีก ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็พูดถึงนิพพานประดุจเป็นดินแดนที่หาไม่มีทางพบ

นิพพานนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเป็นอัตตาทั้งไม่พึงกล่าวว่าเป็นอนัตตา

ใครที่เป็นอริยะเข้ากระแสนิพพานโลกุตตระมาแล้วแถมยังมีฤทธิ์ถอดกายทิพย์ไปแดนนิพพานพุทธนิมิตมาได้ ก็พอจะเข้าใจอยู่ว่าดินแดนก็เป็นสภาวธรรมหนึ่งเพื่อสงเคราะห์กับพวกที่ยังติดอยู่ในสมมุติสภาวะ แต่อริยะฝ่ายไม่มีฤทธิ์นี่ ได้แต่อ้ำอึ้ง เพราะในสภาวะนิพพานโลกุตตระซึ่งได้เข้าไปลองลิ้มมา จะว่ามีสภาพเป็นความสูญ ก็สูญไปจากขันธ์ห้า หาใช่สูญหายหรือดับสูญ ครั้นพอได้ยินเรื่องนิพพานสมมุติ มีดินแดน ก็ไม่มีฤทธิ์จะไปพิสูจน์ ได้แต่ฟังความอยู่ด้วยจิตสงสัย จะให้เชื่อว่าแดนนิพพานเป็นอัตตา มีจริง คงไม่ใช่วิสัยของอริยะแน่ เพราะได้สัมผัสนิพพานจริงมาเสียแล้วรู้แล้วว่ามีสภาพจริงอย่างไร การหาเหตุผลว่าแดนนิพพานนั้นมีสภาพอย่างไร ก็คงหาจะเหตุผลต่อไปจนได้ ไม่ยากนัก

ผู้เข้าถึงนิพพานเป็นอรหันต์แจ้งแล้ว ธรรมกายเป็นเพียงสภาวธรรมใช้ในโลกสมมุติ คือกายที่ไม่ประกอบด้วยขันธ์ห้า เป็นกายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากจิตที่ยังครองด้วยอวิชชา แต่เป็นจิตบริสุทธ์ดีแล้ว แม้นในพระอริยะระดับต่างกัน ก็ยังมีสภาวะธรรมกาย(กายนิพพาน-อายตนะนิพพาน)ซ่อนอยู่ เป็นธรรมกายที่ยังไม่บริสุทธิ์แต่ก็แสดงภาวะจิตที่เข้าถึงกระแสนิพพาน ในขาดสังโยชน์ไปตามกำลังของอริยะนั้นๆ


ความมีอยู่แห่งนิพพาน

พ ร ะ เ จ้ า มิ ลิ น ท์ ต รั ส ถ า ม ว่ า
“ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกรรม สิ่งที่เกิดเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยฤดู มีปรากฏอยู่ในโลกแล้ว สิ่งใดที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู ขอพระผู้เป็นเจ้าจงบอกสิ่งนั้นแก่โยม”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดูนั้น มีอยู่ ๒ คือ อากาศ ๑ นิพพาน ๑”

“ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอย่าลบล้างคำของข้าพุทธเจ้า ไม่รู้ก็อย่าแก้ปัญหานี้”

“ขอถวายพระพร เหตุใดอาตมาภาพจึงว่าอย่างนี้ และเหตุใดมหาบพิตรจึงห้ามอาตมาภาพอย่างนี้ ?”

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่ควรกล่าวว่าอากาศไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู สมเด็จพระบรมครูได้ทรงบอกทางสำเร็จนิพพานให้พระสาวก ด้วยเหตุหลายอย่างร้อยอย่าง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า นิพพานไม่เกิดด้วยเหตุ”

พระนาคเสนเฉลยว่า
“ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้ทรงบอกทางสำเร็จนิพพานแก่พวกสาวกด้วยเหตุหลายร้อยอย่างจริง แต่ไม่ใช่ทรงบอกเหตุให้เกิดนิพพาน”

พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งอีกว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน ในข้อนี้เท่ากับโยมออกจากที่มืดเข้าไปสู่ที่มืด ออกจากป่าเข้าสู่ป่าอีก ออกจากที่รกเข้าสู่ที่รกอีก เพราะเหตุให้สำเร็จพระนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิดนิพพานไม่มี ถ้าเหตุให้สำเร็จนิพพานมีอยู่ เหตุให้เกิดนิพพานก็ต้องมี เหมือนบิดามีอยู่ เหตุที่ให้เกิดบิดาก็ต้องมีอยู่ อาจารย์มีอยู่ เหตุที่ให้เกิดของอาจารย์นั้นก็ต้องมีอยู่ พืชมีอยู่ เหตุให้เกิดพืชนั้นก็ต้องมีอยู่ หรือเมื่อยอดแห่งต้นไม้มีอยู่ ตอนกลางและรากก็ต้องมี”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร มหาราชะ นิพพาน เป็น อนุปาทานียะ คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเพราะฉะนั้นจึงไม่มีเหตุ”

“ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงให้โยมเข้าใจว่าเหตุให้สำเร็จนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิดนิพพานไม่มี”

“ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงตั้งพระโสตลงสดับ อาตมาภาพจักแสดงถวาย คือบุรุษอาจจากที่นี้ไปถึงเขาหิมพานต์ได้ตามกำลังปกติหรือ ?”

“ได้ พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร บุรุษนั้นอาจนำภูเขาหิมพานต์ มาไว้ในที่นี้ได้ด้วยกำลังตามปกติหรือ ?”

“ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือบุคคลอาจบอกทางสำเร็จนิพพานได้ แต่ไม่อาจบอกเหตุให้เกิดนิพพานได้ ขอถวายพระพร บุรุษอาจข้ามมหาสมุทรไปได้ ด้วยเรือตามกำลังปกติไหม?”

“อาจได้ พระผู้เป็นเจ้า”

“ก็บุรุษนั้นอาจนำเอาฝั่งมหาสมุทรข้างโน้นมาตั้งไว้ข้างนี้ ด้วยกำลังปกติไหม ?”

“ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือทางสำเร็จนิพพานนั้นอาจบอกได้ แต่ไม่อาจบอกเหตุให้เกิดนิพพานได้ เพราะนิพพานเป็น อสังขตธรรม” (ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง)

“ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานเป็นอสังขตธรรม ไม่มีใครอาจบอกได้อย่างนั้นหรือ ?”

“อย่างนั้นมหาบพิตร นิพพานป็นอสังขตธรรม ไม่มีอะไรตกแต่งได้ ไม่มีอะไรกระทำได้ นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่า เกิดขึ้นแล้วหรือยังไม่เกิด หรือจักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา เป็นของต้องเห็นด้วยตา เป็นของต้องได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้น กาย อย่างใดเลย”

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเป็นอย่างนั้น นิพพานก็เป็นความไม่มีเป็นธรรมดา เราพูดได้ว่านิพพานไม่มีอย่างนั้นซิ”

“ขอถวายพระพร นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบ อันประณีต อันเที่ยงตรง อันไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส”

“ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานนั้นเป็นเช่นไร ขอจงให้โยมเข้าใจด้วยคำอุปมา คือด้วยการเปรียบกับสิ่งที่มีอยู่ รู้อยู่ตามธรรมดา”

“ขอถวายพระพร ลมมีอยู่หรือ ?”

“มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”

“ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงแสดงลมให้อาตมาเห็นด้วยสี สัณฐาน น้อย ใหญ่ ยาว สั้น”

“ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีใครอาจจับต้องลมได้ แต่ว่าลมนั้นมีอยู่”

“ขอถวายพระพร ถ้าไม่อาจชี้ลมได้ว่า ลมมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร ลมก็ไม่มีนะซิ ?”

“มี พระผู้เป็นเจ้า โยมรู้อยู่เต็มใจว่าลมมี แต่ไม่อาจแสดงลมให้เห็นได้”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร”

“ข้าแต่พระนาคเสน โยมเข้าใจได้ดีตามข้ออุปมาแล้ว โยมยอมรับว่านิพพานมีจริง”



ไปอ่านวิมานแก้วแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ
จาก ๑๗ อภิญญาสมาบัติ ทิพย์แห่งจิต หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ




หมายเหตุ : กรณีการปรามาสครูบาอาจารย์

... ผู้ เ ขี ย น ยอมรับความจำกัดของภาษา และเห็นปัญหาของเรื่องภาษาที่เป็นปัญหาใหญ่มาแต่ยุคพุทธกาล การตีความโดยผ่านภาษาสื่อสาร อาจเกิดกระบวนความคิดอันไปไม่ถึงจุดหมายของผู้สื่อความหากมีอคติ ต้องทำจิตแยบคายและวางอคติลง และก้าวข้ามภาษาไปถึงเจตนา

เวลาใครบอกว่านิพพานเป็นอัตตา ก็จะดูเจตนาของเขามากกว่าว่ากำลังจะสื่อความอะไร ถ้าเขาหมายเอานิพพานเป็นตัวเป็นตนอย่างนั้นไม่ใช่ พระอรหันต์ไปบังเกิดกันที่นั่นอย่างนั้นไม่ใช่ แต่ถ้ากำลังจะสื่อถึงความเที่ยงแท้ หมดเชื้อแห่งกิเลส ไม่มาทุกข์กับขันธ์ห้าอีกย่างนี้แล้วก็พอรู้ว่าเขารู้ แล้วเวลาใครบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา สูญหายไปเลยอย่างนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าหมายเอาว่าไม่เป็นตัวตนหมดความเป็นขันธ์ห้า อย่างนี้เราก็พอทราบพอเข้าใจ

ปัญหาเรื่องภาษานี่ ทำให้ต้องระวังมากขึ้น นิพพานนี่ เป็นเรื่องยากที่จะใช้คำว่า อัตตาหรืออนัตตาหรือสุญญตา เพราะเป็นเรื่องเกินโลกียภูมิ แต่เราก็ต้องเข้าใจว่า เวลาใครพูดอย่างนั้น จะเพราะเข้าใจถูกหรือเพราะเข้าใจผิด คือต้องที่เจตนาเบื้องหลัง

ครูบาอาจารย์บางท่านอาจไม่เก่งปริยัติ เวลาท่านพูดอะไร เราต้องพยายามเข้าไปถึงสิ่งที่ท่านจะสอนก่อน ไม่เช่นนั้น จะไม่ทราบเลยว่าท่านกำลังจะบอกอะไร เสียประโยชน์ไปเปล่า บางท่านเป็นถึงพระอรหันต์ ถ้าทำจิตแยบคายเราจะทราบจุดประสงค์ท่าน ยังฟังไม่ทันทราบความ อัตตาตัวเองมันขึ้น มันอคติ เราเลยไม่ได้ของดีจากท่าน หากเผลอไปปรามาส ก็หากรรมหนักใส่ตัวเองขึ้นมา บางท่านเก่งทั้งปริยัติและภาวนา แต่เราเองโง่เรื่องภาษา คิดว่าตนฉลาด อัตตามันแรงอคติมันแรง ถึงท่านอุปมาอุปมัยงามแล้วแค่ไหน เราดันไม่เข้าใจเองก็มี

... บ่อยครั้งที่เห็นลูกศิษย์พระอาจารย์สายต่างๆ ปรามาสครูอาจารย์อีกสาย
ความจริง อย่าว่าแต่คนกลุ่มนั้นจะไม่พอใจสายอื่นที่สอนไม่ต้องจริต แม้นแต่สายของตัวเอง ก็ใช่จะเข้าถึงหัวใจคำสอนของอาจารย์ตัวเอง เพราะก็เลือกแต่เอาถ้อยสอนที่ตนพอใจเก็บไว้ เข้าใจไปตามที่ตนพอใจ ไม่ได้ของดีจากอาจารย์ตัวเองเหมือนกัน หลงเก็บส่วนที่เป็นสาระไม่ได้ ได้แต่ส่วนถูกอารมณ์ จะเข้าใจถูกไม่ถูกไม่รู้ตัว ก็ได้แต่ความพอใจความไม่พอใจไปเท่านั้น ไม่ได้ธรรมอะไรไปเลยเหมือนกัน

... คนได้ของดีนั้น ไม่จำเป็นต้องได้ของดีจากครูบาอาจารย์ตนหรอก
หากเป็นผู้มีจิตแยบคาย ไปฟังใครพูด ใครสอน เขาก็เอาหัวใจของคนสอนกลับมาได้ เพราะรู้จักวางใจ วางอัตตา สนใจไตร่ตรองในคำสอนแบบข้ามภาษา ก็จะเข้าใจว่าคนสอนกำลังสอนอะไรอยู่จริงแท้ ไม่ใช่ฟังไม่ได้ศัทพ์จับไปกระเดียด คนแบบนี้ได้ประโยชน์ ได้หัวใจจากครูอาจารย์ตัวจริงทุกสายโดยไม่ยากเย็น





Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2551 22:26:48 น. 0 comments
Counter : 1045 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.