What so ever will do...
 
กรกฏาคม 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
17 กรกฏาคม 2554

เครื่องบินกระดาษ





ผมเองมีงานอดิเรกคือ พับเครื่องบินปาหัวเพื่อนร่วมงานเฮงซวยที่ชอบกวนตีนเปิดเพลงดัง แต่จะพับตามแบบชาวบ้านมันก็ดูไม่สร้างสรรค์เสียเท่าไร ดังนั้นก็เลยออกแบบเครื่องบินพับเอง ทีนี้มันก็มีอยู่ประมาณ สิบกว่าแบบ ขืนแก่ตายไปไม่มีใครสืบทอดเจตนารมณ์การพับเครื่องบินปาหัวชาวบ้าน งานรังสรรค์นี้ก็คงสูญเปล่าเป็นแน่แท้ กระนั้นเลยจึงมาลองวาดวิธีการพับเครื่องบินแบบต่างๆไว้ให้เพื่อนๆไปปาหัวชาวบ้านเขาเล่นซึ่งผมจะค่อยๆทยอยแกะแบบเอามาโพสในโอกาสต่อๆไป




























ทีนี้ไหนๆก็จะแกะแบบพับเครื่องบินกระดาษกัน ผมก็ถือโอกาส เอาประวัติและเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องบินกระดาษลงมาเขียนๆกันไว้เสียหน่อยตามธรรมเนียม


---------------------------------------------------------------


ประวัติเครื่องบินกระดาษ





เครื่องบินกระดาษมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นก็ไม่สามารถบ่งชี้ได้ แต่มันน่าจะมีมาตั้งแต่การเริ่มมีการใช้กระดาษเมื่อ 2500 ปีที่แล้วเลยทีเดียว แนวคิดเรื่องการบินของมนุษย์ได้รับประโยชน์มาจากเครื่องบินกระดาษ ซึ่งต่อยอดไปยังแนวคิดเครื่องบินของ Davinci มาจนถึงเครื่องบินจริงๆของพี่น้องตระกูล Wright และมาถึงเครื่องบิน Stealth ในยุคปัจจุบัน[1]




เครื่องบินกระดาษ Percy Pierce Fairy Flyer ซึ่งจัดเป็นแบบเครื่องบินกระดาษที่มีการบันทึกไว้เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏอยู่ ตีพิมพ์แบบในนิตยสาร McCall’s ในปี 1923 [2]








การบินของเครื่องบินกระดาษ[3]





การบินของเครื่องบินกระดาษ จริงๆมันก็เหมือนกับเครื่องบิน เพียงแค่ว่ามันไม่จำเป็นต้องมีนักบิน ดังนั้นส่วนลำตัวเครื่องจึงไม่จำเป็น ส่วนหางคัดท้ายมันก็สามารถคุมได้ด้วยการดัดปีกอยู่แล้ว อย่างกรณีของ Stealth Bomber ก็จะไม่มีปีกหางเช่นกัน นอกจากนี้ เพราะกระดาษเป็นวัสดุก่อสร้างที่ห่วย การสร้างเครื่องบินกระดาษ ที่จะทนการเคลื่อนที่ผ่านอากาศด้วยความเร็วสูงได้ จำเป็นต้องมีการออกแบบให้มุมปีกให้มี Aspect Ratio ที่ต่ำ







Stealth Bomber เป็นเครื่องบินที่ไม่ต้องมีปีกหลังก็บินได้




Aspect Ratio




คือสัดส่วนความยาวของปีกต่อความยาวลำตัวเครื่อง จริงๆคือสัดส่วนความยาวต่อความกว้าง แต่เครื่องบินกระดาษมันก็เป็นปีกทั้งลำอยู่แล้ว ด้วยความแข็งแรงของกระดาษ มันทำให้การสร้างเครื่องบินกระดาษที่มี Aspect ratio สูงเป็นไปได้ยาก และถึงทำได้ มันก็จะทนต่อความปั่นป่วนของอากาศที่ความเร็วสูงไม่ได้อยู่ดี





การเปรียบเทียบวัสดุของเครื่องบินกระดาษ เราอาจแสดงออกมาในรูปของ Reynolds number ที่เป็นค่าแสดงความปั่นป่วนของการไหล ยิ่ง Reynold ยิ่งสูงความปั่นป่วนยิ่งมากโดย


     Re = rvL/m


           r= ถพ อากาศ


         v= ความเร็ว


         L = ความยาวปีก (หน้า – หลัง)


           m = ความหนืดของอากาศ





เครื่องบินกระดาษพับโดยทั่วไปจะทนความปั่นป่วนได้ในช่วง 2,000 – 12,000[1] ในขณะที่เครื่องบินจริงๆจะบินอยู่ในช่วงความปั่นป่วนระหว่าง 400,000 – 10,000,000[4] (มันต่างกันหลายร้อยเท่าเลยทีเดียว)





เพราะเครื่องบินกระดาษไม่มีแรงขับในตัวเอง ระยะเวลาที่มันจะร่อนได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วต้น ซึ่งก็คือมันต้องออกแบบเครื่องบินกระดาษให้ทนต่อความปั่นป่วนจากความเร็วได้มาก หรือมีความปั่นป่วนน้อย และมี Drag Force ของอากาศที่จะพยุงเครื่องบินไว้ในอากาศได้นาน แต่ทั้งนี้ สำหรับเครื่องบินกระดาษของพวกเราๆท่านๆ เราคงสนใจแค่การที่มันจะบินจากฟากหนึ่งของห้องไปอีกฟากหนึ่ง หรือไปลงตรงหัวกบาลของเพื่อนร่วมงานในบูธถัดไปเสียมากกว่า สำหรับคนที่สนใจในการออกแบบเครื่องบินกระดาษเพื่อทำลายสถิติ ก็อาจจะสนใจที่จะลงไปอ่านในอ้างอิง [3] ซึ่งจะมีการคำนวณรูปทรง การทนทานต่อความเร็ว และความสูงที่จะขว้างไปได้ เพื่อที่จะหาระยะเวลาการบินที่น่านที่สุด





สถิติเครื่องบินกระดาษที่น่าสนใจ[5]





สถิติเครื่องบินกระดาษประเภทร่อนไกล











Stephen Krieger เป็นเจ้าของสถิติเครื่องบินกระดาษประเภทร่อนเร็วตาม Guinness Book ตั้งแต่ปี 2003 เครื่องร่อน Sorolach หรือ Leaping Flame ในภาษาอังกฤษ เป็นรูปแบบ Dart Plane 100% โดยส่วนปีก มีหน้าที่แค่ควบคุมทิศทาง ส่วนหัวของ Sorolach มีการทบของกระดาษถึง 48 ชั้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของส่วนหัว สามารถอ่านเรื่องราวของ Stephen Krieger ได้ที่ [7]





ดูวินาทีการทำสถิติ 













เครื่องบินพับประเภทร่อนนาน














สถิติเครื่องบินกระดาษประเภทร่อนนานที่สุดเคยเป็นของ Ken Blackburn ซึ่งคงสถิติไว้ที่ 27.6 วินาที และครองสถิตินานถึง 13 ปีตั้งแต่ปี 1996 (แต่ลงใน Guinness Book ในปี 1998) ที่ Georgia Dome เครื่องบินกระดาษของ Ken Blackburn เป็นการพับแบบปีกมีแรงยก ซึ่งเจ้าตัวเล่าในเวบไซต์ของเขาเองว่า มันเป็น Design พื้นฐานเครื่องบินกระดาษที่เขาคิดขึ้นได้สมัยอายุ 13 คุณสามารถอ่านเรื่องราวของ Ken Blackburn ได้ที่ อ้างอิง [3]





ดูวินาทีการทำสถิติ








คลิบวิธีการพับเครื่อง “Glider” ของ Ken Blackburn 






สำหรับสถิติโลกปัจจุบันเป็นของ Takuo Toda ประธานสมาคมกระดาษพับญี่ปุ่น สามารถเอาชนะเครื่องร่อนแบบปีกมีแรง Lift ได้ ที่เวลา 27.9 วินาที โดยเครื่องร่อน Sky king ของเขา เป็นเครื่องร่อนแบบ glider ไม่มีแรงยกช่วย แต่อาศัยแค่รูปทรงที่สามารถขว้างไปได้สูง กับแรงต้านของปีกค่อยๆพยุงลงพื้นเท่านั้น ความหวังสูงสุดของ Takuo Toda คือการได้ร่อนเครื่องบินกระดาษลงจากอวกาศ ซึ่งปัจจุบัน องค์การอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency) ประกาศให้เงินทุนถึง 617,000 ปอนด์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่อนเครื่องบินกระดาษจาก ISS ลงมายังพื้นโลก[6]











วินาทีการทำลายสถิติ











ขอให้ทุกท่านมีความสนุกสนานไปกับการพับกระดาษครับ





Reference














 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2554
1 comments
Last Update : 17 กรกฎาคม 2554 14:15:20 น.
Counter : 7979 Pageviews.

 

ขอบคุณครัฟ !!!!!

 

โดย: GoD-LikE IP: 180.183.245.55 23 ธันวาคม 2554 17:16:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darth Prin
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นี่คือกรุบทความของผม ซึ่งส่วนใหญ่ก็โพสไว้แล้วในหว้ากอ

ผมเชื่อ ในมุมมองที่ไม่เป็นกลาง ใครก็ตามเวลาพูดอะไรมันก็มีเอียงซ้ายเอียงขวากันทั้งนั้น สำคัญที่สุดคือการแสดงจุดยืนที่ไม่เป็นกลางออกมา ด้วยเหตุผลทั้งหมดว่าทำไมมันควรเอียงไปด้านนั้น
[Add Darth Prin's blog to your web]