กินเที่ยว สบายๆ สไตล์น้าอั๋น
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 

ความรู้เรื่องกฏหมายกับการปลูกสร้างบ้าน

การที่คุณจะลงมือสร้างบ้านขึ้นมาแต่ละหลังนั้น คุณรู้รึป่าวว่าคุณควรคำนึงถึงอะไรบ้าง วันนี้เราเลยนำกฎหมายเล็กๆน้อยๆมาบอกเล่าให้ฟัง และหวังว่าคงจะมีประโยชน์กันคนที่กำลังคิดจะสร้างบ้าน



วิธีการตรวจสอบที่ดินก่อนการซื้อ ก่อนการซื้อจะต้องตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจหลังโฉนด ชื่อเจ้าของ ติดจำนองหรือไม่
2. ทางเข้าออกถ้าติดทางสาธารณะไม่มีปัญหา แต่ถ้าติดที่ดินเอกชนเราได้รับภาระจำยอมหรือไม่
3. สำนักโยธาที่กทม.หรือฝ่ายโยธาที่เขต (ที่ดินของจังหวัดนั้น) ห้ามก่อสร้างประเภทอาคารอะไรบ้าง
4. การทางพิเศษอยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
5. กรมการบินพาณิชย์ อยู่ในเขตวิทยุสื่อสารการบิน หรือไม่
6. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือส่วนภูมิภาค อยู่ในแนว เดินสายไฟแรงสูงหรือไม่
7. กรมทางหลวง อยู่ในบริเวณโครงการตัดถนนหรือไม่

วิธีการขออนุญาตปลูก "บ้าน"
ก่อนอื่นต้องมีสถาปนิกและวิศวกรทำการออกแบบ และเขียนแบบให้ จากนั้นไปขอเอกสารการ ยื่นขออนุญาต จากทางเทศบาล แล้วนำมากรอกให้ครบถ้วน ประกอบด้วย
1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร ข.1)
2. แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
3. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือ


รับรองการจดทะเบียน จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาล ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายใน 45 วัน ต้องได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้าไม่อนุญาตจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขแล้ ก็ควรจะได้รับ อนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตารางเมตรละไม่เกิน 4 บาท


ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน
การก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตกับนายช่างโยธาในแต่ละท้องถิ่น ถ้า เป็นอาคารใหญ่ก็ต้องติดต่อที่จังหวัด ส่วนการรื้อถอนถ้าอาคารสูงเกิน 15 เมตร และห่างจากอาคารอื่นน้อยกว่า 2 เมตร ก็ต้องขออนุญาตรื้อถอนเช่นกัน แต่ถ้าทั้งหมดที่ว่านี้อยู่นอกเขตเทศบาลก็ไม่ต้องขออนุญาตใดๆทั้งสิ้น

วิธีการเริ่มต้นที่จะสร้าง "บ้าน"
ติดต่อกับบริษัทที่รับสร้างบ้านต่างๆดูผลงานของบริษัทจากสถานที่จริงเพื่อคุณภาพของงาน
ดูแบบที่มีให้ถูกใจ และถูกต้องกับความต้องการหรือติดต่อกับสมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อให้คำแนะนำ สถาปนิก หรือตระเวณดูบ้านที่คุณพอใจแล้วถามเจ้าของบ้านว่าสถาปนิกเป็นใครแล้วก็ติดต่อเอง
อัตราค่าออกแบบ "บ้าน"
อัตราค่าออกแบบเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งกำหนดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีหลาย ประเภทด้วยกัน แต่จะเน้นประเภทบ้านพักอาศัยกับการตกแต่งภายในเท่านั้นบ้านพักอาศัยถ้างบประมาณก่อสร้าง ไม่เกิน 10 ล้าน จะคิดค่าออกแบบ 7.5 % ของงบประมาณการตกแต่งภายใน ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้าน จะคิดค่าออกแบบ 10 % ของงบประมาณ ถ้างบประมาณมากกว่านี้ สัดส่วนของค่าออกแบบ ทั้ง 2 ชนิดจะลดลง

วิธีการแบ่งงานของสถาปนิกและมัณฑนากร
งานของสถาปนิกก็คือการออกแบบตัวบ้าน เพื่อครอบคลุมห้องต่างๆให้กลมกลืนและมีความงาม ต่อเนื่องกันพร้อมทั้งสามารถป้องกันแดด ฝน รวมถึงการรับลมตามธรรมชาติด้วย
งานของมัณฑนากรก็คือการออกแบบตกแต่งภายในรวมถึงรายละเอียดของผนัง พื้น ฝ้าเพดาน พร้อมทั้ง เฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยที่สถาปนิก ออกแบบไว้ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถาปนิกกับมัฑนากรจะต้องออกแบบไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างสูงสุด รวมถึงความงามที่ต่อเนื่องระหว่างภายใน และภายนอกบ้าน

จรรยาบรรณของสถาปนิก
จรรยาบรรณที่สำคัญๆ ที่ควรจะทราบมี ดังนี้
1. ต้องทำงานโดยซื่อสัตย์ ไม่ทิ้งงานหากไม่มีเหตุอันควร
2. ห้ามใช้แบบที่เคยออกแบบมาแล้วให้คนอื่น ยกเว้นเจ้าของเดิมจะอนุญาต
3. ไม่ตรวจงานสถาปนิกอื่น เว้นแต่จะแจ้งให้สถาปนิกนั้นทราบก่อน
4. ไม่หางานโดยลดหรือประกวดค่าแบบ
5. ไม่แย่งงานสถาปนิกอื่น
6. ห้ามกินค่าคอมมิชชั่น



**ถ้าสถาปนิกไม่ทำตามก็จะมีโทษจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพ




 

Create Date : 24 สิงหาคม 2552
3 comments
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 9:12:48 น.
Counter : 5470 Pageviews.

 

อยากทราบว่าในกรณี ที่แม่เสียชีวิตและบ้านยังผ่อนแบงค์อยู่ แต่จะเปลี่ยนชื่อคนค้ำจะได้ไหมค่ะ

 

โดย: tar IP: 61.90.65.8 22 พฤศจิกายน 2552 8:58:54 น.  

 

ขาเกล็ดแบบมือโยกหาซื้อได้ที่ไหนครับ
ขอบคุณครับ
จาก cherdvit@hotmail.com

 

โดย: บจก.สวีทโฮม คอนสตัคชั่น IP: 124.122.168.65 22 กุมภาพันธ์ 2553 14:59:10 น.  

 

เมื่อก่อนบ้านเป็นของการเคหะแห่งชาติ บ้านที่ซื้อมาก็ต่อเติมมาแล้วก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะโอนมาเป็นของเทศบาลนนทบุรี ตอนนี้บ้านยังติดอยู่กับธนาคารอยู่ และบ้านหลังที่ซื้อก็มีน้ำซึมเข้ามาเพราะว่าหลังบ้านทำท่อน้ำออกมาจากนอกตัวบ้าน พอเทศบาลเข้ามาตรวจสอบแจ้งว่าบ้านที่ซื้อมาไม่ถูกต้องต้องทำการรื้อถอน อย่างนี้ก็ไม่แฟร์นิค่ะเพราะว่าในหมู่บ้านก็ผิดแบบกันทุกหลังแล้วจะมาให้บ้านดิฉันทุบบ้านทิ้งทั้งๆ ที่ท่อน้ำนั้นซึมมาจากอีกบ้านหลังหนึ่ง และทางเทศบาลจะมาอ้างบอกว่าซื้อบ้านมาผิดแบบก็ถือว่าผิด อย่างนี้มันถูกต้องแล้วหรือค่ะ

 

โดย: พัชรี IP: 203.156.91.226 2 กรกฎาคม 2553 13:43:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


น้าอั๋น
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าอั๋น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.