บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
3 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด

การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด

มนุษย์สามารถใช้ภาษาแสดงออกทางความคิดของตนได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1.ใช้ภาษาแสดงเหตุผล
2.ใช้ภาษาแสดงทรรศนะ
3.ใช้ภาษาในการโต้แย้ง
4.ใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ

การใช้ภาษาแสดงเหตุผล
ความหมายของคำว่าเหตุผลเหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไปกฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง ที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุน ข้อสรุป เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลาง ๆ เป็นศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้นอาจเรียกว่า ข้อสังเกต, การคาดคะเน, คำวิงวอน, ข้อคิด, หรือการตัดสินใจ ก็ได้โครงสร้างของการแสดงเหตุผลและภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

1. โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย- ตัวเหตุผล หรือเรียกว่า ข้อสนับสนุน- ข้อสรุป

2. ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล มี 4 ลักษณะดังต่อไปนี้

2.1ใช้สันธานที่จำเป็นบางคำ มักเรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป โดยใช้สันธาน จึง เพราะ เพราะว่า เพราะฉะนั้น เพราะ……จึง หรืออาจเรียงข้อสรุปไว้ก่อนเหตุผล โดยใช้คำสันธาน เพราะ เพราะว่า ทั้งนี้เพราะว่า

2.2 ไม่ใช้สันธาน แต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผล หรือส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม ผู้ฟังก็จะรับสารได้ว่า ข้อความนั้นเป็นการแสดง เหตุผล อยู่ในตัว เช่น ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด ฉันได้รับการสั่งสอนจากคุณแม่ให้สู้เสมอ จะเห็นว่า วรรคแรก เป็นข้อสรุป วรรคที่สอง เป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อสรุป

2.3 ใช้กลุ่มคำเรียงกันบ่งชี้ว่า ตอนใดเป็นเหตุผล หรือข้อสรุป เมื่อต้องการชี้เหตุผลและข้อสรุป ให้ชัดแจ้งลงไป ก็ระบุไปว่า ข้อสรุป ข้อสรุปว่า เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ

2.4 ใช้เหตุผลหลาย ๆ ประกอบกันเข้า เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุปของตน โดยแยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นกระบวนการแสดงเหตุผลและการอนุมานการอนุมาน หมายถึงกระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่


การอนุมานมี 2 ประเภท คือ การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย และการอนุมานด้วยวิธีอุปนัย

การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวม ไปหาส่วนย่อยหรือการอนุมาน จากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง แล้วอนุมาน ได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง เช่นหลักความจริงทั่วไป - มนุษย์ทั้งปวงต้องการปัจจัยสี่กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง - ฉันเป็นมนุษย์กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง - เพราะฉะนั้นฉันต้องการปัจจัยสี่ หรืออาจจะใช้วิธีนิรนัยอย่างย่อเป็น ฉันเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น ฉันต้องการปัจจัยสี่ หรือนี้จะใช้ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นกรณีเฉพาะกี่กรณี ก็ได้ เป็นข้อสนับสนุน เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป

วิธีอุปนัยนี้อาจจะใช้แนวเทียบในการหาข้อสรุปก็ได้ข้อควรสังเกต ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ต้องเป็นเช่นนั้น ,ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย น่าจะเป็นเช่นนั้นความหมายของคำ เหตุ และ ผลเหตุ หรือ สาเหตุ หรือมูลเหตุ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมาผล หรือ ผลลัพธ์ คือ สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุการอนุมานโดยพิจารณา สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน การอนุมานด้วยวิธีนี้คือ การอนุมานแบบการอนุมานวิธีอุปนัย แบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานโดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจหาข้อสรุปว่าปรากฎการณ์นั้นทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร เช่น ขยันดูหนังสือ (สาเหตุ) -> อนุมาน -> สอบได้ (ผลลัพธ์)

2. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์ โดยอาศัยความรู้และเข้าใจของเรา เพื่อสืบหาสาเหตุ เช่น ผลการสอบ ไม่เป็นที่พอใจ -> อนุมาน -> ความไม่ประมาท ไม่เอาใจใส่

3. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์อย่างหนึ่ง ว่าเป็นผลลัพธ์ของสาเหตุใด แล้วพิจารณาต่อไปว่า สาเหตุนั้น อาจจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อื่นๆ อีก

ตัวอย่างอนุมานเช่น
ตกคณิต (ผลลัพธ์) -> อ่อนคณิต (สาเหตุ) -> ตกฟิสิกส์ (ผลลัพธ์)

การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลนี้ ช่วยให้รู้จักพิจารณาสังเกตและทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีระเบียบ

การใช้ภาษาแสดงทรรศนะทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผลโครงสร้างของการแสดงทรรศนะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1.ที่มา คือ ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่างๆที่ทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ

2.ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ รวมทั้งทรรศนะหรือมติของผู้อื่น ที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใส่ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน

3.ข้อสรุป คือ สารสำคัญที่สุดของทรรศนะ อาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย หรือ ประเมินค่าความแตกต่างระหว่างทรรศนะของบุคคลทรรศนะของคนในสังคม อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ
1. คุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ เชาว์ ปฏิภาณ ไหวพริบ ความถนัด เป็นต้น จะพัฒนาได้ เต็มที่ต้องอาศัยการส่งเสริม และสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม
2. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคลมีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ประสบการณ์ความเชื่อและค่านิยมดังนี้ความรู้ประสบการณ์ จะทำให้บุคคลแสดงทรรศนะได้แตกต่างกันไปความเชื่อ บุคคลแสดงทรรศนะต่างกันตามความเชื่อ ซึ่งได้จากการศึกษาอบรมทางครอบครัว และสิ่งแวดล้อม หรือวัยและประสบการณ์

ค่านิยม คือ ความรู้สึกที่มีอยู่ในจิตใจแต่ละคน เป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมและอิทธิพลต่อการแสดงทรรศนะของบุคคล

ประเภทของทรรศนะ

1. ทรรศนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง คือ ทรรศนะที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง การแสดงทรรศนะประเภทนี้ จึงเป็นเพียงการสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นกับข้อสนับสนุน

2. ทรรศนะเกี่ยวกับคุณค่า ค่านิยมเป็นทรรศนะที่ประเมินว่าสิ่งใดดีหรือด้อย เป็นประโยชน์หรือ โทษ

3. ทรรศนะเกี่ยวกับนโยบาย เป็นทรรศนะที่บ่งชี้ว่าควรทำอย่างไร อย่างไรต่อไปในอนาคต หรือ ควรแก้ไขปรับปรุงสิ่งใดไปในทางใด อย่างไร

การแสดงทรรศนะ เกี่ยวกับนโยบาย มักจะต้องเสนอข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนนโยบายและประเมินค่านโยบายที่เสนอนั้นด้วยวิธีใช้ภาษาในการแสดงทรรศนะ

ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะนั้น จะต้องใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ให้คำที่มีความหมายแจ่มชัด การเรียงลำดับ ความไม่สับสน วกวน และต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง กับระดับการสื่อสารลักษณะที่ควรสังเกตในการใช้คำหรือกลุ่มคำในการแสดงทรรศนะ

1. ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือคำนามที่ประกอบกับกริยาวลีที่ชี้ชัดว่า เป็นการแสดงทรรศนะ เช่น พวกเรามีความเห็นว่า ……… , ข้าพเจ้าเข้าใจว่า…………… , ผมขอสรุปว่า……………..

2. ใช้คำหรือวลีที่บ่งชี้ว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น คำว่า น่า คง คงจะ ควร พึง ตัวอย่าง เช่น รัฐบาลน่าจะทบทวน……. คณะนักเรียนคงเข้าใจผิดว่า……. , โรงเรียนควรจะต้องคำนึงถึง……..

การประเมินค่าทรรศนะ

1. ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์ ทรรศนะที่ดีควรก่อให้เกิดประโยชน์ และก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็คงสิ่งดีงามของสังคมไว้

2. ความสมเหตุสมผล ทรรศนะที่ดีจะต้องมีข้อสนับสนุน ที่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้ข้อสรุปน่าเชื่อ

3. ความเหมาะสมกับผู้รับสาระและกาลเทศะ ในการพิจารณา จะต้องพิจารณาด้วยว่าทรรศนะนั้น แสดงแก่ผู้ใดและในโอกาสใด เพื่อจะประเมินได้ว่า เหมาะสมหรือไม่การใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน แม่นตรงตามที่ต้องการ และเหมาะสม แก่ระดับการสื่อสารหรือไม่ เพียงใด

การโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการความต้องการพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติความเชื่อค่านิยม รวมทั้งกระทำพฤติกรรมอื่นๆ อีกนานัปการ เพื่อสนองความต้องการ ของตน เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกเร้าจนกระจักษ์ว่าถ้าตนได้ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางที่ถูกรบเร้านั้นแล้ว ตนก็จะได้รับสิ่ง ซึ่งสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน ตามความปรารถนา เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะที่ถูกโน้มน้าวใจได้

หลักสำคัญที่สุดของการโน้มน้าวใจคือการทำให้มนุษย์ประจักษ์แก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำ ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตนการแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ

1. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดาบุคคลที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่น ย่อมได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไป

2. การแสดงให้ประจักษ์ ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง

3. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วมบุคคลที่มีอารมณ์ร่วมทันย่อมคล้อยตามทันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความรู้สึกปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะสัมฤทธิ์ผล

4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสียผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ โดยชี้ให้ว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร

5. การสร้างความหรรษาแก่ผู้รับสารการเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลางๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้

6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช่เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสนอแนะได้ง่าย

น้ำเสียงของภาษาที่โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวลในน้ำเสียงการพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่างๆ

1. คำเชิญชวน เป็นการแนะให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กลวิธีคือ การชี้ให้เห็นผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภาคภูมิใจว่า ถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวน จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม

2. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ ลักษณะสำคัญของโฆษณาสินค้าคือ

2.1 จะมีส่วนนำที่สะดุดหูสะดุดตาซึ่งมีผลทำให้สะดุดใจสาธารณชน
2.2 ตัวสารจะไม่ใช่ถ้อยคำที่ยืดยาว มักเป็นรูปประโยคสั้นๆ หรือวลีสั้นๆ
2.3 เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงความดีของสินค้า
2.4 ผู้โฆษณาจะโน้มน้าวใจที่มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
2.5 เนื้อหาของการโฆษณา จะขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม
2.6 สารโฆษณาจะปรากฎทางสื่อต่างๆ ซ้ำๆ กัน

3. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยจงใจเจตนา ที่จะเปลี่ยนความเชื่อและการกระทำของบุคคล ให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ ด้วยวิธีต่างๆ โดยไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ของเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้โฆษณามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนความเชื่อและอุดมการณ์ของคน ให้นิยมเลื่อมใสในอุดมการณ์ฝ่ายตน และกระทำพฤติกรรมต่างๆ ตามที่ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อต้องการ

กลวิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ

1. การตราชื่อ เป็นการเบนความสนใจและผู้รับสารไปจากเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้รับสารควรพิจารณาหลักการและเนื้อหาต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน โดยไม่ใช้ความคิด หรือเหตุผลตรวจสอบ

2. การกล่าวสรุปรวมๆ ด้วยถ้อยคำหรูหรา ผู้โน้มน้าวใจมักจะใช้ถ้อยคำที่ผูกพันความคิด หลักการ บุคคล สถาบันและอุดมการณ์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เลื่อมใส ด้วยความคิด บุคคลและสถาบัน

3. การอ้างบุคคลหรือสถาบัน ผู้โฆษณาจะเน้นการใช้วิธีอ้างถึงสถาบันหรือบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดทัศนคติที่ดี หรือเกิดความนิยมชมชอบนโยบาย หลักการหรืออุดมการณ์ของตน

4. การทำเหมือนชาวบ้านธรรมดา ผู้โฆษณาจะเชื่อมโยงตนเองและหลักการหรือความคิดของตน ให้เข้าไปผูกพันกับชาวบ้านเพื่อแสดงตนว่า ตนเป็นพวกเดียวกับ ชนเหล่านั้น

5. การกล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ผู้โฆษณาจะเลือกนำแต่เฉพาะแง่ที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากล่าวโดยพยายามกลบเกลื่อนแง่อื่นที่เป็นโทษ

6. การอ้างคนส่วนใหญ่ ผู้โฆษณาชวนเชื่อพยายามชักจูงให้ผู้รับสารเกิดความตระหนักว่าคนส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้

การโน้มน้าวใจจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ก็ต่อเมื่อ ผู้โน้มน้าวใจมีเจตนาที่ลวง กลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับการได้รับรู้ความจริงและเหตุผลที่จะเป็นต้องรู้

ภาษากับเหตุผล

โครงสร้างของเหตุผล
1.เหตุ = สาเหตุ ข้อสนับสนุน เหตุผล
2. ผล = ผลลัพธ์ ข้อสรุปการวางโครงสร้างของเหตุผล

แบบ1 เหตุมาก่อนผล สังเกตจากคำเชื่อม "ดังนั้น ก็เลย จึง เพราะฉะนั้น"
แบบ2 ผลมาก่อนเหตุ สังเกตจากคำเชื่อม " เพราะ เนื่องจาก ด้วย"

เช่น วิธีการให้เหตุผล
1.นิรนัย = แบบที่ผลลัพธ์ "แน่นอน"SUREๆ มันจะเป็นเรื่องจริง หรือสัจธรรม-คนเราเกิดมาก็ต้องคาย
2.อุปนัย = แบบที่ผลลัพธ์ "ไม่เห็นจำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเลย"(ยังไม่แน่)-รุ่นพี่เราเอนติดกันเยอะมาก รุ่นเราคงจะเป็นอย่างนั้น

การอนุมานเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
1.แยกออกมาก่อนว่าส่วนใดเป็นเหตุ ส่วนใดเป็นผล
2.ดูต่อไปว่าส่วนที่เราแยก ส่วนใดเรารู้ ส่วนไหนเราคาด
3.คำตอบของการอนุมานจะเขียนจากสิ่งที่เรารู้ไปหาสิ่งที่เราคาด -เรารู้สาเหตุคาดผล เรียกว่า อนุมานจากสาเหตุ(รู้)ไปหาผลลัพธ์(คาด)เช่น-เขาน่าจะอ้วนขั้น เขากินเก่งทั้งวัน

เทคนิคการคิดเชิงวิเคราะห์

เทคนิคการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยเหลือผู้กำลังคิด ให้สามารถจำแนก, แยกแยะ, จัดหมวดหมู่, องค์ประกอบที่เกี่ยวพันในเนื้อหาของเรื่องที่กำลังคิดอย่างเป็นระบบ สามารถทำให้ผู้คิดมองเห็นความสัมพันธ์ได้อย่างสอดคล้องและกระจ่างชัด โดยไม่ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งง่ายต่อการนำไปศึกษาหรือพยายามทำความเข้าใจ ตลอดจนสามารถสืบค้นตรวจทานเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเหล่านั้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้คิดสามารถนำไปตีความ หรือให้คุณค่าในเนื้อหาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ

ทั้งนี้ มีนักวิชาการหลายท่านที่กล่าวถึงเทคนิคการคิดเชิงวิเคราะห์ไว้ ดังนี้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวโดยสรุปในการบรรยาย เรื่องการคิดเชิงวิเคราะห์ ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับกลางของกระทรวงมหาดไทย ไว้ตอนหนึ่งว่า "การคิดเชิงวิเคราะห์ ช่วยให้เราเข้าใจหลักการวิเคราะห์และนำไปใช้วิเคราะห์ทุกๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต สามารถอ่านสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้อย่างทะลุปรุโปร่งช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และสามารถนำหลักแนวคิดวิธีการไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรต่อไปในอนาคต"

นอกจากนี้ ดร.ไสว ฝักขาว (2547) ยังได้ให้ความหมายของ "การคิดเชิงวิเคราะห์" ไว้ว่า "การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น"

จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก ในการที่บุคคลใดจะเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดีหรือไม่นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ (ดร.ไสว ฝักขาว, 2547) คือ

1) ความสามารถในการตีความ ซึ่งหมายถึง ความพยายามที่จะทำความเข้าใจและให้เหตุผลแก่สิ่งที่เราต้องการจะวิเคราะห์เพื่อแปลความหมายสิ่งที่ไม่ปรากฏของสิ่งนั้น ซึ่งแต่ละคนอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน เช่น จากความรู้เดิม จากประสบการณ์ หรือจากข้อเขียนของคนอื่น

2) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ ผู้วิเคราะห์จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ดีพอเสียก่อนไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการใช้ความรู้สึกส่วนตน

3) ความช่างสังเกต ช่างสงสัยและช่างถาม คุณสมบัติข้อนี้จะช่วยให้ผู้วิเคราะห์ได้ข้อมูลมากเพียงพอก่อนที่จะวิเคราะห์

4) ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยเริ่มจากการแจกแจงข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพรวมเสียก่อนจากนั้นจึงคิดหาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหา ความจริง

นอกจากองค์ประกอบของการคิดเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวมาแล้ว การเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดียังต้องมีคุณสมบัติ (ดร.ไสว ฝักขาว, 2547) ดังนี้

1) เป็นผู้ที่รับข้อมูลแล้วไม่ด่วนสรุป ผู้คิดจะต้องตีความข้อมูลที่ได้ให้กระจ่างเสียก่อนโดยเริ่มจาก การกำหนดนิยามของสิ่งที่จะคิดให้ตรงกัน จากนั้นจึงตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยพิจารณาจาก สิ่งที่สื่อความหมายสัมพันธ์กัน สิ่งที่ละไว้ สิ่งที่ส่อนัย (Implication) และความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ในปัจจุบันคนในสังคมจำนวนไม่น้อยกำลังถูกหลอกให้หลงเชื่อสิ่งที่ไม่มีเหตุผลโดยการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้องแต่ดูเหมือนถูกต้องซึ่งในทางปรัชญาเรียกว่า "การใช้เหตุผลวิบัติ" (Fallacy)

2) เป็นผู้ไม่ด่วนแก้ปัญหาแต่มีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าปัญหาที่แท้จริง คืออะไรเสียก่อน อาจใช้เทคนิค Why-Why Analysis คือ การถามว่าทำไมไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 5 คำถาม

3) เป็นนักตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ที่ดี ซึ่งอาจเป็นคำถามในลักษณะต่อไปนี้

(1) คำถามแบบ "5Ws 1 H" คือ What (มันคืออะไร) Who (ใครเกี่ยวข้องบ้าง) Where (มันเกิดที่ไหน) When (มันเกิดเมื่อไร) Why (ทำไมจึงเกิดขึ้น และ How (มันเป็นอย่างไร)

(2) คำถามเชิงเงื่อนไข (Conditions) โดยถามในลักษณะ "ถ้า.......จะเกิด.........." (If................Then……

(3) คำถามเกี่ยวกับจำนวน (Number) หรือ ความถี่ (frequencies) เช่นเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นกี่ครั้งแล้ว หรือมีความถี่แค่ไหน

(4) คำถามเกี่ยวกับลำดับความสำคัญ (Priority) เช่น เราควรทำอะไรก่อน-หลัง

(5) คำถามเชิงเปรียบเทียบ (Comparative) เช่น สุขภาพกับความสุขอะไรสำคัญกว่ากัน


สำหรับเครื่องมือที่นักคิดเชิงวิเคราะห์นิยมใช้เพื่อช่วยในการคิด (ดร.ไสว ฝักขาว, 2547) ได้แก่

1) แผนผังแบบ Conceptual Map เช่น Concept Map, Web Diagram และ Mind Map

2) แผนภูมิแบบก้างปลา (Fishbone Diagram) ซึ่งนิยมใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบ

3) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal relation) ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งนิยมใช้สำหรับการคิดเชิงระบบ (System Thinking)

การอธิบายที่ดีมีลักษณะอย่างไร
1. ใช้ภาษาง่ายๆ กะทัดรัด
2. ให้ความหมายชัดเจน น่าสนใจและครอบคลุมความสำคัญ
3. บุคลิกภาพของผู้อธิบาย ต้องเป็นผู้ยิ้มแย้ม มีความเป็นกันเองกับผู้เรียน เป็นผู้มีความรู้ดี มีความเชื่อมั่นต่อสิ่งที่จะอธิบาย
4. วิทยากรต้องรู้ระดับของผู้ฟัง เพื่อจะได้ใช้คำอธิบายและภาษาได้เหมาะสม
5. การจัดลำดับเรื่องที่จะอธิบาย โดยวางโครงเรื่องที่จะอธิบายไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ตอนใดควรย้ำหรือเน้น หรือมีการสรุปเป็นช่วงๆ
6. การอธิบายต้องคำนึงถึงระดับเสียง

การเว้นระยะความเร็ววิธีการอธิบายและยกตัวอย่างประกอบวิธีการอธิบายและยกตัวอย่างประกอบนั้น เพื่อขยายสาระให้กระจ่างขึ้น อาจทำได้ 2 วิธีคือ
1. แบบนิรนัย (Deductive) หรือแบบกฎสู่ตัวอย่าง
2. แบบอุปนัย (Inducitive) หรือแบบตัวอย่างสู่กฎ

จาก thaigoodview.com


Create Date : 03 มิถุนายน 2554
Last Update : 3 มิถุนายน 2554 0:54:53 น. 1 comments
Counter : 14869 Pageviews.

 
รักนะ


โดย: กวาง IP: 61.19.67.129 วันที่: 15 กรกฎาคม 2554 เวลา:12:50:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.