บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
25 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

การปรับตัวของประเทศไทยกับการจัดระเบียบของโลก

การปรับตัวของประเทศไทยกับการจัดระเบียบของโลก


จาก //www.krudee.com/download/filesave/viteelok.doc



การปรับตัวของประเทศไทยต่อการจัดระเบียบใหม่ของโลก เป็นการศึกษาหาแนวทางที่จะนำประเทศไทยให้สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยน แปลงที่รวดเร็ว หันกลับไปใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยเพื่อสร้างความเข้มแข็งแบบพึ่ง พาตนเองมากกว่าที่จะตามกระแส โลกอย่างไม่ลืมหูลืมตา การพัฒนาประเทศต้องมุ่งพัฒนาที่คนโดยเฉพาะพัฒนาด้านจิตใจ ใช้สติปัญญา มีเหตุผล มีทักษะในการครองชีวิตอย่างมีคุณภาพพัฒนาองค์รวมมากกว่าการพัฒนาเฉพาะปัจเจก ชน เน้นสันติสุขบนพื้นฐานของความรักการเป็นผู้ให้ผู้เสียสละเพื่อส่วนรวมเพื่อ ประเทศชาติ

1. การปรับตัวด้านสังคมของประเทศไทยต่อการจัดระเบียบสังคมโลก



สภาพการเมือง เศรษฐกิจสังคมไทยในปัจจุบัน
กล่าวได้ว่า สภาพการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก และมีความเข้าใจในหัวข้อดังกล่าว มีความสำคัญอย่างมากต่อการวิเคราะห์แนวทางการปรับตัวในการที่จะอยู่ในกระแสโลกในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้เพราะจะเป็นรากฐานสำคัญในการจะเชื่อโยงกับการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกที่เป็นจริง และจะทำให้ทราบว่าสังคมไทยประเทศไทยควรจะพัฒนาและเดินทางไปในทิศทางใดจึงจะเหมาะสม ขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลเสียแก่สังคมไทย

การเมืองไทย
การเมืองไทยในปัจจุบันกล่าวได้ว่า มีเสถียรภาพพอสมควร รัฐบาลที่ปกครองประเทศ เข้ามาตามครรลองของระบบประชาธิปไตย แม้จะเกิดมาจากการเป็นรัฐบาลผสม (Coalition Government) ที่ไม่ได้แตกต่างไปจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ตาม ปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลในปัจจุบัน ปัญหาสำคัญที่สุดดูจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งในรายละเอียด ได้แก่ ความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วิกฤตการณ์ทางการเงินที่สืบเนื่องมาจากหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ (Non-Performing Loans) จำนวนมากในธนาคารและสถานการณ์ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์, 1998. 123-124)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสภาพทางการเมืองจะมีปัญหาทางเศรษฐกิจรุมเร้าที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองของรัฐบาลผสม แต่ปัจจัยที่ช่วยให้การเมืองมีเสถียรภาพในระดับหนึ่งก็คือ การที่ปัจจุบันการเมืองไทยมีหลักที่มั่นคง ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีที่มา (Origin) แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ทั้ง 15 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับอื่นที่มีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ เกิดจากการปฏิบัติหรือรัฐประหาร เพื่อล้มล้างอำนาจทางการเมืองการปกครองเดิม แล้วรัฐบาลปฏิวัติจึงจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เกิดขึ้นจากกระแสทางสังคมที่เรียกร้องให้มีการร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อปิดช่องทางให้นักการเมืองโกงกิน การเลือกตั้งสกปรก รัฐบาลบริหารงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ข้าราชการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีความหวังต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ว่าจะช่วยแก้ปัญหาในระบบการเมืองไทยให้ดีขึ้นอย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาของการเมืองไทยที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ รัฐบาลในปัจจุบันและอนาคตของไทยก็ยังจะคงเป็นรัฐบาลผสมเช่นเดิม ซึ่งโดยธรรมชาติรัฐบาลในลักษณะนี้จะยังคงไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง (Political instability) ในระดับสูง ผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ และระบบโควต้า (Quota) เท่านั้นที่จะประวิงเวลาความแตกแยกภายในรัฐบาล นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้เงินในการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง และการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองเมื่อตนเอง
มีอำนาจทางการเมือง

เศรษฐกิจไทย
กล่าวได้ว่าในปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยังคงมีปัญหาอย่างมาก แม้ว่ารัฐบาลไทยในช่วงที่ผ่านมาได้พยายามแก้ปัญหาตลอดมา สภาพเศรษฐกิจไทยตกต่ำอย่างมาก อันเกิดมาจากปัญหาในกลไกเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องในการวางแผนทางเศรษฐกิจ ความหย่อนยานในการดูแลและควบคุมการทำงานของสถาบันการเงินในประเทศ การใช้อำนาจทางการเมือง ของนักการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์ในทางทุจริตในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงปัญหาการซื้อขายเงินเพื่อเก็งกำไร ในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ล้วนทำให้เศรษฐกิจไทยประสบปัญหา และท้ายที่สุดรัฐบาลในช่วงนั้นจำต้องเปลี่ยนระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบตะกร้าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 มาเป็นระบบค่าเงินลอยตัวแทน และท้ายที่สุดประเทศไทยก็ต้องขอรับความช่วยเหลือจากการกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)โครงการกู้เงินของ IMF อยู่ภายใต้หลักการสำคัญ คือ การปรับระบบเศรษฐกิจหรือที่เรียกกันในภาษาทางเศรษฐศาสตร์ว่า Economic Adjustment กล่าวคือ ปรับให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนอย่างฉับพลัน และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สร้างเงินทุนสำรองของภาค รัฐบาลเพื่อค้ำประกันสถาบันการเงิน (อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์, 1998. 131) นอกจากปัญหาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำมากแล้ว การขยายตัวของอัตราการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศที่ยังไม่กระเตื้องขึ้น ที่รอการแก้ปัญหาในอนาคตต่อไปนี้

1.1 การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทย


(เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, 2542. 1 – 13) กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทยว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาของประเทศไทยมีการพลิกผันไปตามการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์พัฒนาในระดับโลกตามแนวทางที่ World Bank และ IMF เสนอแนะเป็นหลักจากปี 1980 ถึง 1990 ประเทศไทยประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องธุรกิจทางเพศและด้านยาเสพติด อาจจะถือได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์ของการส่งออกยาเสพติดไปสู่ตลาดโลก และได้กลายเป็นศูนย์การค้าโสเภณีในย่านเอเชีย

ปัจจุบัน (จากปี ค.ศ. 1995) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนโครงสร้างระบบอำนาจในระดับโลก เนื่องมาจากการเกิดขึ้นของศูนย์ตลาดโลกใหม่ คือ แปวิฟิกริม และเกิดกลุ่มพลังเศรษฐกิจและการเมืองใหม่ของโลกที่มีจีน ญี่ปุ่น ประเทศ NICS และเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งการพัฒนาการของสิ่งทีเรียกกันว่าโลกาภิวัฒน์ (Globalization) สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลโดยตรงต่อการปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ของยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย

สิ่งที่เรียกว่ายุทธศาสตร์โลกาภิวัฒน์ (ตามกระแสโลก) ได้เกิดขึ้นความเป็นเสรีทางการค้า การเงินและการสื่อสาร กลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของโลก ผลที่ปรากฏขึ้นของการตามกระแสคือ ประเทศไทยได้ก้าวสู่วิกฤติฟองสบู่ขนาดใหญ่ และตกลงสู่วิกฤติหนี้สินที่หนักหน่วง ประเทศไทยที่เคยคาดว่าจะกลายเป็นนิกส์ในอนาคตกลายเป็นประเทศที่ตกเป็นหนี้สินมหาศาล และยากยิ่งที่จะหาทางออกจากสภาวะวิกฤติได้ ทำนองเดียวกัน คือความจริงแล้วประเทศด้อยพัฒนาจำนวนหนึ่งได้พยายามที่จะหาทางออกเพราะประเทศเหล่านี้เผชิญวิกฤติที่รุนแรงมาก่อนประเทศไทยในระยะปี ค.ศ. 1950 – 1970 ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจทุนิยมโลกขยายตัวแต่กลับปรากฏว่าช่องว่างระหว่างประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวยและระหว่างคนรวยกับคนจนกลับขยายตัวขึ้น ตัวอย่างเช่นประเทศบราซิล เป็นต้น ซึ่งในช่วงปี 1970 คนยากจน 40 เปอร์เซ็นต์ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพียง 6.5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คนรวย 20 เปอร์เซ็นต์ได้รับส่วนแบ่งรายได้ 66.7 เปอร์เซ็นต์ ช่องว่างนี้นำสู่ความขัดแย้ง และสงครามระหว่างคนรวยกับคนจน วิกฤติทั้งทางการเมือง ทางสังคมกลับหนักหน่วงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาวิกฤติทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ก่อตัวขึ้น สิ่งเหล่า นี้ส่งผลโดยตรงทำให้แนวยุทธศาสตร์พัฒนาของประเทศโลกที่สามแปรเปลี่ยนไป

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 – 1990 แนวคิดเรื่องการพัฒนาการแบบยั่งยืนได้ถูกนำเสนอขึ้นโดยนักวิชาการหลายท่าน เช่น Robert Allen เสนองานเรื่อง How to save the world (1980). Mustafa Tolba เรื่อง Sustainable Development (1987). J. Coomer เรื่อง Quest for a Sustainable Society (1979). Michael Redclift เรื่อง Sustainable Development (1987) และ R.K. Turner เรื่อง Sustainable Environmental Management (1988) แนวคิดว่า การพัฒนาการแบบยั่งยืนประกอบด้วยแนวคิดที่สำคัญ 6 ประการ คือ
1. ต้องช่วยเหลือกลุ่มคนที่ยากจนที่สุด เพราะพวกเขาจะไม่มีทางออกอื่นใดหลงเหลืออยู่ นอกจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
2. เน้นพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง ภายใต้ความจำกัดทางสภาพทางธรรมชาติ
3. พัฒนาการจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงด้านสิ่งแวดล้อม
4. วางอยู่บนหลักการว่าด้วยการมีสุขภาพอนามัยที่ดี การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การมีอาหารที่เพียงพอแก่การบริโภค
5. วางอยู่บนหลักที่ว่าด้วยการส่งเสริมการริเริ่มของประชาชน
6. มนุษยชาติ คือ ศูนย์กลางและหัวใจของพัฒนาการ

ปัจจุบัน แม้แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้หันมาสนับสนุนแนวคิดที่ว่าด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากแนวโน้มสู่ความคิดเรื่องการพัฒนาการแบบยั่งยืนแล้ว ได้มีแนวโน้มที่จะปรับแผนพัฒนาการใหม่เน้นเรื่อง การพัฒนาคน พัฒนาทางด้านจิตใจ และรวมทั้งการมีส่วนรวมของประชาชน (เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณฐ์. 2542. 116 – 117) เสนอแนวทางพัฒนาสังคมแบบยั่งยืนออกเป็น 3 แนวทางดังนี้

แนวแรก คือ แนวยุทธศาสตร์พุทธศาสนา
กลุ่มนักคิดในแนวนี้ที่สำคัญก็คือ ท่านพุทธทาสมูลนิธิโกมล และ สำนักสันติอโศก แนวยุทธศาสตร์นี้ได้นำเอาหลักพุทธศาสนาเข้ามาปรับใช้ทั้งทางปรัชญา และนำหลักพุทธศาสนามานำเสนอเป็นเป้าหมายของการพัฒนาในทางปรัชญาจะเน้นที่ความสุขทางจิต ต้องพัฒนามนุษย์ทั้งด้านจิตใจและสติปัญญาความสุขของมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ที่รูปวัตถุภายนอก เน้นเรื่องความรักและการเป็นผู้ให้ในช่วงเวลาเดียวกันกระแสวิกฤตในโลกที่สามได้ผลักดันให้นักวิชาการที่ก้าวหน้าในประเทศเสนอแนวการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ในการพัฒนาใหม่ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากแนวทางของ World Bank ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนั้น
1. ต้องปลดปล่อยตัวเองออกจากการเป็นอาณานิคมทางวิชาการ และต้องตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมของตนเอง
2. ต้องตระหนักชัดว่า ลำพังทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และพัฒนาการที่เน้นพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็นการสร้างปัญญา และนำสู่ความพัฒนา การพัฒนาการต้องเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่คำนึงถึงปัญหาทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความยากจน ปัญหาประชาธิปไตย และปัญหาวัฒนธรรมเป็นสำคัญ
3. ต่อต้านแนวคิดเรื่องการค้าเสรี เงินเสรี และสื่อเสรี รวมทั้งการครอบโลกขององค์กลุ่มทุนเก็งกำไรไร้พรมแดน
4. ประเทศโลกที่สามต้องมีทฤษฎี และยุทธศาสตร์พัฒนาที่เป็นตัวของตัวเองเพราะที่ผ่านมาทฤษฎีและยุทธศาสตร์

การพัฒนาประเทศล้วนแล้วถูกเสนอโดย World Bank และ IMF ความล้มเหลวของการพัฒนาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ความผิดพลาดในการเดินตาม World Bank และ IMF อย่างชัดเจนปัจจุบัน ยุทธศาสตร์พัฒนาจึงแตกตัวเป็น 2 แนว คือ แนวโลกานุวัตร กับแนวยุทธศาสตร์แบบพัฒนาแบบยั่งยืน คำนึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของตัวเองบางคนเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า ยุทธศาสตร์ภาคประชาชนเพราะยุทธศาสตร์นี้จะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่ายุทธศาสตร์ โลกานุวัตร

แนวที่สอง คือ แนวยุทธศาสตร์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง
ยุทธศาสตร์นี้วางอยู่บนหลักคิดและปรัชญาแบบ Marxism ที่เน้นความเชื่อแบบวัตถุนิยม และหลักไดอะเล้กติก มีความเชื่อว่า โลกและสังคมมีกฏเกณฑ์การพัฒนาที่แน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาทางจิตใจของมนุษย์ ดังนั้น จะเข้าใจการวิวัฒน์ต้องเข้าถึงกฏวิวัฒนาการทางสังคมนี่คือที่มาของหลักวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแนวคิดนี้เสนอว่า ประวัติศาสตร์มีการวิวัฒน์อย่างเป็นขั้นตอนจากสังคมที่ไม่มีชนชั้น สู่สังคมที่มีชนชั้น และในที่สุดก็จะวิวัฒน์กลับสู่สังคมที่ไม่มีชนชั้นอีกครั้งหนึ่ง

แนวที่สาม คือ ยุทธศาสตร์วัฒนธรรมชุมชน
หลักแนวคิดพื้นฐานของยุทธศาสตร์วัฒนธรรมชุมชน ส่วนหนึ่งมาจากปรัชญาพุทธศาสนาที่ปฏิเสธพัฒนาการที่เน้นการพัฒนาในด้านวัตถุ (การขยายตัวของ GNP) ถือเอาความสุขสูงสุดของมนุษย์เป็นเป้าหมาย หรือที่เรียกว่า Human Centered Development อีกส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยเฉพาะวิธีการแก้ไขปัญหา แต่ต่างจากหลักเศรษฐศาสตร์การเมืองตรงที่ให้ความสำคัญต่อชนบทและด้านวัฒนธรรมค่อนข้างมาก(เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, 2542. 121 – 128)ได้เสนอยุทธศาสตร์ทางออกของประเทศไทย ดังนี้
1. รื้อทิ้งวัฒนธรรมไพร่ ส่งเสริมวัฒนธรรมการคิดริเริ่ม
2. ปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมใหม่ เน้นการคิด เน้นการปฏิเสธ และการสร้างจินตนาการ ไม่ใช่การจำ เน้นการศึกษาแบบรวมหมู่ ไม่ใช่ให้สอนเด็กให้เป็นปัจเจก เน้นการเชื่อมระหว่างการศึกษา กับการปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียว เชื่อมการเรียนรู้เข้ากับความจริงที่สังคมและวัฒนธรรม
3. ขยายฐานคิดสู่การเรียนรู้ วัฒนธรรมโลกที่หลากหลาย ลดอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกลดลง เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเน้นคุณค่าวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมเอเชีย
4. รื้อทิ้งการเข้าใจโลกแบบแยกส่วน เน้นการศึกษา และการเรียนรู้โลกแบบครบวงจรและแบบหลายมิติ
5. ประสานสื่อสาร และการศึกษา ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สื่อต้องแสดงบทบาทโดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาและสร้างวัฒนธรรม
การเรียนรู้ และการเรียนรู้แก่ประชาชนในสังคม
6. วางแนวการปฏิรูปการศึกษา และวัฒนธรรมไทย อย่างเป็นรูปธรรมขึ้น เพื่อตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่กำลังจะเกิด
ขึ้นในอนาคต
7. ต่อต้านวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งเสริมวัฒนธรรมพุทธที่เน้นเรื่องการประหยัด
8. ส่งเสริมวัฒนธรรมบริโภคก่อน ส่งเสริมวัฒนธรรมพุทธที่เน้นเรื่องการประหยัด
9. ต่อต้านกระแส Cultural Imperial Education หรือ Westernization ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อเยาวชนไทย ส่งเสริมการสร้าง World Cultures ที่วางอยู่บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
10. การสร้างศูนย์ประสาน Multi-Cultural Education ขึ้น โดยการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาระดับโลกใน 4 ด้านด้วยกัน คือ เครือข่ายสถาบันการศึกษาระบบโลก เครือข่ายการศึกษาเอเชีย เครือข่ายการศึกษายุโรป เครือข่ายการศึกษาอเมริกา เครือข่ายลาตินอเมริกา และเครือข่ายการศึกษาอัฟริกา เครือข่ายนี้เป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ และบุคลากร
11. สร้างสถาบันศึกษาระบบโลก เอเชียศึกษาและอนาคตศึกษาขึ้นในประเทศไทย

ประการที่สอง ประเทศไทยต้องเลิกยุทธศาสตร์พัฒนาแบบรวมศูนย์
ความมั่นคงและความเจริญ สู่คนจำนวนน้อย หยุดกรุงเทพฯ และกระจายงบประมาณสู่ชนบท นำสู่การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งใหม่ ในรูปแบบของเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ซึ่งวางอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมแบบชุมชน โดยเริ่มดำเนินการ
1. ส่งเสริม ระบบเกษตรกรรมแบบครบวงจรและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ของผู้ผลิต
2. ส่งเสริมให้ชาวนาชาวไร่ จัดตั้งธนาคารของตนเอง
3. มีนโยบายพิเศษเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตที่เชื่อมเกษตรกรรมเข้ากับอุตสาหกรรมเกษตรแบบครบวงจร
5. สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมตรงถึงผู้บริโภคโดยตรง
6. ดำเนินปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจัง

ประการที่สาม ประเทศไทยต้องไม่ส่งเสริมการปั่นหุ้น การเก็งกำไร
หันกลับมาส่งเสริมการลงทุนทำการผลิตจริง โดยมีวิธีการดังนี้
1. สกัดพัฒนาการสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ไม่ส่งเสริมการลงทุนด้านเงินเสรี และสื่อเสรีโดยใช้นโยบายด้านภาษี และด้านกฎหมาย จำกัดขอบเขตการปั่น และการเก็งกำไร
2. ออกกฎหมายสกัดกั้นการผูกขาดของต่างชาติ โดยเฉพาะกิจการบางด้านที่มีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์ เช่น การสื่อสาร การเงิน การธนาการ และกิจการที่เกี่ยวกับทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ
3. ส่งเสริมกิจการด้านสุขภาพอนามัย รวมทั้งการกีฬา
4. มุ่งค้นคว้าเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการรีไซเคิล รวมทั้งเทคโนโลยีชาวบ้านที่มีขนาดเล็กและเหมาะสมกับประเทศโลกที่สาม
5. จัดตั้งสถาบันค้นคว้า และศึกษาพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานจากดวงอาทิตย์
6. ส่งเสริมการค้นคว้า และพัฒนาเกษตรกรรมแบบผสมผสาน และแบบปลอดสารพิษประสานกับการค้นคว้าและศึกษาด้าน Bio-technology ขยายตลาดสินค้าเกษตรกรรมแบบปลอดสารพิษขึ้น
7. ส่งเสริมการด้าน Eco-tourism และ Cultural Tourism
8. ส่งเสริมการผลิตสินค้าวัฒนธรรม เช่น หนังสือ ข่าวสาร CD รายการโทรทัศน์ภาพยนตร์ เพลง รวมทั้งความชำนาญพิเศษ ที่ต้องอาศัยฐานทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าหัตถกรรมและงานฝีมือ
9. จุดตั้งสถาบันค้นคว้าศึกษาเรื่องโรคเอดส์โดยตรง
10. ต่อต้านการผลิตที่เน้นเรื่องปริมาณ แต่คุณภาพต่ำ ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง สวยงาม คงทน และใช้งานได้ในระยะยาว
11. ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
12. ประเทศไทยควรหันมาส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และความปลอดภัยของประชาชน

ประการที่หก ประเทศไทยควรจะวางแนวยุทธศาสตร์ การปฏิรูประบบการเมือง ระบบราชการ และระบบเศรษฐกิจ
1. การวางแนวทางปฏิรูประบบการเมืองบนพื้นฐาน การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
2. วางแนวทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการพัฒนาการที่ยั่งยืน และการกระจายความเจริญ และรายได้สู่ชนบท ขยายฐานะระบบสวัสดิการ รวมทั้งการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน

ประการที่เจ็ด รัฐบาลไทยควรจะต่อต้านการผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่ และส่งเสริมกิจกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อมของไทย
1. ต่อต้านการผูกขาดทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านข่าวสาร การตลาด และด้านการผลิต ส่งเสริมการกระจายทั้งด้านความรู้ เทคโนโลยี และข่าวสาร
2. ส่งเสริมการค้นคว้า และการศึกษาด้านเทคโนโลยีของคนไทย รวมทั้งส่งเสริมการผลิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตขนาดกลางและการผลิตขนาดเล็กที่มีครอบครัวและชุมชนเป็นพื้นฐานของการผลิต
3. ส่งเสริมและสร้างตลาดสำหรับสินค้าของชุมชนและสินค้าเกษตรกรรม
4. ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายอาหารไทยขึ้นทั่วโลก
5. สร้างและขยายเครือข่าย และเชื่อมเครือข่ายงานหัตถกรรมที่ใช้ฝีมือทั่วโลกเข้าด้วยกัน
6. ส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรม (โบราณ + สมัยใหม่)

ประการที่แปด รัฐบาลไทยควรวางยุทธศาสตร์สู่การเชื่อมโยงประสานความเป็นหนึ่งเดียวกันทางวัฒนธรรมของเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมโบราณของเอเชียให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1. เป็นศูนย์ประสาน Southeast Asia Cultures และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมประชาชนเพื่อเชื่อมประสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประชาชนประเทศต่าง ๆ ในย่านอเชีย
2. เป็นศูนย์ศึกษาด้านวัฒนธรรมโบราณและศาสนาของเอเชียและเป็นแหล่งเผยแพร่คุณค่าแห่งวัฒนธรรม
โบราณของเอเชียในรูปของข่าวสาร สารคดี หนัง ทีวี รวมทั้งInternet
3. ประสาน Eco – Tourismเข้ากับ World Tourism
4. ส่งเสริมการดำรงอยู่ของสถาบันครอบครัว และชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรมเอเชียโบราณ
5. ประเทศไทยควรเป็นศูนย์กลางประสานความเป็นหนึ่งเดียวของ Southeast Asia ทั้งในด้านวัฒนธรรมสารสนเทศ และด้านเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายอนาคตคือการสถาปนานาความเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในย่าน Southeast Asia ทั้งหมด
6. สร้าง Southeast Asia News และดำเนินการเชื่อระบบ Internet รวมทั้งระบบข่าวสารการกีฬาในย่านนี้เข้าด้วยกัน
7. ปฏิรูประบบการติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จัดทำกระบวนรถไปพิเศษปฏิรูปการเดินทางทางเรือเดินทะเล และเชื่อมจุดท่องเที่ยวทั้งหมดเข้าด้วยกัน
8. ประสานรอยร้าวทางการเมือง ทางลัทธิความเชื่อ และยุติสงครามในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้9. ประสานวัฒนธรรมโบราณของ Southeast Asia เข้าด้วยกันต่อปัญหาวิกฤติสิ่งสำคัญที่รัฐบาลไทยขาดก็คือ การไม่ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหาวิกฤติ และละเลยไม่ให้ความสำคัญต่อการสร้าง Defense Mechanism ที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ Defense Mechanism เก่าของประเทศไทยไม่ทำงาน เพราะระบบข้าราชการ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันเกิดการคอรัปชั่นสถาบันด้านการศึกษาและค้นคว้าวิกฤติในด้านต่าง ๆ ต้องมีการจัดตั้งขึ้นใหม่อย่างรีบด่วนนอกจากนี้ การปฏิรูประบบการป้องกันใหม่หมดโดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง และควรมีนโยบายต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงต่อปัญหาที่สำคัญอย่างน้อย 5 ประการ
1. การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย ผ่านการปฏิรูประบบการศึกษาและวัฒนธรรม รวมทั้งระบบสื่อสารโฆษณา
2. การสร้างสรรค์ ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
3. การอนุรักษ์ ทรัพยากร และการป้องกันรักษาป่า
4. การป้องกันการแพร่ขยายโรคเอดส์ และการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย
5. ป้องกันการลงทุนด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการที่ก่อปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
6. การป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายของวัฒนธรรมการพนัน วัฒนธรรมขยะที่มีเหล้า บุหรี่ ยาบ้า โสเภณี และยาเสพติดเป็นใจกลาง
7. การคุ้มครองผู้บริโภคและนายแพทย์ประเวศ วะสี, 2542. 25-31 อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมไทยว่า เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยม คนจนไม่มีความหมาย ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย ขาดสิทธิ ถูกกดศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนเพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ประเทศไทยจะต้องอยู่บนหลักการ

การพัฒนาด้วยความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนไทยทุกคนจากหลักการใหญ่ข้างต้น แตกออกเป็นแนวทางหลัก 5 ประการ ดังนี้
1. ผนึกคนไทยเพื่อพัฒนาบนเส้นทางแห่งการพึ่งตนเอง
2. เศรษฐกิจวัฒนธรรมนิยมแทนที่เศรษฐกิจทุนนิยม
3.เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจแท้เพื่อปวงชน
4.กระจายอำนาจให้ประชาชน และชุมชนท้องถิ่นกำหนดอนาคตของตนเอง
5.สัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศด้วยความเป็นไทยกและมีศักดิ์ศรี
ซึ่งขยายความดังต่อไปนี้

(1) ผนึกคนไทยเพื่อพัฒนาบนเส้นทางแห่งการพึ่งตนเอง ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง “พระมหาชนก” ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิต หลักข้อที่ 1 คือ หลักแห่งการพึ่งตนเอง เมื่อแรกแตกพ่อค้า 700 คน อ้อนวอนให้เทวดาช่วยพากันถึงแก่ความตายสิ้น แต่พระมหาชนกไม่อ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย คิดพึ่งตนเองด้วยความวิริยะอันแรงกล้า จึงรอดชีวิต การพึ่งตนเองทำให้แข็งแรง การพึ่งผู้อื่นทำให้อ่อนแอ ไม่แน่ว่าจะพึ่งได้จริง และไม่ปลอดภัยว่าผู้ที่เราคิดพึ่งจะไม่ทำร้ายเราเส้นทางการพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเส้นทางผิดจะพาเราไปที่อื่นไม่ใช่ไปที่ที่เราอยากไป เส้นทางพัฒนาควรจะเป็นเส้นทางของคนไทย โดยคนไทยและเพื่อคนไทย รัฐบาลกำลังส่งกระแสให้เข้าใจผิดว่า การที่เราจะพัฒนาได้อยู่ที่การพึ่งพิงเงินของต่างประเทศ เม็ดเงินังไม่สำคัญเท่ากับการทำให้คนไทยตกอยู่ในโมหภูมิอันเป็นบาปอย่างร้ายแรง เส้นทางที่ถูกคือ ผนึกคนไทยเข้ากันเพื่อร่วมเดินบนเส้นทางแห่งการพึ่งตนเอง เส้นทางนอกจากนี้ไม่ปลอดภัย

(2) เศรษฐกิจวัฒนธรรมนิยมแทนที่เศรษฐกิจทุนนิยม ขณะนี้มีความเข้ากันแพร่หลายกันทั่วว่าประเทศไทยไม่มีเงิน ทำอะไรไม่ได้ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้คือ กู้เงินเข้ามามาก ๆ การไม่มีเงินไม่ได้แปลว่าเราไม่มีอะไร เรายังมีคนไทยและทุนทางสังคม (Social Capital) อีกมาก เรามีแผ่นดินไทย มีต้นไม้ผลไม้เป็นพันชนิด มีสัตว์อีกหลากหลายรวมเรียกว่า เป็นความหลากหลายทางชีวภาพอันมีค่ายิ่ง เรามีคนไทยที่ทำอะไร ๆ เป็นมากมาย เช่น ทำขนมและทำอาหารไทยได้หลายร้อยชนิด มีฝีมือคัดพันธุ์ผลไม้เป็นยอด มีศิลปินเป็นหมื่นคน มีชุมชนที่มีผู้นำชุมชนจิตใจงามและความสามารถสูง เป็นปราชญ์ชาวบ้านเป็นหมื่นคน มีวัด มีพระ มีทหารหาญ มีพระพุทธศาสนา มีพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ เหล่านี้เป็นทุนทางสังคมอันอุดมของเราขอให้ทำวิจัยเพื่อทำแผนที่ทางสังคม (Social Mapping) ให้รู้ว่าเรามีทุนทางสังคมอะไรบ้าง ให้รู้ที่ทุกตารางนิ้วของประเทศ แล้วใช้ทุนทางสังคมนี้เป็นทุนในการพัฒนาตามแนวทางวัฒนธรรมนิยมแทนทุนนิยม จะเกิดการพัฒนาอย่างบูรณา ดังที่ได้บรรยายไว้ในตอนที่ 5

(3) เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจแท้เพื่อปวงชน เศรษฐกิจที่ผ่านมาเราทำอยู่ 3 อย่างใหญ่ ๆ คือ
1. ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน
2.ทำอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้แรงงานราคาถูก
3.กู้เงินจากต่างประเทศมาเก็งกำไร
ทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ทั้งหมดทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย โดยทำร้ายคนส่วนใหญ่ และทำลายฐานทรัพยากรทั้งหมดทำให้ไม่ยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจฉกฉวยและเศรษฐกิจเทียม ที่สร้างปัญหาใหสังคมไทยนานับประการควรจะใช้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบพอเพียง และเศรษฐกิจแท้เพื่อปวงชน เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเพื่อให้ทุกคนมีพออยู่พอกินเสียก่อน โดยไม่ขาดทุน ความพอเพียงทำให้แข็งแรง แล้วจึงพัฒนาขึ้นไปอย่างมั่นคงบนฐานที่แข็งแรง ไม่ผันผวนวิบัติอย่างที่ผ่านมา เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงจิตใจพอเพียง วิริยะพอเพียง ปัญญาพอเพียง วัฒนธรรมพอเพียง สิ่งแวดล้อมพอเพียง มีความเอื้ออาทรต่อกันพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงก็คือ เศรษฐกิจบูรณาการ เมื่อบูรณาการก็มีดุลยภาพ มีความเป็นปรกติและยั่งยืนเศรษฐกิจแท้ หมายถึง เศรษฐกิจที่ตรงข้ามกับเศรษฐกิจเทียม คือประกอบด้วยการผลิตจริง จะเป็นผลิตวัตถุ ผลิตบริการ หรือผลิตความรู้ก็ตาม ไม่ใช่ใช้เวลาและทุนกันไปในเรื่องเก็งกำไรที่ไม่มีการผลิตจริง ไม่สร้างสรรค์ ทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ กันก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อชีวิตของคนไทยอย่างรุนแรง เศรษฐกิจแท้ต้องเป็นไปเพื่อ “ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” จึงจะเป็นเศรษฐกิจเพื่อปวงชน เศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปเพื่อปวงชนไม่เป็นเศรษฐกิจบูรณาการ เศรษฐกิจของปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน จึงจะเป็นเศรษฐกิจบูรณาการ

(4) การกระจายอำนาจให้ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น กำหนดอนาคตของตนเอง ถ้าอำนาจในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาอยู่กับคนส่วนน้อยก็จะกำหนดทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนน้อย โดยทำร้ายคนส่วนใหญ่ และทำลายฐานทรัพยากรของประเทศอย่างที่แล้วมา ในการที่กำหนดทิศทางใหม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าใครกำหนด และกำหนดเพื่อใครต้องมีการกระจายอำนาจ และดึงอำนาจไปสู่ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นให้เป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้วางกรอบเรื่องนี้ไว้เป็นอันมาก แต่ต้องออกกฎหมายรัฐธรรมนูญอีกหลายสิบฉบับให้ถูกต้องเพื่อประยุกต์ใช้หลักการในรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้ถ้าปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองเท่านั้น ก็จะเป็นเรื่องของคนส่วนน้อย ซึ่งจะเข้าและไปผิดทางได้ง่าย ต้องรณรงค์สร้างการเมืองของพลเมือง หรือ การเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อดึงอำนาจไปเป็นอำนาจของสังคมจึงจะสามารถพัฒนาด้วยกระบวนทรรศน์บูรณาการได้

(5) มีสัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศด้วยความเป็นไทยและมีศักดิ์ศรี
ที่แล้วมาประเทศไทยสยบต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตะวันตก จนสูญสิ้นความเป็นไท และศักดิ์ศรี อาจจะเรียกว่าเป็นทาสทางปัญญาและวัฒนธรรม บัดนี้ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าภูมิปัญญาตะวันตกไม่สามารถพาโลกให้พ้นวิกฤตได้แล้ว กำลังจะหมดยุคภูมิปัญญาเก่า สังคมไทยควรจะสลัดความเป็นทาสทางปัญญาไปสู่ความเป็นไท สามารถร่วมกับชาวโลกในการแสวงหาภูมิปัญญาใหม่ในภูมิปัญญาใหม่นตั้นอย่างหนึ่งที่แนนอนจะต้องมีการเคารพและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย ไม่รวมศูนย์อำนาจทางการเงิน วัฒนธรรมและความรู้เหมือนในยุคที่กำลังจะผ่านพ้นไป สังคมไทยจะต้องค้นคว้าให้รู้จักตัวเองว่าเรามีความดีอะไรอยู่บ้าง ถ้าเป็นไทไม่มีปมด้อยและดูถูกศักดิ์ศรีของตัวเอง ก็จะพบความดีหลากอย่างในสังคม บางอย่างก็ทรงคุณค่ามากกว่าในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศที่เจริญแล้วด้วย ฉะนั้นเราควรจะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนานาประเทศด้วยความเป็นไทยและด้วยความมีศักดิ์ศรี และไม่ใช่โดยการหวังพึ่งต่างชาติลูกเดียว แต่ควรคิดว่าเรามีอะไรจะให้แก่ต่างชาติด้วยคนไทยมีวัฒนธรรมยืดหยุ่นประนีประนอม และมีความสามารถในการเจรจาไกล่เกลี่ย นี่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยเหนือประเทศอื่น ๆ ดังเห็นได้จากการที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันด้วยสันติในประเทศไทย การทีท่ประเทศเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก และการที่เรายุติความขัดแย้งเรื่องคอมมิวนิสต์ได้อย่างไม่มีใครเทียบ ในขณะที่โลกยังมีความขัดแย้งรุนแรงอยู่ทั่วไป แม้มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็เป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มประเทศอาหรับ/มุสลิมอย่างไม่มีทางจะปรองดองกันได้ ประเทศไทยควรจะเข้าไปมีบทบาทในเรื่องสันติภาพของโลก ควรมีการตั้งมูลนิธิสันติภาพนานาชาติแห่งประเทศไทย (Thailand International Peace Foundation) เพื่อให้คนไทยที่เก่ง ๆ ร่วมกับรัฐบุรุษนักการทูตของประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นเวทีที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อสันติภาพ นอจากนั้นคำว่า “สันติภาพมีขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งหมายรวมถึงการพัฒนาตามวิถีบูรณาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ด้วยในเอเชียนเกมส์ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เราได้เห็นสปิริตร่วมกันของประเทศในเอเชีย ตอนจบมีเพลง The Light of Asia หรือบูรพาประทีป อันกินใจ สปิริตแห่งเอเชียนี้น่าจะก่อให้เกิดความบันดาลใจที่จะคิดถึงการรวมตัวทางสังคมเศรษฐกิจของเอเชีย เป็น United Asia โดยที่เมื่อมองไปข้างหน้าก่อนที่จะเกิดโลกเดียวกัน หรือ One World น่าจะมีกลุ่มเศรษฐกิจ 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มอเมริกาเหนือ (United North America)
2. กลุ่มยุโรป (EURO หรือ United Europe)
3. กลุ่มเอเชีย (United Asia)
4. กลุ่มอิสลาม (United Islam)
5. กลุ่มอเมริกาใต้ (United South America)
6. กลุ่มอัฟริกา (United Africa)

เพื่อให้เกิดความสมดุลของอำนาจ เพื่อปูทางไปสู่ความเป็นโลกเดียวกัน กลุ่มเอเชียจะเป็นกลุ่มที่มีพลเมืองมากที่สุด และขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด โดยจีนมีพลเมือง 1,200 ล้านคน อินเดีย 1,000 ล้านคน มีญี่ปุ่นที่เข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศอาจเริ่มต้นโดยชวน จีน อินเดีย และญี่ปุ่น มาร่วมคิดด้วยกันก่อน แล้วจึงค่อยขยายประเทศอื่น ๆ ถึงไทยจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้โดยลำพังตนเอง เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อาจจะไม่สะดวกนักที่จะเข้ามาหากัน ไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเปิด และมีเสน่ห์ที่จะคิดการใหญ่ระหว่างประเทศ ประเทศเล็กแต่ถ้าจิตใหญ่ก็สามารถคิดเรื่องใหญ่ได้ คนไทยสามารถให้อะไรแก่โลกได้




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2552
1 comments
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2552 23:39:29 น.
Counter : 1762 Pageviews.

 

เป็นบทความที่มีประโยชน์ต่อการทำงานและการเรียนของดิฉันมากเลยค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ ที่แบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้สังคม

 

โดย: จเร คงเกตุ IP: 118.172.217.30 26 กุมภาพันธ์ 2552 10:51:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.