บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 มกราคม 2551
 
All Blogs
 

การติดต่อธุรกิจ...

บทที่ 1 การกล่าวทักทาย
(First Greeting)
การติดต่อธุรกิจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในการสนทนาทางโทรศัพท์หรือการเจรจาธุรกิจเท่านั้น กิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าสังคมในรูปแบบต่างๆตั้งแต่การพบปะทักทายไปจนถึงการรับประทานอาหาร การไปดูมหรสพ และการเล่นกีฬา ฯลฯ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการติดต่อธุรกิจ เพราะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการติดต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ความรู้เกี่ยวกับประโยคคำพูดที่ใช้ในการเข้าสังคมในแวดวงธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญเท่าๆกับประโยคคำพูดที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจดังที่ได้เสนอไปแล้ว
เมื่อเริ่มการเข้าสังคม สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติคือการกล่าวทักทาย ในกรณีที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรกและต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักกันมาก่อน เช่น ในงานเลี้ยงสังสรรค์ การกล่าวทักทายที่นิยมใช้กันแบ่งกว้างๆได้เป็น 2 ระดับ คือ แบบกึ่งทางการ และแบบไม่เป็นทางการ
แบบกึ่งทางการ
Good morning/afternoon/evening.
How do you do?
ซึ่งอาจจะตามด้วยประโยคแนะนำตนเองก่อนแล้วต่อด้วยประโยคใดประโยคหนึ่งดังต่อไปนี้
I’m (very) pleased/delighted to meet you.
It’s (very) nice to meet you.
แบบไม่เป็นทางการ
Hello.
Hi.
How are you?
และอาจต่อด้วยประโยคแนะนำตนเองและประโยคใดประโยคหนึ่งดังต่อไปนี้
Good/Nice/Glad to meet you.
Pleased to meet you.
Good/Nice to have you with us. (ในกรณีที่ผู้พูดเป็นเจ้าภาพ)
Good/Nice to be here. (ในกรณีที่ผู้พูดเป็นแขก)
สำหรับผู้ที่ถูกทักนั้นสามารถกล่าวตอบได้ 2 ระดับเช่นกัน คือ
แบบกึ่งทางการ
Good morning/afternoon/evening.
How do you do?
แล้วอาจตามด้วยประโยคใดประโยคหนึ่งต่อไปนี้
It’s (very) nice to meet you too.
I’m pleased/delighted to meet you too.
แบบไม่เป็นทางการ
Hello.
Hi.
แล้วอาจตามด้วยประโยคใดประโยคหนึ่งต่อไปนี้
Nice/Good to meet you too.
Pleased to meet you.
Good/Nice to have you with us. (ในกรณีที่ผู้พูดเป็นเจ้าภาพ)
สถานการณ์ตัวอย่างของการทักทายในการเข้าสังคม
A: Good evening. How do you do? It’s nice to meet you.
B: How do you do? I’m pleased to meet you too.
A: Good afternoon. I’m Chris Wood. How do you do? I’m pleased to meet you.
B: Good afternoon. How do you do? I’m delighted to meet you too.
A : How do you do?
B : Hi.
A : Hi. How are you?
B : Hi. How are you?

บทที่ 2 การแนะนำตนเอง
(Identifying Yourself)
ในขณะที่เรากล่าวทักทายกับบุคคลอื่นที่ไม่เคยรู้จักมักคุ้นมาก่อนแต่ได้มาพบกันในงานเลี้ยง งานสังสรรค์ การประชุม การสัมมนา ฯลฯ เราจำเป็นจะต้องบอกชื่อเสียงเรียงนามของเราให้ผู้อื่นทราบด้วย โดยอาจแทรกข้อมูลเหล่านี้ไว้ก่อนที่จะกล่าวทักทายหรือหลังจากที่กล่าวทักทายไปแล้วก็ได้ การพูดแนะนำตนเองมีหลายวิธี เช่น

(Hello,) I’m ... .
(Hello,) my name is ... .
(Hello,) let me introduce myself, I’m ... .
(Hello,) ชื่อและนามสกุล.
(Hello,) allow me to introduce myself, I’m ... .
ตัวอย่างการพูดแนะนำตนเองก่อนกล่าวทักทาย

A: Good morning. I’m Scott Carson. How do you do? It’s nice to meet you.
B: How do you do? I’m pleased to meet you, too.
A: Hello, my name is Julie Dow. Nice to meet you.
B: How do you do? I’m Roger Scott. Pleased to meet you.
การพูดแนะนำตนเองหลังการกล่าวทักทาย

A: How do you do? Let me introduce myself, I’m Jon Astin.
B: Pleased to meet you. Mine’s Susan Jacob.
+ A: Glad to meet you. My name is Richard Clarks.
B: Nice to meet you. Lora Smith.
ในกรณีที่เรารู้จักอีกฝ่ายหนึ่งโดยผ่านผู้อื่นแต่ผู้นั้นไม่รู้จักเราเป็นการส่วนตัว และเราประสงค์ที่จะพูดคุยกับเขา เราสามารถใช้คำพูดต่อไปนี้เริ่มการสนทนาก่อนที่จะกล่าวทักทาย

You must be Mr./Mrs./Ms. ...?
Are you Mr./Mrs./Ms. ...?
หากเขาตอบรับ เราจึงเริ่มกล่าวทักทายและแนะนำตนเองก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การสนทนาต่อไป เช่น

A: You must be Ms. Resnick?
B: Yes, that’s right.
A: Hello, my name is Jeff Eastbrook. I and your brother work in the same office. I’m pleased to meet you.
B: I’m pleased to meet you, too.

บทที่ 3 การทักทายเมื่อพบกันครั้งต่อไป
(Subsequent Greeting)



เมื่อเราทำความรู้จักกับผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว ในการพบปะกันครั้งต่อไปการกล่าวทักทายจะไม่ใช้คำพูดที่เหมือนกับที่ได้กล่าวในการพบกันครั้งแรกเพราะถือได้ว่าเคยรู้จักกันมาก่อนแล้ว การกล่าวทักทายในการพบกันครั้งต่อๆไปที่มักใช้กันพอแบ่งได้ดังนี้

การกล่าวทักทายกับผู้ที่เคยพบมาแล้วครั้งหนึ่ง

แบบกึ่งทางการ

(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) It’s (very) good/nice to meet you again. หรือ
(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) I’m (very) pleased to meet you again.
แล้วตามด้วย How are you?
แบบไม่เป็นทางการ

(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) Good to meet you again. หรือ
(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) Pleased to meet you again.
แล้วตามด้วย How are you?
การกล่าวทักทายกับผู้ที่เคยพบมาแล้วหลายครั้ง

แบบกึ่งทางการ

(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) It’s (very) good/nice to see you again. หรือ
(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) I’m (very) pleased to see you again.
แล้วตามด้วย How are you? หรือ
How have you been?
แบบไม่เป็นทางการ

(Hi, Mr./Mrs./Ms. ... .) Good/Nice to see you. หรือ
(Hi, Mr./Mrs./Ms. ... .) Great to see you.
แล้วตามด้วย How’s everything going?
How have you been?
How are things?
การกล่าวตอบ (ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูกทัก)

1) ใช้คำพูดของผู้กล่าวทักก่อนกล่าวตอบกลับไปโดยเติม ‘too’ ไว้ท้ายประโยค เช่น

(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) I’m pleased to see/meet you again, too. หรือ
(Hello, Mr./Mrs./Ms. ... .) It’s good/nice to see/meet you again, too.
2) ในกรณีที่ถูกถามด้วย How are you? และ How have you been? คำตอบที่สามารถใช้ได้ ได้แก่

I’m very well, thank you.
(I’m) fine, thanks.
Very well, thanks.*
Not too bad. หรือ So so.*
Not too good, I’m afraid.*
Absolutely awful/terrible.*
(คำพูดที่มี * ใช้ตอบคำถาม How’s everything with you? และ How are things? ได้ด้วย)

จากนั้นผู้ถูกถามควรถามไถ่กลับไปบ้างตามมารยาทด้วยคำถามต่อไปนี้

How about you?
And you?
(And) What about you?
ตัวอย่างบทสนทนาสำหรับการทักทายผู้ที่เราเคยพบมาแล้วเพียงครั้งหรือสองครั้ง

A : Hello, Miss Jones. It’s nice to see you again.
B : Hello, Mr. Jensen. I’m pleased to see you again, too.
ตัวอย่างบทสนทนาการทักทายสำหรับผู้ที่เราเคยพบมาก่อนมากกว่าสองหรือสามครั้ง

A : Hello, Mrs. Karlstein. It’s good to see you again.
B : Hello, Mrs. Shaw. I’m pleased to see you again, too. How are you?
A : I’m fine, thanks. What about you?
B : Not too bad.
A : Hello, Ms. Lawrence. It’s nice to see you again. How have you been?
B : Hi, Mr. Ellis. I’m very well, thank you. It’s good to see you too. How’s everything with you?
A : OK.


บทที่ 4 การทักทายประจำวัน
(Daily Greetings)
สำหรับผู้ที่ต้องพบปะกันบ่อยครั้ง เช่น เพื่อนร่วมงาน คนที่พบปะกันบ่อยเพราะมีสถานที่ทำงานอยู่ใกล้กัน ตลอดจนลูกค้าหรือผู้มาติดต่อธุรกิจซึ่งต้องพบเจอกันอยู่เป็นประจำนั้นถือได้ว่ามีความคุ้นเคยกันพอสมควร ดังนั้นการใช้คำพูดเพื่อกล่าวทักทายกันควรจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นกันเอง ความเป็นมิตร มากกว่าที่จะใช้คำพูดที่เป็นทางการและให้ความรู้สึกห่างเหินเป็นพิธีรีตอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คำทักทาย

(Good) Morning/Afternoon/Evening.
ในภาษาพูดเราอาจละคำว่า good ไว้ก็ได้ เปรียบเทียบได้กับคำ สวัสดี ในภาษาไทย ซึ่งหากทักทายกันสั้นๆจะเหลือเพียงแค่ (สวัส) ดีครับ/ค่ะ

Hello.
Hi.
แล้วตามด้วยประโยคทักทายทั่วไปประโยคใดประโยคหนึ่งต่อไปนี้

How are you?
How are you doing?
How are things?
How have things been?
Is everything OK?
Is everything all right?
ในกรณีที่สนิทสนมกันมากหน่อยอาจจะถามด้วยคำถามเรื่องส่วนตัวว่าเรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง เช่น

How was your holiday/vacation/trip/etc.?
How was the party/concert/etc. last night?
How did the meeting go?
Did the presentation turn out all right?
คำพูดที่ใช้ตอบประโยคทักทายทั่วๆไป ได้แก่

Very well, thanks.
Not too bad.
Fine, thank you.
All right.
หลังจากนั้นเราอาจถามกลับไปด้วยประโยคทักทายทั่วไปโดยมีการเติมแต่งเล็กน้อย เช่น

How have things been with you?
How about you/yourself?
Is everything going /OK./all right/ for you?
หรืออาจจะถามกลับด้วยคำถามเเรื่องส่วนตัวก็ได้

หากเราทักทายด้วยคำถามเรื่องส่วนตัว การตอบไม่จำเป็นต้องไปแจงสี่เบี้ยอย่างละเอียด เพราะคำถามพวกนี้เป็นการทักทายที่แสดงความสนิทสนมเท่านั้น คงตอบสั้นๆก็พอ เช่น

(Very) good.
(Very) interesting.
(Very) well.
OK.
Boring.
etc.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: Hi. How are things?
B: Very well, thanks. How about you?
A: Not too bad.
A: Hi. How are you?
B: Fine, thanks. How was your vacation?
A: Relaxing.
A : Hi. How was the party last night?
B : Boring.
A : Hi. How did the presentation go this morning?
B : All right, I guess.

บทที่ 5 บอกชื่อที่ต้องการให้ผู้อื่นเรียก
(Suggest Using First Names)
ในการกล่าวทักทายกันครั้งแรกของคนที่เพิ่งรู้จักกันมักถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องมีการบอกชื่อเสียงเรียงนามเต็มของตนให้คู่สนทนาได้ทราบไว้ เช่น

I am Christopher Russell.
My name is Jonathan Brooks.
Jennifer Jensen is my name.
แต่บางครั้งเจ้าตัวอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ชื่อเล่นมากกว่าหรือเพราะต้องการให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองมากกว่า หรือเพราะเป็นชื่อในภาษาอื่นซึ่งออกเสียงยาก เจ้าของชื่อจึงอาจบอกชื่อที่ต้องการจะให้คู่สนทนาเรียกตนในโอกาสต่อๆไปได้โดยใช้คำพูดดังนี้

Please call me Chris.
You can call me Jon.
Most people call me Jenny.
Call me Dave for short.
But I’m more used to Alex than Alexander.
It’s easier to call me Pete, instead of Peerapol.
เพื่อแสดงการเห็นด้วยอีกฝ่ายหนึ่งอาจตอบว่า

OK./All right.
I’ll do that.
แต่ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้บอกให้เราทราบว่าต้องการให้เราเรียกชื่อเขาอย่างไร เช่น ชื่อแคเทอรีนเรียกยาก อาจขอเรียกสั้นๆว่าแคที (ไม่ใช่คาที่) แทน เราอาจเป็นฝ่ายถามด้วยคำพูดต่อไปนี้

Can I call you Dave (for short)?
Will it be all right (for me) to call you Kathy (instead of Katherine)?
มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เล่ากันสนุกๆเกี่ยวกับการเรียกชื่อเล่น นั่นคือ การให้ฝรั่งเรียกชื่อเล่นไทยของตนมีข้อพึงระวังอยู่บ้างดังนี้

ไม่ควรใช้ชื่อที่มีอักษรควบกล้ำหรือชื่อที่มีอักษร ร เพราะฝรั่งจะออกเสียงได้ยาก ไหนๆจะให้เรียกชื่อเล่นทั้งทีแล้วควรใช้ชื่อเล่นที่เรียกได้คล่องปากหน่อย แต่หากเพื่อนชาวต่างชาติผู้นั้นเป็นชาวอินเดียก็แล้วไป
ควรหลีกเลี่ยงชื่อเล่นไทยที่บังเอิญไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายไม่ดีนักในภาษาอังกฤษ เช่น หากชื่อ “กนกพร” หรือชื่ออะไรก็ตามแต่ที่มี “พร” หรือ “ภรณ์” อยู่ด้วย ไม่ควรใช้ชื่อเล่นว่า “พร” เพราะคำนี้ออกเสียงเหมือน porn ซึ่งแปลว่า “ลามก” ในภาษาอังกฤษ หรือผู้ที่ชื่อ ครรชิต ชิดชนก หรือชื่อที่มี “ชิด” หรือ “ชิต” อยู่ ไม่ควรใช้ชื่อเล่นว่า “ชิด” เพราะเสียงนี้ไปพ้องกับ shit ที่แปลว่า “ขี้” (shit นี้ค่อนข้างจะไม่สุภาพ เทียบได้กับคำว่าขี้ ไม่ใช่อุจจาระ) ฝรั่งที่ไม่คุ้นกับชื่อไทยเลยอาจรู้สึกกระดากปากที่จะเรียกหรืออาจทำตาโตเมื่อได้ยินชื่อเหล่านี้ แต่หากคุ้นกับคนไทยอยู่บ้างแล้วก็คงไม่เท่าไรนัก
สถานการณ์ตัวอย่าง

A : My name is Katherine.
B : Will it be all right for me to call you Kathy?
A : Sure. I’m more used to Kathy than Katherine.
B : All right.
A : I am Warawut. You can call me Willy. It’s easier to pronounce.
B : OK. I’ll do that.

บทที่ 6 การแนะนำบุคคลที่สาม
(Introducing Third Parties)
ในการเข้าสังคมบางครั้งเราอาจจะไม่ได้ไปคนเดียว โดยอาจจะมีภรรยา สามี เพื่อน เพื่อนร่วมสำนักงาน หรือเพื่อนทางธุรกิจติดตามไปด้วย จึงเป็นการสมควรที่จะแนะนำบุคคลเหล่านี้ให้รู้จักกับผู้ที่เราพบปะในงานด้วย ไม่ใช่เอาแต่ยืนคุยและทิ้งผู้ที่เราพาไปด้วยให้ยืนเก้ๆกังๆอยู่คนเดียว หลังจากแนะนำชื่อของทั้งสองฝ่ายแล้ว ควรบอกข้อมูลทั่วไปของฝ่ายหนึ่งให้กับอีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบเพื่อเปิดช่องทางให้ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มพูดคุยกันโดยอาศัยข้อมูลที่เราให้ไว้ เช่น บริษัทที่ทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ สถานที่ทำงาน ฯลฯโดยใช้ประโยคต่อไปนี้

แบบค่อนข้างเป็นทางการ

1) ประโยคแนะนำ

Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล, let me introduce Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล.
Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล, I'd like to introduce Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล.
Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล, allow me to introduce Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล.
Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล, may I introduce Mr./Mrs./Ms. ชื่อสกุล.
จากนั้นตามด้วยข้อมูลเพิ่มเติม

2) ข้อมูลเพิ่มเติมของผู้ที่ถูกแนะนำ

He/She is our /marketing manager/sale supervisor/.
He/She is a colleague of mine from ชื่อประเทศ/ชื่อบริษัท.
แบบไม่เป็นทางการ

1) ประโยคแนะนำ

ชื่อแรก, I want you to meet ชื่อแรก.
ชื่อแรก, can I introduce ชื่อแรก.
ชื่อแรก, this is ชื่อแรก.
ชื่อแรก, meet ชื่อแรก.
แล้วตามด้วยข้อมูลเพิ่มเติม

2) ข้อมูลเพิ่มเติมของผู้ที่ถูกแนะนำ

He/She works for ชื่อบริษัท.
A friend of mine.
My wife/friend/etc.
He/She’s with ชื่อบริษัท.
สมมติว่าเราจะแนะนำ Andrew เพื่อนที่ไปกับเราให้รู้จักกับ Mrs. Brown ซึ่งเราไม่รู้จัก เราจะใช้ประโยคพูดที่ค่อนข้างเป็นทางการเมื่อพูดกับ Mrs. Brown และแบบไม่เป็นทางการเมื่อพูดกับ Andrew ตัวอย่างเช่น

เรา : Andy, I want you to meet Mrs. Brown. She is the company’s general manager. And Mrs. Brown, I’d like to introduce Andrew Morton, a friend of mine.
ในการแนะนำบุคคลที่สามพึงระลึกถึงกฎการแนะนำง่ายๆ คือ แนะนำผู้มีอาวุโสน้อยให้รู้จักกับผู้ที่มีอาวุโสกว่าก่อน และแนะนำสุภาพบุรุษให้รู้จักสุภาพสตรีก่อน แต่หากสุภาพสตรีมีอาวุโสน้อยกว่าหรือมีสถานภาพทางสังคม (เช่น ตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ) ด้อยกว่าสุภาพบุรุษก็ต้องแนะนำผู้น้อยให้รู้จักผู้ใหญ่ก่อน

ตัวอย่างการแนะนำอย่างค่อนข้างเป็นทางการ

A : Mrs. Brown, I’d like to introduce Mr. Levi. He is a colleague of mine from Watson & Friends.
A : Mr. Carson, may I introduce Mike Levi. He is a friend of mine from the high school.
A : Mr. Lawford, allow me to introdvce Jennifer Lange. She is a new Junior member of our firm.
ตัวอย่างการแนะนำอย่างไม่เป็นทางการ

A : Kathy, I want you to meet Kevin. A friend of mine from college.
A : Butch, this is Steve Ellis. He’s with Comtech.
A : Doug, meet Jeff. He works for our computer graphic department.
บทที่ 7 การเริ่มสนทนา
(Starting a Conversation)
หลังจากคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายได้ทำความรู้จักกันเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็สามารถเริ่มสนทนาได้โดยชวนอีกฝ่ายหนึ่งคุยในเรื่องทั่วๆไปที่ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่อ่อนไหว เช่น ศาสนา การเมือง ความเชื่อส่วนตัว ตัวอย่างของหัวเรื่องที่สามารถใช้เริ่มการสนทนาและคำถามสำหรับแต่ละเรื่องมีดังต่อไปนี้

1) ดินฟ้าอากาศ

What is the weather like in เมือง/ประเทศ?
What was the weather like when you left Boston?
What’s the weather been like in San Francisco?
How do you like today’s weather?
The weather’s been great today, don’t you think?
So, how was the weather in Tokyo?
Is the weather always like this?
Isn’t this weather terrible/wonderful?
2) การเดินทาง/เที่ยวบิน

How was your flight?
Did you have a good trip?
Where are you travelling to?
Where are you off to next?
Have you ever been to Taiwan?
Have you ever visited Paris?
3) การมาเยือน

Is this your first visit to เมือง/ประเทศ?
Have you been to เมือง/ประเทศ before?
How long have you been here?
When did you arrive?
How long are you staying?
How long are you going to be here?
How long are you planning to stay?
4) บ้านเกิดเมืองนอน

So, where do you live?
Which part of เมือง/ประเทศ are you from?
Whereabouts in เมือง/ประเทศ do you live?
Whereabouts is that?
Do you live in เมือง?
5) ครอบครัว

Are you married?
Is/Are your wife/children with you here?
Do you have any family?
How many children/kids do you have?
How old are they?
6) การงาน

What do you do?
What’s your job?
Who do you work for?
What do they do?
Where are you based?
And what exactly do you do?
How long have you been (working) there?
7) งานอดิเรก/กีฬา

So, what do you do in your spare time?
Are you interested in painting/football?
Do you play golf?
8) ที่พัก

Where are you staying?
Is it comfortable?
How is your hotel?
สถานการณ์ตัวอย่างในการเริ่มต้นการสนทนา

A : What is the weather like in Bangkok?
B : Oh, it’s hot and humid but it’s nice in December.
A : How was your flight?
B : It was a bit bumpy. Other than that it was all right.
A : When did you arrive?
B : I just came in last night.
A : So, where do you live?
B : I live in Los Angeles.
A : What do you do?
B : I’m an computer analyst.
A : So, what do you do in your spare time?
B : I like to read and play sports.
A : What kind of sport?
B : Tennis, basketball and bowling.
A : Where are you staying?
B : At the Hilton.

บทที่ 8 การเชื้อเชิญและการตอบรับ
(Inviting & Accepting)
เมื่อคู่สนทนาเริ่มพูดคุยกันและรู้จักกันมากขึ้น ความสนิทสนมคุ้นเคยก็จะเริ่มมีมากขึ้นซึ่งย่อมจะนำไปสู่ความต้องการที่จะรู้จักกันให้มากยิ่งขึ้นไปอีก การมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรับประทานอาหาร การเล่นกีฬา การไปดูมหรสพ ฯลฯ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้รู้จักกันดีขึ้น โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ริเริ่มเชื้อเชิญขึ้นก่อนด้วยคำพูดที่เป็นทางการ (สำหรับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกันมากนัก) เรื่อยลงไปจนถึงคำพูดเชื้อเชิญที่เป็นกันเอง (สำหรับผู้ที่สนิทสนม) ตามลำดับดังนี้

I was wondering if you would like to join us for a meal.
We were wondering if you would like to go for dinner tonight.
I/We would like to invite you for dinner tomorrow evening.
Would you like to go out for lunch?
Do you feel like playing golf tomorrow afternoon?
What/How about a game of tennis after work?
How about going to a concert next week?
Why don’t you join us for a drink?
Why not come for a quick lunch?
ในกรณีที่ตอบรับการเชิญจะต้องกล่าวขอบคุณฝ่ายที่เอ่ยปากเชิญก่อนด้วยคำพูดต่อไปนี้ ซึ่งเรียงจากคำขอบคุณที่เป็นทางการไปจนถึงคำขอบคุณแบบกันเองสำหรับบุคคลที่สนิทสนมกัน (ในกรณีที่สนิทสนมกันจริงๆอาจละคำกล่าวขอบคุณนี้ได้ในบางโอกาส เช่น เมื่อถูกชวนเล่นกีฬา เป็นต้น)

That’s very kind of you.
Thank you very much.
Thank you for inviting me.
Thank you.
Thanks.
หลังจากนั้นเราอาจจะกล่าวประโยคใดประโยคหนึ่งต่อไปนี้

That would be very nice.
I’d like that very much.
I’ll look forward to it/that.
I’d love to (come).
I’d be delighted to (come).
That’s a good/great idea.
What a good idea.
That sounds good/great/fun.
An excellent idea.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: I was wondering if you would like to join us for a meal.
B: That’s very kind of you. I’d like that very much.
A: How about a game of golf this weekend?
B: That sounds fun.
A: I’d like to invite you for lunch tomorrow if you are free.
B: Thanks. I’d love to.

บทที่ 9 การตอบปฏิเสธการเชิญ
(Declining an Invitation)
ในบางครั้งเราอาจจำเป็นต้องตอบปฏิเสธคำเชิญไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม และในคำตอบปฏิเสธนั้นควรจะประกอบด้วยคำพูด 3 ส่วนหลักๆ คือ การขอบคุณ การปฏิเสธ และเหตุผลที่ปฏิเสธ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ซึ่งเริ่มจากคำพูดที่ค่อนข้างเป็นทางการลงไปจนถึงคำพูดที่ค่อนข้างแสดงความเป็นกันเอง

การขอบคุณ

That’s very kind of you. ... .
Thank you for inviting me. ... .
Thank you very much. ... .
Thanks for the invitation. ... .
Thanks. ... .
การปฏิเสธ
That’s very kind of you but unfortunately ... .
I’d love to but ... .
But I’m afraid I can’t (come/etc.).
But unfortunately.
But I can’t.
But I can’t make it then.
Well, actually ... .
เหตุผลที่ปฏิเสธ
... I have another engagement then.
... I’ve already arranged something else.
... I’m very busy (then).
... I won’t be here (tomorrow).
... (Sorry, but) I can’t (come/etc.)
... I have something else going on then.
... I need an early night.
... I’ve got a meeting/ a flight to catch/etc. tomorrow morning.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: Would you like to go for a drink?
B: Thank you for inviting me. I’d love to, but I’m very busy at the moment.
A: Why not go out for lunch?
B: Thanks, but I can’t. I’ve already arranged something else.
หากเราเป็นฝ่ายเชิญและถูกปฏิเสธ สามารถถามต่อไปได้ว่า

How about tomorrow/next week/etc.?
ซึ่งหากยังถูกปฏิเสธอีก ประโยคที่จะใช้พูดแสดงความเสียดาย ได้แก่

What a pity.
That’s too bad.
Too bad.
แล้วอาจตามด้วย

Perhaps next time.
Maybe some other time.
Maybe another time.
หรือผู้ตอบปฏิเสธอาจเป็นฝ่ายกล่าวไปเองเลยว่าขอผัดไปเป็นวันหลังก็ได้ เช่น

A: How about a drink after work?
B: Thanks for the invitation, but I can’t. I need an early night. Maybe next time.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: Would you like to a football game tomorrow?
B: No, thanks. I have lots of work that need to be done by Sunday.
A: What a pity. Maybe another time.
A: Why not come out for a quick lunch with us?
B: I’m afraid I can’t, I still have a lot of work left and I have to finish all of them by 4 today.
A: That’s too bad. Perhaps some other time.

บทที่ 10 นัดแนะเตรียมการ
(Making Arrangements)
ในกรณีที่มีการตอบรับคำเชิญการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรับประทานอาหาร การเล่นกีฬา การดูมหรสพ ฯลฯ ย่อมเป็นหน้าที่ของฝ่ายเชิญที่จะนัดแนะหรือแจ้งฝ่ายถูกเชิญให้ทราบเกี่ยวกับสถานที่ เวลา ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆที่จำเป็น โดยใช้คำพูดต่อไปนี้

กิจกรรม

I thought we might go to ชื่อสถานที่ this evening.
I’ve booked/reserved a table for เวลา at ชื่อสถานที่.
I’ve got us tickets for a concert/football game this weekend.
I have tickets for a play at ชื่อสถานที่.
นัดเวลา

Shall I pick you up (at สถานที่) about เวลา?
I’ll pick you up about เวลา.
I’ll ask ... to pick you up about เวลา.
Shall I come to สถานที่ tomorrow morning, about เวลา?
I’ll come by and get you at เวลา?
นัดสถานที่

I’ll wait in/at สถานที่.
Shall I pick you up at สถานที่?
Where would you like to meet?
I’ll pick you up at สถานที่.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: I was wondering if you would like to go to a play tomorrow night?
B: That’s very kind of you. I’d like that very much.
A: I have two tickets for the Playhouse. I’ll pick you up at work about 17:30.

บทที่ 18 การแสดงความขอบคุณ
(Showing Appreciation)
เป็นเรื่องธรรมดาของการสังสรรค์โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจที่มักจะมีฝ่ายหนึ่งออกตัวเป็นเจ้าภาพต้อนรับเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง และหลังจากที่การสังสรรค์เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมารยาทธรรมเนียม แขกจะแสดงความขอบคุณต่อเจ้าภาพพร้อมทั้งกล่าวชื่นชมในไมตรีจิตที่ตนได้รับซึ่งมีคำพูดให้เลือกใช้ได้ดังนี้

คำกล่าวขอบคุณ

I’m very grateful. (สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับเป็นพิเศษ)
Thank you very much.
Thank you (very much) for คำนาม (เช่น your help).
Thank you (very much) for คำกริยาช่อง 1 + ing (เช่น helping me).
It was (very) kind of you to คำกริยาช่อง 1 (เช่น invite us).
I really appreciate your hospitality.
Thank you.
Thanks for คำกริยาช่อง 1 + ing * (เช่น coming by).
Thanks for คำนาม * (เช่น dinner).
Thanks ชื่อเจ้าภาพ * (เช่น Steve).
ประโยคที่มีเครื่องหมาย * ใช้พูดกับบุคคลที่สนิทสนมกัน
คำกล่าวชื่นชม

It’s been a very pleasant visit.
The meal was delicious/excellent.
I have enjoyed myself.
I have had a good/great time.
It was quite enjoyable.
I enjoyed the show/play/game very much.
It was great fun.*
It was very good.*
I enjoyed that.*
ประโยคที่มีเครื่องหมาย * ใช้พูดกับบุคคลที่สนิทสนมกัน

เมื่อแขกกล่าวขอบคุณและกล่าวชื่นชมเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะกล่าวตอบด้วยคำพูดต่อไปนี้

การกล่าวตอบคำขอบคุณ (จากเป็นทางการลงไปจนถึงไม่เป็นทางการ)

You’re (very) welcome.
Don’t mention it.
That’s (quite) all right.
(It is/was) my/our pleasure.
Not at all.
That’s OK.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: Thank you very much for showing me around. I really appreciate it. I’ve had a great time.
B: You’re welcome.
A: Thanks for dinner. It was very good.
B: My pleasure.
บทที่ 19 การยุติการสนทนา
(Ending Conversation)
ในบางสถานการณ์เราอาจเกิดความจำเป็นต้องยุติการสังสรรค์หรือการสนทนาลงด้วยสาเหตุต่างๆ อาทิ มีนัดกับผู้อื่น ต้องรีบไปทำกิจธุระสำคัญ ต้องเดินทางไกล ฯลฯ ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องมีคำอธิบายและคำพูดขอตัว เพื่อใช้สื่อให้ผู้ฟังทราบและไม่หลงเข้าใจผิดว่าอาการกระสับกระส่ายของเราหมายถึงไม่ต้องการสนทนากับเขา คำพูดที่แสดงให้เห็นว่าเราต้องการยุติการสนทนา ได้แก่

I really must be going/leaving.
I really should be getting back home/to work.
I think I really should be going.
I’ve got to be going now.
I must get back to work.
I’d better be moving/going/getting on my way.
I guess I ought to get back.
I hope you don’t mind, but I’ve got to go now.
I should be on my way.
หากเกรงว่าผู้ฟังอาจจะยังไม่เข้าใจก็สามารถเพิ่มเติมเหตุผลของการขอตัวก่อนได้ เช่น

It’s rather late, and I’ve got to get up early tomorrow.
I’ve got a lot to do this afternoon/tomorrow.
I have an appointment at เวลา.
It’s a long drive back.
It’s getting very late, and I’ve got an early morning meeting.
ในกรณีที่คู่สนทนาได้แจ้งให้เราทราบถึงความจำเป็นที่จะขอยุติการสนทนา เราอาจตอบกลับไปตามที่โอกาสและสถานการณ์จะอำนวยดังนี้

Thank you for coming.
It’s been (very) nice/interesting talking to you.
We’ll have to get together (again) sometime.
So I’ll see you again soon.
I’d better let you go.
I’d better not take up any more of your time.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: I really must be going. It’s rather late, and I’ve got an early morning meeting.
B: Thank you for coming. We’ll get together again some time.
A: I guess I ought to get back to the office. I’ve got a lot to do this afternoon.
B: I’d better let you go. So I’ll see you again soon, I hope.
บทที่ 20 การกล่าวอำลา
(Leave-taking)
เมื่อการพบปะสังสรรค์สิ้นสุดลงก็ถึงคราวที่จะต้องกล่าวลา ซึ่งพอจะแบ่งตามระดับของความคุ้นเคยได้ 2 ระดับ คือ การกล่าวลากับบุคคลที่ยังไม่มีความคุ้นเคยกันมากนักและการกล่าวลากับบุคคลที่คุ้นเคยกัน

คำกล่าวลากับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก

Goodbye.
Good night. (ใช้ลาเวลากลางคืน)
ซึ่งอาจจะพูดก่อนหรือหลังคำพูดต่อไปนี้แล้วแต่สถานการณ์

It’s been (very) nice meeting you. (ใช้เฉพาะในการพบกันครั้งแรก)
Thank you (very much) for ... .
I hope we’ll meet again (soon).
It was so nice meeting you.
I’ll see you in เวลาหรือสถานที่.
I hope you enjoy the rest of your trip/stay.
I hope you have a good flight back.
It’s been (really) nice seeing you again.
It was a pleasure meeting you. (ใช้เฉพาะในการพบกันครั้งแรก)
คำกล่าวลากับผู้ที่มีความคุ้นเคยสนิทสนม

Bye.
ซึ่งอาจจะพูดก่อนหรือหลังคำพูดต่อไปนี้แล้วแต่สถานการณ์หรืออาจละ bye ไว้ไม่พูดเลยก็ได้

I’ll be seeing you.
See you later/soon/tomorrow/etc.
Take care.
See you in a few days/next week/etc.
Have a good day/weekend.
Keep in touch.
See you around.
สถานการณ์ตัวอย่าง

A: Goodbye. It’s been nice meeting you.
B: I hope we’ll meet again. Goodbye.
A: See you later. Bye.
B: See you around.


ข้อมูลจาก : //www.nb2.go.th




 

Create Date : 04 มกราคม 2551
1 comments
Last Update : 15 พฤษภาคม 2551 0:13:51 น.
Counter : 7796 Pageviews.

 

ขอบคุณมากๆค่ะ มีประโยชน์มากๆเลย พอดีเจอบล๊อดนี้โดยบังเอิญค่ะ

 

โดย: หม้อแกงเมืองเพชร IP: 125.27.58.169 20 กรกฎาคม 2552 20:56:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.