บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

การตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์ - 5 - องค์ประกอบของรายการ และ โฆษณา

องค์ประกอบของรายการ และ โฆษณา


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)


รายการโทรทัศน์ และ โฆษณาที่เห็น เป็นสิ่งที่เราคุ้นๆตากันอยู่ เราสามารถแยกออกไปตามความรู้สึกของเราว่า ละคร, Talk Show, รายการให้ความรู้ หรือ การ์ตูน เป็นต้น แต่เพียงแค่นี้ยังไม่เพียงพอต่อการแยกแยะว่าแต่ละโปรแกรมมันมีความแตกต่าง กันอย่างไร ถึงแม้นจะเป็นโฆษณาก็ตาม แต่ละโฆษณา ก็จะมีความแตกต่างกันทางข้อมูลอย่างมาก มันจะมีข้อมูลแยกย่อยอะไรมากมาก ซึ่งทำให้ต้องมีการจัดกลุ่ม และ บ่งบอกถึงลักษณะอย่างนั้น เช่น

คุณลักษณะของโปรแกรม



คุณลักษณะที่มีทั่วไป



1. ชื่อโปรแกรม หรือ ชื่อรายการ ที่เราต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

2. ราคาต่อนาที หรือ ราคาต่อ 30 วินาที ในการขายโฆษณาในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นราคาตามอัตราค่าโฆษณา มีไว้สำหรับเปรียบเทียบ ราคาของโฆษณาที่ออกอากาศโฆษณาแตกต่างกัน เช่น 10,15,20,30,45 วินาที เป็นต้น ว่า ถ้าเทียบโฆษณาทั้งหมด เป็น 30 วินาที จะมีค่าโฆษณาต่อเรตติ้งเป็นเท่าไร ซึ่งผมจะคุยในเรื่องรายละเอียดต่อไปหากมีโอกาส

3. ประเภทของรายการ ซึ่งจะแบ่งแยกย่อยออกไป แต่โดยรวมแล้วก็จะแบ่งออกเป็น ข่าวหลัก, ข่าวย่อย, กีฬา, หนังซีรี่ย์ของประเทศต่างๆ, สารคดี, ศาสนา ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อสามารถ แยกได้ว่ารายการนั้นเป็นหนังประเภทอะไร และ สามารถเปรียบเทียบแต่ละประเภทในการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น

4. ผู้ผลิตรายการว่ามีผู้ผลิตรายการเป็นใคร เช่น JSL หรือ กันตนา เป็นต้น

5. ภาษาที่ใช้ออกอากาศ เช่น ไทย, อังกฤษ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า ข่าวช่อง 9 เริ่มที่จะมีข่าวภาษาอักกฤษ มากขึ้นแล้ว

ฯลฯ เป็นต้น


คุณลักษณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง



1. วันที่ออกอากาศ ซึ่งจะบอกถึง วันในสัปดาห์ วันที่ เดือน ปี
ในโปรแกรมจะสามารถแยกแยะได้ลงไปถึง วันในสัปดาห์ สัปดาห์ เดือน หรือแม้นแต่การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นปี ก็สามารถทำได้

2. เวลาที่ออกอากาศ ทั้งเวลาเริ่ม และ เวลาจบ เราจะได้ ความยาวของรายการจากการคำนวนด้วย และ เวลาเริ่มต้นของรายการนี้ยังสามารถแยกออกไปเป็น
2.1 เวลาที่คนส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ (Prime Time)
2.2 เวลาอื่นๆ (Non-Prime Time)
2.2.1 ช่วงเวลาข่าว
2.2.2 ช่วงเวลาเช้า (Early) ประมาณ 6-10 น.
2.2.3 ช่วงเวลาก่อนเข้าช่วง Prime Time ประมาณ 15-17 น.
2.2.4 ช่วงเวลาหลังจาก Prime Time ประมาณหลัง 23 น. ขึ้นไป
2.2.5 เวลากลางวัน
2.2.6 เวลาดึก ประมาณ ตี 2 ถึง 6 น.
ซึ่งการแบ่งเวลาลักษณะนี้ เรียกว่าช่วงของเวลา หรือ Day Part ซึ่งคนใช้โปรแกรมจะรู้ว่า เขาสามารถแบ่งช่วงเวลาได้เองเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ หรือ ค้นหารายการที่ต้องการ

3. ชื่อรายการเพิ่มเติม (Secondary Description) หมายถึง หากรายการนั้นต้องการบันทึกตอนที่ออกอากาศ บันทึกคนที่ถูกรับเชิญเข้ามา หรือ แม้นแต่ ชื่อจริงของภาพยนต์ เช่น Big Cinema จะเอาภาพยนต์เช่น Harry Plotter ตอนถ้วยอัคนี หรือ แม้นแต่ คู่แข่งขันอย่างเช่นฟุตบอลว่ามีใครเตะกับใครได้บ้างเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถจัดเก็บในชื่อรายการเพิ่มเติมเหล่านี้ได้ทั้งนั้น

4. สินค้าที่สนับสนุนรายการ ในวันที่ออกอากาศ วันนั้น ว่ามีใครสนับสนุนรายการ แต่ละสินค้าได้ออกหน้าจอกี่วินาที

5. ภาพและเสียง ซึ่งจัดเก็บไว้ทั้งหมด โดยสามารถนำเอามาเปรียบเทียบในแต่ละช่องได้เลยว่า ณ เวลาหนึ่ง แต่ละช่อง มีการออกอากาศเรื่องใด ภาพเป็นอย่างไรไปพร้อมๆกัน ซึ่ง โปรแกรม Arianna สามารถทำได้ในการวิเคราะห์ TeleGrid ซึงจะเห็นได้ทั้งภาพและเสียง รวมถึงเรตติ้ง และ จำนวนคนดู ในทุกๆช่องเพื่อใช้ในการวิเคราะห์โดยเฉพาะ

ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่ง ผมอาจจะไม่สามารถระบุได้หมด แต่ไม่ว่าลูกค้าต้องการเก็บข้อมูลลักษณะใด โปรแกรมก็สามารถจัดเก็บให้ได้ แต่ก็ต้องสัมพันธ์กันทั้ง โปรแกรมที่จัดเก็บ และ โปรแกรมที่ประมวลผล เช่น อุตสาหกรรมอาจจะอยากให้จัดเก็บ ตัวแทนโฆษณา หรือ แม้นแต่ ใครเป็นพิธีกรของรายการก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องดูว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดด้วย



ถ้าพูดถึงรายการแล้ว ก็ไม่สามารถข้าม เบรคที่โฆษณาได้ แม้นกระทั่งเบรคของการโฆษณา ก็ยังมีการจัดเก็บข้อมูลดังนี้

คุณลักษณะของเบรคโฆษณา



1. เบรคของรายการอะไร วันที่เท่าใด

2. เวลาเริ่มต้นของการโฆษณา และ เวลาสิ้นสุดของโฆษณา ซึ่งก็จะได้ ความยาวของแต่ละเบรคโฆษณาว่ายาวเท่าใด

3. เบรคที่ของรายการนั้น หมายถึง ลำดับของเบรคที่ออกโฆษณาของรายการนั้น

4. จำนวนโฆษณาในเบรค

ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาวิเคราะห์ในโปรแกรมได้ด้วย ซึ่งจะเห็นง่ายๆจาก การทำ Program Commercial Rating ที่ใช้ช่วงเวลาของเบรค ในการหาเรตติ้งเพื่อนำมาเป็นผลลัพธ์ให้ ซึ่งได้อธิบายไปแล้วจาก...

การตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์ - 1 - ทำไมต้องมี เรตติ้งโทรทัศน์




คุณลักษณะของโฆษณา



คุณลักษณะที่มีทั่วไป



1. สินค้าที่โฆษณา ว่าเป็นโฆษณาของสินค้าอะไร เช่น รถยนต์ฮอนด้า เป็นต้น

2. ชื่อ Campaign หรือ Copy ของโฆษณา เป็นการระบุย่อยของโฆษณาลงไปอีกว่า เน้นหรือ มีชื่อโฆษณาว่าอะไร เช่น ฮอนนด้าซิตี้ปี2000 เป็นต้น

3. เสียงที่ออกโฆษณา เป็นการเก็บเสียงว่าได้มีเสียงเริ่มต้นอย่างไร บางครั้งในหัวข้อเสียงก็จะกลายมาเป็นคำอธิบายของโฆษณาไปด้วยเช่นกัน

4. ภาพและเสียง ต้นแบบของโฆษณา เป็นการเก็บโฆษณาไว้ในลักษณะของไฟล์ภาพและเสียง เพื่อนำมาตรวจสอบกับข้อมูลโดยอัตโนมัติว่ามีการลงโฆษณาในแต่ละวันบ้างหรือ ไม่ หรือที่เรียกกันว่า ASR (Automatics Spot Recognition)

5. ความยาวของโฆษณา เพื่อใช้ในการคำนวนหาราคาค่าโฆษณา และ แบ่งประเภทของโฆษณาออกเป็นขนาดของโฆษณาว่ามีความยาวของโฆษณามากน้อยเพียงใด โดยเริ่มตั้งแต่ 5, 7.5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 60,... วินาที


6. ประเภทของสินค้าที่โฆษณา เป็นการแยกโฆษณาออกเป็นประเภทๆ โดยแบ่งเป็น

Section -> Category -> Brand <= BrandGroup

Section เป็นกลุ่มหลักของสินค้า เช่น รถยนต์
Category เป็นกล่อยย่อยของสินค้า เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
Brand อาจจะเป็น รถยนต์ ฮอนด้า CIVIC
Brand Group จะเป็นกลุ่มของสินค้า เช่น HONDA เป็นต้น

ป.ล. การเรียกชื่อแต่ละกันยึดตามระบบโฆษณาในประเทศไทยจริงๆ ณ ปัจจุบัน


7. สินค้าที่ร่วมโฆษณาใน Campaign นี้ ก็สามารถจัดเก็บได้ว่า มีสินค้าใดในโฆษณานี้บ้าง เช่น มีการร่วมกันโฆษณาฟุตบอลโลก ก็จะมีสินค้าหลากหลายชนิดที่เป็นผู้สนับสนุนและมี Logo ของสินค้าอยู่ในโฆษณาด้วยเป็นต้น

8. เจ้าของสินค้าว่า บริษัทฯใดเป็นเจ้าของสินค้า เพื่อที่จะวิเคราะห์ตามเจ้าของสินค้า ได้เช่นกัน Agency จะเห็นว่า เจ้าของสินค้ามีโฆษณาอะไรบ้าง หรือ โฆษณาตัวเดียวกัน เจ้าของสินค้าเองนำโฆษณาเหล่านั้นไปโฆษณาที่ใดเพิ่มบ้าง เป็นต้น

ฯลฯ เป็นต้น

คุณลักษณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง



1. วันที่ และ เวลาเริ่ม โฆษณา

2. ความยาวของโฆษณาที่ออกมา เพราะบางครั้งโฆษณาจริงอาจจะยาวกว่า หรือ สั้นกว่าปกติ

3. ความผิดพลาดของโฆษณา ว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ภาพหาย มีแต่เสียง, เสียงหาย มีแต่ภาพ, ภาพและเสียงหายบางส่วน เป็นต้น

4. ราคาค่าโฆษณาในการออกอากาศคราวนั้น

ฯลฯ เป็นต้น

จะเห็นว่า ข้อมูลต่างๆของทั้ง โปรแกรม, เบรคโฆษณา รวมไปถึง คุณลักษณะของโฆษณา ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ มี ลักษณะข้อมูลมากมายในแต่ละเรื่อง ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้ สามารถนำมาวิเคราะห์ในโปรแกรมได้ทั้งสิ้น

การวิเคราะห์ได้หลากหลาย ทาง และ หลากหลายรายงานที่ออกมา แต่ส่วนใหญ่ ก็จะยังคงยึดเอา ลักษณะพื้นฐานเหล่านี้ มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ ดังนั้น ถ้าจะเข้าใจการโฆษณา และ การตรวจวัดจริงๆ จึงต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะของสิ่งเหล่านี้ก่อนเพื่อที่เวลาวิเคราะห์ จะได้มองเห็น และ สามารถกำหนดสิ่งที่ต้องการจากโปรแกรมได้ตามที่ต้องการ




 

Create Date : 28 มีนาคม 2552
0 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2552 16:55:17 น.
Counter : 2437 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.