Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
รูปแบบการปฏิบัติการทางอากาศที่ ทอ. คาดว่าจะเกิดขึ้น

จากเอกสาร เรื่อง นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ.2550 ในหัวข้อ "การประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อม" กล่าวไว้ว่า

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการก่อการร้ายสากล ปัญหากระทบกระทั่งกันตามแนวชายแดนซึ่งเกิดจากเรื่องเล็ก ๆ แต่มีความไม่แน่นอนสูง และมีโอกาสที่จะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น การปราบปรามชนกลุ่มน้อย ปัญหาประมง ปัญหาเขตแดนบางแห่ง และการยึดหรือทำลายทรัพย์สินของไทยในต่างประเทศยังคงเป็นปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อความสมดุลในด้านการพัฒนาประเทศซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาในสังคมไทยที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ได้แก่ ปัญหาความยากจนและปัญหายาเสพติด เป็นต้น อีกทั้งผลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงเพิ่มสูงขึ้น

จากการประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อมข้างต้น สามารถพยากรณ์ได้ว่าโอกาสและความเป็นไปได้ที่รัฐจะใช้กำลังทางอากาศ เพื่อแก้ปัญหายังคงมีอยู่ทั้งด้านการรบและมิใช่การรบ โดยความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง การต่อต้านการก่อการร้ายจะเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดมากที่สุดดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ติดตามมาด้วยการใช้กำลังทางอากาศในภารกิจที่มิใช่การรบ การสู้รบยังคงมีโอกาสเกิดขึ้นในลักษณะจำกัดห้วงเวลาสั้น ๆ (ไม่เกิน ๑๐วัน) และจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน มีสิ่งบอกเหตุในระยะเวลากระชั้นชิด จึงทำให้มีเวลาเตรียมการน้อยหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้กำลังทางอากาศในอนาคตจะเป็นลักษณะที่มีสิ่งบอกเหตุในระยะเวลาอันสั้น และต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Short Notice/Rapid Reaction) การพิจารณาใช้กำลังทางอากาศจึงต้องเพิ่มความละเอียดรอบคอบมากขึ้น

เหตุการณ์ที่มีโอกาสใช้กำลังทางอากาศมากที่สุด มีดังนี้

๑. การใช้กำลังทางอากาศต่อต้านการก่อการร้าย ได้แก่ ภารกิจประเภท ISR (Intelligence Surveillance Reconnaissance) การลำเลียง การปฏิบัติการจิตวิทยา และการใช้อาวุธขนาดเบาเป็นต้น และจะเป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติประจำอย่างต่อเนื่อง

๒. การใช้กำลังทางอากาศในภารกิจที่มิใช่การรบ ได้แก่ การปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติเพื่อสนองโครงการตามพระราชดำริเพื่อพัฒนาประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสังคม การลำเลียง และการสนับสนุนประชาคมโลกตามนโยบายของรัฐบาล

๓. การปะทะขนาดย่อมตามแนวชายแดน หรือทะเลอาณาเขต โดยมีกำลังทางอากาศร่วมด้วย ในภารกิจ ISR, CAS (Close Air Support) และการลำเลียง เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดแล้วบ่อยครั้ง และยังมีโอกาสเกิดขึ้นต่อไป

๔. สงครามจำกัดเขตขนาดย่อยที่ฝ่ายเราใช้กำลังทางอากาศฝ่ายเดียว เช่น การรบบริเวณชายแดนบ้านร่มเกล้า ฝ่ายเราต้องเผชิญกับอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีสมรรถนะไม่สูงแต่มีปริมาณมาก เพราะเรายังไม่มีอาวุธ Stand Off ที่ใช้ได้ในระยะเกิน ๑๐ ไมล์จากเป้าหมาย

๕. สงครามจำกัดเขตขนาดย่อยที่ใช้กำลังทางอากาศทั้ง ๒ ฝ่าย กองทัพอากาศยังไม่มีประสบการณ์ แต่เป็น Worst Case Scenario ที่ต้องเตรียมการไว้



พิจารณาจากเหตุการณ์ที่มีโอกาสที่ ทอ. จะต้องใช้กำลังทางอากาศ เริ่มจากข้อ 1 ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในขณะนี้ นั่นคือ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาจหมายถึงในพื้นที่อื่นๆ ถ้ามีเหตุก่อการร้ายลุกลามออกไป อากาศยานที่อยู่ในข่ายที่ ทอ. จะนำมาใช้งานจะเป็น บ.ลำเลียง และ บ.ธุรการ/ตรวจการณ์ รวมทั้ง ฮ.ลำเลียง ด้วย เช่น C-130, G-222, BT-67 ในภารกิจลำเลียง, Nomad และ AU-23 ในภารกิจลำเลียงขนาดเบา ปฏิบัติการจิตวิทยา และตรวจการณ์ถ่ายภาพ และ AU-23 ในภารกิจยังสนับสนุนทางอากาศ และ ฮ. Bell-412, UH-1H ในภารกิจลำเลียง และอาจรวมถึงการแทรกซึม/รับกลับหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย (ถ้าจำเป็นต้องใช้)

ทอ. ขาดอะไรในการใช้กำลังในข้อนี้บ้าง 1) UAV สำหรับเฝ้าตรวจ ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ที่เพดานบินปานกลางถึงต่ำ บินได้นานระดับหลัก 10 ชม. ขึ้นไป มี data-link ส่งภาพและ VDO ได้แบบ real-time 2) อุปกรณ์ปฏิบัติการในเวลากลางคืนสำหรับ บ.ลำเลียง แบบต่างๆ เช่น FLIR, NVG 3) ฮ.ลำเลียงที่ปฏิบัติการได้ทุกสภาพอากาศ 4) กล้องถ่ายภาพแบบ digital พร้อม data-link ติดตั้งกับ บ.ตรวจการณ์ถ่ายภาพ


ในข้อ 2 ก็เป็นสิ่งที่ ทอ. ปฏิบัติอยู่แล้วเช่นกัน อากาศยานที่ใช้หลักๆ คือ บ.ลำเลียงแบบต่างๆ ทุกแบบที่ ทอ. มีอยู่ รวมทั้งการใช้ บ.อย่าง AlphaJet ในภารกิจทำฝนเทียมด้วย ข้อนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติการที่ไม่ใช่การรบ ปัญหาที่อาจพบน่าจะเป็นจำนวนอากาศยานลำเลียงที่ไม่เพียงพอ และอากาศยานที่มีอายุการใช้งานมาก


ในข้อ 3 อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เช่น บริเวณชายแดนไทย-พม่า เป็นต้น อากาศยานที่คาดว่า ทอ. จะนำมาใช้ประกอบด้วย บ.ลำเลียงทางยุทธวิธี, บ.ตรวจการณ์ถ่ายภาพ, บ.โจมตี, บ.ขับไล่โจมตี และ ฮ.กู้ภัย (เผื่อเอาไว้) เช่น C-130, G-222, BT-67, Nomad ในภารกิจลำเลียงทางยุทธวิธี AU-23, Nomad ในภารกิจตรวจการณ์ถ่ายภาพ L-39 และ AlphaJet ในภารกิจ CAS และ ฮ.UH-1H สำหรับกู้ภัย

ทอ. ขาดอะไรบ้าง ที่เหมือนกับการปฏิบัติการในข้อ 1 (ต่อต้านการก่อการร้าย) คือ 1) UAV 2) อุปกรณ์ FLIR, NVG สำหรับ บ.ลำเลียง 3) กล้องถ่ายภาพสำหรับ บ.ตรวจการณ์ สำหรับสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ 1) ฮ.กู้ภัยใหม่ทดแทน UH-1H 2) ขีดความสามารถในการใช้ อาวุธอากาศ-สู่-พื้นที่มีความแม่นยำสูง และอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการได้ทุกสภาพอากาศของ บ.โจมตี/ขับไล่โจมตี เช่น อุปกรณ์ FLIR, NVG เป็นต้น


การปฏิบัติการในข้อ 4 นั้น หลักสำคัญยังคงเน้นไปที่ภารกิจอากาศ-สู่-พื้น เช่น การสนับสนุนกำลังทางบกในภารกิจ CAS และ BAI, การขัดขวางทางอากาศ (AI) แต่จะมีการต่อต้านจากภาคพื้นด้วยอาวุธประเภทปืนทุกขนาดไล่ตั้งแต่อาวุธประจำกายไปจนถึง ปตอ. แต่จะเป็น ปตอ. ที่ไม่มีระบบควบคุมการยิงซับซ้อนหรือไม่มีเลย และจากอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศประทับบ่ายิง หรือบนแท่นยิงทั้งแบบตั้งพื้นและติดตั้งกับยานพาหนะ แต่มีระยะยิงใกล้ และนำวิถีด้วยอินฟราเรดเป็นหลัก อากาศยานที่จะต้องนำมาใช้งานจะครอบคลุมทั้ง บ.ขับไล่ทางยุทธวิธี (F-16 และ F-5), บ.ขับไล่โจมตี (L-39), บ.โจมตี (AlphaJet), บ.ลาดตระเวน (Learjet และ Arava), บ.ลำเลียงทางยุทธวิธี (C-130, G-222, BT-67, Nomad), ฮ.กู้ภัยในพื้นที่การรบ และ ฮ.ลำเลียง (UH-1H และ Bell-412)

สิ่งที่ ทอ. ขาดนั้น นอกจากเหมือนกับข้อข้างบนทั้งหมดแล้ว ทอ.ยังต้องการ 1) อาวุธอากาศ-สู่-พื้น แบบต่างๆ ที่มีคุณลักษณะเหล่านี้ คือ stand-off range (ระยะยิงเกินกว่า 10 ไมล์ จากความสูง 10,000 ฟุต ขึ้นไป), all-weather (ใช้งานได้ทุกสภาพอากาศและเวลา), precision (มีความแม่นยำสูง), fire-and-forget (ยิงแล้วลืม) และ penetration (มีหัวรบที่มีอำนาจทะลุทะลวง) สำหรับใช้งานต่อเป้าหมายไม่เคลื่อนที่ (fixed target) 2) อุปกรณ์ลาดตระเวนทำงานด้วยระบบ digital และมี data-link เช่น กล้อง LOROP และอุปกรณ์ SIGINT 3) บ.ลาดตระเวนติดตั้งเรดาร์เฝ้าตรวจภาคพื้นดินที่มี mode SAR และ GMTI 4) กระเปาะตรวจจับและชี้เป้าสำหรับ บ.ขับไล่ ที่ปฏิบัติการที่เพดานบินปานกลาง และมี data-link 5) กระเปาะลาดตระเวนทางอากาศ ติดตั้งกับ บ.ขับไล่ พร้อม data-link 6) ฮ.กู้ภัยในพื้นที่การรบ (CSAR) ขนาดกลาง 7) อุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากการถูกยิงด้วยอาวุธนำวิถีแบบอินฟราเรด สำหรับ บ. และ ฮ.ลำเลียง


สำหรับในข้อ 5 ซึ่งเป็น worst case scenario นั้น จะมีสิ่งที่เพิ่มเติมมาจากข้อ 4 คือ การปฏิบัติการจะต้องมีรบแบบอากาศ-สู่-อากาศ ด้วย ในภารกิจตอบโต้ทางอากาศทั้งเชิงรุกและเชิงรับ (OCA และ DCA) เช่น การครองอากาศในพื้นที่การรบ, การลาดตระเวนรบทางอากาศ (CAP) หรือการบินสกัดกั้น ส่วนการรบอากาศ-สู่-พื้น อาจต้องทำการโจมตีสนามบิน รวมทั้งการกดดัน/ทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึกด้วย อากาศยานที่จะใช้งานจะเหมือนในข้อ 4 แต่ที่เพิ่มเติมมาจะเป็นส่วนของ บ.ขับไล่สกัดกั้น/ครองอากาศ (F-16 และ F-5)

สิ่งที่ ทอ. ยังขาดอยู่ นั่นคือ 1) จำนวน บ.ขับไล่ ที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธ BVR พร้อมระบบ data-link, IFF และเรดาร์ที่ทันสมัย 2) อาวุธนำวิถี WVR ประเภท HOBS และหมวก HMD 3) บ. AWACS 4) ระบบป้องกันตัวเองจากการถูกยิงด้วยอาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์ของ บ.ขับไล่ 5) อุปกรณ์สงครามอิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ 6) อาวุธประเภท anti-radiation และ runway destruction/denial 7) บ. tanker

รวมทั้งในข้อ 5 นี้ จะมีส่วนที่ไม่ใช่การปฏิบัติการทางอากาศด้วย ที่สำคัญ คือ การป้องกันภัยทางอากาศต่อสนามบินที่อยู่ใกล้พื้นที่การรบ ซึ่งอาจถูกโจมตีได้


Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 17:47:38 น. 7 comments
Counter : 2579 Pageviews.

 
เจิม ๆ ๆ ๆ ๆ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 5 มีนาคม 2551 เวลา:22:34:50 น.  

 


โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 21 เมษายน 2551 เวลา:21:47:54 น.  

 
สงสัยในเรื่อง Worst Case Scenario ครับ

ทำไม ทอ. ถึงคิดว่าสงครามจำกัดเขตขนาดย่อยถึงเป็น Worst Case Scenario
ไม่คิดว่าสงครามเต็มรูปแบบ (ไม่ใช่ขนาดย่อย) ถึงเป็น Worst Case Scenario หละครับ


โดย: ped cad IP: 69.205.47.202 วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:5:03:57 น.  

 
กองทัพขาดอุปกรณ์ เยอะนะ งบน้อย แต่ถ้ามีโอกาสเจียดงบ เริ่มขอความร่วมมือทางเทคโน ซื้อลิขสิทธ์ มาทำดู ผมเองคิดเองว่า หยั้งยืนกว่า การที่เรารับรู้เทคโนขั้นสูง ของใครต่อใคร และเรา ยืนรอเงินซื้อเขาเนี่ย มันทุกทรมาณ แสนสาหัสเหมือนกันหนอ....
ส่วนตัวผมคิดเองแบบ โง่ๆนะครับ ถ้าเป็นไปได้ผมขอร่วมวิจัยกับสถาบันในไทยที่เล็งเห็น การวิจัยอาวุธ เพื่อป้องกันประเทศ และทำร่วมกัน ถึงมีงบจำกัดแต่ผมคิดว่า ผมอายที่จะยืนรอขอตังค์ใครในทุกครั้ง ผมและทุกคนอยากโต แต่ไม่อยากขอเงินจนไม่โต...
ต้องขออภัย ในการคิดนอกกรอบครั้งนี้ แต่ในส่วนลึกๆ ผมไม่อยากดูถูกคนไทยด้วยกันว่า สมองของเราไม่สามารถ สู้ประเทศเล็กๆอย่าง เอล และโปร์ ได้เลย มันเกิดอะไรขึ้นหนอกับประเทศของข้าพเจ้า
ยินดีกับคุณ รินส์ด้วยครับ ผมมาเยี่ยม....


โดย: tik IP: 125.25.24.104 วันที่: 12 สิงหาคม 2551 เวลา:18:52:32 น.  

 
สุดท้าย ก็ยังให้ความสำคัญ ของ CSAR น้อยมากกกก
เพราะนักบิน ยังหลงระเริงกับการฝึกที่ไม่มีการสูญเสีย


โดย: PJ IP: 119.42.64.189 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:29:45 น.  

 
บทความนี้ ลงตอนปี ๕๑ ตอนนี้ ปี ๕๓ แล้ว
ผมเพิ่งมาเปิดเจอ.....ครับ....
สรุปประเด็นที่นำเสนอ...คือ.. การใช้กำลังทางอากาศในภารกิจที่มิใช่การรบจะมีมากกว่าและการรบจะอยู่ในวงแคบๆๆๆ..คือเน้นการป้องกันตนเองและสนับสนุนเหล่าทัพอื่นในการป้องกันประเทศ ตอนนี้ปี ๕๓ แล้วแต่ผมก็ยังเห็นด้วย ครับ....ว่า การปฏิบัตการที่มิใช่สงครามมีมาก จริง.....
.......ผมขอเสนอแนะครับ....
กองทัพอากาศเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ เปรียบเทียบกับกระทรวงอื่นๆ กองทัพเป็นเพียงแค่ กรมกรมหนึ่งในกระทรวง กองทัพอากาศทำหน้าที่บริการด้านความมั่นคง ลูกค้า คือ ประชาชนทุกระดับ ทำอย่างไรก็ได้ให้ประชารับรู้ว่าท่านแสดงออกว่าต้องการช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ รู้สึกว่ามั่นคง ในหน้าที่ที่ท่านรับผิดชอบ (เพราะเงินที่ใช้ในการบริหารกองทัพคือ ภาษีของประชาชน) ภารกิจที่ต้องทำเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ ช่วยเหลือประชาชนให้มั่นคง จากภัยธรรมชาติต่าง ๆ จากการก่อการร้ายในสามจังหวัด และอากาศยานแลเทคโนโลยีที่ควรจัดหาต้องสนับสนุนภารกิจเร่งด่วนนี้ ผมขอเสนอ ควรจัดหา C-130 อีกครับ และจัดหา บ.ลำเลียงขนาดกลาง ฮ.ลำเลียง ฮ.ที่ทันสมัย ฮ.ติดอาวุธ ส่วนอาวุธ ควรเป็นอาวุธยิงได้จากระยะไกล ๆ ที่พื้น และจัดหาอุปกรณ์ที่มีเทคโนโยลีที่เหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจเร่งด่วนก่อน ส่วนภาพการรบขนาดใหญ่ที่มองแบบ อเมริการให้เลิกได้แล้วไม่มีทางเกิดขึ้นในประเทศไทย
เรารบครั้งสุดท้าย คือ สงครามเก้าทัพเมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว กำลังทางอากาศทั้งหมดของประเทศไทยทีมีอยู่ก็มีมากเพียงพอสำหรับภารกิจรบอยู่แล้ว
( ท่านต้องเข้าใจว่าท่านควรทำอะไร เพราะกำลังทางอากาศมีทุกเหล่าทัพและทุกเหล่าทัพกำลังสะสมเพื่อใช้งานในแต่ละเหล่าทัพ ท่านทำไม่ถูกทาง ท่านกำลังจะตกงาน )


โดย: เอก.....รักชาติ IP: 118.173.42.167 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:29:10 น.  

 
ไอ้เพราะมีคนอย่างพวกคุณอยู่มากประเทศชาติเลยได้แต่ตามหลังเค้าอยู่ไง พูดอย่างเดียว ไม่เคยคิดจะทำอะไรซักอย่าง โดนใครก็ไม่รู้หลอกให้ตีกันเอง อาวุธเค้ามีไว้ถ่วงดุลอำนาจ ตอนที่ได้ใช้ก็ไม่มีให้ใช้


โดย: ขอพูด IP: 58.11.150.39 วันที่: 29 ตุลาคม 2556 เวลา:16:47:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Warfighter
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




พบกันได้ที่ http://www.thaifighterclub.org ครับ และ pantip.com ห้องหว้ากอ (นานๆ โผล่ไปซักทีนะครับ)
Friends' blogs
[Add Warfighter's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.