บทเพลงสรรเสริญและนมัสการในยุคปัจจุบัน


 บทเพลงสรรเสริญและนมัสการในยุคปัจจุบัน




Smiley ประวัติความเป็นมาของเพลง Smiley







Ambrosian Chant เพลงในโบสถ์ยุคกลาง
นักบุญอัมโบรส



Gregorian chant, Plainsong, Plain chant สามคำนี้เหมือนกัน
คือเพลงสวดเกรกอเรียน เพลงสวดแนวเดียว (
Monophony)ของโบสถ์โรมันคาทอลิคเป็นทำนองเพลงที่พบในคริสต์ศตวรรษที่
11-13 ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะเกิดตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษทีทำนองเพลงสวดเหล่านี้กลายเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในดนตรียุคกลาง เป็นทำนองที่มีช่วงเอื้อน
(
Melismatic) และมีการขยับขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบๆเกรกอเรียน เป็นหน่วยย่อย(subset) ของ แชนต์อีกทีหนึ่งใน Glove
Dictionary of Music
อธิบายไว้ดังนี้







1.การร้องเพลงสวด โดยไม่มีดนตรีประกอบ โดยร้องเป็นโน้ตเดียวกัน
และมีเพียงแนวดนตรีแนวเดียว




 2.อาจหมายถึงเพลงสวดทั่วไปที่เป็นภาษาละตินซึ่งยังแบ่งออกเป็น Five
Major Western Christian Liturgies (พิธีสวดในศาสนาคริสต์ของประเทศตะวันตกห้าประเภทใหญ่,ตะวันตกในที่นี้คือยุโรปตะวันตก
ในปัจจุบัน) แต่ก็มักหมายถึงเพลงสวดหนึ่งในห้าที่มีอิทธิพลเป็นตัวหลัก ในภาษาโรมัน
ฝรั่งเศส คือ
Gregorian Chant นั่นเอง





 3.สไตล์ของเพลงในศาสนาคริสต์ที่ใช้ accomp ด้วยบาสซูนและออแกน
และเป็นที่นิยมใช้ในนิกายโรมันคาทอลิคของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษ 17-19 



ในช่วงแรก ศาสนาคริสต์ไม่เป็นที่ยอมรับเลยของคนยิวคนโรมัน
คนกรีกเกิดการต่อต้านพวกคริสต์คือพวกนอกกฎหมาย   ต่อมาเมื่อคริสต์เป็นที่ยอมรับ (ในทางศาสนศาสตร์ถือว่าคริสต์มิใช่ศาสนา
แต่เป็นความเชื่อที่มีต่อพระเยซูคริสต์ผู้แปล) คริสตศาสนิกชน หรือที่เราเรียกว่าคริสเตียน
คริสตัง   ซึ่งก็คือคำๆเดียวกัน แต่ใช้ในคนละบริบท สามารถร้องเพลงได้ก็ทำให้เกิดเพลงสวดขึ้น
ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่นั้นๆ โดยศูนย์กลางมีสามเมืองสำคัญ คือ





 1.กรุงเยรูซาเล็ม (อิสราเอล ในปัจจุบัน)





 2.เมืองอันติโอเกีย (Antioch ใกล้กับ ตุรกีในปัจจุบัน)
และโรม (อิตาลีในปัจจุบัน)





 3⁞.กรุงคอนแสตนติโนเปิล (ตรุกีในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็น เมืองหลวงฝั่งตะวันออกของโรม)





ในช่วงแรกยังไม่มีการบันทึกโน้ตจนเริ่มมีหนังสือการบันทึกในช่วงคริสต์ศตวรรษ
9-11 ฝั่งทางตะวันออกคือ
Greeek
rite of Constantinople
หรือที่เรียกว่า Byzantine Chant ซึ่งใช้องค์ประกอบทางดนตรีจากชาวอันติโอเกียและชาวปาเลสไตน์และได้รับอิทธิพลจากโรมันด้วย



นอกจากนี้ยังมีเพลงย่อยๆ อีกเช่น Syrian church music, Coptic church music ในขณะที่ฝั่งตะวันตกก็จะมีGregorian Chant ซึ่งใช้คนละระบบการบันทึกกัน ต่อมาเมื่อการบันทึกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เพลงสวดที่ยังคงอยู่มีสามแบบ คือ Gregorian chant (ปัจจุบัน ยังใช้ในวัดคาทอลิคอยู่), Old Roman chant, และ Ambrosian chant และยังมีการผสมผสานวัตถุดิบต่างๆ เรียกว่า Mozaraibic chant ต่อมาถูกอิทธิพลของอาหรับเข้ามา จึงเริ่มเสื่อมลง และยังมีเพลงสวดอีกแบบที่ได้สูญหายไปแล้วคือ Celtic chant






Smiley 10 อันดับเพลงนมัสการยอดเยี่ยม Smiley





นิตยสาร ChristianityToday ได้สำรวจความนิยมต่อเพลงนมัสการ นี่คือ 10 อันดับเพลงนมัสการพระเจ้ายอดเยี่ยม ที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้ฟัง การนมัสการนำมาซึ่งการทรงสถิตย์ของพระเจ้า พระองค์ทรงเปลี่ยนเศร้าโศก ให้เป็นความชื่นชมยินดี และประทานความหวังใจให้กับเรา 10 อันดับเพลงนมัสการยอดเยี่ยมต่อไปนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่เราคุ้นหูและร้องถวายพระเจ้ากันอยู่แล้ว 

(( Click ที่ชื่อเพื่อฟังเพลง ))






1. Amazing Grace (พระคุณพระเจ้า
) แต่งโดย จอห์น นิวตัน )




2. How Great Thou Art ( พระเจ้ายิ่งใหญ่ ) แต่งโดย คาร์ล โบเบิร์ก



3. Because He Lives ( เพราะพระองค์ทรงอยู่ ) แต่งโดย วิลเลี่ยม เจ. ไกเธอร์



4. Great Is Thy Faithfulness แต่งโดย โธมัส โอบาเดีย คิสโฮล์ม



5. The Old Rugged Cross (ไม้กางเขนโบราณ) แต่งโดย จอร์จ เบนนาร์ด



6. What a Friend We Have in Jesus (มีสหายเลิศคือพระเยซู) แต่งโดย โจเซฟ สไครเวน



7. To God Be the Glory แต่งโดย แฟนนี่ ครอสบี้



8. Majesty แต่งโดย แจ๊ค เฮย์ฟอร์ด



9. Shout to the Lord แต่งโดย Darlene Zschech



10. Holy, Holy, Holy แต่งโดย เรจินัลด์ เฮเบอร์







Smiley Conference Smiley








แต่งโดย จอหน์ ฟรานซิส เวด เป็นเพลงภาษาละติน ที่มีทำนองที่ร่าเริงและเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาส แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274 และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน












เพลงสรรเสริญพระเจ้าในยุคปัจจุบันจะมีการเพิ่มเครื่องตนตรีในส่วนของกลองเข้ามาร่วมด้วย ทำให้จังหวะหนักแน่นมากขึ้น เป็นเพลงที่ใช้ต่อจากเพลงช้าเพื่อที่จะเริ่มต้นกลุ่มเพลงเร็วอีกครั้งได้ เพราะเสียงร้อง "โว้วววววววววโอ" มันปลุกให้คึกคัก











เพลงนมัสการ เพลงนี้จะออกแนวช้าๆ เครื่องดนตรีก็จะเล่นให้นุ่มลงซึ่งไม่เน้นเรื่องการปลุกเล้าอารมณ์ แต่จะเน้นในเรื่องของการอ้อนวอนต่อผู้พระเป็นเจ้า หรือการขอบพระคุณ







Smiley บทเพลงนมัสการไทยที่แปลมาจากบทเพลงนมัสการสากล Smiley









เป็นเพลง โมทนาพระคุณองค์พระเจ้า มาจากเพลง Give thank ของ Don moen









เป็นเพลงนี้ใช้ทำนองของเพลง Still เป็นเพลงสรรเสริญพระเจ้า มีการใช้เครื่องดนตรีหลายชิ้นที่มีเสียงที่นุ่ม ฟังแล้วสบาย









เป็นเพลงนมัสการ จากอัลบั้ม : High Praise1










เพลง สาธุการพระนาม เป็นเพลงที่มีจังหวะค่อนข้างเร็ว ซึ่งมักใช้ในช่วงแรกของการเสริญสรรพระเจ้า เพื่อปลุกจิตใจ










เพลง พระคุณซ้อนพระคุณ จะมีทำนองคล้ายเพลงไทยสากลที่วัยรุ่นชอบฟัง











บางคริสตจักรก็จะมีการแต่งเพลงขึ้นเอง และร้องภายในโบสถ์ มีเครื่องดนตรีประกอบคำร้อง






Smiley จากการไปดูงาน  ณ คริสตจักรหมายเลข 1 Smiley





คริสตจักรแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของการเลือกใช้บทเพลง หรือท่วงทำนอง แต่เป้าหมายเดียวกันคือเพื่อนมัสการและสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า ทางกลุ่มเราได้ไปร่วมนมัสการและสรรเสริญกับทางคริสตจักร พบว่าบางคริสตจักรมีการใช้เพลงเร็วช่วงเริ่มต้นสรรเสริญ ต่อมาจะนมัสการด้วยเพลงช้า บางคริสตจักรมีแต่เพลงช้า และที่เห็นได้แตกต่างคือ เครื่องตนตรีที่ใช้ในคริสตจักร เพราะบางคริสตจักรมีการใช้กลองร่วมการบรรเลง แต่บางคริสตจักรก็ไม่มี แต่เครื่องดนตรีหลักๆเห็นจะเป็น เปียโน ไวโอลีน ฟรุต เชลโล เป็นต้น หากแต่บางคริสจักรเท่านั้นที่อนุญาติให้บันทึกภาพการบรรเลงบทเพลงนมัสการได้ ในที่นี้เป็นการบรรเลงบทเพลงของทีมนมัสการจากคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่




















Create Date : 08 มกราคม 2555
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2558 23:09:36 น.
Counter : 10008 Pageviews.

1 comments
  

ขอบคุณมากค่ะ
โดย: กังแช IP: 124.122.116.190 วันที่: 4 กรกฎาคม 2558 เวลา:11:17:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Patariro!
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



I'm a new writer
Group Blog
มกราคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31