โครงงาน วัดพระแก้ว
โครงงาน วัดพระแก้วเชียงราย

ชื่อผู้ทำโครงงาน


นางสาวกัลยา          ขวัญเอี่ยมเจริญ    เลขที่ 22

นางสาววชิรญาณ์    คณะวงค์              เลขที่ 31

นางสาววนิดา          จักรอ้อม              เลขที่ 32

นางสาวศิริอาภา       ถูหลงเพีย            เลขที่ 33

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.8



ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน   นางบงกช  บุญเลิศ


โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์  จังหวัดเชียงราย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36




ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

         เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่สวยงามที่ชวนให้ผู้คนได้มาสัมผัสถึงความงดงามและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเชียงรายไม่ว่าจะเป็นยอดดอย น้ำตก และอีกหนึ่้งสถานที่ที่สำคัญที่สามารถบงบอกถึงวัฒนธรรมของที่นี่คือวัด
          ซึ่งชาวเชียงรายนั้นส่วนใหญ่นับถือพุทธนิยมเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรม สงบจิตใจ ทั้งนี้เชียงรายมีวัดที่สำคัญอยู่หลายแห่งทางคณะผู้จัดทำจึงออกความคิดเห็นที่จะเลือกวัดมา แห่งคือ วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่เก็บพระแก้วมรกตและเป็นวัดมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงรายเหมาะแก่การามาเยี่ยมชมสถานที่และปฏิบัติธรรม


วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ทราบความเป็นมาของวัดพระแก้ว

2.เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับวัดพระแก้วมาเผยแพร่


ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจำกัดของการทำโครงงาน)

1.นักเรียนสามารถศึกษความเป็นมาของวัดพระแก้วได้

2.สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนในวิชาต่างๆได้

3.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้


หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทำโครงงาน)

โครงงานคอมพิวเตอร์นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโดยใช้เนื้อหาที่มีอยู่มาปรับใช้ในสื่อการศึกษา


วิธีดำเนินงาน

แนวทางการดำเนินงาน

ในการทำสื่อการเรียนการสอนนั้นเราจะสร้างสื่อการนำเสนอด้วย Bloggang จะใช้เนื้อหาการนำเสนอจากข้อมูลหลักฐานหรือเว็บไซต์เพื่อให้เนื้อหาในการนำเสนอมีความละเอียดและสมบูณร์ที่สุด


ประวัติวัดพระแก้วเชียงราย

วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เองที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้า สามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูปลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา



สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดพระแก้ว

พระเจดีย์
เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๗ ได้เกิดฟ้าผ่า ลงองค์พระเจดีย์พังทลายลง และได้พบพระแก้วมรกตซ่อนไว้ในพระเจดีย์หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ เมืองต่างๆ คือ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ กรุงธนบุรี และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ กรมศลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระเจดีย์ เป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘



พระอุโบสถ
พระวิหารทรงเชียงแสน มีลักษณะฐานเตี้ย เชิงหลังคาลาดต่ำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕ พระประทานในอุโบาถ (พระเจ้าล้านทอง) เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย นับเป็นพระพุทธรูปในสกุล ช่างศิปปาละที่ใหญ่ และสวยงามที่สุดในประเทศไทย


หอพระหยก
อาคารทรงล้านนาโบราณ เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล" หรือ "พระหยกเชียงราย" บนผนังอาคาร แสดงกิจกรรม จากตำนานพระแก้วมรกต และภาพวาดการสร้าง และพิธีอัญเชิญพระหยกเชียงรายสู่พระอารามในวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔


พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
อาคารทรงล้านนาประยุกต์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยมีคุณอมรา (แสงแ้ก้ว) มุนิกานนท์ เป็นผู้อุปถัมภ์ ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัย



แผนที่วัดพระแก้ว


ที่มา //www.paiduaykan.com/province/north/chiangrai/watprakaew.html


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาประวัติวัดพระแก้ว

2. สามารถสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มในการศึกษาเกี่ยวกับวัดพระแก้ว

3. พัฒนาความรู้รอบตัวเกี่ยวกับวัดพระแก้วให้มีความเข้าใจมากขึ้น

4. สามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง









Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2559 12:08:51 น.
Counter : 13156 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2873746
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2559

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
1 กุมภาพันธ์ 2559