Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
24 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
DHARAMSHALA : ชีวิต และ ผู้คน (1)




ใน ภาษาทิเบต Lung แปลว่า "ลม" และ Ta แปลว่า "ม้า"
ลุงต้า คือชื่อที่ใช้เรียกแทนธงมนตราห้าสีที่ถูกขึงแขวนระโยงระยาง
เป็นสายยาวเต็มไปหมดบนที่สูงโบกโล้รับลมที่พัดกระพือ จนเป็นเสียง
คล้ายกับม้าหลายตัวกำลังควบวิ่ง 
เพื่อเร่งพาส่งคำอธิษฐานไปให้ไวขึ้น...





แม้จะเคยเห็นธงมตราเช่นนี้มาก่อนหน้าหลายหน
แต่ฉันกลับไม่เคยเข้าใจถึงความหมายเหล่านั้นได้ดีนัก 
หากแค่ตั้งจิตคำอธิษฐานอย่างเดียวจะดูไม่ทันใจนึกหรือไง
ทำไมพวกเขาถึงต้องการบางสิ่งที่เป็นตัวช่วยวิ่งส่ง เช่น Lung Ta?

เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมงานเทศกาลหนังอิสระฯ ภายใต้ชื่อ
Dharamshala International Film Festival  (DIFF)
ที่มีสโกแกน เก๋ๆ ว่า Bringing Independent Cinema to the Mountains




ลานกิจกรรมด้านหน้า TIPA หนึ่งในสถานที่จัดฉายภาพยนตร์ฯ 


ฉันประทับใจภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ที่ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน-
กับธงมนตราที่ว่านี้  ใน
ตลอดความยาว 111 นาที ได้ถ่ายทอด 
ถึงชายญี่ปุ่นผู้มีชื่อว่า Kazuhiro Nakahara  เจ้าของกิจการ
ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Lung Ta
ที่ซึ่งตั้งอยู่ที่แมคลอดกันจ์ แห่งนี้นั่นเอง

เขาเคยมีข้อสงสัยที่ว่า
ทำไมชาวทิเบตถึงต้องเผาร่างของตนด้วย ? 
หลังจากที่ตกใจกับข่าวการเผาตัวเองพลีชีพประท้วงฯ 
ของเด็กสาวที่มีอายุเพียงแค่วัยมัธยมต้น ...




ภาพประกอบจาก : https://diff.co.in


นั่นจึงเป็นที่มาของภาพยยนต์สารคดีเรื่อง Lung Ta เมื่อชายญี่ปุ่นคนดังกล่าวได้
เริ่มต้นสอบถามและพูดคุยกับชาวทิเบตในละแวกนี้เพื่อสืบค้นที่มา  โดยมี
หลาย
ฉากถูกถ่ายทำบนแมคลอดกันจ์  
ที่ฉันมาพักชั่วคราวในตอนนี้  ดังนั้นภาพของ
สถานที่และผู้คนจึงคุ้นตาและสิ่งที่ได้เห็นมันจึงดูใกล้ตัวเสียจนน่าตกใจ...

กระทั่งเขาได้เดินทางไกล ออกไปยังดินแดนที่ราบสูง
ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีสถานภาพเป็นประเทศ เพื่อไปถึงจุดกำเนิด
อันเป็นรากเหง้าและตัวตนของชาวทิเบต
ในตอนท้าย 

ปมปัญหาของเนื้อเรื่องในตอนจบ ก็ไม่ได้พูดถึงวิธีแก้คลายความยุ่งเหยิงเพื่อนำ
ไปสู่ข้อสรุปอันสิ้นสุดได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจากโลกปัจจุบัน ก็ยังคงดำเนินไปตาม
กระบวนการของมันอยู่ - ดังนั้นท่ามกลางคำอธิษฐานที่ดูเงียบงันและโดดเดี่ยว
อาจไม่มีพลังมากพอที่จะกล้าจะเปล่งร้องออกมาให้ 'ดัง' ขึ้นได้ด้วยตัวเอง...
เรื่องของ Lung Ta จึงไม่ได้พูดถึงธงแห่งสัญลักษณ์ แต่หากเปรียบกับผู้คนที่ได้
ร่วมยืนเคียงข้างและเป็นกำลังใจ ส่งต่อเสียงเรียกร้องนั้นให้ 'ดัง' ขึ้นมา 




ภายหลังจากที่ได้ชมภาพยนตร์จบไปแล้ว ฉันก็เริ่มนึกถึง 'คนทั้งหลาย' 
ที่ได้มีโอกาสพบเจอและพูดคุยบน แมคลอดกันจ์ ขึ้นมาทันที และนั่น
จึงเป็นที่มาของเรื่องราว "ชีวิตและผู้คน" ที่ฉันอยากเขียนเล่าถึง...





Lung Ta - Trailer




ฉันได้เจอกับพี่ทิเบต ชายชุดดำที่เคยได้คุยกันระหว่างเดินเทียนไว้อาลัยอีกครั้ง
หลังจากที่แวะมากินข้าวกลางวันที่ Dhaba แห่งหนึ่ง เราเดินสวนกันและเขาจำฉันได้

"วันนั้นหาตั้งนานไม่เจอ ถ้าว่างก็แวะไปที่ทำงานของผมตอนบ่ายสองนะ" 

เขาจดที่อยู่ของสำนักงานเล็ก ๆ ที่ดูแล ตรงถนนทางไปบักซูให้
ก่อนจะแยกหายไปหาข้าวกลางวันกิน ในช่วงเวลาพักเที่ยง





....

"เอาไก่ กับจาปาตีสองที่ และก็ทาลีหนึ่งที่"

มีพระสามรูป ทวนสั่งรายการอาหารกันที่ด้านหน้าร้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง
ก่อนจะเดินเข้ามาจับจองที่นั่งด้านในกัน ซึ่งนั่นก็เป็น
โต๊ะเดียวกันกับที่ฉัน
กำลังนั่งกินมื้อกลางวันอยู่นี่แหละ

และหลังจากที่อาหารถูกตักมาเสิร์ฟให้หลวงพี่ทั้งสาม 
ก็มีเรื่องบางอย่างชวนให้คิดสงสัยอยู่ไม่น้อย 

"เอ่อ พระฉันเนื้อได้ด้วยเหรอคะ?"

แต่ก่อนหน้านี้เคยได้ยินมาว่า
พระฝ่ายมหายานของจีน ฉันเพียงอาหารเจ 
ส่วนพุทธวัชรยานทิเบต นี่จะคล้ายกันไหมล่ะเนี่ย?

"กินได้ บางทีมันก็ต่างไปจากที่คนทั่วไปรู้กันนิดหน่อยล่ะนะ"

หนึ่งในนั้นตอบกลับมาด้วยท่าทีอารมณ์ดี และเราก็ได้คุยกันต่อ จนกระทั่งได้ถาม
ถึงเรื่องการย้ายถิ่นฐานจากทิเบตมายังอินเดียของพระแต่ละรูปว่ามีที่มายังไง



จากขวา ไป ซ้าย
- พระ Norbu ย้ายมาในปี 1964 อายุ 63 ปี
- พระ Ngawang ย้ายมาในปี 1963 อายุ 69 ปี
- พระ Choeying ย้ายมาในปี 1984 อายุ 64 ปี




"ฉันมาตั้งแต่ยังตัวเล็ก ๆ มาบวชเป็นพระที่นี่แหละ" หลวงพี่ย้อนถึงความหลัง 
ว่าบางคนก็ตามครอบครัวมา แต่บางคนก็ต้องแยกจากครอบครัวไม่ได้มาพร้อมกัน 

"รุ่น ๆ เดียวกันหมดเลยนะคะ" ฉันอ่านข้อมูลจากสมุดบันทึก ที่พระทั้งสามช่วย
เขียน ชื่อ,ปีเกิด และปีที่ย้ายถิ่นฐาน ของแต่ละคนลงไปในนั้นมาตรวจดูคร่าว ๆ

"ไม่นะ ฉันเด็กที่สุด!" หลวงพี่นอร์บุ แย้งขึ้น



.....



หลังจบมื้อกลางวันแล้วฉันก็เดินออกมายังร้านหนังสือแถวนั้น เพื่อฆ่าเวลา
ก่อนถึงบ่ายสอง ตั้งใจว่าจะซื้อคู่มือภาษาฮินดีพกติดตัวสักเล่ม ...

"คอนนิจิวะ"  

เหมือนว่าฉันได้ยินใครที่ไหนก็ไม่รู้ตะโกนมา

"คนญี่ปุ่นเหรอเธอน่ะ"

ทีแรกก็ไม่ได้หันไปหรอกนะ 
ก็หน้าตาฉันมันไม่ได้เข้าเค้า
ไปทางชาวอาทิตย์อุทัยสักนิด แต่....   
"เฮ้ เธอนั่นแหละ!"

อ้าว ตกลงว่าเรียกเราเรอะ?
ฉันชะโงกหน้าโผล่ไปนอกร้านอีกทีเพื่อความแน่ใจ 

เสียงเรียกนั้นมีที่มาจากซุ้มเพิงข้างทาง ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับร้านขายอาหาร
ที่ฉันเพิ่งกินมื้อกลางวันไป  ตอนนั้นมีสองหนุ่มต่างสัญชาติกำลังนั่งอยู่ด้วยกัน
คนที่เป็นตัวตั้งตัวทีตะโกนทักฉัน เป็นช่างซ่อมรองเท้าชาวอินเดีย ส่วนอีกคนที่
นั่งอยู่บนปี๊บเป็นวัยรุ่นชาวทิเบต 

"เค้าอยากรู้ว่าเธอเป็นคนประเทศไหน"  
คนซ่อมรองเท้า ชี้ไปยังหนุ่มทิเบตที่ว่า...

ฉันชี้มาที่ร้านหนังสือเพื่อต่อรองเรื่องเวลา "ขอเวลาห้านาที เดี๋ยวเดินไปบอก!"






ราเมช ช่างซ่อมรองเท้า มาจากรัฐราชาสถาน เขาปักหลักทำมาหากินในที่นี้
เพราะทำ
รายได้ดีกว่า ปกติแล้วเขาจะกลับไปเยี่ยมครอบครัวในช่วงหน้าหนาว

ส่วนชาวทิเบตที่ชื่อว่า
 รินเชน เดินทางออกมาจากทิเบตเมื่อสองปีก่อน
ด้วย
การเดินเท้าและกว่าจะข้ามพรมแดนได้ก็นานเป็นเดือน โดยต้องพักที่
เนปาลก่อน
ที่จะเข้ามาที่ประเทศอินเดีย

รินเชน บอกว่ากำลังเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งคนที่ลี้ภัยมารุ่นหลัง ๆ จำเป็นต้องเข้า
เรียน 
ซึ่งจะมีการสอบวัดระดับเสียด้วย ส่วนภาษาฮินดีเขายังใช้สื่อสารไม่ได้
ใน
บางช่วงที่ว่างก็จะมานั่งคุยกับราเมช เพราะอยากฝึกการพูดให้คล่องกว่านี้ 

ดูเหมือนว่า ชาวทิเบตทุกคนที่อพยพย้ายมาอยู่ประเทศที่สอง
จำเป็นต้องหาความรู้ติดตัวกันให้ได้มากที่สุดเลยนะ
โดยเฉพาะเรื่องภาษา 


ฉันนึกไปถึงศูนย์ Tibet world ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามทางเดินขึ้นที่พัก ก็เคยได้มีโอกาส
เข้าไปดูพื้นที่การเรียนการสอนด้านใน 
จากคำชวนของ หลวงพี่เจษ ซึ่งกำลังมา
รอเข้าชั้นเรียนรอบเช้า ฉันเห็นตารางสอนที่ติดแปะเอาไว้ มีทั้งการสอน
ภาษาจีน
ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส 

ไม่รู้ว่าทำไมคนที่นี่ ถึงต้องเรียนกันเยอะขนาดนี้?

ฉันได้หลงเข้าไปแจมใน Conversation class หนหนึ่ง
ชั้นเรียนนั้นเปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามาร่วมพูดคุยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
หนแรกก็กะจะเข้าไปสวัสดี หลวงพ่ออำนาจ ที่มาเข้าชั้นเรียนนี้สักหน่อย
แต่แล้วก็กลับออกมาไม่ได้ซะงั้นเพราะมีคนชวนให้นั่งเรียนเป็นเพื่อน 



พวกเขาต่างนั่งล้อมวงเพื่อแนะนำตัวเองต่ออาสาสมัครชาวต่างชาติที่เข้ามาดูแล
ว่าชื่ออะไร มาจากไหน มีจุดประสงค์อะไร ที่เข้ามาร่วมสนทนาในชั้นเรียนนี้ 
ก่อนที่จะได้กระดาษหนึ่งแผ่นมาเป็นแบบฝึกหัด ให้ได้หัดพูดถามโต้ตอบกัน
ท่าทีของแต่ละคน ดูตั้งใจและกระตือรือล้นเป็นอย่างมากกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
ซึ่งเป้าหมายหรือแรงจูงใจนั้น ก็คงหนีไม่พ้นถึงความหวังที่จะ 'มีชีวิตที่ดีขึ้น'






บ่ายสองโมงกว่า ฉันย้อนกลับไปยังสำนักงานที่พี่ชุดดำคนนั้นบอกแจ้งไว้
แต่ว่าดูเหมือนป้ายที่ปิดไว้ตรงประตูด้านหน้าจะแจ้งบอกว่า 'ปิด'


มีชายอินเดีย ที่หลังโก่งและมีปัญหาขาลีบเล็กคนหนึ่งได้นั่งประจำอยู่ที่เก้าอี้
ด้านหน้าศูนย์ ฯ เขาพอพูดได้บ้างแต่ออกเสียงได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก  
หลังจากที่ฉัน
ถามถึงคนที่ดูแลสำนักงานนี้ ชายคนนั้นพยายามบอกให้ฉันไปนั่งรอที่ห้องด้าน
ข้างแทน 
ซึ่งนั่นก็ดูเหมือนจะเป็นสาธารณสุขไม่ก็สถานีอนามัยมากกว่า 
สักพักประตูตรงหน้าก็ถูกผลักเปิด หลังจากป้ายที่แขวนถูกพลิกเปลี่ยนเป็น 'เปิด'

"เข้ามา ๆ" 





พี่โซนัม ย้ายมาอยู่ที่ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 
ฉันไม่รู้สาเหตุที่เขาเดินเท้าออกมาจากทิเบตทำไม 
ในเมื่อครอบครัวของเขาก็ยังคงอยู่กันที่นั่น และแม้ว่าจะไม่ครบก็ตาม

ที่ศูนย์อนามัยแห่งนี้ เขาทำหน้าที่ดูแลสำนักงานและมีวันที่ต้องไปลงพื้นที่
ให้ความรู้ตามโรงเรียน
ไม่ก็แหล่งชุมชนทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อการรณรงค์เรื่อง
ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง 
ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินมาก่อนว่าคนที่นี่จะดื่มจัด!

แต่พี่โซนัมยืนยันว่า "คนทิเบต" ย่านนี้
มักจะมีปัญหาเรื่องการติดเหล้ามากกว่าที่คิด



เขาหยิบแผนที่ฉบับหนึ่งที่กองสุมอยู่ตรงชั้นวาง มากางคลี่ออก
ให้เห็นถึงเส้นทางเดินเท้า ในช่วงที่แอบลับลอบหนีออกมาจากเขตทิเบต

"เวลาโทรหาครอบครัว เราก็ต้องคอยระวังเรื่องคำพูด"  เขาเล่าถึงเรื่องของ
พี่ชายตัวเองที่เคยพูดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐบาลจีน และสุดท้ายก็ถูกจับ
ไปอยู่ในเรือนจำนานถึงห้าปี

"พี่หมายถึง เขาดักฟัง?" โห  นอกจากที่เห็นในละครแล้ว
มันมีแบบนี้เกิดขึ้นจริงเหรอเนี่ย?

"ใช่"  โซนัม ตอบ " ตอนนี้ก็กังวลนิด ๆ นะ เราติดต่อหากันไม่ได้มาสองเดือนแล้ว 
ไม่รู้ว่าเป็นยังไงกันบ้าง แต่บางทีก็จะคุยผ่าน WeChat"


ฉันเพิ่งจะรู้นะเนี่ย ว่าเราต่างก็มี chat application ที่นิยมไปคนละค่าย
ในขณะที่คนไทยใช้ Line คนอินเดียใช้ Whatsaap ส่วนคนทิเบต ก็ใช้ WeChat 

ภาพของการใช้สมาร์ทโฟน ที่มีทั้งพูดใส่โทรศัพท์และรอฟังเสียงปลายสาย
โต้ตอบหากัน หรือกดแชทพิมพ์ส่ง ก็
ดูจะเป็นเรื่องปกติแล้วสำหรับคนที่นี่ 
ตอนแรก ๆ ฉันก็แอบคิดไปเองว่าคนทิเบตติดเล่นโทรศัพท์มือถือ 




ระหว่างที่พูดถึงครอบครัว เขาก็ได้เอามือสอดเข้าไปยังใต้ซอกเสื้อแบบทิเบต
เพื่อหยิบบางอย่างออกมา 
นั่นคือรูปถ่ายครอบครัวที่เก็บพกติดตัวไว้ตลอดเวลา

"พวกเราเป็น nomad ไม่มีบ้านอยู่เป็นหลัง แต่จะย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ"
เขาให้ดูภาพความเป็นอยู่ที่เป็นกระโจม เล็ก ๆ มีทุ่งหญ้า มีฝูงจามรี 
และภาพวัยเด็กกับพี่น้อง ที่นั่งเรียนกันกลางแจ้งไม่มีห้องหับ




เขายังบอกอีกว่า ชาวทิเบตหลายคน เมื่อได้ลี้ภัยออกนอกประเทศแล้วก็ใช่ว่าจะ
หยุดเพียงแค่ที่นี่ พวกเขาอาจต้องการที่จะมุ่งหน้าย้ายไปยังประเทศโลกที่หนึ่ง
อย่าง สหรัฐอเมริกา 
ฝรั่งเศส และที่อื่น ๆ เพื่อหวังถึงการมีชีวิตที่ก้าวหน้า

"แล้วพี่คิดที่จะย้ายไปบ้างไหม?" ฉันถาม

"ไม่หรอก เห็นคนหลายพอได้ออกไปแล้ว ดูมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
มีเงินเยอะขึ้นก็จริง แต่เหนื่อยนะกับการดิ้นรนขนาดนั้น บางคนก็แทบ
จะไม่มีเวลาในชีวิตเหลือเลย เพราะต้องทำงานกันเป็นบ้าเป็นหลัง" 

โซนัม บอกว่าพอใจแล้วกับชีวิตที่เป็นอยู่ในที่นี้ เขามีเวลาพัก,มีเวลาพบปะผู้คน
และมีเวลาใช้ชีวิต ฯลฯ แต่นั่น
ก็ต้องยอมรับด้วยว่า ไม่อาจมีอะไรได้มากกว่านี้ 
เขาจึงบอกข้อสรุปง่าย ๆ ให้ฟัง "ถ้าอยาก อัพเกรด ก็ต้องออกไป"



เราคุยกันอยู่พักใหญ่ ตั้งแต่เรื่องเดินเทียนคราวนั้น จนกระทั่งถึงเรื่องของ
สถานที่ท่องเที่ยว  
พี่โซนัมพูดถึงที่แห่งหนึ่งที่ผู้คนจะไปเดิน "โกร่า" (Kora) กัน
มันตั้งอยู่ที่ด้านหลัง 'วัดทะไลลามะ' นี่เอง และอีกที่หนึ่งก็คือ 'นอร์บุลิงกะ'
ที่อยู่ห่างไปจากดารัมซาลา 10 กิโลเมตร โดยต้องนั่งรถเมล์ออกไปนอกเมือง
และถัดไปอีก 2 กิโลเมตร จากที่นั่นก็จะเป็นที่ประทับของ การ์มาปะ ลำดับที่ 17
ประมุขแห่งพุทธวัชรยาน นิกาย Kagyu** ซึ่งก็เป็นที่นับถือของชาวทิเบตเช่นกัน


ก่อนกลับ เขาได้ให้แผนที่ทิเบตฉบับนั้นมาเป็นที่ระลึก ซึ่งก็หวังว่า
มันจะยังคงอยู่ติดตัวไปกับฉัน จนกระทั่งกลับมาถึงประเทศไทยได้นะ


พี่โซนัมได้เดินออกมาส่งฉันที่หน้าประตู และในตอนนั้น
ก็มีคนมายืนรอ
ชายพิการ ที่นั่งอยู่ข้างหน้าสำนักงานด้วย   

"กลับบ้านแล้วเหรอ?"

พี่โซนัม ช่วยหยิบเป้คล้องใส่หลังให้กับเขา พร้อมช่วยยกไหล่ประคองให้ลุกยืน 
ชายพิการคนนั้น หันมายิ้มและโบกมือลาก่อนจะเดินออกไปกับเพื่อนที่มารับ

"ฉันเจอเขาที่ดารัมซาลาเมืองด้านล่าง ตอนนั้นกำลังนั่งขอทานอยู่ ...
พอเห็นแล้วก็อดสงสารไม่ได้ เลยอยากช่วยเหลือเท่าที่พอจะทำได้

โซนัม เล่าถึงที่มาของชายคนนี้ให้ฟังและต่อมาก็ได้ให้อาศัยพื้นที่ตรงด้านหน้านี้
เพื่อขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้
มีรายได้มากกว่ามาช่วยเฝ้าหน้าศูนย์ฯ อย่างเดียว 

นี่คงเป็นมิตรภาพเล็ก ๆ ที่ส่งคืนกลับให้กันและกัน 
ระหว่างผู้อพยพอย่างพี่โซนัม กับชายพิการผู้มีสถานะเป็นคนอินเดียสินะ
มานึกดูแล้วบนโลกใบนี้ ก็ยังไม่ถึงกับ 'โหดร้าย' จนเกินไปนักหรอก ...




"อื่นๆ" 

- เรื่องอาหารของพระวัชรยาน เท่าที่ฟังมา จะมีการกินเนื้อสัตว์เป็นบางครั้งบางคราว
แต่ถ้าอยู่ใน M
onastery จะไม่อนุญาตให้นำเข้าไปบริโภคได้

- ที่มาของ งานเทศกาลหนัง ฯ -  https://diff.co.in/
จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2012 ส่วน ในปี 2016 นี้ ก็จะมีในวันที่ 3-6 พฤศจิกายน

- เวบไซต์ทางการของ Karmapa - https://kagyuoffice.org/

- Dhaba หมายถึง ร้านขายอาหารริมทางทั่วไป

- Conversation class (ภาษาอังกฤษ) ที่ศุนย์ Tibet world 
จะเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าไปร่วมชั้นเรียนได้ฟรี






Create Date : 24 เมษายน 2559
Last Update : 5 มกราคม 2561 0:49:27 น. 27 comments
Counter : 1790 Pageviews.

 
อ่านทุกตัวอักษร!!! ดีใจมาก...ตื่นเช้ามาเปิดมาเจอฟ้าอัพเรื่องนี้ ทานอาหารเช้าและอ่านบล๊อกไปด้วย ...มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก เพราะต้องคนที่เดินทางไปเจอจริงๆเท่านั้นถึงจะถ่ายทอดออกมาให้ได้เห็นภาพจากเรื่องจริงๆ ลำพังกะแค่ "นักท่องเที่ยว" ยิ่งในเยอรมันด้วยแล้ว เราจะหาข้อมูลลึกมากแบบนี้ยากมาก เพราะทุกเวบทำขึ้นเพียงเพื่อ "ต้องการจะขาย" และเรื่องราวที่มันไม่ได้อยู่ใน Sales program เพื่อการขายแบบนี้...คนทั่วไปไม่มีวันได้รู้แน่นอน ...ขอบคุณที่เปิดโลกอีกฝั่งให้พวกเราได้รับรู้กัน ถ้าไม่ได้ได้มาอ่านบล๊อกของฟ้า ...อินเดีย กะทิเบตในความคิดของพี่ก็คงจะไม่ไปไหน...จะจอดอยู่แค่ตรงที่มีเดียต้องการจะยัดเยียดให้ดูหรือให้เกิดความเชื่อ.... "เรื่องการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า" พี่มองว่าเป็นเรื่องที่ปกติ ยิ่งคนที่มีครอบครัวต้องดูแลด้วยแล้ว ยิ่งต้องพยายามแสวงหาเพื่อครอบครัวของตัวเอง

แต่... ถ้าเป็นเรื่อง ผู้อพยพ.... ที่ต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ในเยอรมันแล้วดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ "ให้อภัยแทบไม่ได้..." กลับกลายเป็นเรื่องที่ต้อง "ดูถูกเหยียดหยาม และขับไล่..." เรื่องมันเยอะมากในเยอรมัน ไว้พี่จะพยายามเก็บข้อมูลเอามาเขียนให้อ่านกัน
สำหรับพี่แล้วพี่คิดว่า "เมื่อเราเป็น มนุษย์เหมือนๆกัน..." ไม่ควรที่จะมี มนุษย์คนไหนที่ "ผิดกฏหมาย" ถูกไหมล่ะ ถ้า หมาแมว สามารถวิ่งไปไหนตามใจชอบได้ แล้วเราล่ะ...ทำแบบสัตว์ไม่ได้เลยหรือ? น่าคิดเนอะ เพราะถ้าจะนำหมาซักตัว หรือซักฝูงเข้าเยอรมัน ไม่ยากนะ ง่ายมากด้วยซ้ำ ...แต่ถ้าจะนำคนจากแผ่นดินอื่น...(อย่างอินเดียว หรือ ธิเบต) โห....... ขั้นตอนยาวยิ่งกว่าทางช้างเผือกในกาแลคซี่ซะอีกอ่ะ...

"ความสุข น่าจะเท่ากับ ความพอใจ" เจอความพอใจเมื่อไหร่ ความสุขเกิด...พี่คิดว่า พี่โซนัมเค้าคิดถูกแล้วล่ะ...ที่เลือกความสุข และไม่กระเสือกกระสนทำเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว


โดย: Max Bulliboo วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:16:37:16 น.  

 
สวัสดีค่ะ...

ติดตามอ่านต่อค่ะ

โหวตให้เลยค่ะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Mitsubachi Food Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
sawkitty Travel Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:18:32:31 น.  

 
อ่านแล้วรู้สึกว่าคนไทยยังโชคดีกว่าคนอีกมากมายบนโลกใบนี้นะคะน้องฟ้า
เลยอาจทำให้ขาดความกระตือรือร้นขวนขวายชีวิตที่ดีกว่าปัจจุบัน (หรือเปล่า)
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
เรียวรุ้ง Literature Blog ดู Blog
ชมพร Cartoon Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Beauty Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Travel Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:19:21:20 น.  

 
ความสุขอยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละคนนี่เอง
+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:21:33:32 น.  

 
เรื่องรูป..ทำให้คิดถึงสิ่งที่พีอยากทำมานาน

เคยคิดนะว่า อยากมีกล้องโพลารอยด์ ไปในชนบทไปในที่ที่เค้าหารูปกันได้ยากเหลือเกิน อยากถ่ายให้เค้าได้เก็บไว้น่ะ

ที่ไปน่านเมื่อปีก่อนโน้น ก็อัดออกมาแล้วก็ส่งไปให้โฮมสเตย์ที่ได้ไปพักนะ เพราะคิดว่าเป็นของขวัญอย่างหนึ่งที่เราจะให้เค้าได้หละนะ

โหวตเต็มแล้ว พรุ่งนี้พี่มาโหวตให้นะฟ้า


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:22:35:45 น.  

 
แล้วตกลงทำไม เด็กผู้หญิงเผาตัวประท้วงล่ะน้องฟ้า

เป็นความเชื่อรึ ?


อยากมีโอกาสได้ไปเที่ยวแบบนี้บ้างจัง

รู้สึกอิจฉา อิ อิ


สมกะชื่อ ฟ้า เลยเนอะ

อะไรอยู่ใต้ฟ้า ต้องท่องไปให้ทั่ว

โหวตเป็นกำลังใจให้จ้า


โดย: แม่โอ๋เรนเจอร์ วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:1:02:18 น.  

 
แวะมาอีกรอบ..มาตอบเรื่อง ส้มตำ... พี่น่ะกินเป็นแต่ ส้มตำไทย อย่างอื่นไม่เคยใส่ใจที่จะลอง อ่ะนะ ปี 2014 พาคุณท่านไป "ร้่านส้มตำยกครก" ที่เชียงใหม่...กะในใจ ..ชอบจกดีนัก พามาที่นี่ ให้เค้าเลือก...สั่งส้มตำเองซะให้เข็ด! ผลคือไรรู้ป่ะ...เค้าเลือกสั่งของเค้าเองนะ...

"สั่งส้มตำผลไม้!!!!"

บ้านพี่แบบว่า ไปกินอาหารที่ไหนก็ตาม ไม่มีแบบว่า "เมียสั่งให้" จะออกแนวแบบ ของใครของมัน ดูเมนู และก็กรุณาเลือกสั่งกันเองค่ะ ตามชอบ ถ้าไม่ถูกปากจะได้ไม่มีการด่ากันไง...ฮึ่ยยยยย พอได้ส้มตำผลไม้มากิน..โอยยยยย เกิดอาการกรีดร้องโหยหวล...."ทำไมมันอร่อยแบบนี้..." แถมจิกถามชั้น.."ทำไมไม่เห็นเธอทำแบบนี้ให้กินบ้างเลย" แอร้ยยย .... แค่นี้ละเรื่องราวของคุณเค้า..ส้มตำฮาร์ดคอ แบบอื่นๆเค้ายังไม่รู้จักค่ะ ฮ่าๆๆๆ รู้จักแค่สองอย่างนี่ พี่ว่า "มากเกินไปด้วยซ้ำนะ...ว่าป่ะ"


โดย: Max Bulliboo วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:4:02:24 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

มาโหวตจ้า


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:7:34:24 น.  

 
ตามหาอ่านต่อจ๊ะน้องฟ้า


โดย: อุ้มสี วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:8:27:29 น.  

 
ตามมาส่งกำลังใจให้ค่ะ ตามอ่านๆ

เพิ่งรู้เรื่องธงเหมือนกันค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:10:49:03 น.  

 
ไม่โหดร้ายเกินไปหรอก อย่างน้อย ไม่ว่าฟ้าจะเดินทางไปไหน ได้เจอคนดี ๆ มีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือ แนะนำเรื่อยเลย เนาะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** เปล่าจ้ะ ระหว่างเที่ยว พี่ไม่เคยอัพบล็อกเลย แทบไม่ได้เข้าบล็อกแก๊งด้วยซ้ำ ถ้าจะเข้ามามีเหตุผลเดียว คือมาใช้สิทธิ์โหวต แล้วค่อยตามอ่านทีหลัง เมนท์ทีหลัง


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:14:50:48 น.  

 
มาเที่ยวต่อครับ

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 25 เมษายน 2559 เวลา:23:24:21 น.  

 
อ่านแล้วสมองเปิด เกิดไอเดียจริงๆ


โดย: ลัลลลิลณ์ วันที่: 26 เมษายน 2559 เวลา:2:37:09 น.  

 
โหวต Travel Blog ให้เลยค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 26 เมษายน 2559 เวลา:10:19:21 น.  

 
มาอ่านเรื่อง 2 รอบแล้ว ดุหนังตัวอย่างด้วย
ทั้ง 2อย่าง ทำให้ชีวิตดูเศร้า และหดหู่ยังไงก้ไม่รู้
นึกในใจว่า ตรูโชคดีมากๆที่เกิดมาเป็นคนไทยนะเนี่ย แฮ่ๆ

ทุกประเทศทุกสังคมก็มีปัญหาหนักเบาแตกต่างกันไป
คนทิเบต ที่ทุ่มเท ถวายตัว ถวายชีวิต ยอมทำเพื่อประเทศชาติทุกอย่างแม้กระทั่งเผาตัวตายก็แยะ

แต่อีกส่วนกลับ ไม่คิดจะทำอะไร ท้อแท้สิ้นหวัง ล่อเหล้าซะเมาปลิ้น เป็นปัญหาให้สังคมซะอีกแน่ะ

บล็อกนี้ เม้นท์เอาฮาไม่ได้เลยจริงๆ แต่ถ้าน้องฟ้า ลงเรื่องตอน น้องฟ้าปะทะคนบ้า นี่ซี้ รับรองเม้นท์ได้ฮากลิ้งตกเขาแน่นอน ไม่เชื่อลองเอามาลงเลย 555

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: multiple วันที่: 26 เมษายน 2559 เวลา:10:35:21 น.  

 
สวัสดีครับคุณฟ้า

มาอ่านเรื่องราวน่าประทับใจของชาวทิเบตต่อครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ฟ้าใสวันใหม่ Food Blog ดู Blog
Sweet_pills Travel Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Travel Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


ปล. ผมมีภาพพลับพลาทองของวัดคินคะคูจิ จากบล็อกตอนใหม่มาฝากด้วยครับ



โดย: ทองกาญจนา วันที่: 26 เมษายน 2559 เวลา:10:52:10 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

ผมทราบว่าธงที่ห้อยเป็ฯทางแบบนี้มีความหมายเสมือนม้า เวลาเสียงดังเหมือนเสียงม้าวิ่งนำสารไปสู้พระเจ้า เคยเห็นในภาพยนตร์หรือในสารคดีเกี่ยวกับธิเบตมีธงแบบนี้ติดอยู่ตลอด แต่แปลกใจว่าธิเบตอยู่ในที่สูงที่เป็นภูเขาจะมีที่ราบมากพอที่จะให้ม้าวิ่งได้เร็ว ๆ จนได้ยินเสียงเหรอ?

ดูแล้วเหมือนเป็นรายการสารคดีเลย มีการฃสัมภาษณ์และมีข้อมูลรายละเอียดของคนด้วย ดีจังทำให้รู้ว่าคนที่นั้นเขาอยู่อย่างไร? กินอะไร? และเป็นอย่างไรบ้าง? แต่ที่น่ากลัวคือคุณฟ้าเป็ฯผู้หญิงต่างถิ่นตัวเล็ก ๆ เดินเข้าไปคุยกับคนพื้นเมืองเหล่านั้นไม่กลัวหรือครับ? เป็นผมคงกลัวแย่เลยครับ

โหวตให้ครับ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Tui Laksi Sports Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

อิอิ



โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 26 เมษายน 2559 เวลา:16:12:33 น.  

 
จีนคงไม่ยอมง่ายๆ แน่นอนเรื่องปลดปล่อย เค้าถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน

พระแต่ละที่ก็มีข้อปฏิบัติที่ต่างกันไปนะ

มีไปแจมกับเค้าด้วย ดูแล้วได้พบเจอ และรู้จักผู้คนมากมายจริงๆ ครับ



กาบริเอล Travel Blog
+


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 27 เมษายน 2559 เวลา:1:07:33 น.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 27 เมษายน 2559 เวลา:3:19:28 น.  

 
เห็นธงสีๆก็คิดว่าเป็นเทศกาลอะไรซะอีก เอาไว้ช่วยส่งคำอธิษฐานก็คล้ายๆกระทงหรือบั้งไฟบ้านเราเลยนะครับ
ถ้าเป็นผมเห็นชื่อร้าน Lung Ta ต้องคิดว่าเป็นร้านคนไทย เจ้าของชื่อลุงต๊ะ แน่ๆ
เห็นบทสนทนากับพระทิเบตคิดว่าอ่านบล็อกนี้ไปแล้ว ที่แท้ก็อ่านบนเฟซมานี่เอง
ทิเบตก็อยากแยกตัวเป็นอิสระนะครับ ถูกรัฐบาลจีนควบคุมเสียขนาดนี้ ประวัติศาสตร์หรืออะไรก็แทบจะไม่มีร่วมกัน พวกอุยกูร์ที่หนีมาก็คงคล้ายๆกัน
เวลาคุยกับคนท้องที่นี่ใช้ภาษาอังกฤษเหรอครับ? ตกลงร้านรองเท้านั่นเขารู้จักประเทศไทยไหม?

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
mambymam Music Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
Raizin Heart Food Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Health Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ชีริว วันที่: 27 เมษายน 2559 เวลา:21:48:41 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ ผู้คนที่นั่นมีน้ำใจดีนะคะ
แม้แต่ละคนจะมีปัญหาต่าง ๆ กันไป แต่ก็ยังมีน้ำใจต่อกัน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
AppleWi Beauty Blog ดู Blog
mambymam Music Blog ดู Blog
ตุ๊กจ้ะ Parenting Blog ดู Blog
กาปอมซ่า Art Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Music Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog




โดย: ALDI วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:2:55:59 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตด้วยนะครับน้องฟ้า

พี่ก๋าน้ำหนักลดเลยครับ
ซัดแต่ผัก 555

มีไก่บ้าง หมูบ้าง
แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นปลากับอาหารทะเลเนาะ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:11:40:41 น.  

 
สวัสดีอีกรอบจ้าา

จะบอกว่าคนเตี้ยก็ลำบากนะ

ไอ้ที่เค้าทำให้กันหัว ให้นอนแล้วคอไม่หัก มันอยู่เลยหัวพี่น่ะ 555 เซ็งมากๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:12:42:05 น.  

 
โห เห็นท่าถ่ายรุป เก๊ก ยิ้มหวาน คอพับ เปิดไหล่โชว์ซะขนาดนั้น น้องฟ้าน่าจะรีบเผ่นแต่แรกแล้วละน้า
ยังไปคุยกับพี่เค้าอีกแน่ะ แถมตอนท้ายมีบีบน้ำตา ดราม่าอีก ตีบทแตกจริงๆ 555

ปล. รุปพี่สุดหล่อเค้าที่ น้องฟ้าเอามาฝากนี่ น้องฟ้าพอจะมี ไลน์whatapp อะไรมั่งมั้ยล้า เย้ย เอามาฝากเค้าทำมายยเนี่ย อ๋อ คิดว่า อ.เต๊ะ พวกเดียวกัน น่าจะคุยกันรู้เรื่องใช่มั้ย 555



โดย: multiple วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:19:36:00 น.  

 
มาทวงตอนสองค่ะ ^__^


โดย: เนินน้ำ วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:19:52:30 น.  

 
การพกรูปครอบครัวติดตัวตลอดเวลา
น่าจะทำให้อบอุ่นใจ มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตนะคะ
น่าประทับใจค่ะน้องฟ้า

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

...................................

นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 28 เมษายน 2559 เวลา:23:40:41 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 เมษายน 2559 เวลา:6:36:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.