“..การศึกษาวิชามานุษยวิทยา มีจุดประสงค์ให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยชาติทั้งมวล มนุษย์จะได้เข้าใจตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจอันดี และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข...” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ๒๕๓๗

<<
กรกฏาคม 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 กรกฏาคม 2550
 

ศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท เกิดขึ้นในดินแดนสยามเมื่อใด


อยากทราบว่า ศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท เกิดขึ้นในดินแดนสยามเมื่อใด
เพราะเหตุที่ไม่เข้าใจว่า…………………ในเมื่อในเขตดินแดนทางใต้ ตั้งแต่เริ่มได้รับพุทธศาสนา ฝ่ายมหาน – วัชรยานทางด้านเขมร ในอดีต ก็เจริญรุ่งเรื่องโดยอาณาจักรขอม มีการเข้ามาของมหายาน ในเขตลพบุรี
มีแต่ทางด้านเหนือ ในอดีต ก็ปกครองโดยฝ่ายพม่า ไม่แน่ใจว่าเป็นมหายาน หรือ เถรวาท

เป็นที่น่าสังเกตุว่า…..ในสมัยสุโขทัย ดูแล้วศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท
ในสมัยอยุธยา ดูแล้วก็ศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท
ในเขต สุพรรณบุรี อ่างทอง ดูแล้วก็ศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท

เหตุใดอาณาจักร เหล่านี้ จึงไม่ได้รับอิทธิพล ของศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน วชิรยาน บ้างครับ
ความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่
__________________________


สรุปละกัน
ในจารึกของพระเจ้าอโศก (Radhagovindha Basak,1959) ในพุทธศตวรรษที่ 3 ไม่เคยกล่าวถึงการส่งสมณทูตายัง"สุวรรณภูมิ"เลย ( ซีเรีย อียิปต์ ไอโอเนียน แอฟริกาเหนือ อานธระ โจฬะ ปาณฑยะ ตามรปารณี (ลังกา)

แต่การ"อ้าง"ส่งสมณะทูตมาสุวรรณภูมิ ( ที่ใช้กันในประเศไทยปัจจุบัน) มาจาก"คัมภีร์มหาวงศ์"ของลังกา (พุทธศตวรรษที่ 10 - 11)

ศาสนาพุทธ เริ่มต้นจาก ลัทธิเถรวาท หรือสถวีรวาทิน หรือ (นิกายฝ่ายใต้ - สายตรง) กับมหาสังฆิกะ (นิกายฝ่ายเหนือ) ที่มีการปรับปรุงรายละเอียดแล้ว (ในพุทธศตวรรษที่ 1)

ทั้งสองนิกายเริ่มต้น ล้วนมีความเหมือนกันในข้อพระธรรม
แต่แตกต่างกัน ใน พุทธลักษณะและพระวินัยบัญญัติ

ฝ่ายเถรวาท(หินยาน) มองพระพุทะเจ้าเป็นคนธรรมดา
ฝ่ายมหาสังฆิกะ มองไม่ธรรมดา มีกายทิพย์
ลัทธินี้จึงพัฒนาการมาเป็นลัทธิมหายานในภายหลัง

ทั้งสองเผยแพร่เข้าสู่สุวรรณณภูมิ ด้วยกัน พร้อมกัน แต่รายละเอียดของประติมานวิทยาแตกต่างกัน

กำเนิดและพัฒนาการของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

ลัทธิเถรวาทินหรือสถีรวาทิน ( เถรวาท )
• นิกายมหิศาสกะ
• นิกายสรวาสติวาทิน
• นิกายเสาตรานติกะ หรือ สังกรานติวาทิน
• นิกายธรรมคุปติกะ
• นิกายยปียะ(กัสสป)
• นิกายวาตสิปุติรียะ ( วัชชีบุตร )
• นิกายสางมิตียะ ( วาตสิปุตรีย สางมิตียะ) (พุทธศตวรรษที่ 9 - 11)

นิกายมหาสังฆิกะ (พุทธศตวรรษที่ 1-2)
• นิกายโลกุตตรวาท
• นิกายพหุศรูติยะ
• นิกายไจตยกะ
• นิกายไศละ

ลัทธิมหายาน ( นิกายฝ่ายเหนือ พุทธศตวรรษที่ 8)
• มาธยมิกะ
• โยคาจารย์

ลัทธิพุทธตันตระ หรือ มหายานตันตระ (พุทธศตวรรษที่ 12)
• นิกายวัชรยาน
• นิกายมันตรยาน
• นิกายสหัชยาน
• นิกายกาลจักรยาน


พัฒนาการพุทธศาสนา
สมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ( พุทธศตวรรษที่ 10 -19 )
• ลัทธิหินยานนิกายมหาสังฆิกะและนิกายมูลสรรวาสติวาท
( พุทธศตวรรษที่ 11 - 13 )
• ลัทธิมหายาน ( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 )
• นิกายสุขาวดี (พุทธศตวรรษที่ 9 )
• ลัทธิหินยาน นิกายเถรวาท ( พุทธศตวรรษที่ 13 - 15 )
• นิกายวัชรยาน จากอินเดีย ชวา และจาม ( พุทธศตวรรษที่ 14 - 16 )


อิทธิพลพุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา - โคทวารี แคว้นอานธระ
• คติพุทธศาสนาจากเมืองอมรวดี (นิกายมหาสังฆิกะ นิกายย่อยพหุศรูติยะ ไจตยกะ อปรไศละ)
• คติพุทธศาสนาจากเมืองนาคารชุนโกณฑะ (ลัทธีหินยาน นิกายมหิศาสกะ นิกายมหาสังฆิกะนิกายมหายาน นิกายย่อยพหุศรูติยะ นิกายย่อย อประมหาวินะเสลิยะ นิกายย่อยโลกุตตรวาท และ นิกายมหาวิหารจากลังกา )

อิทธิพลพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียภาคตะวันตก
• คติพุทธศาสนาจากแคว้นคุชราตแคว้นเสาราษฏร์ ( ลัทธิเถรวาทหรือลัทธิหินยาน นิกายย่อยสางมิติยะ)

อิทธิพลพุทธศาสนาจากอินเดียภาคเหนือและแคว้นเดคข่านในสมัยคุปตะ
( พุทธศตวรรษที่ 9 - 14 )
• คติพุทธศาสนาจากอินเดียเหนือ นครมถุรา สารนาท ( ลัทธิมหายาน )
• คติพุทธศาสนาจาก นครพุทธคยา และนาลันทา ( ลัทธิมหายาน และลัทธิหินยาน )


อิทธิพลพุทธศาสนาจากอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
( พุทธศตวรรษที่ 14 - 17 )
• คติพุทธศาสนาลัทธิมหายานมหายานตันตระ นิกายย่อยวัชรยาน มันตรยาน สหัชยาน กาลจักรยาน

อิทธิพลพุทธศาสนาจากลังกา ( พุทธศตวรรษที่ 12 - 19)
• คติพุทธศาสนา ลัทธิหินยานนิกายเถรวาทจากเมืองอนุราธปุระ ใช้คัมภีร์ในภาษาบาลีเป็นสำคัญ

อิทธิพลพุทธศาสนาจากชวา กัมพูชา จามปา ( พุทธศตวรรษที่ 14 - 19 )
• คติพุทธศาสนา ลัทธิมหายานตันตระ นิกายย่อยวัชรยาน

ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา
• ลัทธิหินยานนิกายเถรวาท จากลังกา (นิกายลังกาวงศ์ และนิกายสิงหลภิกขุ พุทธศตวรรษที่ 20 - 22 )
• ศาสนาอิสลาม ( พุทธศตวรรษที่ 19 - 23 )
• คริสต์ศาสนา สมัยอยุธยาช่วงแรก ( คาทอลิกจากโปตุเกส พุทธศตวรรษที่ 20 - 22 )
• คติพุทธศาสนา นิกายสยามวงศ์ (พุทธศตวรรษที่ 21 - 24 )
• คริสต์ศาสนา สมัยอยุธยาตอนกลาง ( โปแตสแตนท์จากอังกฤษและฮอลันดา พุทธศตวรรษที่ 21 )
• คริสต์ศาสนาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ( นิกายเยซูอิด จากสำนักวาติกัน ฝรั่งเศส พุทธศตวรรษที่ 22)
• คริสต์ศาสนาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ( นิกายโปแตสแตนท์ จากคณะมิชชันนารีอเมริกัน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศตวรรษที่ 23 )
• พุทธศาสนานิกายธรรมยุตินิกาย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
• ศาสนาสิกข์ ในพุทธศตวรรษที่ 24

สรุป จากหลักฐานทางวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ทวารวดี อู่ทอง พุกาม(โบก์ถโน) ศรีเกษตร สะเทิม มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน แต่ยังไม่มีวัรยาน

สุโขทัย มีพราหมณ์ฮินดู วัชรยาน(วัดพระพายหลวง ศรีสวาย) และหินยาน(เถรวาท ลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ?)

ในสมัยอยุธยา มีพราหมณ์ฮินดู มหายาน วัชรยาน หินยาน (เถรวาท ลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ) สยามวงศ์

สุพรรณบุรี - อู่ทอง มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน แต่ยังไม่มีวัชรยานตันตระ

แหลมมาลายู มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายานทั้งนิกายสาขา ลัทธิวัชรยาน หินยานลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ(พระพุทธสิหิงค์)

ลพบุรี มีหลักฐาน ก่อนประวัติศาสตร์ พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน วัรยาน

ทวารวดี ที่ครอบคลุม ทั้งภาคกลางและอีสานของประเทศไทย มีหินยานบางนิกายเป็นหลัก มากกว่ามหายาน ดูจากการใช้ชาดก พุทธประวัติและพระสถูปศากยมุนีในการเผยแพร่





หรือว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์เขามีการสังคยานา

ในช่วงรัชกาลที่ 1 และ 4 มีการจัดระเบียบศาสนาใหม่
หลายอย่างในเถรวาท ก็ถูกนำมาใช้เป็นหลัก ในขณะที่พระโพธิสัตว์ก็นำมาผสมอยู่ในสวรรค์ในชาดก ในพุทะประวัติ กลายเป็นนิกายสยามวงศ์ ไป จนพัฒนามาเป็นนิกายธรรมยุต

มหายานหรือวัชรยาน เป็นภาษาลับ(ตันตระ) สืบทอดยาก ไพร่ทุกคนที่บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์ก็สามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ และสามารถเป็นมนุษย์พุทธะได้
แต่มันขัดกับหลักการปกครอง ที่ยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์ ยังไม่เปิดโอกาสให้มีอิสระในการบรรลุโพธิญาณ
เพราะจะกลายเป็นผีบุญ หรือพระพุทธเจ้ากัลป์หน้า
ระบบกษัตริย์แบบจักรพรรดิราชจึงเป็นตรงกันข้ามกับมหายานแต่ไปกันได้กับเถรวาท ที่มีผู้บรรลุเพียงพระองค์เดียวและเป็นพุทธราชา


ศาสนาผ่านกาลเวลาย่อมมีการเปล่ยนแปลงและปรับปรุงรายละเอียด หลายคนยังคงคิดว่าพระสูตรของสยามเหมือนลังกาหรือเถรวาทที่อื่น ๆ
เช่นลังกามีภิษุณี สยามวงศ์กลับไม่มี

พระสูตรของพม่าที่เป็น"สุวรรภูมิ"แท้ ๆ ตามตำนานพระโสณะ พระอุตตระ ของเมืองสะเทิม ก็มีพระสูตรและรายละเอียดของลังกาวงศ์ที่แตกต่างไปจากสยามวงศ์และของเถรวาทเดิม ด้วยเพราะการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับท้องถิ่น

ในยุครัชกาลที่ 4 เป็นยุคของการเลือกนิกายโดยผู้ปกครอง เถรวาทแบบสยามจึงเกิดขึ้น แตกต่างจากที่อื่น ๆ เรียกว่าธรรมยุตนิกาย ซึ่งธรรมยุตนิกายถือสายเถรวาทเก่ามาเป็นหลัก เพราะเข้ากับหลักการปกครองในยุคเจ้าปกครองไพร่

ชนชั้นเจ้าจึงนำคติแบบเถรวาทธรรมยุต มาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนประชานยังเป็นไพร่ เจ้าให้ถือพุทธอะไรก็เป็นไปตามนั้น

จากรัชกาลที่ 4 สู่ปัจจุบัน กว่า 150 ปี ศาสนาพุทธมหายานแบบนิกายอันนัม ซึ่งเป็นวัชรยาน มหานิกายซึ่งเป็นมหายานแบบจีน ก็กลับเข้ามาแต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะ
ไพร่สยามยังคงต้องถือพุทธศาสนาตามเจ้านายเช่นเดิม

ปัจจุบันนี้ สิทธิและเสรีภาพมีมาก ทุกคนเลือกศาสนาได้
มหายานเริ่มกลับเป็นที่นิยมกว่าเถรวาทแล้ว
ด้วยปรากฏการณ์"จตุคามรามเทพ"

วรณัย




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2550
10 comments
Last Update : 27 กรกฎาคม 2550 17:23:21 น.
Counter : 8730 Pageviews.

 
 
 
 
 
 

โดย: โสมรัศมี วันที่: 27 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:46:09 น.  

 
 
 
 
 

โดย: หห IP: 125.24.70.45 วันที่: 15 กันยายน 2550 เวลา:13:57:20 น.  

 
 
 
อยากได้ประวัติของพระโสณะกับพระอุตตระ
 
 

โดย: miw IP: 124.120.12.249 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:14:42 น.  

 
 
 
อยากได้ประวัติของแคว้นกาลิงคะ อ่ะค่ะ ช่วยทีนะค้าบ
ขอบคุณค้าบ รักคนเขียน
 
 

โดย: บอลที่รักค้าบ IP: 203.113.36.8 วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:16:40:34 น.  

 
 
 
อามิตาพุทธ ข้าพเจ้าอยากได้ตำนานไซอิ๋วจังเลย(ถ้าหาเจอ
ช่วยนำมาลงด้วยนะครับ รบกวนหน่อยละครับ)
 
 

โดย: satchukorn IP: 118.172.246.222 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:15:22:00 น.  

 
 
 
ดหกด
 
 

โดย: พไพ IP: 203.172.48.120 วันที่: 27 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:39:47 น.  

 
 
 
อยากได้ประวัติพระเจ้าอโศกมหาราชตอนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งคนมาเผยแพร่ที่ มี 9 สายและอยากทราบว่าสายไหนประสบผลสำเร็จมากที่สุด
 
 

โดย: บี IP: 118.173.62.47 วันที่: 6 มิถุนายน 2551 เวลา:9:31:31 น.  

 
 
 
ขอคำตอบด่วนเลยนะค่ะ
 
 

โดย: บี IP: 118.173.62.47 วันที่: 6 มิถุนายน 2551 เวลา:9:32:57 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากมาย
 
 

โดย: หนุ่ม เสนา IP: 58.8.135.125 วันที่: 8 ตุลาคม 2552 เวลา:4:49:54 น.  

 
 
 
สายเถรวาทแท้ไม่เกี่ยวกับหลักการปกครอง ที่ยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์ ยังไม่เปิดโอกาสให้มีอิสระในการบรรลุโพธิญาณ
เพราะจะกลายเป็นผีบุญ หรือพระพุทธเจ้ากัลป์หน้า
เพราะในพระไตรปิฎก ก็มีตัวอย่างที่พระโพธิสัตว์ไม่ได้เป็นนักปกครองก็มากไป หรือคนธรรมดามีบุญก็ขึ้นปกครองได้ส่วน กรณีพระโพธิสัตว์ก็ไม่ได้มีแต่มหายานเพียงแต่มหายานเน้นพิเศษเรื่องพระโพธิสัตว์ ส่วนการปกครองที่มีตัวอย่างไว้ดีที่สุดคือพระเจ้าจักรพรรดิ์ คือถือศีล 5 กันหมดมีสวรรค์เป็นที่ไป เป็นต้น
 
 

โดย: na IP: 122.155.36.102 วันที่: 1 ตุลาคม 2554 เวลา:20:49:02 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

วรณัย
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เวลาผ่านไป หัวใจยังคงเดิม
[Add วรณัย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com