ประโยชน์ของกระจับนก (สมุนไพร)
กระจับนก

ชื่ออื่น ๆ : มะดะ (เชียงราย) กระจับนก (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Euonymus cochinchinensis Pierre
วงศ์ : CELASTRACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่ม ขนาดเล็ก มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว มีความสูงประมาณ 12 มม.
  • ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเข้าหากัน ริมขอบใบค่อนข้างเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย ผิวเนื้อบาง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6.5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 3-8 มม. ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งยาว 1-4 ดอกออกบริเวณง่ามใบ ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองออ่น กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบรองกลีบดอกเล็ก ยาวราว 1.5-2.5 มม. กว้างราว 2-4 มม. โคนกลีบของมันเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นกลีบดอก มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มม. โคนดอกแผ่ออกเป็นจานค่อนข้างกลม ตรงกลางดอกมีทั้งเกสรตัวผู้ และตัวเมีย
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ส่วนปลายผลนูน จักเป็นพูลึก 5 พู ยาวราว 1 ซม.
  • เมล็ด : เมล็ดเป็นรูปรี ปลายและโคนมน มีขนาดยาวราว 5-6 มม.

การขยายพันธุ์ : เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ทนต่อความร้อน และแสงแดดได้ดี มีการขยายพันุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณ : เปลือก นำเอามาดองหรือแช่ในสุรา ใช้ดื่มกินก่อนอาหารจะทำให้อยากอาหาร รับประทานอาหารได้มาก

ถิ่นที่อยู่ : กระจับนก เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณป่าที่มีระดับต่ำถึง 1.3 กม.



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:03:42 น.
Counter : 516 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog