ประโยชน์ของก้ามปูหลุด (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ปีกแมลงสาบ (ทั่วไป) ก้ามปู ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zebrina pendula (Schnizl)
วงศ์ : COMMELINACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเลื้อย มีปลายยอดตั้งชูขึ้นลำต้น สูงประมาณ 1-2 ฟุต
  • ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียวโคนใบมนเบี้ยว ใต้ท้องใบมีสีแดงอมม่วง ส่วนหลังใบเป็นสีเขียวอ่อน และบริเวณขอบใบหรือเส้นกลางใบมีสีแดงอมม่วง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-.1 นิ้ว ก้านใบสั้นมีขนขึ้นเล็กน้อย
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุกบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาวประมาณ 7-10 มม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน มีขนขึ้นประปราย
  • ผล : ผลมีลักษณะยาวรี ผลเมื่อแก้เต็มที่จะแตกอ้าออก ไปตามความยางของผลระหว่างช่อง ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันทั่วไปจัดว่าเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการแยกลำต้น

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ

สรรพคุณ :

  • ลำต้น เป็นยารักษาแผลไฟไหม้

ลำต้นและใบ ใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้กระหายน้ำ หรือใช้กาก พอกบริเวณที่เป็นฝี ใบ ใช้ต้มกินน้ำ ช่วยลดอาการบวม

ถิ่นที่อยู่ : ก้ามปูหลุด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก

หมายเหตุ : ” ก้ามปู ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ) “in Siam. Plant Names, 1948,p.502 ” Wondering Jew”

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:04:56 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog