ประโยชน์ของก่อสร้อย (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ: เส่ปอบมละ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง(น่าน) ก่อหัด(เพชรบูรณ์(สนสร้อย ส้มพอหลวง(เลย)
ชื่อสามัญ
:-
ชื่อวิทยาศาสตร์
: carpinus viminea Wall.
วงศ์ 
: BETULACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านจะมีช่องอากาศ เป็นปุ้ม ๆ จุดจำนวนมาก เปลือกผิวเป็นสีเทาและมีลายเป็นทางสีดำ เปลือกนอกจะลอกออกเป็นแผ่นงอม้วน บริเวณยอดอ่อนมีขนเล็กน้อย

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมหอก โคนใบกลม หรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบยาวแหลม ริมขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ขนาดของใบยาวประมาร 3-11 ซม. กว้างประมาณ 2-4 ซม. เส้นกว้างในบริเวณใต้ท้องใบจะมีขนเล็กน้อย เส้นใบย่อยเป็นเส้นตรงและเส้นขนานกันซึ่งจะเห็นได้ชัดมาก ก้านใบมีขน ยาวประมาณ 0.5-1.5 ซม.

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายผลแหลม ยาวประมาณ 0.5-0.7 ซม. ผิวเปลือกแข็ง และมีเส้นนูนประมาณ 7-8 เส้น มีต่อมให้ยางเหนียวเป็นจุด ๆ และทั้ง 2 ข้างมีใบประดับรูปไข่แกมรูปหอก มีเส้นนูนประมาณ 3-4 เส้น ใบประดับยาวประมาณ 2-2.5 ซม. ริมขอบหยัก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณ : เปลือก ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร และขับลมในลำไส้

ถิ่นที่อยู่ : ก่อสร้อย เป็นพรรณไม้ที่มักพบมาก ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น บริเวณภูกระดึง ภูหลวง จังหวัดเลย และทางภาคเหนือ เช่นดอยอินทนนท์ ดอยปุย อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิง พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:04:36 น.
Counter : 471 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog