ประโยชน์ของมะเขือยาว (สมุนไพร)
มะเขือยาว

มะเขือยาว : มะเขือหำม้า, มะแขว้ง, มะแข้งคม, มะเขือป้าว (ภาคเหนือ), มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ), มะเขือขาว, มะเขือจานมะพร้าว, มะเขือกระโปกแพะ, มะเขือจาน (ภาคกลาง), สะกอวา, ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)
ชื่อสามัญ : Egg Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena Linn.
วงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลักษณะของลำต้นจะแข็งแรง มีสีเขียวหรือสีม่วง ลำต้นมีขนนุ่ม และสั้นปกคลุมทั่ว หรืออาจมีหนามเล็ก ๆ ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบ
  • ใบ : ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก หรือเป็นคลื่นหลังใบ และใต้ท้องใบจะมีขนนุ่มปกคลุม ขนาดของใบยาวประมาณ 2.5-7 นิ้ว กว้างประมาณ 1.5-5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1 นิ้ว
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรือออกเป็นดอกเดียว ลักษณะของดอกมีสีม่วง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันส่วนปลายแยกจากกันเป็น 5 แฉก ปลายแหลม กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อันและตัวเมีย 1 อัน อยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง
  • ผล : ผลมีลักษณะกลมยาว มีสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลก็จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้นและราก ใบ ดอก ผล ขั้วผล

สรรพคุณ :

  • ลำต้นและราก ใช้ลำต้นและรากแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้ม เอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือด หรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ เป็นต้น
  • ใบ ใช้ใบแห้ง นำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผล หรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็น
  • ดอก ใช้ดอกสด หรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด ใช้มาบริเวณที่ปวดเป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง เป็นต้น
  • ผล ใช้ผลแห้ง นำมาทำเป็นยาเม็ด กินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน เป็นต้น
  • ขั้วผล ใช้ขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี เป็นต้น



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:10:28 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog