ประโยชน์ของชะมดต้น (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ชะมัดต้น, ฝ้ายผี (ไทยภาคกลาง) บางคนเรียก จั๊บเจี๊ยว
ชื่อสามัญ : Musk Mallow, Muskseed, Abel Musk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus abelmoschus Linn.
วงศ์ :  Malvaceae

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน (Herb) หรือไม้พุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ซม. ถึง 2 ม. ลำต้นจะเป็นขน
  • ใบ : ใบจะมีลักษณะเป็นหยัก ตรงปลายใบของมันจะแหลม ก้านใบยาว และใบจะเป็นขน
  • ดอก : จะออกเป็นดอกเดียวมีสีเหลือง ตรงกลางดอกด้านใน เป็นจุดโตเป็นสีเลือดหมูคล้ายดอกกระเจี๊ยบ
  • เกสร : เกสรตัวผู้จะอยู่รวมกันเป็นแท่ง แต่ตรงปลายกระเปาะของเกสร จะแยกออกจากกัน
  • ฝัก : ฝักจะมีขนปกคลุม ลักษณะฝักจะกลมและยาวเป็นเฟือง 5 เฟือง คล้ายมะเฟือง หรือลูกตานขโมย และมีขนคมคาย ทั้งฝัก ฝักอ่อนจะเป็นสีเขียวแก่และเมื่อแก่จะเป็นสีดำ
  • เมล็ด : เมล็ดนั้นจะมีลักษณะคล้ายไต และเมื่อเราขยี้ดม จะมีกลิ่นคล้ายชะมดเช็ด

การขยายพันธุ์ : โดยการปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล ราก และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

  • ต้น ใช้รักษาเกลื้อนช้าง เกลื้อนใหญ่ เรื้อนน้ำเต้า เรื้อนกวาง
  • ใบ ใช้ฆ่าพยาธิ และรักษากลากเกลื้อน
  • ดอก ใช้รักษาโรคพยาธิ และขับไส้เดือน
  • ผลสด ใช้ตำพอกฝี และเร่งหนองให้หนองนั้นแตกเร็ว
  • ราก ใช้รักษารังแค โดยการฆ่าเชื้อตามขุมขน และรากผม นอกจากนี้รากและใบ ยังใช้ รักษาโรคหนองในได้ด้วย
  • เมล็ด จะมีรสขม เย็น ใช้เป็นยาขับลม รักษาอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร รักษา การกระหาย โรคกามโรคหรือโรคหนองใน รักษาการขาดสีผิวของผิวหนัง โรคหิด นอกจากนี้ยังเป็นยาเจริญอาหารด้วย

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้ได้นำไปปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตาม บริเวณที่รกร้าง และที่ลุ่มทั่วไป มีปลูกกันบ้างเพื่อใช้เอาใยของเปลือกทำเชือก และกระสอบ

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองทางแถบเอเชีย และมักจะปลูกในเมืองร้อน เช่น จีน พม่า และอินเดีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตำรับยา :

  1. เมล็ดใช้ 1 กำมือ บดให้ละเอียด ใส่น้ำนมคนผสมพอแฉะ ๆ ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นหิด วันละ 1-2 เวลา จนกว่าจะหาย
  2. ราก ใช้บด พอประมาณ แล้วพอกตามแผลพุพอง
  3. รากและใบ จำนวนพอประมาณ นำมาต้มกินเป็นยารักษา กามโรค และโรคปวดข้อ
  4. บดเมล็ดรวมกับแป้งผสมกัน 1 ต่อ 1 ใช้รักษาผดผื่นคัน (Prickly heat) นอกจากทางยาแล้วเมล็ดยังมีน้ำมันทำให้มีกลิ่นหอม จึงใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอม

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:36 น.
Counter : 891 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog