ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงขาว (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ป๋ายฮัวตาน (จีนกลาง), แปะฮวยตัง (แต้จิ๋ว), ปิดปิดขาว (ภาคเหนือ), ตั้งชู้อ้วย, ตอชูวา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago zeylanica Linn.
วงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก จะแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นมากมาย ซึ่งกิ่งอ่อนหรือกิ่งที่เล็ก จะมีร่องเหลี่ยม ลำต้นจะสูงประมาณ 2-3 เมตร
  • ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบสลับกันไปตามข้อต้น ใบเป็นรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบ เป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบจะมนเว้ามีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบมะลิ แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้วยาว 2-3.5 นิ้ว
  • ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามส่วนยอดของต้น ช่อดอกนั้นยาวประมาณ 4-10 นิ้ว ลักษณะของ ดอกตรงโคนจะเป็นหลอดเล็ก ๆ แต่ส่วนปลายดอกจะบานออกเป็นกลีบอยู่ 5 กลีบรูปจะคล้ายกับจาน ดอกมีสีขาว กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวและมีขนปกคลุมทั่วกลีบ

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้ในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นและที่แฉะ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ราก และใบ

สรรพคุณ :

  • ราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ ขับประจำเดือน ทาแก้กลากเกลื้อน และแก้ปวดข้อ
  • ใบ นำมาตำพอกแก้ฟกช้ำหรือฝีบวม และใช้แก้โรคมาลาเรีย

ข้อห้ามใช้ : สำหรับหญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทาน เป็นอันขาดเพราะจะมีสารบางอย่างเหมือน ๆ กับเจตมูลเพลิงแดง ซึ่งจะทำให้แท้งได้ แต่ฤทธิ์ของเจตมูลเพลิงขาวนี้จะอ่อนกว่า

ถิ่นที่อยู่ : มักจะพบเจตมูลเพลิงขาวนี้งอกงามอยู่ตามป่าที่ราบทั่วไปและชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ

ตำรับยา : 1. นำรากสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอาไปผสมกับเหล้าหรือน้ำ เพื่อเป็นยารักษาโรค กลากเกลื้อนนำส่วนที่ผสมนั้นไปพอกในที่ที่เป็นแผล

2. นำใบสดสัก 8-9 ใบมาตำให้ละเอียด ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย โดยนำใบที่ตำนั้นไป พอกตรงข้อมือทั้งสองข้างตรงบริเวณชีพจร ให้พอกก่อนที่จะเกิดอาการสัก 2 ชั่วโมงและพอกจนกระทั่งบริเวณที่พอกนั้นเย็นจึงค่อยเอาออก

3. นำใบสดมาตำ แล้วแช่ในเหล้า ใช้แก้บริเวณที่ฟกช้ำได้

4. นำเนื้อหมูแดงสัก 60 กรัม และรากแห้ง 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาขับประจำ เดือน

5. นำรากแห้งประมาณ 1.5-3 กรัมมาต้มกับน้ำ หรือแช่เหล้า แล้วรับประทานจะแก้ อาการปวดตามข้อและเคล็ดขัดยอก แต่จะกินวันละ 5 มล. วันละ 2 ครั้ง

6. นำรากแห้งมาดองเหล้ารับประทาน จะแก้อาการม้ามบวม แต่ถ้าอาการหนักก็นำใบสดมาตำให้ละเอียดคลุกกับข้าวเหนียวแล้วปั้นเป็นเม็ดขนาดพอดีนำไปนึ่งให้สุก รับประทานก่อนนอนและตื่นนอนทีละ 1 เม็ด

7. ถ้าเป็นฝี เช่น พวกฝีบวม ฝีคัณฑสูตร เต้านมอักเสบ ไฟลามทุ่ง ให้นำใบสดมาตำ แล้วเอาผ้าก๊อสห่อ พอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย

8. ใช้ใบสดและข้าวสวยอย่างละ 1 กำมือและใส่เกลือเล็กน้อยตำเคล้ากันให้ละเอียด ใช้รักษาโรคผิวหนังหนาเนื่องจากเสียดสีกันนาน โดยนำไปพอกในบริเวณที่เป็นนั้น

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:13 น.
Counter : 443 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog