ประโยชน์ของจมูกปลาหลด (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : สะอึก ( กลาง ) , ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา) , จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ผักไหม(เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ : Oxystemlma esculentum R.BR.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxystelma esculentum ( L.) R.BR.
วงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง มีเถาที่เล็กและมียางสีขาวอยู่ในเถา ไม่มีขน
  • ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบแคบ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบไม่มีจัก มีเนื้อใบบางสีเขียว ใบกว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 10-15 ซม. ก้านใบสั้นและเล็ก
  • ดอก : แตกดอกเดี่ยว หรือบางทีก็ออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งมีอยู่ 2-3 ดอก ผลิดอกตรงโคนก้านใบ ดอกหนึ่งมีอยู่ 5 กลีบโคนกลีบจะเชื่อมติดกันเวลาบานจะคล้ายกับรูปจาน ด้านในกลีบสีชมพูส่วนด้านนอกเป็นสีขาว กลีบจะตัดด้วยเส้นสีม่วงและจุดประสีน้ำตาลน่ารักมาก กลางดอกมีเกสรอยู่ 5 เส้น
  • ผล : มีลักษณะเป็นฝัก ปลายแหลม โคนฝักกว้าง ผิวจะนิ่มผลโตประมาณ 1 มม ยาว 4-7.5 ชม.เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกจะเป็นเมล็ดอยู่ภายในผลเป็นจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้ที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร ชอบความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำ

ส่วนที่ใช้ : ยางจากต้น ราก เถา

สรรพคุณ :

  • ยางจากต้น เป็นยางที่มีสารบางอย่าง โดยเราจะนำมาชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้
  • ราก ใช้รักษาโรคดีซ่านเถา เด็ดเอาสำเถานี้นมาต้มกับน้ำ แล้วรับประทานแก้เจ็บคอ กลั้วคอ

ถิ่นที่อยู่ : พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออก และภาคกลางของไทย

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:05 น.
Counter : 1079 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog