แนะนำหนังสือ Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies by Jared Diamond
เล่มนี้เพื่อนแนะนำให้ไว้นานแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านซะที จนกระทั่งเมื่อคืนอยากหาหนังสือดีๆมาอ่านเลยหยิบเล่มนี้มา อ่านแล้วทึ่งจริงๆ ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่มีมาหลายพันปี ถ้าถามว่าทำไมสังคมถึงได้พัฒนามาแบบนี้ ทำไมถึงเป็นคนยุโรปที่ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และความก้าวหน้าต่างๆจนกระทั่งถือเป็นผู้นำของโลกในปัจจุบัน? เป็นเพราะคนยุโรปฉลาดกว่าเหรอ? หนังสือเล่มนี้อธิบายว่าไม่ใช่เป็นเพราะความฉลาด หรือความแตกต่างทางเชื้อชาติ แต่น่าจะเป็นเพราะความแตกต่างทางภูมิศาสตร์มากกว่า มีหลายเหตุผลที่ผู้เขียนชี้แจงให้เราได้เห็นว่าทำไมภูมิศาสตร์ถึงมีส่วนสำคัญในการกำหนดว่าคนกลุ่มไหนที่จะมีโอกาสสร้างสรรค์อารยธรรมได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญๆ ก็เห็นได้จากชื่อหนังสือค่ะ Guns อาวุธ ถือเป็นส่วนที่สำคัญว่าคนจากสังคมไหนจะชนะคนอีกกลุ่มหนึ่ง เรามักจะคิดกันว่า คนที่คิดอาวุธได้ก็เป็นเพราะฉลาดกว่า แต่ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้คนกลุ่มหนึ่งคิดอาวุธได้ในขณะที่อีกกลุ่มคิดไม่ได้ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความฉลาดเลย อีกปัจจัยหนึ่งคือ Germs ซึ่งก็คือ เชื้อโรคนั่นเอง ต้องยอมรับว่าถึงแม้จะเรียนหมอมา แต่ม่อนก็ไม่ได้คิดถึงเชื้อโรคว่าเป็นตัวกำหนดประวัติศาสตร์โลกเลย แต่ในหนังสือเล่มนี้ ได้ให้ความเหตุไว้ว่า คนกลุ่มไหนที่ทำการเกษตรได้ ก็จะอยู่กันเป็นกลุ่มหนาแน่น รวมทั้งการทำปศุสัตว์ ทำให้สังคมเหล่านี้มีการติดเชื้อโรคจากสัตว์และพัฒนามาเป็นโรคระบาดในคน ทำลายล้างคนในสังคม จนเหลือเพียงแต่คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเหล่านั้น ตัวอย่างได้แก่ โรคไข้ทรพิษในยุโรป ซึ่งเมื่อโรคเหล่านี้ผ่านไปแล้ว แต่พอคนยุโรปไปตั้งรกรากที่อเมริกา ก็นำโรคเหล่านี้ไปติดคนท้องถิ่นซึ่งไม่เคยได้สัมผัสกับโรคเหล่านี้มาก่อน แต่ในทางกลับกัน โรคจากทางอเมริกา ไม่ได้ไปติดคนยุโรปก็เพราะว่าที่อเมริกาเมื่อก่อนเป็นชนเผ่าแบบ hunter-gatherer ไม่ได้ทำฟาร์ม จึงอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่หนาแน่นพอที่จะทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ได้ ผู้เขียนสรุปว่า คนอินเดียนท้องถิ่นเดิมของอเมริกานั้นตายด้วยโรคระบาดมากกว่าตายจากสงครามกับคนยุโรปมากมายนัก ในขณะเดียวกัน ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา มีโรคท้องถิ่นที่อันตราย เช่น มาลาเรีย เป็นต้น ทำให้คนยุโรปไม่สามารถเข้ามาตั้งรกรากได้อย่างง่ายดายนัก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ในปัจจุบัน ท้องถิ่นของเราก็ยังเป็นคนเอเชียอยู่ ต่างกับอเมริกา หรือ ออสเตรเลียที่กลายเป็นคนยุโรปมาอยู่แล้วทำให้คนท้องถิ่นกลายเป็นคนกลุ่มน้อยไปแทน อีกเรื่องหนึ่งก็คือ steel ซึ่งก็คือ เหล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการพัฒนาอาวุธ เกราะกำบังและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ คำถามคือว่า ทำไมที่อื่นเช่น ออสเตรเลีย ซึ่งมีเหล็กและทองแดงเยอะ แต่คนท้องถิ่นกลับไม่ได้คิดค้นที่จะนำโลหะมาใช้เหมือนในยุโรป ผู้เขียนเสนอว่าไม่ใช่เพราะคนท้องถิ่นออสเตรเลียไม่มีความฉลาด แต่เป็นเพราะปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้การพัฒนาโลหะมาใช้เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย แต่ม่อนเอาไว้ให้ผู้อ่านอ่านกันเองดีกว่าค่ะ

หนังสือเล่มนี้อาจจะ(เนื้อหา)หนักนิดนึง ตอนแรกที่ม่อนไม่ได้อ่าน ทั้งๆที่เพื่อนบอกว่าดีก็เพราะเห็นว่ามันตั้ง 400 กว่าหน้า แถมเนื้อหายังดูยาก แต่พออ่านจริงๆแล้วก็พบว่าไม่ได้อ่านยากนัก และเนื้อหาก็น่าสนใจมาก เป็นการมองประวัติศาสตร์ผ่านทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแพทย์ ชีววิทยา พันธุกรรม และผ่านทางโบราณคดี ถือว่าเป็นหนังสือที่ให้มุมมองต่อประวัติศาสตร์โลกได้อย่างดีมากๆ

อีกอย่างหนึ่งที่ม่อนสังเกตเห็นเอง ก็คือว่า จากการที่ได้สอบTOEFL GRE มา พบว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องอยู่ในหนังสือเล่มนี้หลายเรื่องทีเดียว เช่น เรื่อง domesticated animal ก็จำได้ว่าเคยอ่านเจอใน passage ของ TOEFL หรือ GRE เนี่ยแหละ และการใช้หลักเหตุผลของผู้เขียนก็ถือว่าดีมาก คือ เขาจะตั้งคำถามก่อน แล้วเสนอความคิดเห็นที่คนส่วนใหญ่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ แล้วหาหลักฐานมาโต้แย้ง พร้อมทั้งเสนอสมมติฐานของเขาโดยการเสนอหลักฐานมาสนับสนุน ม่อนคิดว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีด้วย หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล Pulizer ซึ่งเป็นรางวัลของผลงานเขียนที่สำคัญมาก ถือได้ว่าหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือที่สำคัญและดีเล่มหนึ่งจากสังคมตะวันตกค่ะ

//www.kru-mon.com/?p=447



Create Date : 17 มกราคม 2554
Last Update : 17 มกราคม 2554 0:04:11 น.
Counter : 1035 Pageviews.

1 comments
  
เนื้อหาน่าสนใจมากเลยค่ะ แต่ติดที่ไม่เก่งอิ๊งอ่ะคะ - - ขอบคุณที่แนะนำหนังสือดีๆนะคะ
โดย: plaplai IP: 223.207.40.4 วันที่: 18 พฤษภาคม 2554 เวลา:0:03:29 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vinter
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



กลับมาเขียนอีกครั้งล่ะ
New Comments
มกราคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog