"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
ระยะสัจจะนิยมและปรมาณูทางตรรกะ .. รัสเซล






รัสเซล




ระยะสัจจะนิยมและปรมาณูทางตรรกะ

ระยะนี้อยู่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ถึง พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ในราวปี พ.ศ. 2443 รัสเซลเริ่มผละออกจากลัทธิอุดมการณ์นิยม และเริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง ร่วมมือกับมัวร์ก่อตั้งและเผยแผ่ลัทธิสัจนิยมใหม่

นับเป็นระยะแรกของวิวัฒนาการทางความคิดปรัชญาของรัสเซล วิจารณ์ความคิดแบบอุดมการนิยมแต่เดิมว่า ความสัมพันธ์เป็นสิ่งภายนอกสารัตถะ เป็นคุณา ความสัมพันธ์ไม่ไช่ส่วนหนึ่งของสารัตถะ ข้อพิสูจน์ก็คือ เมื่อเรามีผัสสะต่อวัตถุใดวัตถุหนึ่ง นอกจากเราจะมีความสำนึกถึงวัตถุชิ้นนั้นแล้ว เรายังมีความสำนึกถึงความสัมพันธ์ของวัตถุชิ้นนั้นกับสิ่งอื่นต่างหากออกไปด้วย

เราอาจจะพิจารณาความสัมพันธ์ต่างหากจากวัตถุ เช่น ในคณิตศาสตร์เราเรียนความสัมพันธ์บริสุทธิ์ระหว่างจำนวนเลขหรือระหว่างรูปทรงต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนวัตถุทีมีจำนวนหรือรูปทรงนั้นๆเลย ยิ่งกว่านั้น ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้บอกเราว่าเราเรียนรู้วัตถุก่อน ต่อมารู้จำนวนเลข ต่อมาความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์จะค่อย ๆ ตามมาทีละน้อย ๆ จากข้อสังเกตดังกล่าว รัสเซลตั้งมูลบทขึ้นมาว่า

1.ข้อเท็จจริงทั้งหลาย เป็นปรมาณูทางตรรกะ (Facts are logically atomic) (= ลัทธิปรมาณูนิยมทางตรรกะ)

2.มีข้อเท็จจริงอยู่มากที่ยังไม่รู้ (There are non-mental facts) (=ลัทธิสัจนิยม)

3.ประโยคแสดงความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงปรมาณู ความจริงเท็จของประโยคจึงขึ้นอยู่กับคำพูดที่ประกอบกันเป็นประโยค ( ลัทธิสัจนิยมใหม่ )

4.คำที่มีความหมายต้องมีวัตถุตอบสนอง ประโยคทีมีความหมายคือประโยคที่บรรจุแต่คำที่มีความหมายเท่านั้น (= ทฤษฎีอุเทศในปรัชญาของภาษา) ต่อมาลดหย่อนให้บางคำไม่ต้องมีวัตถุตอบสนองก็ได้ แต่อย่างน้อยจะต้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประโยค จึงจะถือว่ามีความหมาย

5.วิธีวิจัยปรัชญาที่เหมาะที่สุดคือการวิเคราะห์ทางตรรกะ นั้นคือวิเคราะห์ความรู้ออกเป็นหน่วยย่อยที่สุดแล้วสังเคราะห์เพื่อเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยย่อยซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ไป (= ลัทธิปรัชญาวิเคราะห์)

จะเห็นได้ว่า ความคิดริเริ่มของรัสเซลในระยะนี้บุกเบิกแดนใหม่ ให้นักวิจัยทางปรัชญาสามารถวิจัยต่อกันมาหลายด้าน


ระยะนี้เริ่มตั้งแต่หนังสือ Principia Mathematica ทีเขียนร่วมกับไวท์เฮดวิจารณ์ปรมาณูนิยมทางตรรกะของตนเองว่า ปรมาณูทางตรรกะไม่สามารถให้ความแน่ใจได้ว่าเป็นจริง เพราะยิ่งคิดไปยิ่งมีปัญหามากขึ้นทุกที

ดังนั้นแทนที่จะใช้มโนภาพเป็นมูลบทของความจริง ก็ให้ใช้ประโยคเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดเป็นมูลบท แล้วไล่เรียงไปหาความจริงของประโยคที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยไป จึงเรียกแนวความคิดเช่นนี้ว่าลัทธิสร้างสรรค์นิยมทางตรรกะ (Logical constructionnal) ซึ่งก็ยังเป็นอีกแบบหนึ่งของสัจนิยม


ระยะสัจนิยมและสร้างสรรค์นิยมของใจ

ระยะนี้อยู่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) ถึง พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา รัสเซลพบว่าสิ่งที่เราแน่ใจในประโยคก็คือข้อมูลไม่ไช่ข้อเท็จจริง ข้อมูลประกอบด้วยข้อเท็จจริงและการทำงานของใจร่วมกัน เพื่อจะได้ข้อเท็จจริงเราจำเป็นต้องเปรียบเทียบข้อมูลจากหลาย ๆ ทาง เพื่อหาทางคัดส่วนที่เป็นการทำงานของใจของเราเองออกไป

เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ลัทธิเช่นนี้ได้ชื่อว่าลัทธิสร้างสรรค์นิยมของใจ (constructionism of mind) ซึ่งก็ยังเป็นแบบหนึ่งของลัทธิสัจนิยมอยู่นั้นเอง

ควรสังเกตว่า ในทางอภิปรัชญา เมื่อรัสเซลเปลี่ยนแนวความคิดจากลัทธิอุดมการนิยมแล้วก็ยึดมั่นอยู่ในลัทธิสัจนิยมมาโดยตลอด ระหว่างที่ยึดมั่นอยู่ในลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญานี้เองได้เปลี่ยนแนวความคิดทางญาณปรัชญาเป็น 3 ลัทธิด้วยกัน

คือ ปรมาณูนิยมทางตรรกะ สร้างสรรค์นิยมทางตรรกะ และสร้างสรรค์นิยมของมนัส ส่วนวิธีการวิจัยทางปรัชญานั้น รัสเซลยึดมั่นในวิธีการปรัชญาวิเคราะห์มาโดยตลอดตั้งแต่ระยะอุดมการนิยมแล้ว

โรนัลด์ เจเกอร์ (Ronald Jager) แบ่งอีกแบบคือ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ อย่างเด็ดขาด ดังนี้

1.ระยะอุดมการนิยม (idealist phase) ตั้งแต่ต้นถึง พ.ศ. 2443
2.ระยะสัจนิยม (realist phase) พ.ศ. 2443 - 2455
3.ระยะปรมาณูนิยม (atomist phae) พ.ศ. 2455 - 2463
4.ระยะเอกนิยมแบบเป็นกลาง (neutral monist phase) พ.ศ. 2463 - 2513

อย่างไรก็ตามเจเกอร์อ้างว่าแบ่งเพื่อสะดวกเพื่อสาธยายเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะยืนยันเป็นทฤษฎีให้วิพากษ์วิจารณ์

รัสเซลลังเลใจมากเกี่ยวกับอภิปรัชญา บางครั้งก็อ้างว่าเท่าที่ค้นคว้านั้นเป็นเพียงเรื่องของญาณปรัชญา ไม่เกี่ยวกับโครงสร้างอันแท้จริงของมนัสหรือธรรมชาติของสิ่งของ แต่บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าเมื่อพูดถึงมนัสว่าเป็นที่รวมของผัสสะและมโนภาพ

และแถลงว่าความเป็นจริงทั้งหลายก็ขึ้นจากประสบการณ์บ้างต้น แล้วค่อยๆลำดับเรื่องขึ้นมาจนถึงประบการณ์ซับซ้อนเช่นนั้น ย่อมจะหลีกอภิปรัชญาไปไม่พ้น

ในระยะปรมาณูนิยมทางตรรกะ ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ภาษาในอุดมการณ์ (ideal language) จะต้องตรงกับความเป็นจริง ภาษาในอุดมการณ์นี้ได้มาโดยอาศัยหลักความคุ้นเคย (principle of acquaintance) อันเนื่องมาจากประสบการณ์ ตั้งสูตรขึ้นว่า “ ข้อความทุกข้อความที่เราเข้าใจต้องประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบที่เราคุ้นเคยเท่านั้น”

นั้นคือรัสเซลเชื่อว่าความคุ้นเคย (acquaintance) เป็นสิ่งค้ำประกันความแน่นอนของความรู้ของเรา และในทำนองนี้สิ่งที่เรามั่นใจได้ก่อนอื่นทั้งหมดมิใช่ข้อความ หรือความสัมพันธ์ (Logical construction) แต่เป็นข้อมูล (data) ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นข้อความปรมาณู (Logical statement)

แต่ข้อมูลเป็นเรื่องของอภิปรัชญาส่วนในเรื่องญาณปรัชญาความรู้ของเราต้องเริ่มจากข้อความปรมาณู เช่น "This is white. This is above that." ซึ่งเราจะวิเคราะห์ให้เป็นความเข้าใจที่ง่ายกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว เพราะประกอบด้วยข้อมูลน้อยที่สุดและที่เราคุ้นเคยจริง ๆ ข้อความปรมาณูหลายข้อความรวมกันเป็นข้อความเชิงซ้อนหรือข้อความอณู (compound or molecular statement)

อย่างไรก็ดี ต่อมารัสเซลเองเกิดสงสัยขึ้นมาว่า เราจะเอาอะไรมาตัดสินได้ว่าอะไรเป็นปรมาณูทางตรรกะ เราคุ้นเคยและคิดว่ามันง่ายที่สุดแล้วแต่ความจริงมันอาจจะถูกวิเคราะห์ต่อไปอีกก็ได้ที่สุดรัสเซลก็ละความพยายามที่จะคิดอภิปรัชญา

เพราะเห็นว่าประสาทของเราไม่ได้รับรู้ผัสสะทุกอย่างอาจจะมีคุณภาพอีกหลายอย่างที่เราไม่มีประสาทรับ เราจะเข้าถึงความเป็นจริงได้อย่างไรเล่า รัสเซลจึงสนใจแต่จะค้นคว้าเรื่องราวความรู้ที่เรามีสมรรถภาพอยู่เท่านั้น พยายามให้ได้ใกล้ความเป็นจริงที่สุดก็พอแล้ว


คณิตศาสตร์กับตรรกวิทยา

รัสเซลมีความคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาสืบเนื่องจากตรรกวิทยา เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความรู้เบื้องต้นของตรรกวิทยาเอาไปคิดต่อเป็นจำนวนเลข


เปอาโน ถือว่าถ้าในจักรวาลมีวัตถุอยู่ n หน่วย จำนวนเลขที่มากกว่า n ย่อมเป็นไปไม่ได้นั่นคือ จำนวนเลขไม่รู้จบเป็นของเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจจะมีเลขจำนวนสูงสุด ซึ่งไม่มี successor ต่อไป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร สิริมานปรีดิ์เขษมนะคะ



Create Date : 16 ธันวาคม 2553
Last Update : 16 ธันวาคม 2553 11:51:53 น. 0 comments
Counter : 1556 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.