"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
26 กันยายน 2557
 
All Blogs
 
ผู้คน บ้านเมือง ในสยาม ก่อนรัฐประหาร 2490

โดย วิภา จิรภาไพศาล

มติชนรายวัน 12 สิงหาคม 2557


 



กองกำลังส่วนหนึ่งของคณะรัฐประหาร 2490 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม ในเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490














คงไม่ต้องอธิบายว่า "รัฐประหาร"Ž คืออะไรให้เสียเวลา เพราะนี่คือหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองที่คุ้นเคยกันดีสำหรับประเทศไทย ประเทศที่มีสถิติการทำรัฐประหารจำนวน 18 ครั้ง (พ.ศ.2476-2557) จนติดอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 4 ของโลก 

น่าสนใจว่าทำไมประเทศจึงเลือกใช้วิธี รัฐประหารŽ หรือเป็นเครื่องมือที่ถนัด

วันนี้จึงอยากเชิญชวนท่านอ่านบทความชื่อ ก่อนจะถึงรัฐประหาร 2490 ในสยามŽ ของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมŽ ฉบับเดือนสิงหาคมนี้

บทความนี้แต่เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์ลงในวารสารของสยามสมาคมเมื่อ พ.ศ.2530 ใช้ชื่อบทความว่า "The United States and the Coming of the Coup of 1947 in SiamŽ"

อาจารย์ธเนศได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาและมุมมองใหม่ๆ พร้อมกับถ่ายทอดออกมาเป็นภาคภาษาไทย

ทำไมผู้เขียน (ธเนศ) จึงเลือก การรัฐประหาร พ.ศ.2490Ž จากการรัฐประหารทั้งหมดของไทย 

ก่อนที่จะกล่าวถึงการรัฐประหาร พ.ศ.2490 ของอาจารย์ธเนศ เราลองมาดูว่าคนทั่วไปรู้จักการรัฐประหารครั้งนี้เพียงใด เมื่อค้นจาก วิกิพีเดียŽ แหล่งค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นขนาดใหญ่บนโลกออนไลน์เขียนถึงรัฐประหาร 2490 ว่า

"รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ, น.อ.กาจ กาจสงคราม, พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พ.อ.ถนอม กิตติขจร, พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์...

 

 


เอกสารจากหน่วยบริการทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เรื่องการสัมภาษณ์กับหลวงศุภชลาศัย เรื่องความเป็นไปได้ของการเกิดปฏิวัติวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2485



ผลจากการรัฐประหารในครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เป็นการรัฐประหารที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ แม้จะได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งมา ก็ไม่มีอำนาจและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะนายทหาร ซึ่งหลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ที่เพิ่งก่อตั้งมาก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีความแตกแยกกันเองภายในพรรค สืบเนื่องจากการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล จอมพล ป.ของสมาชิกพรรคบางคน

ทำให้สมาชิกพรรคหลายคนได้ลาออก เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรค, นายเลียง ไชยกาล, นายสุวิชช พันธเศรษฐ, นายโชติ คุ้มพันธ์ เป็นต้น ถือเป็นความแตกแยกกันของพรรคเป็นครั้งแรก

และที่สำคัญที่สุดการรัฐประหารครั้งนี้ เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของนายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ซึ่งหลังจากนั้นนายปรีดีต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ ไม่อาจกลับมาประเทศไทยได้อีกเลยตราบจนสิ้นชีวิต แม้จะมีความพยายามกลับมาทำกบฏวังหลวงในปี พ.ศ.2492 ก็ไม่สำเร็จ

และต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ด้วย ซึ่งต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เลิกเล่นการเมืองไปแล้วได้หวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง 9 ปีด้วยกัน โดยมีกรณีที่สำคัญคือ การฟ้องและประหารชีวิตผู้ต้องหาจากคดีสวรรคตŽ"

 

 


(จากซ้าย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม, นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2476 ภายหลังร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจตกไป, (ซ้าย) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ (ขวา) นายควง อภัยวงศ์



แม้ข้อความข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของข้อมูลเรื่องนี้ในวิกิพีเดีย แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามีการนำเสนออย่างละเอียดถี่ถ้วน 

ส่วนบทความของอาจารย์ธเนศ เริ่มต้นจากมุมมองของนักวิชาการหลายท่านต่อการรัฐประหาร พ.ศ.2490 ที่ทำให้เห็นว่า ทำไมผู้เขียนเลือกกล่าวถึงการรัฐประหารครั้งนี้ไว้ว่า

"เป็นการเริ่มต้นของรอยด่างในยุคสมัยใหม่ของการเมืองไทย ที่การใช้กำลังจะกลายเป็นปัจจัยปกติธรรมดาไปในการต่อสู้ทางการเมือง ในขณะที่แหล่งที่มาอันชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจรัฐที่มาจากระบบรัฐธรรมนูญ ถูกทำให้เสื่อมคลายไร้ความหมายลงไปมากขึ้นเรื่อยๆŽ"

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ นักรัฐศาสตร์มีชื่อเสียงแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล

"เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงถ่ายทอดอำนาจทางการเมือง จากคณะราษฎรมาสู่คณะรัฐประหารซึ่งก็คือกลุ่มทหารบกนั่นเองŽ"

สุชิน ตันติกุล ผู้ที่สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับการรัฐประหาร 2490 ทำวิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2517 ชื่อ ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490Ž, และหนังสือรัฐประหาร พ.ศ.2490 สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

"ทรรศนะของฝ่ายรอยัลลิสต์ รัฐประหาร 2490 ถือได้ว่าเป็น ′อรุณรุ่งแห่งแสงเงินแสงทองของวันใหม่′"

ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ฯลฯ

ที่สำคัญในบทความของอาจารย์ธเนศก็คือ การใช้ข้อมูลจาก NADD (National Archives Declassified Documents) เอกสารลับที่เปิดเผยแล้ว จากหอจดหมายเหตุสหรัฐ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ที่บันทึกการเคลื่อนไหวในช่วงปี พ.ศ.2488-90 ของประชาชน, ข้าราชการพลเรือน, กองทัพและทหาร, นักการเมือง และเจ้านาย ฯลฯ จนนำไปสู่การรัฐประหาร 2490 

ยังมีทรรศนะของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่วิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าว หรือแม้แต่ท่าทีของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

ซึ่งทั้งหมดนั้นไม่สมควรตัดทอนหรือสรุปมานำเสนอ เพราะอาจไม่ละเอียดต่อเนื่องพอ จนอาจตีความกันผิดๆ ได้ แต่ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมด 26 หน้า แบบงานวิชาการจริงๆ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมŽ อ่านแล้วยังไม่เชื่อถือก็ตามไปสืบค้นจากเอกสารที่อ้างอิงหลายสิบรายการอีกทีเอาให้กระจ่าง

 

 

ขอบคุณ มติชนออนไลน์ - มติชนรายวัน

คุณวิภา จิรภาไพศาล

 

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ

 

 




Create Date : 26 กันยายน 2557
Last Update : 26 กันยายน 2557 11:52:13 น. 0 comments
Counter : 1161 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.