"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
เปิดตัว "พอพันธ์ไน" แรดดึกดำบรรพ์ไทยสายพันธุ์ใหม่ของโลก

 

ภาพวาดศิลปินจีน แสดงสภาพแวดล้อมใน ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ในอดีต

 

       สถาบันไม้กลายเป็นหินเปิดตัว "พอพันธ์ไน" แรดไร้นอดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ของโลก พบในไทยบริเวณบ่อทรายริมน้ำมูลที่โคราช แหล่งเดียวกับที่เคยพบเอปโบราณและบรรพบุรุษหมูป่าโบราณก่อนหน้านี้ บ่งชี้สมัยดึกดำบรรพ์บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นทุ่งหญ้าติดกับป่าทึบริมน้ำมูลโบราณ
       
       นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานแถลงข่าวการค้นพบซากดึกดำบรรพ์แรดไทยพันธุ์ใหม่ของโลก คือ อาเซราเธียม พอพันธ์ไน (Aceratherium porpani) เมื่อวันที่ 23 ก.ย.56 ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) อาคารมณียาเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ
       
       การค้นพบแรดดึกดำบรรพ์พันธุ์ใหม่ดังกล่าวเป็นงานวิจัยร่วมระหว่าง ศ.ดร.เติ้ง เถา (Prof Dr.Deng Tao) ผู้เชี่ยวชาญด้านแรดวิทยา จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมนุษยวิทยาบรรพกาล กรุงปักกิ่ง จีน กับ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ และ ดร.รัตนาภรณ์ หันตา นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
       
       ทั้งนี้ ฟอสซิลดังกล่าวได้จากบ่อทรายในบ้านท่าช้าง ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
       และทีมวิจัยได้รับซากฟอสซิลดังกล่าวซึ่งเป็นโครงกะโหลกและกรามที่สมบูรณ์จาก รศ.ดร.พอพันธ์ วัชจิตพันธ์ อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาวิจัย ตั้งแต่ปี 2550 ทีมวิจัยจึงตั้งชื่อแรดดึกดำบรรพ์ดังกล่าวตามชื่อผู้มอบฟอสซิล
       
       ดร.รัตนาภรณ์ หันตา ผู้วิจัยอธิบายว่าใช้เวลา 2 ปีเพื่อวิจัยจนทราบว่าฟอสซิลดังกล่าวเป็นแรดดึกดำบรรพ์พันธุ์ใหม่ของโลก และเป็นแรดไม่มีนอ จึงจัดอยู่ในวงศ์ย่อย อาเซธีริเน สกุล อาเซราธีเรียม เนื่องจากมีลักษณะกะโหลกด้านบนบานเรียบขอบท้ายกะโหลกเป็นแนวตรงเด่นและมีสันกลางกะโหลกแผ่ขยายกว้างกว่าแรดอื่นในสกุลเดียวกันอีก 2 ชนิดคือ อาเซราธีเรียม อินซิสิวัม (A. incisivum) และ อาเซราธีเรียม เดเปเรทิ (A. deperrati)และมีวิวัฒนาการที่ใหม่กว่า คือมีอายุน้อยกว่า โดยมีชีวิตอยู่เมื่อ 7.5-6.0 ล้านปีก่อน
       
       ลักษณะสันกลางกะโหลกที่แผ่ขยายนี้ บอกถึงวิวัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเคี้ยวน้อยลง ดังนั้นอาหารสำหรับแรดชนิดนี้จึงน่าจะเป็นใบไม้ ไม่ใช่หญ้าเหมือนแรดอื่นที่ต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคี้ยวมากกว่า นอกจากนี้ลักษณะไม่มีนอยังเป็นลักษณะโบราณของแรด ส่วนแรดมีนอเป็นลักษณะของวิวัฒนาการภายหลัง เพื่อใช้ต่อสู้หรือเกี้ยวพาราสี
       
       ในบริเวณบ่อทรายริมน้ำมูลที่ ต.ท่าช้างนั้น ยังเป็นแหล่งขุดพบหมูป่าโบราณ เมอริโคโปเตมัส ท่าช้างเอนซิส และเอปโบราณ โคราชพิเธคัส พิริยะอิ จากข้อมูลทีมวิจัยลักษณะสัณฐานของแรดบ่งบอกว่าในบริเวณ ต.ท่าช้างในปลายสมัยไมโอซีนนั้นเคยมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าอยู่ติดกับป่าทึบ มีบึงเล็กๆ ให้แรดได้จมปลัก เนื่องจากลักษณะผิวค่อนข้างบาง จึงต้องเคลือบโคลนปกป้องผิว
       
       ขนาดของแรดดึกดำบรรพ์ดังกล่าวเทียบเท่ากระซู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกระซู่มีนอเล็กๆ อาศัยอยู่ในป่าได้ และกระซู่เป็นญาติใกล้ชิดแรดขนยาวโบราณยุคน้ำแข็งที่อพยพจากทางยุโรปลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากกระซู่มีขนปกคลุมตามร่างกายเช่นกัน
       
       ทางด้าน นายพิริยะ วัชจิตพันธ์ ลูกชาย ดร.พอพันธ์ กล่าวว่าได้รับโครงกะโหลกแรดดึกดำบรรพ์ดังกล่าวจากชาวบ้านที่ขุดพบจากบ่อทรายมาได้ 10 กว่าปีแล้ว เดิมกะโหลกดังกล่าวเป็นก้อนดินที่มีกระดูกโผล่มาเท่านั้น จนทิ้งไว้ที่บ้านนานวันเข้าดินก็กระเทาะออก และเผยให้เห็นเนื้อกระดูกมากขึ้น จึงค่อยๆ แซะดินออกและพบเป็นกะโหลกที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จากนั้นชาวบ้านคนเดิมก็นำกรามอีกคู่ของแรดมาให้
       
       "ฟอสซิลนี้นับว่ามีความสมบูรณ์มาก เพราะในการดูดทรายไปใช้ในการก่อสร้างนั้น คนงานจะฉีดน้ำด้วยแรงดันมหาศาล ทำให้กะโหลกที่ค่อนข้างเปรอะบางแตกเป็นชิ้นๆ เราได้รับฟอสซิลจากบ่อทรายดังกล่าวเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นเศษฟัน เศษกระดูก ซึ่งไม่เพียงพอที่จะระบุได้ว่าเป็นชนิดใหม่ แต่บอกได้ว่าเป็นสัตว์สกุลอะไร" พิริยะกล่าว
       
       หลังจากแซะจนได้กะโหลกที่สมบูรณ์แล้วทางครอบครัววัชจิตพันธ์ก็คิดว่าตั้งทิ้งไว้ในบ้านคงไม่เกิดประโยชน์ จึงตัดสินใจมอบให้ทางสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ นำไปศึกษา ซึ่งยังมีฟอสซิลอีกหลายชิ้นที่อยู่ระหว่างการศึกษา โดยทีมวิจัยยังจำแนกแรดยักษ์ในสกุล บราไชโพธีเรียม (Brachypotherium) แต่เนื่องจากมีเพียงกรามชิ้นเดียว จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นชนิดใหม่หรือไม่
       
       "เมื่อ 10 กว่าปีก่อนชาวบ้านเขาเจอซากฟอสซิลเหล่านี้เยอะแยะ แต่เขาไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เลยเอาไปกองที่ศาลพระภูมิ ฝรั่งก็ไปเดินดูแล้วเก็บไป เราเห็นว่าปล่อยไว้อย่างนี้คงโดนเอาไปหมด เลยบอกเขาว่า ให้เก็บมาไว้ให้เรา ตอนนี้เขาเริ่มเห็นคุณค่าแล้ว เมื่อเจอก็จะส่งมอบให้สถาบันวิจัย ผมอยากเรียกร้องให้คนที่ฟอสซิลในครอบครอง เก็บไว้เฉยก็ไม่เกิดประโยชน์ เอามาให้สถาบันนำไปศึกษาเพื่อเผยแพร่ความรู้เป็นวิทยาทานดีกว่า" พิริยะกล่าว
       
       พร้อมกันนี้ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ อดีตนักวิจัยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และนักผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านนิเวศวิทยาทางน้ำ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) อธิบายถึงการพบสัตว์หลายชนิดบริเวณบ่อทรายโคราชว่า แผ่นดินอีสานเป็นแผ่นดินเก่าแก่ที่เคยเป็นทะเลมาก่อน และเมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้นก็มีสิ่งมีชีวิตอื่นมาอาศัยอยู่มาก เมื่อตายลงก็เกิดการทับถมตามชั้นดิน และแผ่นดินมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา ในอดีตเคยอยู่ติดกับญี่ปุ่นตอนใต้
       
       สำหรับงานวิจัยแรดดึกดำบรรพ์นี้ ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารเจอร์นัลออฟเวอร์ทีเบนตพาเลียนโทโลจี (Journal of Vertebrate Paleontology) ของสมาคมบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ

"พอพันธ์ไน" แรดไร้นอดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ของโลก
       

       
       
       

ฟอสซิลกะโหลกของแรดพอพันธ์ไน
       
ฟอสซิลกรามของแรดพอพันธ์ไน
       
บรรยากาศงานแถลงข่าว
       
นายพิริยะ วัชจิตพันธ์ มอบฟอสซิลแก่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน โดยมี นายสุวัจน์ ลิปตภัลลภ รับมอบ ซ้ายสุด คือ ดร.รัตาภรณ์ หันตา หนึ่งในทีมวิจัย
       
บ่อทรายที่ลึกว่า 20 เมตร

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ




Create Date : 24 กันยายน 2556
Last Update : 24 กันยายน 2556 7:17:40 น. 0 comments
Counter : 1986 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.