"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
พุทธอนาคิสต์






พุทธอนาคิสต์
แกรี่ สไนเดอร์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปล




หมายเหตุ บทความชิ้นนี้เขียนโดย แกรี่ สไนเดอร์ กวีชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1961 และถูกกล่าวถึงในฐานะงานเขียนชิ้นแรกๆ ที่แสดงออกซึ่งแนวคิดที่ต่อมาได้พัฒนาเป็น "Engaged Buddhism" ("พุทธผูกพัน" หรือ "พุทธไม่ลอยนวล")

คำสอนพุทธศาสนาโอบอุ้มสรรพสิ่งในสากลจักรวาล และสรรพชีวิตในนั้นต่างก็มีธรรมชาติภายในอันสมบูรณ์ด้วยปัญญา ความรัก และความกรุณา โต้ตอบสัมพันธ์ และพึ่งพาอาศัยกันตามธรรมชาติ

อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของพุทธศาสนา การตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่ว่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ และถูกทำให้มีขึ้นด้วย "ตัวเรา" ไม่มีทางที่เราจะเข้าถึงธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริงเลย ตราบใดที่เรายังไม่เรียนรู้ที่จะปล่อยวางจากตัวตน

ในทัศนะของพุทธศาสนา สิ่งที่กั้นขวางการเผยของธรรมชาติที่ว่านี้ คือ อวิชชา (ความไม่รู้) ซึ่งแสดงออกมาในรูปความกลัว และความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุด

ในทางประวัติศาสตร์ นักพุทธปรัชญาไม่อาจวิเคราะห์ถึงขีดขั้น ที่อวิชชาหรือทุกข์ถูกทำให้เกิดขึ้น หรือถูกส่งเสริมโดยปัจจัยทางสังคมได้ ด้วยเหตุที่ว่าความกลัวหรือความอยากนั้นถือเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วๆ ไปของความเป็นมนุษย์

นั่นได้ทำให้พุทธปรัชญามักมุ่งความสนใจไปที่ ญาณวิทยา และ "จิตวิทยา" โดยปราศจากการให้ความสนใจไปที่ปมปัญหาทางประวัติศาสตร์ หรือทางสังคมแต่อย่างใด

แม้ว่าพุทธศาสนามหายานจะมีวิสัยทัศน์ ที่กว้างออกไปสู่การปลดปล่อยสรรพสัตว์ทั้งมวล ทว่าความสำเร็จจริงๆของพุทธศาสนาคือพัฒนาการของระบบการปฏิบัติภาวนา อันนำไปสู่เป้าหมายของการปลดปล่อยปัจเจกบุคคลเพียงหยิบมือ

ที่พร้อมจะอุทิศตนฝึกฝนปฏิบัติจนหลุดพ้น เป็นอิสระจากบ่วงรัดรึงทางจิตหรือเงื่อนไขทางวัฒนธรรมต่างๆ เท่านั้น

ส่วนพุทธศาสนาแบบสถาบันนั้น กลับพร้อมที่จะยอมรับหรือปฏิเสธความเหลื่อมล้ำและอำนาจกดขี่ ของระบบการเมืองใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ในวัฒนธรรมนั้น

นี่อาจหมายถึงความตายที่ใกล้พุทธศาสนาเข้ามาแล้วทุกที ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมสมัยใหม่ นับเป็นความตายต่อการทำหน้าที่อันเปี่ยมความหมายของความกรุณา ซึ่งปัญญาโดยปราศจากกรุณานั้นไม่อาจรู้สึกถึงความทุกข์ใดๆ ได้

ทุกวันนี้ไม่มีใครสามารถจะแสร้งทำเป็นไร้เดียงสา หรือปิดตัวเองอยู่ในความไม่รู้ต่อความเป็นไปของอำนาจรัฐ การเมือง และกรอบศีลธรรมทางสังคมได้อีกต่อไป

ระบบการเมืองท่ามกลางกระแสโลกสมัยใหม่ รักษาการมีอยู่ของมันได้ ก็ด้วยการส่งเสริมความอยากและความกลัว อันเปรียบได้กับกลไกป้องกันตัวเองอันมหึมา "โลกอิสระ" กลับกลายเป็นต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ บนระบบดูดีที่ถูกกระตุ้นด้วยความโลภที่ไม่มีวันพอ

ความต้องการทางเพศที่ไม่มีวันถึงจุดที่พอใจ และความเกลียดชังที่ไม่มีที่ทางให้ปลดปล่อย เว้นจะกระทำต่อตัวเอง ต่อคนใกล้ชิดที่เราควรจะให้ความรัก หรือต่อประเทศหรือกลุ่มคนที่กำลังต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่เท่าเทียม

สภาวการณ์ของสงครามเย็นได้เปลี่ยนแปลง สังคมสมัยใหม่ทั้งหมด (รวมถึงสังคมคอมมิวนิสต์ด้วย) ไปสู่ความเป็นผู้บิดเบือนที่ชั่วร้ายต่อศักยภาพของมนุษย์ที่แท้จริง

มันได้สร้างประชากร "เปรต" มากมาย ภูตผีที่หิวโหย พุงกาง และปากเท่ารูเข็ม ผืนดิน ป่าไม้ และสัตว์น้อยใหญ่ถูกกลืนหายไปกับของสะสมก่อมะเร็งทั้งหลาย อากาศและน้ำของดาวดวงนี้กำลังถูกทำให้ปนเปื้อนโดยสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

ไม่มีสิ่งใดในธรรมชาติของมนุษย์ หรือองค์กรทางสังคมของมนุษย์ ที่โดยตัวมันเองต้องอาศัยเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่ขัดแย้ง กดขี่ และก่อความรุนแรง

งานวิจัยทางมานุษยวิทยาและจิตวิทยาได้มอบหลักฐาน ที่เด่นชัดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเราเอง จากการค่อยๆ มองไปยังธรรมชาติของตัวเราผ่านการภาวนา

ครั้นเราบ่มเพาะศรัทธาและปัญญาในธรรมชาติดังกล่าวมากขึ้น การภาวนา ก็จะนำเราให้ลงลึกสู่การตระหนัก ถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถึงราก

การสละสันโดษอย่างเต็มใจและเบิกบาน ของพุทธศาสนาสรรค์สร้างพลังด้านบวก ศีลห้ากับการปฏิเสธที่จะทำร้ายหรือพรากชีวิตในทุกรูปแบบสามารถส่งผลสะเทือนต่อประเทศชาติได้

การปฏิบัติภาวนา ซึ่งเราต้องการแค่ "พื้นที่ให้หยัดยืน" ได้ปัดเป่าภูเขาขยะที่ถูกยัดใส่จิตใจ โดยสื่อสารมวลชนและมหาวิทยาลัยซูเปอร์มาร์เก็ต

ศรัทธาในมนุษยธรรมที่เอื้อเฟื้อและสงบเย็น ด้วยความปรารถนาแห่งรักอันเป็นธรรมชาติ ได้ทำลายอุดมการณ์ซึ่งคอยปิดหู ปิดตา และปิดปากเราอยู่ตลอดเวลา

ทั้งยังชี้บอกหนทางสู่รูปแบบของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ซึ่งจะทำให้เหล่า "นักศีลธรรม" ทั้งหลายประหลาดใจ และเปลี่ยนแปลงกองทัพแห่งมนุษย์ผู้เลือกที่จะเป็นผู้ฟาดฟัน เพียงเพราะเขาไม่รู้จะเป็นผู้รักหรือผู้ให้ได้อย่างไร

อวตังศกะ (คีกอน) คือพุทธปรัชญาแขนงหนึ่ง ที่มองโลกในฐานะข่ายแหอันผูกโยง ที่ซึ่งสรรพสิ่งและสรรพชีวิตมีความจำเป็นต่อกันและเปี่ยมความสำคัญในตัวมันเอง

จากมุมหนึ่ง อำนาจรัฐ สงคราม และสิ่งทั้งหลายที่เรามองว่า "ชั่วร้าย" ต่างก็ถูกรวมอยู่ในโลกภาพกว้าง ทั้งหมดนี้อย่างไม่ประนีประนอมเช่นกัน เหยี่ยว-การโฉบ-และกระต่ายป่า เป็นหนึ่งเดียวกัน จากจุดยืนของ "มนุษย์" เราไม่อาจวางใจในโลกทัศน์เช่นนั้นได้

นอกเสียจากสรรพชีวิตจะมองด้วยสายตาอันรู้แจ้งเหมือนๆ กันทั้งหมด โพธิสัตว์มีชีวิตอยู่โดยอาศัยสายตาของผู้ทนทุกข์ จึงสามารถช่วยเหลือผู้ทนทุกข์เหล่านั้นได้

เมตตาธรรมในโลกตะวันตก อยู่ในรูปของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนเมตตาธรรมในโลกตะวันออก อยู่ในรูปของสติปัญญาในปัจเจกบุคคล ที่มีต่อตัวตนหรือความว่างพื้นฐาน

เราต้องการทั้งสองอย่าง เพราะทั้งสองต่างก็แสดงถึงสามแง่มุมสำคัญของเส้นทางธรรม อันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา

ปัญญาคือความรู้แจ้งโดยสัญชาตญาณของจิต แห่งความรักและความชัดเจน ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้ความสับสนและความก้าวร้าว ที่ถูกขับเคลื่อนโดยอัตตา

การภาวนาจะทำให้เราเข้าไปในจิตใจ เพื่อมองเห็นสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งสัญชาตญาณพื้นฐานของจิตใจอันกระจ่างชัดเยี่ยงนั้นคือที่ที่เราจะวางใจอยู่ได้

ศีลจะนำเรากลับมาสู่หนทาง ผ่านแบบอย่างการปฏิบัติและความรับผิดชอบในการกระทำ ซึ่งสูงสุดคือเพื่อชุมชนอันแท้จริง อันหมายถึงสังฆะแห่ง "สรรพชีวิต"

จากแง่มุมสุดท้ายนี้ สำหรับฉันแล้ว หมายถึง การสนับสนุนการปฏิวัติทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมใดๆ ก็ตาม ที่กำลังจะเคลื่อนสังคมไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอันเป็นอิสระ เชื่อมต่อประสานกัน และเท่าเทียมกันอย่างไร้ชนชั้นวรรณะ

มันหมายถึงการใช้วิถีทางอันหลากหลายที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อารยะขัดขืน การวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเปิดเผย การชุมนุมประท้วง สันติวิธี การเป็นอยู่อย่างพอเพียง (ด้วยความพอใจ) หรือแม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงที่นุ่มนวล

หากนั่นเป็นเรื่องของการระงับยับยั้งพวกหัวรุนแรงที่ไร้เหตุไร้ผล นั่นหมายถึงการให้พื้นที่อย่างเปิดกว้างที่สุด ต่อความหลากหลายของพฤติกรรมปัจเจกบุคคล ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น

เช่น ปกป้องสิทธิของปัจเจกบุคคลที่จะสูบกัญชา กินเพโยเต้ มีคู่นอนหลายคน หรือรักร่วมเพศ เพราะนั่นคือโลกอันหลากหลายแห่งพฤติกรรมและวิถีปฏิบัติ ที่ถูกทำให้เป็นเรื่องต้องห้ามโดยจารีตตะวันตกแบบยิว-ทุนนิยม-คริสเตียน-มาร์กซิสต์

อาจกล่าวได้ว่ามันคือการเคารพในสติปัญญา และการเรียนรู้ของคน แต่ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนความโลภ หรือหนทางอันนำไปสู่การสั่งสมอำนาจอย่างเห็นแก่ตัว มันคือหนทางของการเรียนรู้บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อตนเอง

ทว่ายังเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับผู้คนด้วยเช่นกัน อาจเรียกได้ว่า "ก่อร่างสังคมใหม่ภายในเปลือกของสังคมเก่า" อันเป็นคำขวัญของสหภาพแรงงานโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

วัฒนธรรมแบบจารีตนิยมกำลังมาถึงวาระสุดท้ายในทุกกรณี และกำลังยื้อชีวิตตัวมันเองด้วยการพยายามเกาะกุมอยู่กับภาพ "ความดี" ในอดีตอย่างสิ้นหวัง

แต่พึงจำไว้ว่า อะไรก็ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และเคยเป็นอดีตของวัฒนธรรมใดๆ สามารถถูกก่อร่างสร้างใหม่ขึ้นได้ จากการสัมพันธ์กับจิตใต้สำนึกผ่านการปฏิบัติภาวนา

ในมุมมองของฉันการปฏิวัติทางสังคม ที่กำลังมาถึงจะตีวงและเชื่อมเราทุกคนในหลายๆ ทาง สู่แง่มุมอันสร้างสรรค์ที่สุดตั้งแต่ครั้งบรรพกาล หากเราโชคดี เราอาจบรรลุถึง "วัฒนธรรมโลก" ในที่สุด

จากการสืบสกุลทางมารดา อิสระจากการแต่งงาน เศรษฐกิจแบบสินเชื่อชุมชนตามธรรมชาติ ลดความสำคัญของอุตสาหกรรม จำนวนประชากรที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพื้นที่ป่าชุมชน สวนสาธารณะ และอุทยานแห่งชาติที่เพิ่มมากขึ้น

แกรี่ สไนเดอร์
1961


ขอขอบคุณ

มติชนออนไลน์
คุณแกรี่ สไนเดอร์
คุณวิจักขณ์ พานิช


ภุมวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสวัฒนสิริค่ะ




Create Date : 06 กันยายน 2554
Last Update : 6 กันยายน 2554 15:35:09 น. 0 comments
Counter : 1189 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.