"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 
11 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ชมฟอสซิลหายากและเทคนิคค้นสีดึกดำบรรพ์ใน “มหกรรมวิทย์'56”

 

 

ฟอสซิลนกอายุ 125 ล้านปี (ของจริง)

 

       เรามักเห็นฟอสซิลไดโนเสาร์เป็นสีเทาๆ ดำๆ แต่ในอดีตเมื่อสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านั้นเคยมีชีวิตก็ล้วนมีสีสันไม่ต่างจากสัตว์ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาเทคนิคในการสืบหาสีสันบนตัวไดโนเสาร์ ด้วยการเทียบกับเม็ดสีของนกในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาโครงสร้างการจัดเรียงเม็ดสี ซึ่งคนไทยมีโอกาสชมตัวอย่างหายากได้ภายในงาน “มหกรรมวิทย์' 56”
       
       บริติชเคานซิล (British Council) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) อังกฤษ จัดแสดงนิทรรศการการศึกษาสีสันดึกดำบรรพ์ในฟอสซิลแมลงและซากขนฟอสซิลไดโนเสาร์ ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2556 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-21 ส.ค.56 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
       
       ดร.แพทริค เจ ออร์ร (Dr.Patrick J Orr) ผู้เชี่ยวชาญด้านฟอสซิล และ ดร.สจ็วต แอล เคิร์นส (Dr.Stuart L Kearns) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงเคมี จากคณะพิภพวิทยา มหาวิทยาลับริสตอล ซึ่งร่วมกันศึกษาฟอสซิลมากว่า 20 ปี ได้เดินทางมาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสืบหาสีสันของไดโนเสาร์ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ และได้ถ่ายทอดถึงการทำงานดังกล่าวแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
       
       ทั้งคู่สนใจในเรื่องสีของฟอสซิล ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงพฤติกรรมของไดโนเสาร์ในอดีต เช่น การสีสันสดใสก็เพื่อล่อคู่ผสมพันธุ์ หรือมีสีที่กลืนไปกับต้นไม้ใบหญ้าก็เพื่อพรางตัว เป็นต้น โดยร่องรอยของสีสันดั้งเดิมจะอยู่ภายในเนื้อเยื่ออ่อนของไดโนเสาร์ ซึ่งมีการค้นพบนกดึกดำบรรพ์สายพันธุ์คอนฟูเซียซอร์นิส (Confuciusornis) อายุกว่า 125 ล้านปีในจีน พร้อมร่องรอยขนนกและเนื้อเยื่ออ่อน และเป็นข้อมูลในการศึกษาถึงสีสันของสัตว์ดึกดำบรรพ์  

ฟอสซิลจำลองจากขนาดจริง เทียบภาพสีสันที่ได้จากการวิเคราะห์เม็ดสี

 

       แนวคิดในการสืบหาสีสันของฟอสซิลคือไดโนสาร์นั้นน่าจะมีสีเมลานิน (Melanin Granules) หรือเมลาโนโซม ที่มีเมลานินในการดูดซับแสงและสร้างสีสันต่างๆ และได้ใช้นกซีบราฟินช์ (Zebra finch) นกในปัจจุบันที่ขนเม็ดสีเมลานินเป็นตัวอย่างอ้างอิงเม็ดสี เพื่อสืบค้นสีสันของไดโนเสาร์ ซึ่งหากนำตัวอย่างฟอสซิลไปส่องกล้องจุลทรรศน์โดยไม่มีตัวอย่างอ้างอิง อาจทำให้แปรผลผิดพลาด เพราะสิ่งที่เห็นเป็นเม็ดสีอาจจะเป็นแบคทีเรียก็ได้
ดร.ออร์รกล่าวว่าฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ยังคงหลงเหลือเนื้อเยื่ออ่อนและขนนั้นเป็นของหายาก เพราะฟอสซิลส่วนใหญ่เป็นของแข็งจำพวกฟันและกระดูก โดยเนื้อเยื่ออ่อนหรือขนของฟอสซิลนั้นจะมีเม็ดสีที่ส่องเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และรูปร่างของเม็ดสีจะบ่งบอกว่าเป็นอะไรตามตัวอย่างจากนกที่ใช้อ้างอิง ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคใหม่ที่เพิ่งมีได้ 2 ปี
       
       สำหรับตัวอย่างฟอสซิลนั้นขุดได้จากแหล่งโบราณคดีของจีนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมหาสมุทรและถูกกระบวนการทางธรณีวิทยาเปลี่ยนแปลงให้เป็นชั้นตะกอนดิน และทีมวิจัยจากอังกฤษได้ติดต่อทางสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาดึกดำบรรพ์ (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology: IVPP) สภาวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ในปักกิ่ง จีน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในการขุดซากฟอสซิล เพื่อนำตัวอย่างมาศึกษา ในส่วนการศึกษาสีสันจากเม็ดสีนี้พวกเขาได้ศึกษาในไดโนเสาร์ 3 สปีชีส์

ฟอสซิลใบเฟิร์น

 

       นักวิจัยบริสตอลยังศึกษาสีสันจากโครงสร้างของเม็ดสีในซากฟอสซิลแมลงดึกดำบรรพ์ที่พบในเยอรมนี 1 ตัวอย่าง ซึ่งมียังมีสีสันต่างจากฟอสซิลทั่วไปที่มักมีสีดำ เพื่อไขปริศนาว่าสีสันดั้งเดิมจะยังคงอยู่แม้ผ่านกระบวนการกลายสภาพเป็นฟอสซิลหรือไม่ จึงได้นำปีกแมลงทับมาทดลองกลายสภาพเป็นฟอสซิล โดยเพิ่มอุณหภูมิและความดัน ตามสภาพของฟอสซิลที่ถูกชั้นดินบีบอัดและโดนความร้อนจากโลก
       
       ผลพบว่าอุณหภูมิและความดันยิ่งเพิ่มสูงมาก ฟอสซิลยิ่งกลายเป็นสีดำ แต่เหตุที่ตัวอย่างแมลงดังกล่าวยังคงหลงเหลือสีสัน ดร.ออร์อธิบายว่าเพราะกระบวนการทางธรณีวิทยาไม่ได้บีบอัดฟอสซิลให้จมลึกใต้ดิน แต่ถูกอัดลงไปช่วงเวลาหนึ่ง จากนัน้กระบวนการทางธรณีวิทยาได้ดันซากฟอสซิลขึ้นมา จึงไม่ได้รับความร้อนและความดันมากจนทำให้โครงสร้างสีเสียหาย
       
       สำหรับการศึกษาโครงสร้างฟอสซิลด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ ดร.เคิร์นสถนัดนั้น มีหลักการคือกระจายไฟฟ้าไปยังพื้นผิวของซากฟอสซิลผ่านลำแสงอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว จากนั้นอิเล็กตรอนที่ตกกระทบพื้นผิวจะถูกตรวจจับ แล้วขยายภาพโครงสร้างออกมาเป็นภาพขนาดใหญ่ โดยเม็ดสีเมลานินนั้นมีขนาดเพียง 0.001 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าเส้นผม 100 เท่า หากตัวอย่างฟอสซิลมีขนาดไม่ใหญ่มากก็นำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้เลย แต่หากมีขนาดใหญ่มากก็จำเป็นต้องสกัดบางส่วนออกเป็นชิ้นเล็กๆ ไปศึกษา
       
       จากการจัดแสดงนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทย์ฯ ดร.ออร์ร และ ดร.เคิร์นสกล่าวว่า ได้รับความสนใจจากเด็กๆ พอสมควร ซึ่งบางส่วนก็สนใจซักถามรายละเอียดมาก บางส่วนก็สนใจเพียงผ่านๆ ซึ่งเป็นไปตามความสนใจของเด็ก แต่ก่อนหน้านี้พวกเขาเคยแสดงนิทรรศการแบบเดียวกันนี้ที่อังกฤษในพื้นที่ขนาดเล็กกว่า ทำให้ดูมีคนหนาแน่นกว่า ทว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ประจำบูธจนจบนิทรรศการ แต่จะมีผู้เชี่ยวชาญจากบริสตอลคนอื่นๆ เดินทางมาผลัดเปลี่ยน
       
       ผู้สนใจนิทรรศการบรรพชีวินวิทยาและเทคนิคการสืบหาสีสันของสัตว์ดึกดำบรรพ์ สามารถติดตามได้ที่บูธนิทรรศการของบริติช เคานซิล ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ระหว่างวันที่ 6-21 ส.ค.56 โดยเจ้าหน้าที่บริติชเคานซิลจะให้ความช่วยเหลือในการแปลภาษา

ฟอสซิลปลาอายุ 125 ล้านปี (ของจริง)
       
ฟอสซิลยุงอายุ 125 ล้านปี (ของจริง)
       
ปีกแมลงทับปัจจุบัน เปรียบเทียบระหว่างปีกที่ผ่านการจำลองกลายสภาพเป็นฟอสซิล (ซ้าย) กับปีกที่ผ่านการจำลองกลายสภาพเป็นฟอซิล พบว่ายิ่งได้รับความร้อนและความดันมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
       
ดร.แพทริก ออร์ร และ ดร.สจ็วต เคิร์นส
       

ฐานวางตัวอย่างเพื่อนำไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
       
(ซ้าย) ดร.แพทริค ออร์ร , ดร.สจ็วต เคิร์นส (ขวา) และเจ้าหน้าที่บริติช เคานซิลทำหน้าที่ล่ามแก่ผู้สนใจ

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




Create Date : 11 สิงหาคม 2556
Last Update : 11 สิงหาคม 2556 8:37:11 น. 0 comments
Counter : 1857 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.