"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
21 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
ปทุมา ทิวลิปไทย ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน

 

 

 
















ความเป็นมา

 

 

 ปทุมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร สำหรับประเทศไทย คนไทยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน พืชในสกุลขมิ้นจะมีการเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน ซึ่งสามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร

 


พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำต้นดอกไม้พื้นเมืองนั้นไปถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อว่า “ปทุมาท่าน้อง” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “บัวสวรรค์” ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมา”


นอกจากนั้น ใน พ.ศ. 2519 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ให้ความสนใจไม้ดอกพื้นเมืองของไทย ได้แก่ ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำไม้ดอกสกุลขมิ้นขึ้นไปปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี 2528 ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้นำพืชสกุลขมิ้นหรือทางเหนือเรียกว่า กลุ่มดอกอาว นำมาพัฒนาเป็นไม้ดอกเชิงเศรษฐกิจ โดยนำปทุมาซึ่งเป็นไม้ดอกที่มีช่อดอกคล้ายดอกบัว ได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์ ขยายพันธุ์ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จนได้รับความนิยมเรียกภายหลังว่าปทุมาพันธุ์ “เชียงใหม่”


เมื่อปริมาณการผลิตปทุมาสูงขึ้น มีชาวต่างประเทศได้พบความงามของปทุมา จึงได้เริ่มต้นการส่งออกปทุมาไปต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528 โดย คุณอุดร คำหอมหวาน เป็นผู้นำที่สำคัญ โดยเริ่มจากการตัดดอกส่งประเทศญี่ปุ่นจากสวนริมถนน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ดอกปทุมาที่ตัดดอกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ใช้ชื่อว่า “สยามทิวลิป” “Siamese tulip”


ต่อมา ปี 2536 จึงได้มีการส่งหัวปทุมาเข้าญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ตามลำดับ โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ค้นคว้า

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ปทุมา เป็นไม้หัวล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) พืชในสกุลนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด โดยมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 30 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ โดยอาจพบในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ หรือป่าชื้น แหล่งพันธุกรรมที่ยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบันคือ บริเวณป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งทางจังหวัดชัยภูมิจะจัดงานทุ่งกระเจียวบานในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี


พืชสกุลขมิ้นนั้นมีความหลากหลายของลักษณะต่างๆ มากมาย นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกพืชสกุลขมิ้น โดยแบ่งเป็น 2 สกุลย่อย ได้แก่


1. สกุลย่อย Eucurcuma หรือ กลุ่มกระเจียว ลักษณะเด่นสังเกตที่ดอกจริง ปากกลีบดอกจะมีสีขาวหรือสีเหลือง และการออกดอก ช่อดอกที่เกิดจะเกิดจากเหง้าโดยตรง หรือช่อดอกเกิดจากตายอดของลำต้นเทียม เช่น ฉัตรทิพย์ ฉัตรทอง พลอยชมพู พลอยทักษิณ เป็นต้น


2. สกุลย่อย Paracurcuma หรือ กลุ่มปทุมา ลักษณะเด่นสังเกตที่ดอกจริง ที่ปากกลีบดอกจะมีสีขาวหรือม่วง และการออกดอก ช่อดอกที่เกิดจะเกิดจากตายอดของลำต้นเทียม เช่น ปทุมา พลอยมยุรา แววอุบล เทพรำลึก เป็นต้น


ราก เป็นระบบรากฝอย ปลายรากส่วนหนึ่งที่ปลายบวมพองออก มีลักษณะเป็นตุ้ม ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำและอาหาร เพื่อใช้ในช่วงพักตัวและช่วยในการงอก ในการเก็บรักษาหัวพันธุ์ เก็บนานตุ้มจะค่อยๆ เหี่ยวลง หัวพันธุ์ที่ไม่มีตุ้มรากก็สามารถงอกได้เช่นกัน


ลำต้น พืชสกุลขมิ้น ลำต้นที่เห็นเหนือดินจะเป็นลำต้นเทียม (Pseudostem) ลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร เรียกว่า เหง้า (Rhizome) ตาข้างของเหง้าเจริญเติบโตเป็นลำต้นเทียมอยู่เหนือดิน ซึ่งเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบภายในลำต้นเทียม


ใบ เป็นใบเดี่ยว ที่ประกอบด้วยกาบใบที่ห่อรวมตัวกันแน่น เกิดเป็นลำต้นเทียม ก้านใบชูออกจากลำต้นเทียมในมุมที่ต่างกัน แผ่นใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างเป็นวงรี แคบบ้าง ป้อมบ้าง โคนใบมนหรือเรียว ขอบใบเรียว หรือเป็นคลื่น ปลายใบป้าน หรือแหลม เส้นใบขนานแบบเฉียงขึ้น


ช่อดอก เป็นแบบช่อแน่น (compact spike) ประกอบด้วยกลีบของใบประดับ (bract) เรียงซ้อนกัน เกิดเป็นช่อทรงกระบอก โอบรอบโคนช่อดอกย่อย โดยเรียงซ้อนกันเวียนเป็นเกลียวหรือเรียงเป็นแถว เกิดเป็นช่อมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ภายในถ้วยของใบประดับเป็นที่อยู่ของช่อดอกย่อย แต่ใบประดับที่อยู่ส่วนบนของช่อดอกจะไม่มีช่อดอกย่อย ส่วนที่มีสีสันสวยงามที่เราเห็นอยู่ภายนอก คนทั่วไปเรียกว่า ดอก ที่จริงๆ คือ ใบประดับส่วนบน (coma bract) หรือกลีบประดับ ส่วนดอกจริงๆ ซ่อนอยู่ข้างในช่องของกลีบประดับส่วนล่าง
ผล และ เมล็ด ภายหลังจากที่มีการผสมพันธุ์แล้ว ผลจะมีรูปหน้าตัดเป็นเหลี่ยม 3 เหลี่ยม พัฒนาเป็น 3 พู ภายในแต่ละพู เป็นที่อยู่ของเมล็ดคล้ายเมล็ดองุ่น ผลมีอายุประมาณ 1-2 เดือน ผลแก่มีผนังบางและภายในเห็นเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มงอกในฤดูฝน

 

 

เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี ครั้งที่ 13

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จัดงาน “เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ใน วันที่ 12 สิงหาคม 2555 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ทั่วจังหวัดแพร่ ร่วมกันแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ด้วยการร่วมถวายพระพรและชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในโครงการพระราชดำริ พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นคุณูปการแก่ปวงชนชาวไทย ตลอดจนเที่ยวชมทุ่งดอกปทุมาและร่วมกิจกรรมภายในงาน ให้เกษตรกรและผู้สนใจได้ทราบถึงประวัติปทุมา พันธุ์ปทุมา การปรับปรุงพันธุ์ปทุมาโดยการฉายรังสี เทคโนโลยีการปลูกปทุมาเชิงพาณิชย์ เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ปทุมา เทคโนโลยีการผลิตปทุมานอกฤดู การผลิตปทุมาปลอดโรค เทคโนโลยีการขยายพันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โรงเรือนต้นแบบการผลิตปทุมานอกฤดู และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิชาการให้กับเกษตรกร ทั้งหมด 9 ฐาน การผลิตปทุมาในเชิงพาณิชย์ การผลิตกาแฟ การขยายพันธุ์ไม้ผล การปลูกมะนาวนอกฤดู การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การขยายพันธุ์ส้มปลอดโรค การเลี้ยงเพาะพันธุ์ปลา การปลูกยางพารา การผลิตเสื้อหม้อห้อมจากต้นห้อม การผลิตปทุมา

 

สำหรับปีนี้ กำหนดจัดงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 ขอเชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในโครงการพระราชดำริ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพการเกษตรที่ยั่งยืน และชมทุ่งปทุมาบาน และนิทรรศการ ความหลากหลายของพืชสกุลกระเจียว การผลิตมะนาวนอกฤดู การผลิตกาแฟ ฯลฯ ชมการแข่งขันทำอาหารพื้นเมือง การประกวดจัดแจกันดอกไม้ การประกวดร้องเพลง ร่วมตอบคำถามด้านวิชาการเกษตร และร่วมเล่นเกมชิงรางวัล 9 ฐาน มหัศจรรย์ ชมการแสดงฟ้อนรำของนักเรียน และเลือกซื้อผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งสินค้าแปรรูปผลผลิตการเกษตร และรับฟรี ต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ต่างๆ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวชมงาน “เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี” และร่วมเก็บภาพประทับใจ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ตามวันดังกล่าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ยินดีต้อนรับทุกท่าน โทร. (054) 556-526, (081) 764-5882


 

 

 

ปทุมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร สำหรับประเทศไทย คนไทยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน พืชในสกุลขมิ้นจะมีการเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน ซึ่งสามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร

 


 

 

พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำต้นดอกไม้พื้นเมืองนั้นไปถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อว่า “ปทุมาท่าน้อง” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “บัวสวรรค์” ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมา”


นอกจากนั้น ใน พ.ศ. 2519 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ให้ความสนใจไม้ดอกพื้นเมืองของไทย ได้แก่ ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำไม้ดอกสกุลขมิ้นขึ้นไปปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี 2528 ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

ได้นำพืชสกุลขมิ้นหรือทางเหนือเรียกว่า กลุ่มดอกอาว นำมาพัฒนาเป็นไม้ดอกเชิงเศรษฐกิจ โดยนำปทุมาซึ่งเป็นไม้ดอกที่มีช่อดอกคล้ายดอกบัว ได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์ ขยายพันธุ์ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จนได้รับความนิยมเรียกภายหลังว่าปทุมาพันธุ์ “เชียงใหม่”


เมื่อปริมาณการผลิตปทุมาสูงขึ้น มีชาวต่างประเทศได้พบความงามของปทุมา จึงได้เริ่มต้นการส่งออกปทุมาไปต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528 โดย คุณอุดร คำหอมหวาน เป็นผู้นำที่สำคัญ โดยเริ่มจากการตัดดอกส่งประเทศญี่ปุ่นจากสวนริมถนน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ดอกปทุมาที่ตัดดอกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ใช้ชื่อว่า “สยามทิวลิป” “Siamese tulip”


ต่อมา ปี 2536 จึงได้มีการส่งหัวปทุมาเข้าญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ตามลำดับ โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ค้นคว้า

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ปทุมา เป็นไม้หัวล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) พืชในสกุลนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด โดยมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 30 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้

 

โดยอาจพบในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ หรือป่าชื้น แหล่งพันธุกรรมที่ยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบันคือ บริเวณป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งทางจังหวัดชัยภูมิจะจัดงานทุ่งกระเจียวบานในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี


พืชสกุลขมิ้นนั้นมีความหลากหลายของลักษณะต่างๆ มากมาย นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกพืชสกุลขมิ้น โดยแบ่งเป็น 2 สกุลย่อย ได้แก่


1. สกุลย่อย Eucurcuma หรือ กลุ่มกระเจียว ลักษณะเด่นสังเกตที่ดอกจริง ปากกลีบดอกจะมีสีขาวหรือสีเหลือง และการออกดอก ช่อดอกที่เกิดจะเกิดจากเหง้าโดยตรง หรือช่อดอกเกิดจากตายอดของลำต้นเทียม เช่น ฉัตรทิพย์ ฉัตรทอง พลอยชมพู พลอยทักษิณ เป็นต้น


2. สกุลย่อย Paracurcuma หรือ กลุ่มปทุมา ลักษณะเด่นสังเกตที่ดอกจริง ที่ปากกลีบดอกจะมีสีขาวหรือม่วง และการออกดอก ช่อดอกที่เกิดจะเกิดจากตายอดของลำต้นเทียม เช่น ปทุมา พลอยมยุรา แววอุบล เทพรำลึก เป็นต้น


ราก เป็นระบบรากฝอย ปลายรากส่วนหนึ่งที่ปลายบวมพองออก มีลักษณะเป็นตุ้ม ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำและอาหาร เพื่อใช้ในช่วงพักตัวและช่วยในการงอก ในการเก็บรักษาหัวพันธุ์ เก็บนานตุ้มจะค่อยๆ เหี่ยวลง หัวพันธุ์ที่ไม่มีตุ้มรากก็สามารถงอกได้เช่นกัน


ลำต้น พืชสกุลขมิ้น ลำต้นที่เห็นเหนือดินจะเป็นลำต้นเทียม (Pseudostem) ลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร เรียกว่า เหง้า (Rhizome) ตาข้างของเหง้าเจริญเติบโตเป็นลำต้นเทียมอยู่เหนือดิน ซึ่งเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบภายในลำต้นเทียม


ใบ เป็นใบเดี่ยว ที่ประกอบด้วยกาบใบที่ห่อรวมตัวกันแน่น เกิดเป็นลำต้นเทียม ก้านใบชูออกจากลำต้นเทียมในมุมที่ต่างกัน แผ่นใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างเป็นวงรี แคบบ้าง ป้อมบ้าง โคนใบมนหรือเรียว ขอบใบเรียว หรือเป็นคลื่น ปลายใบป้าน หรือแหลม เส้นใบขนานแบบเฉียงขึ้น


ช่อดอก เป็นแบบช่อแน่น (compact spike) ประกอบด้วยกลีบของใบประดับ (bract) เรียงซ้อนกัน เกิดเป็นช่อทรงกระบอก โอบรอบโคนช่อดอกย่อย โดยเรียงซ้อนกันเวียนเป็นเกลียวหรือเรียงเป็นแถว เกิดเป็นช่อมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ภายในถ้วยของใบประดับเป็นที่อยู่ของช่อดอกย่อย แต่ใบประดับที่อยู่ส่วนบนของช่อดอกจะไม่มีช่อดอกย่อย ส่วนที่มีสีสันสวยงามที่เราเห็นอยู่ภายนอก

 

คนทั่วไปเรียกว่า ดอก ที่จริงๆ คือ ใบประดับส่วนบน (coma bract) หรือกลีบประดับ ส่วนดอกจริงๆ ซ่อนอยู่ข้างในช่องของกลีบประดับส่วนล่าง


ผล และ เมล็ด ภายหลังจากที่มีการผสมพันธุ์แล้ว ผลจะมีรูปหน้าตัดเป็นเหลี่ยม 3 เหลี่ยม พัฒนาเป็น 3 พู ภายในแต่ละพู เป็นที่อยู่ของเมล็ดคล้ายเมล็ดองุ่น ผลมีอายุประมาณ 1-2 เดือน ผลแก่มีผนังบางและภายในเห็นเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มงอกในฤดูฝน

 

 

เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี ครั้งที่ 13

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จัดงาน “เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ใน วันที่ 12 สิงหาคม 2555

 

มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ทั่วจังหวัดแพร่ ร่วมกันแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ด้วยการร่วมถวายพระพรและชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในโครงการพระราชดำริ พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นคุณูปการแก่ปวงชนชาวไทย

 

ตลอดจนเที่ยวชมทุ่งดอกปทุมาและร่วมกิจกรรมภายในงาน ให้เกษตรกรและผู้สนใจได้ทราบถึงประวัติปทุมา พันธุ์ปทุมา การปรับปรุงพันธุ์ปทุมาโดยการฉายรังสี เทคโนโลยีการปลูกปทุมาเชิงพาณิชย์ เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ปทุมา เทคโนโลยีการผลิตปทุมานอกฤดู การผลิตปทุมาปลอดโรค

 

เทคโนโลยีการขยายพันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โรงเรือนต้นแบบการผลิตปทุมานอกฤดู และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิชาการให้กับเกษตรกร ทั้งหมด 9 ฐาน การผลิตปทุมาในเชิงพาณิชย์ การผลิตกาแฟ การขยายพันธุ์ไม้ผล การปลูกมะนาวนอกฤดู การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การขยายพันธุ์ส้มปลอดโรค การเลี้ยงเพาะพันธุ์ปลา การปลูกยางพารา การผลิตเสื้อหม้อห้อมจากต้นห้อม การผลิตปทุมา

สำหรับปีนี้ กำหนดจัดงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 ขอเชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในโครงการพระราชดำริ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพการเกษตรที่ยั่งยืน

 

และชมทุ่งปทุมาบาน และนิทรรศการ ความหลากหลายของพืชสกุลกระเจียว การผลิตมะนาวนอกฤดู การผลิตกาแฟ ฯลฯ ชมการแข่งขันทำอาหารพื้นเมือง การประกวดจัดแจกันดอกไม้ การประกวดร้องเพลง ร่วมตอบคำถามด้านวิชาการเกษตร และร่วมเล่นเกมชิงรางวัล 9 ฐาน มหัศจรรย์

 

ชมการแสดงฟ้อนรำของนักเรียน และเลือกซื้อผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งสินค้าแปรรูปผลผลิตการเกษตร และรับฟรี ต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ต่างๆ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวชมงาน “เทคโนโลยีก้าวหน้า ปทุมาก้าวไกล เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาองค์ราชินี” และร่วมเก็บภาพประทับใจ

 

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ตามวันดังกล่าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ยินดีต้อนรับทุกท่าน โทร. (054) 556-526, (081) 764-5882

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ มติชนออนไลน์

 

สวัสดิ์สิริศนิวารค่ะ

 




Create Date : 21 กรกฎาคม 2555
Last Update : 21 กรกฎาคม 2555 12:43:50 น. 0 comments
Counter : 4360 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.