"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
“สละอินโดฯ” ที่ราชบุรี ปลูกแล้ว “รวย”

เทคโนโลยีการเกษตร
สาวบางแค







“สละพันธุ์อินโดฯ” เป็นไม้ผลเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นผลไม้รสอร่อย ที่ตลาดมีความต้องการสูง ปลูกก็ง่าย ขายก็คล่อง แถมขายได้ราคาดีอีกต่างหาก บางคนคิดว่า สะละอินโดฯ ปลูกได้เฉพาะพื้นที่ภาคใต้

แต่ความจริงแล้ว ภาคกลางก็สามารถปลูกสละอินโดฯ ได้อย่างสบาย ในฉบับนี้ จะพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมสวนสละอินโดฯ เนื้อที่ 3 ไร่ ของ คุณมงคล ใจดี ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ซอยดอนกระเบื้อง 17 ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

คุณมงคล ใจดี หรือ คุณหนู เล่าว่า ได้ที่ดินมรดก เป็นสวนลำไยจากคุณพ่อ แต่ระยะหลังสวนลำไยของผมมีคุณภาพสู้ลำไยเชียงใหม่ไม่ได้ ทำให้ตัวเลขรายได้ลดลง ผมวางแผนหาพืชอื่นมาปลูกแซมต้นลำไย เพื่อเป็นรายได้เสริม เมื่อปี 2547 ผมไปเที่ยวงานเกษตรที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เจอพ่อค้านำต้นกล้าสละอินโดฯ จากภาคใต้มาขายภายในงาน รู้สึกสนใจจึงซื้อไปลองปลูก จำนวน 2 ต้น ในราคาต้นละ 50 บาท

ตอนแรกผมก็ไม่รู้ว่า ราชบุรีปลูกสละอินโดฯ ได้หรือเปล่า คิดว่าเป็นพันธุ์ไม้แปลก ก็ลองปลูกเล่นๆ ปรากฏว่า ปลูกไปได้ 2 ปี ต้นสละก็เริ่มมีผลผลิต ลองแกะเปลือกดู ก็เจอผลมีสีขาว เนื้อกรอบ แห้ง ไม่ติดเมล็ด เมื่อลองชิมรสชาติ ก็รู้สึกติดใจ เพราะมีรสชาติอร่อย และสร้างรายได้ที่ดี ผมจึงหันมาปลูกสละอินโดฯ เป็นพืชหลัก ทุกวันนี้ผมปลูกสละอินโดฯ นับหมื่นต้น


ขั้นตอนปลูก และการดูแล
คุณหนูเล่าว่า การปลูกสละอินโดฯ เริ่มจากขุดหลุม ขนาด 30x30 เซนติเมตร โดยปลูกสละอินโดฯ บนร่องสวน ในระยะ 2.5x3 เมตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกต้นสละอินโดฯ ได้จำนวน 300 ต้น

เนื่องจากต้นสละอินโดฯ ชอบพื้นที่ร่มรำไรและมีความชื้นสูง หลังปลูกต้องคอยดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์ เพราะจะทำให้มีปัญหาน้ำขังบริเวณโคน ทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้ คุณหนูแนะนำให้ใส่ปุ๋ยมูลไก่โรยรอบโคนต้นทุกๆ 1-2 เดือน


การตัดแต่งหน่อและการไว้กอ
เมื่อต้นสละอินโดฯ อายุ 1 ปี จะแตกหน่อออกมาจำนวนมาก คุณหนูปลูกสละอินโดฯ แบบเลี้ยงหน่อ แค่กอละ 3 ต้น เท่านั้น (รวมทั้งต้นแม่) เพื่อให้ต้นสละเติบโตดีและตกผลเร็ว เมื่อมีหน่อใหม่งอกเพิ่มขึ้น ก็ควรหมั่นตัดแต่งหน่อที่ไม่ต้องการออกไป ไม่แนะนำให้แยกหน่อออกจากต้นแม่ เพราะระหว่างการขุดแยกหน่อ อาจทำให้รากต้นแม่ขาดได้ จะทำให้ต้นสละโทรมไปหลายปี

การทำสวนสละอินโดฯ มีข้อดีก็คือ เจ้าของสวนใช้เงินลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน เพราะธรรมชาติของต้นสละอินโดฯ จะมีหน่ออ่อนงอกขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับต้นไผ่ เมื่อต้นแม่ตาย ต้นลูกก็จะเติบโตขึ้นมาแทนที่ หากไม่เจอปัญหาโรคระบาด เจ้าของสวนก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้อย่างต่อเนื่อง

เทคนิคการเพาะเมล็ด
คัดเลือกเมล็ดจากต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นคือ ขนาดผลใหญ่ ให้ผลดก และมีรสชาติอร่อย เมื่อคัดเมล็ดพันธุ์ได้แล้ว แต่ยังไม่มีเวลาขยายพันธุ์ ก็จะนำเมล็ดมาฝังใต้ทรายหรือดินกลบเสียก่อน ควรระวังไม่ให้เมล็ดตากแดด เพราะทำให้เมล็ดแห้ง และเพาะเมล็ดไม่ขึ้น

การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด
กรอกดินปลูกให้เต็มถุงเพาะ นำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กดให้จมลงไปในดิน นำไปไว้ในบริเวณที่ร่มที่มีแสงแดดรำไร หมั่นดูแลรดน้ำ เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ โรยปุ๋ยขี้ไก่สักเล็กน้อย รอประมาณ 7 เดือน ต้นกล้าก็จะค่อยๆ งอกขึ้นมา

ใช้เวลาดูแลประมาณ 1-2 ปี จึงค่อยนำไปปลูกลงแปลงได้ ช่วงที่ปลูกต้นสละอินโดฯ ในถุงดำ ระวังอย่าเคลื่อนย้ายถุงดำบ่อยๆ เพราะโดยทั่วไปรากต้นสละมักแทงทะลุถุงเพื่อชอนไชหาอาหาร การเคลื่อนย้ายถุงดำ อาจทำให้รากต้นสละขาดและหยุดการเติบโตได้


ปัญหาโรคพืช
ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะคอยดูแล ไม่ให้ต้นสละมีอาการโคนเน่า เพราะหากติดโรคดังกล่าว จะทำให้ต้นสละมีอาการใบแห้งลุกลามไปยังต้นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงไปเรื่อยๆ ปัญหานี้เคยทำให้คุณหนูสูญเสียต้นสละไปมากกว่าครึ่งงานเลยทีเดียว คุณหนูบอกว่า อาการแพร่ระบาดของโรคมักจะหยุดลง เมื่อฝนตกรอบใหม่

สวนแห่งนี้ มีสภาพดินที่แตกต่างกันถึง 2 ชนิด คือ ดินเหนียว และดินร่วนปนทราย คุณหนูตั้งข้อสังเกตว่า ต้นสละอินโดฯ ไม่ชอบดินเหนียว สภาพต้นอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย ส่วนต้นสละอินโดฯ ที่ปลูกในพื้นที่ดินทราย ไม่เคยเจอปัญหาโรคโคนเน่าเลย

ต้นทุนการผลิต
สวนแห่งนี้ เป็นสวนผลไม้ปลอดจากสารเคมีทุกประเภท ใช้ปุ๋ยขี้ไก่แค่ปีละ 100 ลูก มูลค่าประมาณ 5,000 บาท เท่านั้น ค่าใช้จ่ายหลักของสวนแห่นี้ ก็คือ ต้นทุนค่าแรงของคุณหนูนั่นเอง ที่ผ่านมา สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ประมาณต้นละ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ปี ขนาดผลมีขนาดใหญ่ เฉลี่ยประมาณ 17-18 ผล/กิโลกรัม จำหน่ายปลีกในราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท หากดูแลจัดการสวนอย่างดี จะสามารถขายสละอินโดฯ ได้มากถึง 100,000 บาท/ไร่/ปี


การผสมเกสร
เมื่อต้นสละมีอายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี จะเริ่มออกดอก จะเริ่มแยกได้ว่า สละต้นไหนเป็นตัวผู้และตัวเมีย ต้นสละอินโดฯ จำเป็นต้องใช้การผสมเกสร เพื่อช่วยให้ผสมติดลูก การผสมเกสรสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน โดยนำผงเกสรตัวผู้ (มีสีเหลือง) มาเคาะใส่เกสรตัวเมีย (สีแดง) หลังจากผสมเกสร สามารถเก็บผลผลิตได้ภายใน 6 เดือน

การตัดแต่งช่อพวง
เมื่อต้นสละอายุครบ 2 ปี ให้เริ่มผสมเกสรได้ เมื่อติดลูกแล้ว มักมีปริมาณผลหนาแน่น หากไม่ตัดแต่งพวงสละ อาจทำให้ก้านขาดได้ เพื่อความอยู่รอด ต้นสละจึงมักสลัดลูกทิ้งตามธรรมชาติ บางครั้งเคยเจอต้นสละสลัดผลทิ้งเกือบครึ่งพวง เพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว คุณหนูจะตัดแต่งพวงสละโดยเด็ดผลที่บิดเบี้ยวทิ้งไป เพื่อให้มีปริมาณผลพอเหมาะกับความสมบูรณ์ของต้นนั่นเอง


การตัดแต่งทางใบ
สละอินโดฯ ที่ให้ผลผลิตแล้ว จะมีทางใบ 15-20 ทางใบ ไม่ควรตัดแต่งทางใบที่รองรับทะลายผลจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว

การเก็บเกี่ยว
เมื่อผลสละอินโดฯ มีครบอายุการเก็บเกี่ยว จะมีผลขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอม แต่ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง คุณหนูจะชิมทดสอบรสชาติก่อน เพราะแต่ละพวงจะสุกแก่ไม่พร้อมกัน เมื่อชิมแล้วพบว่ามีรสฝาด แสดงว่ายังสุกได้ไม่เต็มที่ ต้องรออีกระยะจึงค่อยเก็บเกี่ยว หากชิมว่า มีรสหวาน อร่อย จึงค่อยใช้มีดสแตนเลสตัดพวงสละอินโดฯ โดยระวังไม่ให้ผลหลุดร่วง

เนื่องจากคุณหนูดูแลสวนเพียงคนเดียว จึงหาพันธมิตรเข้ามาช่วยดูแลด้านการตลาด คือ ส.จ. คณิศร อนันตธารากุล โทร. (088) 543-5952 ใครสนใจอยากซื้อสละอินโดฯ ไปลิ้มรสความอร่อย หรืออยากได้พันธุ์สละอินโดฯ ไปทดลองปลูก ก็ติดต่อได้ตามเบอร์โทร. ดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่สนใจอยากแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการปลูกสละอินโดฯ หรือต้องการศึกษาดูงาน ติดต่อผ่าน คุณหนู (คุณมงคล ใจดี) ได้โดยตรงที่ โทร. (081) 364-0806



ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
เทคโนโลยีการเกษตร
คุณสาวบางแค

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ


Create Date : 31 พฤษภาคม 2556
Last Update : 31 พฤษภาคม 2556 9:33:04 น. 0 comments
Counter : 9256 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.