"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
ศาลอาญาระหว่างประเทศ








ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court (ย่อ: ICC); ฝรั่งเศส: Cour Pénale Internationale) เป็น ศาลสถิตยุติธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตาม ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court)

ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 โดยตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา มีรัฐชาติหนึ่งร้อยสิบสี่รัฐเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญฯ กรุงโรม อีกสามสิบสี่รัฐ ซึ่งรวมถึง ประเทศรัสเซีย ได้ลงลายมือชื่อในธรรมนูญกรุงโรมฯ ดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน

สหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อใน ค.ศ. 2000 แล้วบอกล้างเสียในสองปีให้หลัง อีกหลายรัฐ อันรวมถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ประเทศอินเดีย ติเตียนเรื่องการจัดตั้งศาลนี้เป็นอันมาก และไม่ยอมทั้งลงลายมือชื่อและให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญกรุงโรมฯ

ศาลอาญาระหว่างประเทศมีบัลลังก์อยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา ณ แห่งหนตำบลใดก็ได้ทั้งสิ้น ธรรมนูญกรุงโรมฯ ให้ศาลนี้มีอำนาจชำระคดีสำหรับความผิดอาญาสี่ประเภท

คือ ความผิดอาญาฐานล้างชาติ (crime of genocide), ความผิืดอาญาต่อมนุษยชาติ (crime against humanity), ความผิดอาญาศึก (war crime) และความผิดอาญาฐานรุกราน (crime of aggression)

แต่ความผิดอาญาประเภทสุดท้าย ยังไม่อยู่ในอำนาจของศาลตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรมฯ เอง

โดยปรกติแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศชอบจะชำระแต่คดีทั้งหลาย ที่จำเลยเป็นผู้ถือสัญชาติของรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ หรือคดีที่อ้างว่าเกิดขึ้นในดินแดนของรัฐภาคีดังกล่าว

หรือคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยื่นเรื่องราวมาเท่านั้น และต้องเป็นกรณีที่ศาลภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจจะดำเนินคดีเช่นว่าด้วย

ณ วันนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนคดีหกเรื่องอยู่ โดยทุกเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ในการนี้ มีสิบเจ็ดคนกำลังถูกกล่าวหา โดยในจำนวนนี้ เจ็ดคนกำลังหนีคดี, สองคนได้ถึงหรือน่าจะได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว, ห้าคนกำลังถูกขัง และสามคนได้มาศาลฯ ด้วยใจสมัคร

ซึ่งหนึ่งในสามนี้ได้รับการยกฟ้อง อนึ่ง ศาลนี้กำลังพิจารณาคดีอยู่สองคดีคดีแรก เริ่มเมื่อต้น ค.ศ. 2009 โดยมี โธมัส ลูบังกา (Thomas Lubanga) ผู้นำทางทหารชาวคองโก เป็นจำเลย และอีกคดี เริ่มในปลายปีเดียวกัน โดยมี เจอร์เมน คาทังกา (Germain Katanga) และ มาธิเออ งุดโจโล ชุย (Mathieu Ngudjolo Chui) สองผู้นำทางทหารชาวคองโก เป็นจำเลย


โครงสร้าง

ภาพรวมศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น อยู่ในความควบคุมของ "สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ" (Assembly of States Parties to the Rome Statute)

ส่วนตัวศาลฯ เองนั้น แบ่งองค์กรเป็นสี่เหล่า คือ คณะประธาน (Presidency), แผนกตุลาการ (Judicial Divisions), สำนักงานอัยการ (Office of the Prosecutor) และสำนักทะเบียน (Registry)


สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ

สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Assembly of the States Parties to the Rome Statute of the International Criminal Court) เป็นองค์กรด้านบริหารและนิติบัญญัติของศาล ประกอบด้วย ผู้แทนคนหนึ่งจากแต่ละรัฐภาคีรัฐหนึ่ง

รัฐภาคีหนึ่ง ๆ มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ในเบื้องต้น ทุก ๆ รัฐภาคีต้องบำเพ็ญ "วิริยะทุกประการ" (every effort) ในอันที่จะให้การวินิจฉัยของสมัชชาฯ เป็นไปโดยเอกฉันท์ฺ (consensus) ให้จงได้ ถ้าไม่ได้เอกฉันท์ การวินิจฉัยเรื่องนั้นจะกระทำกันโดยคะแนนเสียง

สมัชชาฯ นั้นประชุมสามัญกันเต็มคณะปีละหนึ่งครั้งที่นครนิวยอร์ก หรือบางทีก็ที่กรุงเฮก และจะให้มีการประชุมวิสามัญก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์อำนวย ในการประชุมแต่ละครั้ง ประธานหนึ่งคน และรองประธานอีกสองคนของสมัชชาฯ

ซึ่งได้รับเลือกมาจากสมาชิกของสมัชชาให้ดำรงตำแหน่งคราละสามปี จะเป็นประธานที่ประชุม การประชุมนั้นเปิดให้รัฐผู้สังเกตการณ์และองค์การเอกชนทั้งหลายเข้าร่วมด้วยได้

สมัชชาฯ จะเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการและอัยการ, กำหนดงบประมาณของศาลฯ, ตกลงรับบทกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาความและพยานหลักฐาน (Rules of Procedure and Evidence), และกำกับดูแลองค์กรอื่น ๆ ของศาลฯ ด้วย

ข้อ 46 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ ยังให้อำนาจสมัชชาฯ ถอดถอนตุลาการหรืออัยการได้ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ของตนอย่างร้ายแรง หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ตามธรรมนูญกรุงโรมฯ ได้

แต่สมัชชาฯ ก็ดี หรือรัฐภาคีก็ดี หาอาจจะสอดแทรกการหน้าที่ทางตุลาการของศาลฯ ได้ไม่ การวินิจฉัยอรรถคดีนั้นย่อมเป็นกิจของศาลฯ โดยแท้

ในการประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่เจ็ดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 สมัชชาฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมทบทวนธรรมนูญกรุงโรมฯ ขึ้น ณ เมืองกัมปาลา ประเทศอูกันดา ราว ๆ ต้นปี ค.ศ. 2010


คณะประธาน

คณะประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (Presidency of the International Criminal Court) เป็นองค์กรด้านบริหารศาลฯ แต่ไม่รวมถึงการบริหารสำนักงานอัยการของศาลฯ โดยประกอบด้วย ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (President of the International Criminal Court) และรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ คนที่หนึ่ง และคนที่สอง (First and Second Vice-Presidents of the International Criminal Court)

ทั้งสามคนนี้ได้รับเลือกตั้งโดยตุลาการที่เหลือ มีวาระดำรงตำแหน่งคราละสามปี

ประธานศาลฯ คนปัจจุบัน คือ ซาง-ฮยุน ซง (Sang-Hyun Song) ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2009


แผนกตุลาการ

ตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ (judges of the International Criminal Court) มีทั้งหมดสิบแปดคน ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งแบ่้งกันเป็นสามแผนก (Division) คือ แผนกพิจารณาเบื้องต้น (Pre-Trial Division), แผนกพิจารณา (Trial Division) และแผนกอุทธรณ์ (Appeals Division)

เป็นอำนาจของสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ ในอันที่จะเลือกตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ ตุลาการแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งเก้าปี และได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น[21] คุณสมบัติของผู้จะเป็นตุลาการ

คือ ต้องมีสัญชาติของรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ และในบรรดาตุลาการทั้งสิบแปดคนนั้น ห้ามมีสัญชาติซ้ำกันเลย นอกจากนี้ ข้อ 36 แห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ ยังกำหนดว่า

ตุลาการต้องเป็น "บุคคลผู้พร้อมด้วยจริยลักษณะอันสูง ความเป็นกลาง และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งมีคุณสมบัติอันเป็นที่ต้องการสำหรับแต่งตั้งข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ในรัฐของตนเองนั้น

ข้อ 41 แห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ ยังว่า อัยการ หรือบุคคลที่กำลังถูกสืบสวนหรือฟ้องคดี จะร้องขอคัดค้านตุลาการคนใดก็ได้ "ในกรณีที่ึมีเหตุควรกังขาถึงความเป็นกลางของตุลาการผู้นั้น ไม่ว่าด้วยเหตุผลอันใด" คำร้องขอคัดค้านมิให้ตุลาการคนใดเข้าร่วมทำคดีใด ๆ นั้น จะได้รับการวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากเด็ดขาดของตุลาการคนอื่น ๆ ที่เหลือ.

อนึ่ง ตุลาการอาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ ถ้า "ปรากฏว่าตุลาการผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ร้ายแรง" หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ การจะสั่งให้ตุลาการคนใดพ้นจากตำแหน่งนั้น ต้องได้รับเสียงข้างมากสองในสามของตุลาการคนอื่น ๆ ที่เหลือ และเสียงข้างมากสองในสามของรัฐภาคีทั้งหลาย


สำนักงานอัยการ

สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Office of the Prosecutor of the International Criminal Court) รับผิดชอบงานสืบสวนและงานฟ้องคดี มีผู้บังคับบัญชา คือ อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Prosecutor of the International Criminal Court) โดบมีรองอัยการ (Deputy Prosecutor) สองคนคอยแบ่งเบาภาระหน้าที่ แต่ละคนดำรงตำแหน่งเก้าปี และอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ธรรมนูญกรุงโรมฯ กำหนดให้สำนักงานอัยการมีอิสระในการดำเนินงานของตน เพราะฉะนั้น พนักงานอัยการทุกคนของสำนักงานอัยการจะไม่เสาะหาหรือรับฟังคำสั่งของผู้ใดอีก ไม่ว่าเป็นรัฐก็ดี องค์การระหว่างประเทศก็ดี องค์การระหว่างรัฐบาลก็ดี หรือบุคคลใดก็ดี

สำนักงานอัยการนั้นจะเริ่มสืบสวน เมื่อมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

เมื่อรัฐภาคีหนึ่งยื่นเรื่องราวสถานการณ์ใดมา
เมื่อคณะมนตรความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องราวสถานการณ์ใดมา เพื่อเตือนให้ทราบถึงภัยอันคุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

เมื่อองค์คณะตุลาการชั้นไต่สวนมูลฟ้องอนุญาตให้สืบสวน บนฐานแห่งข้อมูลข่าวสารที่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับมาจากแหล่งอื่น ๆ เช่น มีบุคคลหรือหน่วยงานเอกชนแจ้งมา

บุคคลใดที่กำลังถูกสืบสวนหรือฟ้องคดีจะร้องขอคัดค้านพนักงานอัยการคนใด ๆ ไม่ให้ทำคดีของตนก็ได้ ถ้า "ปรากฏว่ามีเหตุสมควรกังขาถึงความเป็นกลางของอัยการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอันใด"

คำร้องคัดค้านพนักงานอัยการเช่นนี้ จะได้รับการวินิจฉัยโดยแผนกอุทธรณ์ของศาลฯ พนักงานอัยการผู้ใดอาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดของรัฐภาคีทั้งหลายก็ได้

ถ้าปรากฏว่าพนักงานอัยการผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ร้ายแรง หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้

สหรัฐอเมริกาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ธรรมนูญกรุงโรมฯ ไม่ได้วางระบบให้เพียงพอสำหรับคานอำนาจและตรวจสอบกันระหว่างพนักงานอัยการและตุลาการของศาลอาญาระหว่างประเทศ

และยังปราศจากระบบป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือใช้อำนาจไม่โดยมิชอบประการอื่นด้วย เฮนรี คิสซิงเงอร์ (Henry Kissinger) ว่า ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลนั้นอ่อนถึงขนาดที่ในทางปฏิบัติแล้วอัยการสามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างไม่จำกัด

อัยการคนปัจจุบัน คือ ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ (Luis Moreno Ocampo) ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม ปีนั้นเป็นต้นมา


สำนักทะเบียน

สำนักทะเบียนศาลอาญาระหว่างประเทศ (Registry of the International Criminal Court) รับผิดชอบงานธุรการและงานบริการของศาลฯ งานเหล่านี้รวมถึง งานให้ความช่วยเหลือทางคดี การบริหารจัดการของศาล กิจการเกี่ยวกับผู้เสียหายและพยานบุคคล งานจัดหาทนายฝ่ายจำเลย งานของหน่วยขัง และงานทั่วไปตามจำเป็นสำหรับธุรการ เช่น งานทะเบียน งานแปล งานอาคารสถานที่ งานบุคลาการ งานงบประมาณ ฯลฯ

สำนักทะเบียนนั้น มีผู้บังคับบัญชา คือ นายทะเบียนศาลอาญาระหว่างประเทศ (Registrar of the International Criminal Court) ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาโดยตุลาการทั้งปวง และอยู่ในตำแหน่งคราละห้าปี นายทะเบียนคนปัจจุบัน คือ ซิลวานา อาร์เบีย (Silvana Arbia) ผู้ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009


สถานที่ของศาล

บัลลังก์ และกองบัญชาการศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น ออกนั่งบัลลังก์ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ถ้าเห็นสมควรแล้ว จะดำเนินกระบวนพิจารณาที่ใดก็ได้ทุกแห่งหน กองบัญชาการของศาลฯ ก็ตั้งอยู่ที่เดียวกันโดยอาศัยความตกลงกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเรียก

"ความตกลงเรื่องกองบัญชาการ ระหว่างศาลอาญาระหว่างประเทศ กับรัฐเหย้า" (Headquarter Agreement between the International Criminal Court and the Host State) อันมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2008

ปัจจุบัน กองบัญชาการของศาลฯ ตั้งอยู่ชั่วคราวทางด้านตะวันออกของกรุงเฮก ส่วนกองบัญชาการถาวรนั้นกำลังสถาปนาขึ้นที่อเล็กซันเดอร์คาเซือร์น (Alexanderkazerne ) ทางตอนเหนือของกรุงเฮก

อนึ่ง ศาลฯ ยังมีสำนักประสานงาน (liaison office) อยู่ในกรุงนิวยอร์กและมีสำนักงานภาคสนาม (field office) ที่อื่น ๆ อีกสำหรับกิจการของศาลฯ โดยตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2007 สืบมา ศาลมีสำนักงานภาคสนามใน เมืองคัมปาลา, คินชาซา, บูเนีย, อาเบเช และ แบนกูอี


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศุกรวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ



Create Date : 06 พฤษภาคม 2554
Last Update : 6 พฤษภาคม 2554 7:40:28 น. 0 comments
Counter : 1722 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.