"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
เปิดตำนานอภิวัฒน์จากทายาทพระยาพหลฯ






"พหลพยุหเสนา"





พ.ต. พุทธินารถ พหลพยุหเสนา





คุณพวงแก้ว ศาสตรปรุง




เปิดตำนานอภิวัฒน์จากทายาทพระยาพหลฯ ที่ยังมีลมหายใจ ประเทศไทยตั้งแต่ 2475 ถึง ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่โรงแรมเมโทรพอยท์ มีการเสวนา Unseen 2475 (เปิดตำนานอภิวัฒน์ 2475 กับทายาทพระยาพหลพลพยุหเสนา ) ในงานมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ ชีพธรรม คำวิเศษณ์ นักจัดรายการวิทยุด้านประวัติศาสตร์การเมือง รายการเดินหน้าประวัติศาสตร์, พ.ต. พุทธินารถ พหลพยุหเสนา (บุตรชาย พ.อ. พระยาพหลฯ) และคุณพวงแก้ว ศาสตรปรุง (ธิดา พ.อ. พระยาพหลฯ)


นายชีพธรรม ได้บรรยายในหัวข้อ "จุดกำเนิดรถไฟสายสงครามกลางเมือง" ด้วยการเล่าเรื่องราวสงครามกลางเมืองผ่านเส้นทางรถไฟ โดยเริ่มต้นที่การตอกหมุดทางรถไฟของ ร.5 ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นจุดปะทะกัน

นายชีพธรรม กล่าวต่อว่า ที่ค่ายปืนใหญ่พหลโยธิน จ.ลพบุรี มีพิพิธภัณฑ์ของพระยาพหลฯ ซึ่งมีเอกสารทางประวัติศาสตร์อยู่ ตนไปเจออัลบั้มที่อยู่ในตู้ เป็นภาพของกบฎบวรเดช ในช่วงสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงเส้นทางรถไฟที่เป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกของประเทศไทยด้วย

"ลูกหลานของฝั่งกบฏยังคงโลดแล่นอยู่ในทุกวันนี้ แบ่งสายกันชัดเจน การยื้ออำนาจจากกบฎบวรเดชยังคงมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน วิธีการที่ใช้ก็คล้ายคลึงกัน จากบุคคล และกลยุทธ์ กุศโลบายทางการเมือง เป็นการยื้ออำนาจฝ่ายประชาชน กับฝ่ายอนุรักษ์นิยม"


เปิดตำนาน อภิวัฒน์ 2475 เรื่องเล่าจากปัจจุบันสู่อดีต โดย พ.ต. พุทธินารถ (ลุงแมว) บุตรคนที่ 4 ของพระยาพหลฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ และคุณพวงแก้ว บุตรีคนที่ 6

ลุงแมว เล่าว่า ตนมีอายุแปดขวบเท่านั้นตอนที่คุณพ่อเสียชีวิต ความทรงจำที่จำได้ ทราบว่าท่านเป็นหัวหน้าคณะราษฎรที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

สำหรับคุณพ่อตั้งแต่จำความ ฟังความบางเรื่องจากคุณพ่อเอง หรือ จากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ แล้ว พ่อเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยแสวงหาอำนาจหรือประโยชน์ใดๆ

"ช่วงที่ท่านเป็นอัมพาต แต่มือยังขยับได้ เมื่อทหารเป่าแตรเคารพธงชาติท่านจะเอามือข้างหนึ่งขึ้นมาไว้ที่อก จนกระทั่งเพลงจบจึงจะเอามือลง"

ด้านคุณพวงแก้ว กล่าวว่า สำหรับตนแล้วระลึกถึงความเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เพราะถ้าทำงานไม่สำเร็จ ก็ต้องตายเจ็ดชั่วโคตร พร้อมทั้งผู้ก่อการก็ต้องตายแบบเดียวกัน ซึ่งถือเป็นความเสียสละอย่างยิ่ง สำหรับเรื่องที่คุณแม่ (คุณหญิงบุญหลง) เล่าให้ฟังนั้น

คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกมาคนเดียว เป็นงานหนักของลูกผู้หญิง เป็นคุณแม่อดทนที่ประหยัด พิถีพิถัน

จำได้ว่าคุณแม่เคยบอกว่า เป็นลูกพระยาต้องเลี้ยงอย่างลูกพระยาแต่ก็ต้องลำบาก โดยแม่ก็ปลูกผักในบ้าน เพื่อเป็นรายได้ ทหารทำงานอย่างไรก็ให้ลูกไปช่วย ถูบ้าน กวาดบ้านก็ให้ไปทำตาม ไม่เคยสอนให้ลูกเหนือคนอื่น แต่ให้ติดดิน พี่ชายถูกใช้ให้ไปรถน้ำต้นไม้ตลอด จนบางครั้งโมโหคุณแม่ด้วย

"หนูบอกว่าจะขอเรียนหนังสือ แม่บอกไม่ได้ ต้องทำงานบ้าน และเรียนด้วยทั้งสองอย่าง ไม่ได้เป็นลูกพระยาอย่างคนอื่น"

สำหรับข้อเท็จจริงเรื่องการก่อการในครอบครัว คุณพ่อบอกแม่ว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้ดูแลลูกให้ดี และคุณแม่ก็รับคำ แม้มี 2 ทางเลือกไม่ตายก็อยู่ คุณแม่เป็นผู้หญิงใจเด็ดให้กำลังใจตลอด ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่มีใครบอกลูกเมียเรื่องที่ทำแต่ท่านวางใจ เชื่อใจ บอกให้ฟังกับศรีภรรยา

คุณแม่จะเล่าเรื่องทุกอย่างของคุณพ่อ พาลูกไปดูหน้าพระบรมรูปทรงม้า ว่าคุณพ่อเคยแถลงการณ์ที่นี้ แต่ตัวเองมาทราบเรื่องส่วนใหญ่เอาตอนที่โตแล้ว โดยคุณแม่ก็จะเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังเวลาว่างเสมอ

ด้านลุงแมว กล่าวถึงคุณแม่ว่า คุณแม่ท่านเป็นคนที่เสียสละทำทุกอย่างตั้งแต่ที่พ่อไปทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คุณพ่อก็ฝากพี่สาวคนโต ว่าหากทำการอะไรไม่สำเร็จก็ขอให้เลี้ยงดูลูกในภายหน้า ในระหว่างที่โตขึ้นมา เริ่มจำความได้ก็ได้ยินคำสอนที่บอกว่า

อย่าคิดว่าเป็นลูกใคร พราะพ่อแม่ก็เป็นคนธรรมดา เพียงแต่เป็นนายกฯหรือหัวหน้าคณะราษฎร ไม่ได้มีความวิเศษกว่าคนอื่น ลูกทุกคนต้องสำนึกว่าเป็นลูกคนธรรมดา อย่าได้คิดว่าเป็นลูกนายกฯ พร้อมกันนั้นจะทำอะไรก็คำนึงถึงเกียรติสิ่งที่พ่อแม่ทำไว้ อย่าทำลายความดีที่มีมา

"คำว่าไพร่ ผู้ดีต่างกัน พ่อบอกว่า ไพร่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีฐานะยากจน คนมีเงินก็เป็นไพร่ได้หากประพฤติไม่ดี เอาเปรียบคน สำหรับผู้ดีนั้น แม้แต่ขอทาน ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร คนผู้นั้นก็เป็นผู้ดี ไม่ใช่ว่าเขายากจนถึงเป็นไพร่"

ลุงแมว เล่าว่าเมื่อครอบครัวมาอยู่ที่สี่เสาเทเวศน์มีต้นโพธิ์ใหญ่ จะมีผึ้งหลวงมาทำรัง ระหว่างที่ผึ้งอยู่แม่ห้ามใครไปยุ่ง พอใกล้ออกพรรษาผึ้งก็ทิ้งรัง แม่จะให้ทหารเฉือนเอารังผึ้งมาทำเทียน

โดยที่เห็นคือ แม่บีบเป็นก้อนใช้หม้อขนาดใหญ่ ใส่รังผึ้งไปต้ม หลังจากนั้นก็รังผึ้งก็จะเป็นสีเหลือง และกลายเป็นสีขาว เมื่อเสร็จจะได้เป็นเทียนเข้าพรรษาที่จุดในบ้านที่เหลือก็เป็นเทียนเล็กๆใช้บูชาพระ และเทียนไขใช้จุดตอนกลางคืน

"คุณแม่มักใช้ให้ผมทำงานมากกว่าคนอื่น พี่ๆน้องๆก็มักเล่นกัน ก่อนออกจากบ้าน ท่านเอาถังกับเสียมให้ ใช้ไปตักโคลนในสระแล้วคลุกเศษถ่าน ไปละเลงกับพื้นเพื่อตากมาใช้จุดแทนถ่าน ตนก็โกรธที่ไม่ได้เล่นเอาเสียมทิ่มไปทิ่มที่ถังแล้วอ้างว่าถังชำรุด ใช้งานไม่ได้ เมื่อแม่กลับมา คุณแม่ก็เอาเสียมฟาดจนเป็นแผลเป็นทุกวันนี้"

เมื่อเป็นลูกผู้เสียสละ

คุณพวงแก้ว เล่าถึงความรู้สึกของตัวเองว่า มีความรู้สึกภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นลูกผู้เสียสละ แม้แต่ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งท่านเป็นอัมพาต นายกฯตั้งให้พ่อเป็นทหารใหญ่ หามขึ้นแคร่ไปบัญชาการ เวลาที่คุณพ่อจะเสียยังสั่งเสียว่า ฝากประเทศด้วยแล้วจึงสิ้นใจ ลมหายใจสุดท้ายคือประเทศ แทนที่จะเป็นครอบครัว

ขณะที่ คุณลุงแมว กล่าวว่าภูมิใจและลำบากใจด้วย จะทำอะไรต้องไม่ทำให้พ่อและแม่เสื่อมเสียเกียรติ จะทำอะไรที่ไม่ดีไม่ได้ ตัวเราเป็นอะไรก็ช่าง แต่จะทำให้เสียหายพ่อ แม่ไม่ได้ นับตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ ก็คำนึงมาตลอด

หน้าที่การงานที่ต้องซื้อเครื่องราคาหลายล้าน คนที่มาทำการค้าด้วย บอกเลยว่าเรื่องเปอร์เซ็นต์จากการค้านี่ไม่ต้องมาพูดถึง ตนต้องการความจริงใจ มีหน้าที่รับผิดชอบองค์การทหารผ่านศึก ถ้าเกิดมีอะไรเกิดขึ้น ตนไม่มีความสำคัญต้องเสียหาย แต่ไม่อยากให้วิญญาณท่านต้องมามัวหมอง

"คุณจริงใจกับผมอย่ามาทำตัวเป็นนักบิน คือ นักบินสมัยก่อนไม่ต้องทำอะไร ติดเครื่องก็มีคนทำให้ ไม่ดูแลเครื่องบิน พอพูดถึงนักบินเมื่อขายของก็ต้องติดตามดูว่าสิ่งที่ขายมาสร้างปัญหาอะไร ไม่ใช่ขายได้ก็จบ คนที่ต้องตามหาก็ต้องมาคอยตาม"

พวงแก้ว กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า คุณพ่อเสียชีวิตด้วยเส้นโลหิตในสมองแตกครั้งที่ 2 ซึ่งท่านเครียดจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศ จะทำอย่างไรให้อยู่รอด ไม่ให้ญี่ปุ่นทำลายบ้านเมืองเหมือนจีน หรือเกาหลี คุณพ่อต้องใช้ความคิดในที่สุดก็ผ่านไปได้เพราะบารมีของคุณพ่อ ที่นายพลนากามูระ เคยรู้จักกับคุณพ่อ จึงให้ความไว้วางใจ ประเทศให้ความอยู่รอดได้


ประเด็นสำคัญในฐานะรถไฟสายสงครามกลางเมือง

คุณพวงแก้ว กล่าวว่า เรื่องราวของกบฎบวรเดชนั้นมีเรื่องราวมาโดยตลอด ขอให้ไปลองอ่านในคำให้การพิเศษ แต่สิ่งที่พอจะเล่าได้คือ ทหารสองฝ่ายรบกันเอง เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีคนหนึ่งหักล้างด้วย คนเก่าก็จะถือของเก่าเอาไว้ คนใหม่ก็บอกว่าของเขาก็ดี ธรรมชาติก็ต้องรบกัน ใครมีกำลัง อำนาจ สติปัญญาดีกว่าก็ถือเป็นผู้ชนะ


ด้านลุงแมว กล่าวว่า กบฏบวรเดช เรื่องข้อเท็จจริงหรือที่เป็นหลักฐานนั้นทราบจากคำบอกเล่าว่าทางฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช นำทหารต่างจังหวัดล้อมกทม. ยึดสนามบิน โปรยใบปลิว ให้รัฐบาลยอมแพ้ พ่อก็ปรึกษากับจอมพล ป. ให้จอมพล ป. ตอบโต้ฝ่ายบวรเดช ซึ่งปืนใหญ่สมัยนั้นมีใน กทม.อย่างเดียว

จอมพล ป. ก็สั่งให้ปืนใหญ่ตั้งที่บางซื่อ ตั้งยันกันที่คลองบางเขน รัฐบาลระดมยิงไปที่คลองบางเขน กระสุนปืนใหญ๋ทำให้ฝ่ายบวรเดชล้มตายมาก เมื่อถอยร่นไป รัฐบาลก็นำกำลังบรรทุกรถไฟตามตี จนถูก "ตอร์ปิโดบก" ฝ่ายบวรเดชใช้หัวรถจักรติดเครื่องเปิดไอน้ำ ให้หัวรถจักรเข้าชนกับรถไฟทหารตกราง

ฝ่ายรัฐบาลเมื่อกู้รถไฟได้ก็ตามตีไป ฝ่ายกบฏก็ตั้งรับที่อยุธยา ถอยไปที่สระบุรี แม่ทัพฝ่ายบวรเดชตายในที่รบ ฝ่ายรัฐบาลก็ตายในที่รบเช่นกัน ฝ่ายกบฏแตกถอยไป พระองค์เจ้าบวรเดช ก็ขึ้นเครื่องบินหนีไปลงที่ไซง่อน เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทุกท่านทราบในตอนต่อมา ว่าฝ่ายกบฏแพ้ไป

ความขัดแย้งของผู้นำไม่ได้เป็นเหตุผลของลูกๆที่ต้องแตกแยกด้วย

คุณพวงแก้วกล่าวว่า คุณแม่เคยพาไปหาภรรยาของพระยาทรงสุรเดช (หนึ่งในแกนนำคณะราษฎรซึ่งภายหลังมีความขัดแย้งกับฝ่ายพระยาพหลฯ และจอมพล ป.) เป็นประจำ ภรรยาของพระยาศรีสิทธิสงคราม (แม่ทัพฝ่ายกบฏบวรเดช) ก็ยังเป็นพี่น้องไปมาหาสู่กันเป็นประจำ

ส่วนครอบครัวของท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ไปมาหาสู่ ช่วงปีใหม่คุณแม่ก็พาไปหาคุณอาปรีดี ซึ่งท่านยังถามแม่ตนเองว่าให้ดูลายมือให้ ซึ่งแม่ก็บอกว่าให้ลาออก จนสุดท้ายท่านก็ต้องไปต่างประเทศ

ด้านลุงแมวกล่าวเสริมว่า คุณลุงพระยาทรงฯ ช่วงที่พ่อเสียแล้ว ครอบครัวได้ย้ายหลังจากรัฐประหารไปอยู่ที่กรม ปตอ. บ้านของท่านจอมพลป.เก่าสมัยที่ยังเป็น ผบ.ทหารบก เป็นบ้านนอกไม่ใช่ในเมืองเหมือนปัจจุบัน เราก็ไปมาหาสู่กัน ป้าตลับ (ภรรยาพระยาศรีสิทธิสงคราม) ตนไปบ้านนั้นเป็นประจำ เวลาหน้าเข้าพรรษาจะทำกระยาสารท ส่งขายตลาด ตนก็ชอบไปทานกระยาสารท

"ใต้ถุนบ้านท่านมีเรือหลายชนิด ผมก็ชอบไปฝึกพายเรือ โดยใช้เรือป้าตลับพาย ลูกชายของป้าตลับกรรเชียงเรือพาไปเที่ยวแมน้ำเจ้าพระยา ทำให้ว่ายน้ำเป็นที่นั่น เวลาจะทำกระยาสารทชาวบ้านก็มาช่วยกัน ป้าจะเหมาน้ำตาลอ้อย จากเรือจ้าง เหมาถัง 300 ลิตร มาใช้เป็นส่วนผสม และบ้านของคุณลุงพระยาทรงฯ เมื่อถึงวันที่ 24 มิ.ย. ก็จะทำบุญ คุณแม่จะเอารถไปรับป้าตลับ ไปวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นประจำ"

ลุงแมว เสริมด้วยว่า สำหรับท่านอื่นๆ ไม่ว่าเป็นหลวงประดิษฐ์ฯ (ปรีดี พนมยงค์) ที่อยู่ทำเนียบท่าช้าง ก็ยังไปมาหาสู่ ที่ท่าช้างก็มีห้องที่ใช้เป็นที่ประชุมคณะรัฐบาลเป็นประจำ ทหารที่ปตอ.ก็เล่าให้ฟังว่า วันที่ 8 พ.ย. 2490 รถถังก็พังประตูเข้าไปแล้วเห็นท่านลงเรือจ้างไป ทหารไม่มีใครกล้ายิง ท่านจึงรอดชีวิตมาได้

เหตุการณ์กบฏบวรเดช เส้นทางของความขัดแย้งห้ำหั่นกันเองของทหาร มาสู่ปัจจุบัน

คุณลุงแมว กล่าวว่า เรามักบอกว่าเป็นไทยเมืองพุทธ พระพุทธเจ้าก็สอนสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ แต่ไม่ทราบว่าเราเป็นพุทธประเภทไหนที่ดันฟัดกันเอง ครั้งหนึ่งตนเคยไปปฏิบัติการรบที่เวียดนามใต้โดยอาสาสมัครไป เห็นแต่คนเวียดนามรักแผ่นดิน ร่วมกอบกู้แผ่นดินเอาชีวิตเข้าแลก แต่เราไม่เป็นอย่างนั้น เป็นคนไทยควรรักเข้าไว้ ไม่ควรแบ่งเป็นฝ่าย นำเอาประเทศไปสู่ความเจริญ

"เราไม่มีความคิดที่จะร่วมมือเลยหรือ ช่วยกันพาประเทศไปสู่ความเจริญ หรือรอให้พม่า ลาว เขมร แซงหน้าไปแล้วค่อยมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป"

ปัญหาหลักที่แก้แล้วจะทำให้เหตุการณ์คลี่คลาย

ลุงแมว กล่าวสั้นๆว่า ผู้ใหญ่กับนักการเมืองควรต้องแก้ไขลดละกิเลส ตัณหาให้มาก เชื่อว่าประเทศคงไปได้ดีกว่านี้

"ขอให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด" ลุงแมวกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับป้าพวงแก้ว กล่าวว่า ผู้ใหญ่และผู้ปกครองต้องรู้จักหน้าที่ มีศีลธรรมประจำใจ กระทรวงศึกษาตัดวิชาหน้าที่และศีลธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์ออกไป ทำให้ก้าวร้าว กระทรวงศึกษาจะต้องจัดระบบใหม่ ครูที่ไปสอนกลับเป็นคนที่เกรดการเรียนต่ำ

แต่ขณะที่แพทย์เกรดสูง ควรเพิ่มเงินเดือนให้กับครู เท่ากับแพทย์และวิศวะ เพราะฉะนั้น งบประมาณควรมุ่งไปที่กระทรวงศึกษา วางรากฐานใหม่ ปรับตั้งแต่อนุบาล


"อยากให้คนไทยสามัคคี และให้อภัยซึ่งกันและกัน" ป้าพวงแก้ว กล่าว


ขอขอบคุณ มติชนออนไลน์

วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554
เวลา 20:30:50 น.


สิริสวัสดิ์อาทิตยวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ



Create Date : 01 พฤษภาคม 2554
Last Update : 16 พฤษภาคม 2554 21:15:29 น. 0 comments
Counter : 2034 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.