"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
21 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
สิ้นยุคเรเนซองส์ตะวันตก“อุมแบร์โต เอโก”ศาสตราจารย์แห่งสัญญะวิทยา ผู้แต่ง“The Name of Rose”เสียชีวิต

 

สิ้นยุคเรเนซองส์ตะวันตก “อุมแบร์โต เอโก” ศาสตราจารย์แห่งสัญญะวิทยา ผู้แต่ง “The Name of Rose” เสียชีวิตในวัย 84

เอพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ – นักปรัชญา นักสัญญะวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ และยังเป็นผู้แต่งนวนิยายชื่อก้องโลกเป็นต้นว่า “สมัญญาแห่งกุหลาบ” หรือ The Name of Rose และ Foucault pendulum อุมแบร์โต เอโก (Umberto Eco) ได้เสียชีวิตแล้วในวัย 84 ปี

       เอพีรายงานวันนี้(20 ก.พ)ว่า ลอรี กลาเซอร์ (Lori Glazer) โฆษกสำนักพิมพ์อเมริกัน ฮูสตัน มะฟฟิน ฮาร์คอร์ต (Houghton Mifflin Harcourt) ได้ให้ข้อมูลกับเอพีว่า

ศาตราจารย์ อุมแบร์โต เอโก ประจำมหาวิทยาลัยโบโลญญา(University of Bologna) ได้เสียชีวิตในวันศุกร์ (19 ก.พ) แต่ทว่า กลาเชอร์ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า เอโกเสียชีวิตเพราะเหตุใด และเขาได้เสียชีวิตที่ใด

       เอโกถือเป็นปราชญ์แห่งโลกตะวันตก เป็นผู้มีชื่อเสียงในแวดวงสัญญะวิทยา (Semiotics) ที่ว่าด้วย กระบวนการทำให้เกิดความหมาย หรือการหาที่มาของความหมายที่ซ่อนอยู่

และยังเป็นเจ้าของทฤษฎี เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน (Reader Response Theory) ซึ่งสิ่งที่เอโกสนใจคือ เหตุใดสิ่งที่ผู้อ่านคิด ในขณะอ่านงานเขียนจึงไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และปัจจัยใดเป็นสาเหตุที่ทำให้ “ความหมาย” นั้นเปลี่ยนไป

       และจากงานเขียนที่เริ่มตั้งแต่ปี 1988 ในผลงาน Foucault pendulum ของเอโก พบว่าในนวนิยายชิ้นที่ 2 นี้ เขาให้ความสนใจไปยังทฤษฎีมคบคิด (Conspiracy theory) หรือ คือ เรื่องเล่า

บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด

หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่า มีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น

อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง

และอุมแบร์โต เอโกได้พัฒนาความคิดนี้ ไปสู่งานเขียนชิ้นรองสุดท้ายในปี 2010 The Prague Cemetery ที่เอโกใช้ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้สร้าง "ทฤษฎีสมคบ"

       ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า ความสนใจด้านวงสัญญะวิทยาของเอโกเริ่มต้นตั้งแต่งานเขียนนวนิยายเปิดตัวชื่อก้องโลกในปี 1980 “สมัญญาแห่งกุหลาบ” หรือ The Name of Rose

ที่เอโกใช้ความสนใจด้านประวัติศาสตร์ยุคกลาง ที่มีจุดศูนย์กลางอำนาจในกรุงวาติกัน เป็นหลัก ใช้แนวดำเนินเรื่องแนวนิยายสืบสวนของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ หรืออกาธาร์ คริสตี สืบหาความหมายที่ซ่อนอยู่จากร่องรอย และนำไปสู่คำตอบ

       เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า ในปี 2000 ศาตราจารย์ อุมแบร์โต เอโก ได้รับรางวัลสูงสุดของสเปน รางวัลเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (Prince of Asturias Prize) ด้านการสื่อสาร

ซึ่งผู้มอบรางวัลได้กล่าวชื่นชมงานของเอโกว่า “ครอบคลุม และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งงานทั้งหมดของเขาถูกจัดเป็นสิ่งที่เป็นอมตะแห่งยุคร่วมสมัย”

       เอโกเกิดในวันที่ 5 มกราคม 1932 ในเมืองเอเลสซานเดรีย( Alessandria) ทางตะวันออกของเมืองตูริน อิตาลี ที่เอโกได้เคยกล่าวอย่างติดตลกไว้ว่า

อารยธรรมที่ถูกเก็บรักษาที่นั่น เป็นเสมือนกับแหล่งข้อมูลทางด้านปัญญาของเขา ที่ทำให้เอโกเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความสงสัย และเป็นศัตรูกับศิลปะทางการใช้ภาษา

       เอพีรายงานว่า ในปี 1954 อุมแบร์โต เอโก สำเร็จการศึกษาด้านปรัชญา จากมหาวิทยาลัยตูริน โดยมีรายงานว่า นั่นเป็นจุดกำเนิดในความสนใจด้านอารยธรรมยุคกลาง และภาษาศาสตร์

ซึ่งเอโกได้เคยให้นิยาม Semitotics ว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วยปรัชญาภาษา (Philosophy of Language)

       และนอกจากนี้เอพียังกล่าวต่อว่า ในปี 1971 ศาสตราจารย์เอโก กลายเป็นศาสตราจารย์ด้านสัญญะวิทยาคนแรกประจำมหาวิทยาลัยโบโลญญา ซึ่งสถาบันแห่งนี้เป็นถูก่กอตั้งในปี 1088 เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ตั้งในเมืองโบโลญญา อิตาลี

       เอโกถือเป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการระดับโลก เขาได้รับเชิญไปบรรยายตามสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างทั่วโลก โดยภายในปี 2000 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อระดับไอวีลีกทั่วโลก

เป็นต้นว่า มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และรวมไปถึงสถาบันการศึกษาสำคัญทั่วโลกอีก 23 แห่งต่างได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้กับเอโกทั้งสิ้น

       เอโกยังเป็นผู้ที่เชื่อมโลกระหว่างวัฒนธรรมร่วมสมัยและอารยธรรมยุโรปเข้าด้วยกัน ซึ่งคล้ายกับว่าชายวัย 84 ปีผู้นี้ทำให้ซูปเปอร์แมน และประวัติศาสตร์ยุโรป สามารถกลับมามีชีวิตโลดแล่นไปด้วยกันได้กับผู้อ่าน

ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของอิตาลี L’Espresso รวมไปถึงการใช้อารมณ์ขันเสียดสี เช่น เคยใช้คำพูดล้อเลียนตัวเองในงานเขียน เป็นต้น “รอยยิ้มแบบ Etruscan” ใน Foucault pendulum

ซึ่งงานของเอโกนั้นมักจะอ่านยาก และศาสตราจารย์ทางด้านสัญญะวิทยาผู้นี้เคยยอมรับว่า ตัวเองเป็นผู้ที่ชื่นชมในความสมบูรณ์แบบ จึงไม่แปลกใจว่า

ในงานเขียนแต่ละชิ้นของเอโกนั้น จะคล้ายกับสารานุกรมมากกว่าเป็นเนื้อหานวนิยายแบบทั่วๆไป เช่น ผลงานชิ้นที่ 6 The Prague Cemetery และสไตล์การเขียนของเขายังคล้ายกับ เจมส์ จอยซ์ ที่ศาสตราจารย์ชาวอิตาลีผู้นี้มีสนใจเป็นพิเศษ

       และเอพีรายงานว่า ศาสตราจารย์ เอโกได้เริ่มต้นอาชีพสื่อสารมวลชนในยุค 50 โดยทำงานให้กับสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอิตาลี RAI และตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา เอโกได้เริ่มงานเขียนคอลัมน์ให้กับสื่อต่างๆ

       โดยในนวนิยายชิ้นสุดท้ายซึ่งเป็นลำดับที่ 7 ของเอโก เขาได้แต่งเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับโลกสื่อสารมวลชน ภายใต้ชื่อ Numero Zero ที่ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2015

       นอกจากนี้ยังพบว่า เอโกได้เคยแต่งวรรณกรรมเด็กในภาษาอิตาลี La Bomba e il Generale หรือ “ระเบิดและท่านนายพล” อีกด้วย

       เอโกที่ถูกเรียกว่า Renaissance Man แห่งโลกตะวันตก ได้เคยกล่าวไว้ในเรื่องความตายว่า “We have a limit, a very discouraging, humiliating limit: death”

หรือ “มนุษย์เรามีข้อจำกัด เป็นข้อจำกัดที่ไม่อาจสู้ได้ เป็นข้อจำกัดที่น่าอับอาย...ไม่อาจฝืน เป็นความตาย”

และการเสียชีวิตของเขา ทำให้มีผู้ไว้อาลัยเป็นจำนวนมาก รวมไปถึง บริษัท Merriam-Webster บริษัทเครือข่ายร้านหนังสือยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ บาร์นส์ แอนด์ โนเบิล และเซบาสเตียโน คาร์ดิ (Sebastiano Cardi) เอกอัคราชทูตอิตาลีประจำองค์การสหประชาชาติ

 

ขอบคุณ MGR Online  

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ    




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:27:12 น. 0 comments
Counter : 1621 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.