"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ถ่ายบล็อก .. เก็บตก จากบล็อกที่ 103


เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามักจะมีอิทธิปาฏิหาริย์
แทรกอยู่ด้วยเสมอ

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้รวบรวมต้องการ
ให้เห็นว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก่อให้เกิดประโยชน์
สุขแก่มวลมนุษย์
ถ้าจะเล่าพื้น ๆ โดยไม่แทรกเรื่องราว
มหัศจรรย์ก็ดูกระไรอยู่

อีกอย่างหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวการเล่าเรื่องต้อง
ใช้ภาษากวีที่สละสลวย จึงต้องต่อเติมเสริมต่อให้เกินจริง
ไปบ้าง

ผู้อ่านจึงไม่ควรถือเคร่งตามตัวอักษรไปทั้งหมด

ควรคิดว่า นั่นเป็นเพียงบุคลาธิษฐาน
อิทธิปาฏิหาริย์เหล่านี้จะเห็นได้ตั้งแต่เริ่มแรก
ทีเดียวเช่น กล่าวถึงเมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์เสด็จ
สวรรคตแล้วได้ไปเกิดเป็นเทพสันดุสิตในสวรรค์ชั้นดุสิต

เหล่าเทพยดาพิจารณาเห็นว่าพระโพธิสัตว์ได้
บำเพ็ญบารมีมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป พร้อมที่
จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ

จึงได้มาประชุมกัน
เพื่ออัญเชิญสันดุสิตเทพบุตร ให้จุติจากสรวงสวรรค์
มาเกิดในมุษยโลก

พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่า เป็นเวลาอัน
สมควร แล้วจึงรับอาราธนา

.. พุทธจริยาวัตร โดย ศาสตราจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก (ป.ธ.๙)



เทวดา และเทพารักษ์ ตามความเชื่อของไทย

เทวาธิบดี ท้าวจตุโลกบาล (ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร) · พระอินทร์ · พระสุยามาธิบดี • สันดุสิตเทพบุตร • พระยาปรนิมิตเทวราช • พระยาวสวัตตีมาราธิราช

ตรีมูรติ พระตรีมูรติ • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) • พระอิศวร (พระศิวะ) • พระพรหม

เทวนพเคราะห์ พระอาทิตย์ • พระจันทร์ • พระอังคาร • พระพุธ • พระพฤหัสบดี • พระศุกร์ • พระเสาร์ • พระราหู • พระเกตุ

เทวดาอื่นๆ กามเทพ • พระกฤษณะ • พระพาย • พระพิรุณ • พระอัคนี • พระยม • พระหลักเมือง • พระเสื้อเมือง • พระทรงเมือง • พระกาฬไชยศรี • เจ้าเจตคุปต์ • พระพิฆเนศวร • พระวิศวกรรม • พระเทพบิดร • จตุคามรามเทพ • พระขันทกุมาร• พระไพศรพณ์

เทวสตรี พระแม่กาลี • พระแม่คงคา• พระแม่ทุรคา • พระแม่ธรณี • พระแม่ปารวตี • พระลักษมี • พระสุรัสวดี • พระอุมา



มหาศิวาราตรี (โรมัน:Maha Shivratri) (เทวนาครี:महाशिवरात्रि) คือวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศิวาราตรี แปลว่า ราตรีหรือค่ำคืนแห่ง (การบูชา) พระศิวะเจ้า

ศิวาราตรีเป็นเทศกาลสำคัญยิ่งวันหนึ่งในรอบปีของชาวฮินดู โดยพิธีศิวาราตรีจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย หรือเดือนมาฆะ (ตามปฏิทินของฮินดู)

คือพิธีนี้จะอยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี โดยวันสำคัญที่สุดของเทศกาลนี้อยู่ในคืนวันเพ็ญ (กฤษณปักษ์) เดือน 3 โดยชาวฮินดูจะประกอบพิธีบูชาพระศิวะเจ้าด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวันทั้งคืน


จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ขอขอบคุณค่ะ


สิริสวัสดิ์วรวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 13:03:41 น. 8 comments
Counter : 989 Pageviews.

 
นายอนันต์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้าไปดูแลรถยนต์พระที่นั่งว่า เดิมเป็นช่างทำสีรถยนต์ทั่วไป กระทั่งเมื่อประมาณปลายปี 2541-2542

มีคนมาคุยที่ร้าน แต่งชุดธรรมดามาบอกว่าจะให้ทำสีรถยนต์พระที่นั่ง ตอนนั้นคิดว่าล้อเล่นจึงปฏิเสธ

ไม่นานเขานำรถยนต์ รยล. และแต่งชุดเต็มยศเข้ามาหาที่อู่ พร้อมทั้งจดหมายจากสำนักพระราชวัง บอกว่าพรุ่งนี้ให้แต่งชุดสุภาพเพื่อเตรียมเข้าวังไปพบท่านรองราชเลขาธิการ

พอเข้าไปในสวนจิตรลดา ท่านรองฯ ถามว่าจะให้ดูแลทำสีรถยนต์พระที่นั่งทั้งหมด จะทำได้ไหม ก็รับคำทันที

ส่วนรถยนต์พระที่นั่งคันแรกที่ได้ทำนั้น นายอนันต์ กล่าวว่า คือรถโรลส์รอยซ์ ที่เป็นรถยนต์พระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในพระราชพิธีสวนสนาม วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี

"เราเห็นเข่าอ่อนเลย วันแรกที่เห็นรถก็นั่งมองรถตั้งแต่ 9 โมง ถึงตีสาม และฝากให้สารถีถามท่านว่าท่านโปรดสีรถยนต์ยี่ห้อไหน

แต่ท่านมีรับสั่งกลับว่าให้ใช้สีที่นายช่างใช้ ก่อนที่เราจะทำสีรถก็ก้มกราบที่เยื้องพระบาทขึ้นรถยนต์ จากนั้นจึงเริ่มทำ

ระหว่างที่ทำก็ต้องติดกล้องวงจรปิดส่งภาพให้ทางสำนักพระราชวังดู และมีตำรวจมาคอยตรวจดู ตอนนั้นเรานอนเฝ้ารถยนต์พระที่นั่งเลย

ตอนที่ซ่อมแม่มาเห็นเข้าก็บอกว่าให้เราซ่อมถวายท่านเลยได้มั้ย เพราะว่าแม่เป็นคนจีนโล้สำเภามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารจากท่าน อยากจะตอบแทนคุณท่าน ให้ลูกทำแทนแม่ได้มั้ย

เราก็รับคำแม่ทันทีว่าได้ ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นเศรษฐกิจไม่ดี เราเป็นหนี้อยู่ 10 ล้าน แต่เราก็พยายามทำงานให้ท่านอย่างดีที่สุด" นายอนันต์ กล่าว

ช่างดูแลรถยนต์พระที่นั่ง เล่าอีกว่า พอทำสีรถยนต์ไปได้สัก 7 คัน มีผู้ใหญ่ทำจดหมายขึ้นกราบบังคมทูลพระองค์ท่านว่า

นายช่างทูลเกล้าฯ ถวายค่าซ่อมรถทั้ง 7 คัน ก็มีรับสั่งมาว่าขอบใจ แต่ตอนหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรับสั่งให้สารถีมาบอกว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดที่นายช่างทำแบบนี้ อยากให้นายช่างรู้จักประมาณตนว่าอะไรควรถวาย อะไรไม่ควรถวาย

"ท่านคงรู้ว่าผมมีปัญหาหนี้สินมาก ท่านก็เลยเตือนสติ ผมถือว่าเป็นพรที่นำคำว่ารู้จักประมาณตน มาใช้จนทุกวันนี้" นายอนันต์ กล่าว

นายอนันต์ เล่าต่อว่า นอกจากรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังดูแลรถยนต์พระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย

"ครั้งหนึ่งผมต้องซ่อมรถตู้เชฟโรเลต ซึ่งเป็นรถที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ สมัยท่านเรียนจบที่จุฬาฯ และเป็นคันโปรดของท่านด้วย

ก่อนซ่อมข้างประตูด้านที่ท่านประทับเวลาฝนตกจะมีน้ำหยด แต่หลังจากที่ซ่อมแล้ว วันหนึ่งท่านก็รับสั่งกับสารถีว่า วันนี้รถดูแปลกไป น้ำไม่หยด อย่างนี้ก็ไม่เย็นน่ะสิ แต่ก็ดีเหมือนกันไม่ต้องเอากระป๋องมารอง"

นายอนันต์ เล่าถึงพระอารมณ์ขันของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นายอนันต์ เปิดเผยว่า ภายในรถยนต์พระที่นั่งของแต่ละพระองค์นั้น เรียบง่ายมากไม่มีอะไรเลยที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก มีแต่ถังขยะเล็ก ๆ กับที่ทรงงานเท่านั้น

ส่วนการได้มีโอกาสดูแลรถยนต์พระที่นั่ง ทำให้ได้เห็นถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยนั้น

นายอนันต์กล่าวว่า ครั้งหนึ่งมีรถยนต์พระที่นั่งที่เพิ่งทรงใช้ในพระราชกรณียกิจมาทำ เห็นว่าพรมใต้รถมีน้ำแฉะขังอยู่และมีกลิ่นเหม็นด้วย แสดงว่าพระองค์ท่านทรงนำรถไปทรงพระราชกรณียกิจในที่ที่น้ำท่วม แถมน้ำยังซึมเข้าไปในรถพระที่นั่งด้วย

แสดงว่าน้ำก็ต้องเปียกพระบาทมาตลอดทาง จึงถามสารถีว่า ทำไมไม่รีบเอารถมาซ่อม ก็ได้คำตอบว่าต้องรอให้เสร็จพระราชกรณียกิจก่อน

เมื่อพิธีกรถามว่า จากการที่ได้มีโอกาสรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ได้เห็นถึงความพอเพียงของพระองค์อย่างไร นายอนันต์ ตอบว่า

"ปกติถ้าทรงงานส่วนพระองค์ ท่านก็ใช้รถคันเล็กเพื่อประหยัดน้ำมัน และเมื่อเราสังเกตสีรถพระที่นั่ง จะเห็นว่ามีรอยสีถลอกรอบคันรถ กว่าที่ท่านจะนำมาทำสีใหม่ก็รอบคันแล้ว

แต่คนใช้รถอย่างเราแค่รอยนิดเดียวก็รีบเอามาทำสีแล้ว และครั้งหนึ่งระหว่างที่ผมกำลังประสานงานไปรับรถพระที่นั่งของสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ก็มีวิทยุของข้าราชบริพารบอกกันว่ารถติดมาก สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จฯ ขึ้นรถไฟฟ้าไปแล้ว"

ขอขอบคุณ

Source : //hilight.kapook.com/view/43970


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:25:51 น.  

 
คณปฏิทินจันทรคติปักขนา

กระดานปักขคณนาปักขคณนา หรือ ปักษคณนา เป็นปฏิทินจันทรคติไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการคำนวณหาวันขึ้นแรมให้แม่นยำตรงตามการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ

โดยไม่ได้นับวันตามการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ แต่ใช้วิธีการนับโดยการยึดหาวันเพ็ญ และ วันดับ แทน

สำหรับการคำนวณวันที่จะใช้กระดานปักขคณนา ในการช่วยคำนวณ ซึ่งจะซับซ้อนกว่าการนับปกติ สำหรับระบบปฏิทินจันทรคติแบบปักขคณนานี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุติ เพื่อใช้ในการทำศาสนกิจต่อไป

ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:29:09 น.  

 
ที่มาและความหมายของคำว่า ปักขคณนา

ปักขคณนา เป็นคำที่เกิดจากการนำคำว่า ปักขะ ซึ่งเป็นภาษาบาลี ที่แปลว่า ปักษ์ มารวมกับคำว่า คณนา ซึ่งแปลว่า การคำนวณ

ดังนั้น ปักขคณนา จึงแปลว่า การนับปักษ์ หรือ วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ โดยในพจนานุกรมของ อ.เปลื้อง ณ นคร ได้เขียนคำแปลไว้ว่า

ปักขคณนา [ปัก-ขะ-คะ-นะ-นา] น. การคำนวณปักษ์ เป็นปฏิทินสำหรับบอกสวนะแบบหนึ่ง คือแทนที่จะนับขึ้นแรมไปตามลำดับ แต่ใช้วิธีคำนวณอย่าง ละเอียดโดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ

และเนื่องจากการโคจรของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ช้าเร็วไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น วันธรรมสวนะที่กำหนดไว้ในปักขคณนาจึงไม่ตรงกับวิธีนับขึ้นแรมในบางคราว พระสงฆ์คณะธรรมยุติ นิกายใช้วิธีนี้

ลักษณะการคำนวณข้างขึ้นข้างแรมแบบปักขคณนาวิธี
ตามพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "วิธีปักขคณนา" จากหนังสือ "ความรู้เรื่องปักขคณนา", มหามกุฏราชวิทยาลัย, หน้า 42 (ตัวสะกดรักษาตามต้นฉบับเดิม) ได้กล่าวถึงที่มาและวิธีการคำนวณไว้ว่า

จะว่าด้วยกาลนับปักข์ตามมัชฌิมะคติให้ปริสัช ที่ไม่รู้ภาษามคธได้เข้าใจ ก็คำที่เรียกว่าปักข์นั้น คือแปลว่าปีกแห่งเดือน คือนับแต่พระจันทร์เพ็ญจนดับ ดับจนเพ็ญเรียกว่าปักข์หนึ่งๆ

ก็ในปักข์หนึ่งนั้นบางทีมีวัน 14 15 ก็ในปักข์ 15 นั้น เรียกว่า ปักข์ถ้วน ในปักข์ 14 นั้น เรียกว่า ปักข์ขาด ก็ปักข์ถ้วนสาม ปักข์ขาดหนึ่งเรียกว่า จุละวัคค์ ปักข์ถ้วนสี่ ปักข์ขาดหนึ่ง เรียกว่า มหาวัคค์ จุละวัคค์สองที มหาวัคค์ทีหนึ่ง

เรียกว่า จุลละสะมุหะ จุละวัคค์สามที มหาวัคค์ทีหนึ่ง เรียกว่ามหาสะมุหะ ในชั้นนี้ใช้มหาสะมุหะเป็นพื้น มหาสมุหะหกครั้ง จุลสะมุหะทีหนึ่ง เรียกมหาพยุหะ มหาสะมุหะห้าครั้ง จุละสะมุหะทีหนึ่ง เรียกว่า จุละพยุหะ

ในชั้นนี้ใช้จุละพยุหะเป็นพื้น ฯ จุละพยุหะเก้าที มหาพยุหะทีหนึ่ง เรียก จุลสัมพยุหะ จุลพยุหะสิบที มหาพยุหะทีหนึ่ง เรียกว่า มหาสัมพยุหะ ในชั้นนี้ใช้มหาสัมพยุหะเป็นพื้น มหาสัมพยุหะมาได้สิบเจ็ดที จุละสัมพยุหะมาทีหนึ่ง เมื่อเป็นไปได้เท่านี้ คะติพระ 1, 2 ว่าจะได้เป็นเหมือน โดยมัชฌิมะคะติครั้งหนึ่ง ฯ

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการคำนวณปฏิทินจันทรคติในสมัยก่อน โดยมุ่งหาวันพระจันทร์เต็มดวง หรือ วันเพ็ญ (ขึ้น 14 - 15 ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือ วันดับ (แรม 14 - 15 ค่ำ) และ วันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น 8 ค่ำ และ แรม 8 คำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ

แล้วแบ่งวันตามสัดส่วนนั้น ซึ่งทำให้บางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง 14 วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น 14 ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม 15 วันติดต่อกันหลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำ ปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาด ไม่ใช่เพียง เดือนเต็ม เดือนขาด เหมือนปฏิทินจันทรคติแบบปกติ

กระดานปักขคณนา
กระดานปักขคณนา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบปักขคณนาวิธี

โดยมีเป็นแผ่นกระดานไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และใช้หมุดไม้ในการช่วยเดินปักษ์ โดยกระดานปักขคณนานี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดค้นขึ้นในขณะที่ทรงผนวชอยู่ โดยอาศัยหลักตำราสารัมภ์มอญ ซึ่งใช้หลักการทดดิถีไปทีละวันๆ จึงเกิดเป็นรูปแบบกระดานปักขคณนาวิธีขึ้นมา ด้วยค่าระยะ 1 มาสที่ ทรงเลือกใช้ มีด้วยค่าความละเอียดที่ รอบ 1 เดือนข้างขึ้นข้างแรม (มาส) มีระยะเวลา 29.530593514175 วัน โดยประมาณ (หรือ 289577 / 294180 x 30 วัน )

ซึ่งมีความแม่นยำใกล้เคียงกับค่าความละเอียดที่ทางองค์การนาซ่า ได้กำหนดไว้ จึงถือได้ว่า มีความแม่นยำค่อนข้างสูง

การเดินหมากในกระดานปักขคณนา
มหาสัมพยุหะ ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม ม จ
มหาพยุหะ จ จ จ จ จ จ จ จ จ จ ม
จุลพยุหะ จ จ จ จ จ จ จ จ จ ม
มหาสมุหะ ม ม ม ม ม ม จ
จุลสมุหะ ม ม ม ม ม จ
มหาวรรค จ จ จ ม
จุลวรรค จ จ ม
มหาปักษ์ ม ม ม ม จ
จุลปักษ์ ม ม ม จ
วัน (ค่ำ) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15

หมายเหตุ: กระดานของจริงไม่มีช่องวัน แต่ที่ใส่นี้ก็เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น กระดานปักขคณนา ปกติมีอยู่ 5 แถว

ได้แก่ สัมพยุหะ พยุหะ สมุหะ วรรค ปักษ์ โดยชั้นสัมพยุหะมีแถวย่อยแถวเดียวคือ มหาสัมพยุหะ นอกเหนือจากนั้นจะมีแถวย่อย 2 แถว

คือ มหา และ จุล ซึ่งจะแทนด้วยตัวอักษร ม และ จ ตามลำดับ เมื่อเริ่มนับปักขคณนา เราจะเริ่มวางหมากลงให้จัดตัวในตำแหน่งที่เหมาะสม

โดยเริ่มวางหมากลงตรงมหาสัมพยุหะช่องแรก พบว่าหมากอยู่ตรงตัวอักษร ม นั่นคือ ชั้นถัดลงไปต้องวางที่ 'มหา' เราจึงต้องวางหมากตัวต่อไปตรงมหาพยุหะ พอเราวางหมากในช่องมหาพยุหะ

พบว่ามีอักษร จ อยู่ นั่นคือ ชั้นถัดลงไปต้องวางที่ 'จุล' เราจึงต้องวางหมากตัวต่อไปตรงจุลสมุหะ แล้วก็ทำในทำนองเดียวกันจนวางหมากตรงตำแหน่งแรกของวันได้

จึงสามารถสรุปได้ว่า การวางตำแหน่งหมากในแต่ละแถว ต้องพิจารณาตัวอักษรที่วางลงไป แล้วแถวถัดลงไปจะมีแถวย่อยตามที่แถวบนได้กำหนด เมื่อวางตำแหน่งแรกถูกต้องจะเป็นดังนี้คือ

มหาสัมพยุหะที่ 1 มหาพยุหะที่ 1 จุลสมุหะที่ 1 มหาวรรคที่ 1 จุลปักษ์ที่ 1 วันที่ 1 ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งปักขคณนาของวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2279

ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักขคณนา จากนั้น จึงทำการเดินหมากไปทุก ๆ วัน ทีละช่อง จนสุดแถวของวัน แล้วก็เลื่อนปักษ์ไปหนึ่งช่องทุกครั้งที่สุดแถววัน

พร้อมนับวันใหม่ ในขณะเดียวกันก็อย่าลืมพิจารณาว่า ในช่องปักษ์มีหมากตรงกับตัวอักษร จ หรือ ม (จ-15 วัน เป็นปักษ์เต็ม ม-14 วัน เป็นปักษ์ขาด) พอทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนสุดแถวปักษ์ ก็ทำการเลื่อนวรรคไปหนึ่งช่อง พร้อมตั้งต้นปักษ์ใหม่

พอสุดวรรค ก็ทำการเลื่อนสมุหะไปได้หนึ่งช่อง
พอสุดสมุหะ ก็ทำการเลื่อนพยุหะไปได้หนึ่งช่อง
พอสุดพยุหะ ก็เลื่อนสัมพยุหะไปได้หนึ่งช่อง
พอสุดสัมพยุหะ ก็ให้เริ่มปักขคณนาใหม่อีกรอบ (บันทึกว่าปักขคณนาผ่านไปแล้ว 1 รอบ)

ทั้งนี้ การเลื่อนไปแต่ละครั้ง ให้ดูอักษรในแต่ละช่องให้ดี เพื่อจะได้วางหมากในแถวที่อยู่ถัดลงไปได้ถูกต้อง

ทว่าวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนั้นผิดพลาดได้ง่าย และเข้าใจได้ยากสำหรับผู้เริ่มต้น ดังนั้นจึงมีวิธีที่ง่ายมากขึ้น พัฒนาเป็นสูตรขึ้นใหม่โดยต่อมา สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

หาหรคุณจูเลียนของวันที่ต้องการหาก่อน
ตั้งหรคุณจูเลียน ลบด้วย 2355147 ผลที่ได้เป็นหรคุณปักขคณนา
นำหรคุณปักขคณนาหารด้วย 16168 ผลที่ได้ให้บวก 1 เป็นตำแหน่งสัมพยุหะ

ส่วนเศษหมายไว้ก่อน
นำเศษจากข้อ 3 หารด้วย 1447 ผลที่ได้ให้บวก 1 เป็นตำแหน่งพยุหะ ส่วนเศษให้หมายไว้
นำเศษจากข้อ 4 หารด้วย 251 ผลที่ได้ให้บวก 1 เป็นตำแหน่งสมุหะ ส่วนเศษให้หมายไว้

นำเศษจากข้อ 5 หารด้วย 59 ผลที่ได้ให้บวก 1 เป็นตำแหน่งวรรค ส่วนเศษให้หมายไว้
นำเศษจากข้อ 6 หารด้วย 15 ผลที่ได้ให้บวก 1 เป็นตำแหน่งปักษ์ ส่วนเศษให้หมายไว้

เศษที่ได้จากข้อ 7 คือตำแหน่งวัน
พอเราคำนวณได้แล้ว ก็ให้วางหมากตามตำแหน่งที่คำนวณได้จากบนลงล่าง โดยพิจารณาตำแหน่ง

ว่าตำหน่งของหมากในแถวบนจะมีผลต่อตำแหน่งของหมากในแถวย่อยที่อยู่ถัดลงไป เช่น ถ้าวรรคตรงกับ ม ก็แสดงว่าปักษ์จะตรงกับมหาปักษ์ เป็นต้น

(หมายเหตุ สูตรข้างต้นเป็นสูตรของพระราชภัทราจารย์(ลอย สิริคุตโต) วัดโสมนัสวิหาร (พ.ศ. 2514) แต่เป็นสูตรที่ผิดใช้ไม่ได้จริงในบางค่า เช่นเมื่อหรคุณปักขคณนา289577

ในความจริงจะต้องได้ จุลสัมพยุหะ 18 มหาพยุหะ 10 จุลสมุหะ 7 มหาวรรค 3 จุลปักษ์5 ขึ้น 14 ค่ำ. หากคำนวณตามสูตรนี้บางครั้งจะไม่ได้ตำแหน่งบนกระดานปักขคณนาของรัชกาลที่ 4 จึงห้ามนำสูตรนี้ไปใช้จริง)

ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:36:26 น.  

 
ในส่วนตำราเดิมไม่ปรากฏวิธีคำนวณหาว่าเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรม ไว้เลย ได้พัฒนาสูตรขึ้นใหม่เพื่อหาปักษ์ข้างขึ้นข้างแรมเรียกว่า ปักขเกณฑ์ดังนี้

ถ้าอยากทราบว่า ช่วงนี้เป็นข้างขึ้นหรือข้างแรม ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

นำจำนวนรอบของปักขคณนา ลบ 1 คูณ 19612
นำตำแหน่งสัมพยุหะ ลบ 1 คูณ 1095
นำตำแหน่งพยุหะ ลบ 1 คูณ 98
นำตำแหน่งสมุหะ ลบ 1 คูณ 17
นำตำแหน่งวรรค ลบ 1 คูณ 4

นำผลลัพธ์จากข้อทั้งหมดบวกกัน แล้วบวกตำแหน่งปักษ์เข้าไป เรียกว่า ปักขเกณฑ์ หมายถึงจำนวนปักษ์ทั้งสิ้นตั้งแต่เริ่มต้นกระดานปักขคณนา

นำปักขเกณฑ์ตั้งหารด้วย 2 ถ้าลงตัวเป็นข้างขึ้น ถ้าไม่ลงตัวเป็นข้างแรม

(หมายเหตุ สูตรข้างต้นเป็นสูตรของท่านอาจารย์ไพศาล เตชจารุวงศ์(พ.ศ. 2548) ไม่มีในตำราเดิมแต่นำมาใช้คำนวณปักษ์ข้างขึ้นหรือข้างแรมได้ถูกต้อง)

ตัวอย่างการคำนวณ
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 คำนวณหรคุณจูเลียนได้เป็น 2454467

คิดหรคุณปักขคณนาได้เป็น 2454467 - 2355147=99319
หาตำแหน่งสัมพยุหะจาก 99319 ÷ 16168 = 6 เศษ 2311 บวกผลที่ได้ด้วย 1 ได้ตำแหน่งสัมพยุหะ 7

หาตำแหน่งพยุหะจาก 2311 ÷ 1447 = 1 เศษ 864 บวกผลที่ได้ด้วย 1 ได้ตำแหน่งพยุหะ 2
หาตำแหน่งสมุหะจาก 864 ÷ 251 = 3 เศษ 111 บวกผลที่ได้ด้วย 1 ได้ตำแหน่งสมุหะ 4

หาตำแหน่งวรรคจาก 111 ÷ 59 = 1 เศษ 53 บวกผลที่ได้ด้วย 1 ได้ตำแหน่งวรรค 2

หาตำแหน่งปักษ์จาก 53 ÷ 15 = 3 เศษ 7 บวกผลที่ได้ด้วย 1 ได้ตำแหน่งปักษ์ 4
เศษเหลือคือ 8 (วันที่ 8)
หาข้างขึ้นข้างแรมดังนี้

(1-1) × 19612 + (7-1) × 1095 + (2-1) × 98 + (4-1) × 17 + (2-1) × 4 + 4 = 6727
6727 ÷ 2 = 3363 เศษ 1 ได้ข้างแรม

แล้วจึงวางหมากลงบนกระดานจากบนลงล่าง พร้อมพิจารณาอักษรในแต่ละช่องและตำแหน่งของหมากในแถวหลั่นลงไป

ได้มหาสัมพยุหะที่ 7 มีอักษร ม อยู่
ได้มหาพยุหะที่ 2 มีอักษร จ อยู่
ได้ จุลสมุหะที่ 4 มีอักษร ม อยู่
ได้ มหาวรรคที่ 2 มีอักษร จ อยู่
ได้ จุลปักษ์ที่ 4 มีอักษร จ อยู่
ได้ตำแหน่ง วันที่ 4 ในปักษ์ขาด เป็นข้างแรม คือ แรม 4 ค่ำ นั่นเอง

ทั้งนี้ ดิถีที่คำนวณได้จากวิธีนี้ คือดิถีในความหมายทางโหราศาสตร์ ซึ่งก็สามารถแปลความเป็นดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ได้โดยง่าย เช่น ขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์ไม่แหว่งเมื่อสังเกต แรม 15 ค่ำ มองไม่เห็นดวงจันทร์ เป็นต้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีค่ะ


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:38:53 น.  

 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

วันสำคัญปกติ กลุ่มวันธรรมสวนะ-
• วันธรรมสวนะ (วันพระ, วันอุโบสถศีล) (!) • วันโกน (วันก่อนวันพระหนึ่งวัน)
ประเภทวันธรรมสวนะ-
• วันอัฏฐมี (วันพระธรรมดา 8 ค่ำ) (!) • วันจาตุทสี (วันพระใหญ่ 14 ค่ำ) (!) • วันปัณรสี (วันพระใหญ่ 15 ค่ำ) (!)

วันสำคัญพิเศษ
(วันเวียนเทียน) • วันมาฆบูชา (⁂) • วันวิสาขบูชา (⁂) • วันอาสาฬหบูชา (⁂) • อัฏฐมีบูชา (!)

วันสำคัญพิเศษอื่น ๆ • วันเข้าพรรษา (⁂) • ออกพรรษา (!) • วันเทโวโหรณะ

วันสำคัญตามพระวินัย • วันลงอุโบสถ (วันที่พระสงฆ์ประชุมแสดงปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน) (!)
• วันเข้าพรรษา (⁂) • วันมหาปวารณา (วันออกพรรษา) • วันทอดกฐิน (ภายใน 1 เดือนหลังออกพรรษา) (*)

ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:40:19 น.  

 
พฤหัตชาฎกกับดวงพุทธชะตา
โหราศาสตร์ภารตะ: ดวงพระชะตาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภีมะสถาน

อ.ทองเจือ อ่างแก้ว (วันศุกร์ B.C.587 ตรงกับวันที่ 7 เม.ย. กลียุค 2515 ปีจอ)

อันที่จริงยังมีอีกหลายท่านที่วิเคราะห์ดวงพระชะตาพระพุทธองค์ไว้ ซึ่งก็แตกต่างหลากหลาย แต่คงยกมาเท่านี้พอ เชิญท่านผู้มีความรู้ลองวิเคราะห์ว่าดวงไหนที่ยกมาน่าจะเป็นรูปดวงของพระพุทธเจ้า ตามที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ทำนายไว้

คราวนี้ท่านคงสงสัยกันว่าเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับคัมภีร์พฤหัตชาฎกที่ผมขึ้นหัวไว้ ลองตามผมมาสิครับ

ในพฤหัสชาฎกสูตร์ที่ ๑๕ โศลก ๔ กล่าวไว้ว่า หากเจ้าชะตาเกิด เมื่อดาวพฤหัสบดี จันทร์ และลัคนา ถูกโยคเกณฑ์ของเสาร์ และ พฤหัสอยู่เรือน 9 จากลัคน์ และได้ราชาโยค เจ้าชะตาจะเป็นราชาผู้รจนาศาสตร์และวิทยาต่างๆ

ต่อมา ปราชญ์ภัตโตปาล แห่งชมพูทวีปได้เขียนคำวิจารณ์ พฤหัสชาฎกของมหาฤษีวราหมิหิรา คำวิจารณ์ดังกล่าวมิใช่การโต้แย้งแต่เป็นคำอธิบายหลักต่างๆ ที่คลุมเคลือ และอธิบายเพิ่มเติมในคำภีร์ดังกล่าว ได้อธิบายโศลกนี้ไว้ว่าแม้บุคคลที่เกิดมาเป็นผู้นำในการปกครองหรือราชวงศ์ ถ้าได้ตำแหน่งดาวตามเกณฑ์ดังกล่าว จะมีชื่อเสียงเป็นเชษฐบุรุษในวิทยาการนณ์และปรัชญาเมธี

ท่านภัตโตปาลได้ยกตัวอย่างบุคคลที่ดวงชะตาได้เกณฑ์ตามโศลกนี้ ได้แก่ กณาท พราหม์ผู้รจนาสังสกฤตตรรกวิทยา ปัญจศิข ราชวงค์ซึ่งแต่งคัมภีร์อันทรงคุณค่าต่างๆ มากมาย พราหม์คุปตะนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในจัษมิระประเทศ มหาฤษีวราหะมิหิราเอง และองค์พุทธะ หมายถึงพระพุทธเจ้าของเรา

ถ้าวิเคราะห์จากโศลกนี้ โยคเกณฑ์อันมีความหมายทางโหราศาสตร์ภารตะสำหรับดาวเสาร์คือจตุเกณฑ์ เพราะทางภารตะเสาร์จะไม่ให้ผลในโยคอื่น รูปดวงที่เข้าเกณฑ์คือรูปดวงของ อ.ทองเจือ ๗ เป็นเกณฑ์ทั้ง ๕ และ ๒ ต่อมาดูพฤหัสอยู่เรือน 9 ก็เป็นของ อ.ทองเจืออีก และรูปดวงนี้ ๕ เจ้าเรือนที่ 5 ร่วม ๑ เจ้าเรือนลัคน์เป็นราชาโยคในภพศุภะ

จะเห็นได้ว่ารูปดวงพุทธชะตา อ.ทองเจือ เข้าหลักเกณฑ์ในโศลกของพฤหัตชาฎกอย่างครบถ้วน ตรงกับที่ท่านภัตโตปาลกล่าวไว้เป็นรูปดวงของพระพุทธเจ้า น่าแปลก ทั้งที่ อ.ทองเจือและท่านภัตโตปาลมีชีวิตห่างกันเป็นพันปี โดยท่านภัตโตปาลมีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ 1500 และข้อมูลของท่านภัตโตปาลอาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรูปดวงของพระพุทธเจ้าที่ใกล้ยุคของพระองค์ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานมาถึงในปัจจุบัน (อันนี้ผมคิดเองไม่ยืนยัน)

อย่างไรก็ตามผมไม่อาจสรุปได้ว่ารูปดวงของ อ.ทองเจือเป็นรูปดวงของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง คงเป็นเป็นเรื่องที่นักโหราศาสตร์ในโลกนี้ต้องช่วยกันคิดค้นต่อไป


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:41:56 น.  

 
ดิถีทางโหราศาสตร์
ดิถีทางโหราศาสตร์ คือการนับวันทางจันทรคติอย่างหนึ่ง โดยทำการแบ่งเดือนข้างขึ้นข้างแรมเสียใหม่เป็น 30 ส่วนเท่าๆกันเรียกแต่ละส่วนนี้ว่าดิถี

ในเดือนหนึ่งๆจึงมี 30 ดิถีตลอด (ไม่ใช่มี 29 ดิถีบ้างหรือ 30 ดิถีบ้าง) ดิถีทางโหราศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด

อย่างแรกเป็นดิถีโดยมัธยมหรือดิถีเฉลี่ย เป็นการเฉลี่ยเดือนที่มีระยะเวลา 29.5 วันเศษซึ่งไม่เป็นเลขจำนวนเต็มให้กลายเป็นเลขจำนวนเต็มที่เท่าๆกันได้ 30 ดิถี ตามคัมภีร์สุริยยาตรกำหนดให้ดิถีเฉลี่ยมีระยะเวลาเท่ากับ 692/703 วัน

ส่วนดิถีทางโหราศาสตร์อีกชนิดหนึ่งจัดเป็น "ดิถีโดยสมผุส" ซึ่งทำการแบ่งเดือนออกเป็น 30 ดิถี ตามตำแหน่งดวงจันทร์ที่ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตามจริง โดยทุกๆที่มุมตามจริงห่างกัน 12 องศาจึงนับเป็น 1 ดิถี และห่างกันครบ 360 องศาจึงได้ 30 ดิถี โดยสมผุส

ค่ำในปฏิทินจันทรคติไทย
ค่ำคือ หน่วยนับวันในปฏิทินจันทรคติไทยเพื่อใช้นับรอบเดือนหนึ่งๆอย่างหนึ่ง. โดยค่ำมีหน่วยระยะเวลาเท่ากับ 1 วันเต็มๆ (civil day) ในขณะที่ดิถี มีระยะเวลาเพียง 692/703 วัน เท่ากันตลอด (ทางโหราศาสตร์ค่ำหรือวันจะยาวกว่าดิถีเป็นระยะเวลา 11 อวมาน).

ดังนั้นดิถีจึงไม่ใช่ค่ำและค่ำก็ไม่ใช่ดิถี แต่เพื่อให้รอบเดือนตามการนับด้วยค่ำกลับมาได้สอดคล้องกัน วิธีนับค่ำในปฏิทินไทยจึงได้กำหนดเป็นภาคบังคับให้ในเดือนคี่มี 29 ค่ำ (ไม่เรียกว่ามี 29 ดิถี) สลับกับเดือนคู่ให้มี 30 ค่ำ (ไม่เรียกว่ามี 30 ดิถี) เสมอ.


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ขอบคุณค่ะ


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:44:41 น.  

 
พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน เป็นเทพารักษ์หล่อสำริด ปิดทอง สูง ๙๓ ซม.

พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุข เป็นเทพารักษ์หล่อสำริด ปิดทอง สูง ๘๘ ซม.

เนื้อหาทิก๊ก เทียนอ๋อง หรื่อท้าวธตรัฐมหาราช เจ้าแห่งคนธรรพ์ ปกครองทิศตะวันออก ประจำฤดูร้อน ทรงถือพิณ ธาตุไฟ

ท้าววิรุฬหก (ภาษาสันสกฤต: विरूढक) หนึ่งในท้าวจตุโลกบาลเป็นเทพผู้ปกครองทิศใต้ของเขาสิเนรุ หรือบางครั้งเรียกว่า ยมะ หรือเรียกว่า เทวดารักษาทิศใต้

มีบริวารคือ อสูร กุมกัณฑ์หรือราษส มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำลำสัน ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑ และนก

ท้าววิรุหกมหาราช จอมกุมภัณฑ์ ท้าวจัตตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ ในมหาสมัยสูตรและบทภาณยักษ์ว่า โลกบาลแห่งทิศทักษิณ ทรงพระนามท้าววิรุฬหกมหาราช จอมกุมภัณฑ์

แต่ในอาฏานาฏิยปริตว่า เป็นจอมเทวดา ลัทธิข้างจีนฝ่ายมหายานว่า ทรงพระนามเตียงเชียง แปลว่า สง่างาม มือถือร่ม ทางทิเบตว่าถื่อกระบี่

ท้าววิรูปักษ์ ท้าวมหาราชจตุโลกบาลผู้ปกครองแห่งปัจจิม จ้าวแห่งพญานาคทั้งปวง ในเทวตำนาน

ยุคต้นทรงดำรงตำแหน่งท้าวสักกะเทวราช นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร(โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน สวดเพื่อให้สวัสดีจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลายเพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีพญานาคเป็นบริวาร

ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ท้าวเวสสุวรรณ (ภาษาสันสกฤต: वैश्रवण Vaiśravaṇa, ภาษาบาลี: वेस्सवण Vessavaṇa) เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี

เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร

คนไทยโบราณ นิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวร องค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไมให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ

พระสุยามาธิบดี เป็นหัวหน้าเทพชั้นยามา ( สวรรค์ชั้น 3 ) ปกครองเทพในสวรรค์ชั้นนี้ทั้งหมด เทพที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นนี้คืออากาสัฏฐเทวดา

เป็นเทวดาที่มีวิมานเป็นของตนอยู่ในอากาศ

พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก เป็นเทพารักษ์หล่อสำริด ปิดทอง สูง ๘๖ ซม.

เจ้าเจตคุปต์ เป็นเทพารักษ์แกะสลักด้วยไม้ ปิดทอง สูง 133 ซม. เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติของผู้ตายเสนอพระยม

พระขันทกุมาร เป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพ ของวรรค์ด้วยพระองค์นั้น ทรงเป็นพระโอรสของพระศิวะ (อิศวร) และพระอุมาเทวี (เทวีปราวตี) อีกด้วย

พระองค์ทรงมีน้อง 1 พระองค์ ่ทรงนามว่า พระพิฆเนศวร พาหนะพระองค์ จะทรงนกยูงหรือควาย

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีค่ะ


โดย: sirivinit วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:47:37 น.  

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.